ไทย-อียู กระชับความร่วมมือการค้า เร่งเจรจาเอฟทีเอ เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจไทย

ปธ.ผู้แทนการค้า เผย ไทย-อียู กระชับความร่วมมือด้านการค้า เร่งเจรจาเอฟทีเอ เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจไทย

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นางนลินี ทวีสิน ประธานผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยผลการหารือกับ Ms. Renita Bhaskar อัครราชทูตที่ปรึกษา และหัวหน้าฝ่ายการค้าและเศรษฐกิจ คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย โดยทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องว่า ความสัมพันธ์ไทย-สหภาพยุโรป(อียู) ในมิติด้านการค้าและการลงทุนนั้น มีความแน่นแฟ้นและใกล้ชิด โดยสืบเนื่องมาจากที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการสานต่อการดำเนินการในกรอบต่าง ๆ โดยเฉพาะกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือรอบด้าน (PCA) ไทย – อียู ซึ่งเป็นข้อตกลงทวิภาคีฉบับแรก ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้สรุปผลกันไปแล้ว และความคืบหน้าในการเจรจา FTA ไทย – EU

ไทย-อียู

นางนลินี กล่าวว่า การเจรจา เอฟทีเอไทย –สหภาพยุโรป ( อียู)เป็นวาระที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญเนื่องจากอียู เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วย 27 ประเทศ มีกำลังซื้อสูงและมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ2ของโลก

ทั้งนี้ การเจรจาดังกล่าว ได้บทสรุปว่าด้วยแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกฎระเบียบและบทความโปร่งใส ที่เกี่ยวข้องกับเอฟทีเอ ฉบับนี้ โดยทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งหวังให้การเจรจาแล้วเสร็จโดยเร็ว และหารือประเด็น การส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทักษะแรงงาน โดยเฉพาะการสนับสนุนการศึกษาอาชีวะ เพื่อให้ไทยมีความพร้อมในการรับการลงทุนสมัยใหม่ การแลกเปลี่ยนความรู้และการสนับสนุนทางเทคนิคในด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในการดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน การส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ตลอดจนการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

ADVERTISMENT

ไทย-อียู

นางนลินี กล่าวว่า ปี 2024 อียูเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย มีมูลค่าการค้ารวมกันประมาณ 43,533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.17 ของการค้าไทยในตลาดโลก และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากเอฟทีเอ นอกเหนือจากการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนกับอียูแล้ว ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากไทยไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) จากอียู ตั้งแต่ปี 2015 ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ยังคงได้รับสิทธินี้ และเวียดนามรวมถึงสิงคโปร์มี เอฟทีเอ กับอียูแล้ว นอกจากนี้ ยังช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและกระตุ้นให้ไทยพัฒนามาตรฐานด้านกฎระเบียบภายในประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ADVERTISMENT

ไทย-อียู

ไทย-อียู

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image