แอมเนสตี้ฯ เปิดยอดจ.ม. 10,512 ฉบับส่งนักโทษการเมือง คาใจ ไทยเดินมาถึงจุด ‘ญาติไม่มีสิทธิเยี่ยม’?

อดีตนักโทษการเมือง ลั่น เมื่อก่อนอาชีวะ ‘ทุกวันนี้นั่งอ่านรัฐศาสตร์’ แอมเนสตี้ฯ คาใจ ไทยเดินมาถึงจุด ‘ญาติไม่มีสิทธิเยี่ยม’?

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ห้อง 102 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน (6 องค์กร) จัดงาน ‘1 ปีนิรโทษกรรมประชาชน’ เพื่ออัพเดตความคืบหน้า หลังผ่านมาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี ที่ได้มีการยื่นเสนอร่างกฎหมาย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาคดีทางการเมือง ซึ่งในปัจจุบันยังมีผู้ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวเป็นจำนวนมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศภายในงาน มีการออกบูธจากเครือข่ายต่างๆ อาทิ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw, สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Freedom bridge, พิพิธภัณฑ์สามัญชน, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย เป็นต้น ทั้งนี้มีนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ตัวแทนพรรค นักวิชาการ อาทิ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ร่วมฟังอย่างคับคั่ง

ADVERTISMENT

ซึ่งไฮไลต์คือเวที ‘Exclusive Talk’ แลกเปลี่ยนมุมมองความคืบหน้าของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน โดยมี นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หรือ เท้ง ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคประชาชน มาร่วมกล่าวในหัวข้อ ‘ฝ่ายค้านและคดีการเมือง’ อีกด้วย

ADVERTISMENT

ในตอนหนึ่ง ธี ถิรนัย และ มายด์ ชัยพร อดีตผู้ต้องขังทางการเมือง เล่าเรื่องนิรโทษกรรมกับชีวิตของผู้ดำเนินคดีทางการเมือง

นายถิรนัย กล่าวว่า หนึ่งปีสำหรับตน เป็นอะไรที่แย่มาก ถูกจับขังแยกแดนกัน

“ผมรู้สึกได้เลยว่าประเทศเรากำลังแย่ ตอนที่ผมกำลังโต ก็เลยต้องออกมา แต่มันก็ไม่มีอะไรเปลี่ยน”

“ผมเป็นการ์ด ถูกดำเนินคดี ด้วยข้อกล่าวหาว่ามีอาวุธระเบิดไว้ในครอบครอง ซี่งผมเป็นอาชีวะก็จริง แต่ไม่ได้เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง”

“ใช่ครับผมเป็นอาชีวะ แต่ทุกวันนี้ผมมานั่งอ่านหนังสือรัฐศาสตร์แล้ว” ถิรนัยกล่าว

ด้าน นายชัยพรกล่าวว่า ขอบคุณที่เป็นกำลังใจ ตนผ่านมาได้เพราะกำลังใจจากทุกคน ช่วงแรกที่เข้าไป สภาพจิตใจค่อนข้างแย่ บางคนเข้าไปแล้วถึงขั้น ต้องรับยาจิตเวช

เรื่องภายในเราพูดลึกไม่ได้ เพราะอาจจะถูกฟ้อง เรารู้อยู่ว่า ประเทศเราพูดความจริง 100 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้”

นายชัยพรกล่าวด้วยว่า ในเรื่องคดี ทุกครั้งที่ยื่นประกัน ก็มักจะถูกอ้างอัตราโทษสูง เกรงว่าจะหลบหนี เป็นคำตอบยอดฮิตที่ไม่ให้ประกันตัว ซึ่งส่วนตัวมองว่าบางคดีโทษสูงกว่านี้ด้วยซ้ำ ก็ยังได้รับการประกันตัว

“ผมยื่นประกันตลอด แต่ไม่เคยได้รับ จนคำสั่งศาลอุทธรณ์ อยู่จนครบที่ศาลกำหนด ฝากทุกคนเป็นกำลังใจให้คนที่อยู่ในเรือนจำด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้คนข้างในยังมีแรงใจสู้ต่อ” นายชัยพรกล่าว

จากนั้น นายณธกร นิธิศจรูญเดช จาก แอมเนสตี้ ประเทศไทย กล่าวในหัวข้อ ‘ความหวังผ่านจดหมาย’ โดยระบุว่าการเขียนจดหมาย ส่งให้ผู้ต้องหาทางการเมืองนั้น ถือเป็นทรัพย์สินเดียวที่มีที่ทำให้ผู้ต้องหาการเมืองมีกำลังใจใช้ชีวิตอยู่ได้ในเรื่องจำ ซึ่งปัจจุบันมีก่อนที่ถูกคุมขังอย่างน้อย 46 คน

ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ผู้ต้องหาการเมืองได้รับจดหมายที่ประชาชนช่วยกันเขียนส่งถึงข้างใน มากถึง 10,512 ฉบับ

นายณธกรกล่าวด้วยว่า แต่ปัจจุบันมีนักโทษการเมืองบางคนที่ญาติไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้
ประเทศเราเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

นอกจากนี้ ทางแอมเนสตี้ฯ มีแผนทำเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อขยายขอบเขตความรับรู้และร่วมส่งเสียงในวงกว้างมากขึ้น

“เราจะหาทางส่งเสียงสะท้อนถึงเพื่อนในเรือนจำ ให้ได้ เวหา เขียนจดหมาย คาดหวัง ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม จะเป็นตัวที่ทำให้เขาได้กลับบ้าน ก้อง อุกฤษฏ์ ไม่มีสิทธิได้สอบ ทั้งที่กำลังจะใกล้จบการศึกษา อิสรภาพของเขาขึ้นอยู่กับร่าง พ.ร.บ.นี้” นายณธกรกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image