ผู้ตรวจการแผ่นดิน จี้รัฐ เร่งคลอดกม.คุมนอมินี หลังลามกว่า 10 ภาคธุรกิจ ทำเสียรายได้มหาศาล

ผู้ตรวจการแผ่นดิน จี้รัฐ เร่งคลอดกฎหมายกลางคุมนอมินี หลังขยายลามกว่า 10 ภาคธุรกิจ ทำเสียหายรายได้มหาศาล ชงเพิ่มโทษไทย-ต่างด้าว หวังรัฐยกเป็นวาระแห่งชาติ ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องมินิเตอร์ธุรกิจนอมินี -สวนทุเรียน เตรียมลงพื้นแหล่งธุรกิจต่างด้าวชุกชุม นายกฯมอบ ก.พาณิชย์ร่างระเบียบกลาง

เมื่อวันที่ 16 เมษายน นายทรงศัก สายเชื้อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินที่ส่งไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา หลังตรวจสอบพบบริษัทหรือธุรกิจเข้าข่ายนอมินีลุกลามกระทบความมั่นคง ขยายลามภาคธุรกิจ 10 สาขา ทั้งภาคขนส่ง ร้านอาหาร ค้าปลีกค้าส่งและธุรกิจออนไลน์ อสังหาริมทรัพย์ ภาคการเกษตร สวนทุเรียน สวนผลไม้ ธุรกิจก่อสร้าง เชื่อมโยงปัญหาอาชญากรรม ฟอกเงิน การค้าผิดกฎหมาย ซึ่งกระทบรายได้ ภาษีและอาชีพของคนไทย

หลังได้ร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเสนอไปยังรัฐบาล เนื่องจากไทยไม่มีกฎหมายควบคุมเรื่องนอมินีโดยเฉพาะ ไม่มีหน่วยงานเฉพาะดูแล และจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมาย มาตรการระเบียบ รวมถึงมีกฎหมายกลางขึ้นมาดูแล เพื่อปิดช่องโหว่กฎหมาย ลดผลกระทบกับประเทศ นอกจากนี้ผู้ตรวจการผานดินยังไส่งส่งข้อเสนอไปยังสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา สภาทนายความ ซึ่งในปลายเดือนเมษายน ก็จะประชุมร่วมกันหน่วยงานดังกล่าว เพื่อติดตามความคืบหน้า ขณะเดียวกันก็เตรียมลงพื้นที่ย่านธุรกิจที่มีธุรกิจชาวต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด

นายทรงศัก กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอที่ส่งไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อประสานไปยังหน่วยงานต่างๆให้เร่งดำเนินการ คือขอให้สำนักนายกรัฐมนตรีออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการทำธุรกรรมนอมินีแทนคนต่างด้าว ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบคณะกรรมการ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน่วยงานกลางขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ และขอให้จำกัดนิยามคำว่านอมินี ธุรกิจนอมินีให้เกิดความชัดเจน อีกทั้งทุกหน่วยงานต้องบูรณาการร่วมกันผ่านมาตรการเชิงบริหาร มีกลไกระดับจังหวัดในการเฝ้าระวังโดยภาคีเครือข่าย ประชาชน ชุมชน ให้ติดตามตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงเกิดธุรกิจนอมินี โดยล่าสุดขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้มอบให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี อีกทั้งต้องมีกลุ่มเฝ้าระวังในพื้นที่สาขาโดยเฉพาะ เช่นจังหวัดจันทบุรี ตราด ชุมพร เฝ้าระวังเรื่องที่ดิน พื้นที่ทางการเกษตร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฝ้าระวังจังหวัดในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดธุรกิจนอมินี โดยใช้ข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ เพื่อติดตามบริษัทที่มีต่างด้าวถือหุ้น ซึ่งจันทบุรี มีบริษัทต่างด้าว 10-20 %

ADVERTISMENT

นายทรงศัก กล่าวอีกว่า พร้อมขอให้แก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว 2542 แก้ประเด็นนิยามคนต่างด้าวและการกระทำที่เข้าข่ายเป็นนอมินีให้ชัดเจน ครอบคลุมอำนาจการบริหาร บริษัท แม้คนไทยจะถือหุ้น 51% หากพิสูจน์ว่าอำนาจบริหารอยู่กับคนต่างด้าวก็เข้าข่ายเป็นบริษัทต่างด้าว ติดตามการโอนหุ้น ซื้อขาย โอนย้ายทรัพย์สินในภายหลัง และมีมาตรการตรวจสอบผู้ถือหุ้นฝ่ายไทย เช่นสถานทางการเงินย้อนหลัง 5 ปี ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ รวมถึงแก้ไขเพิ่มบทลงโทษทั้งชาวไทยและต่างด้าว โดยโทษจำคุกเพิ่มเป็น 5-7 ปี ปรับในวงเงินที่สูงขึ้นสอดคล้องกับขนาธุรกิจ นอกจากนี้ต้องแก้ประมวลกฎหมายที่ดิน เพิ่มโทษจำคุกและปรับคนต่างด้าว หากพิศุจน์มีความผิดใช้นอมินีซื้อและถือครองที่ดิน ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินมากกว่าที่จะบังคับขายคืน ย้ำว่าต้องแก้ไขให้กฎหมายรุนแรง มีความครอบคลุม ถือเป็นมาตรการป้องปรามที่สำคัญ ขณะเดียวกันต้องมีการจัดโซนนิ่งและเฝ้าระวังพื้นที่การเกษตรที่เข้าข่ายจะมีธุรกิจนอมินี หรือความเคลื่อนไหวผิดสังเกตุ เช่นสวนทุเรียน สวนผลไม้ พื้นที่การเกษตรที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก

ส่วนข้อเสนอแนะไปยังสภาทนายความ ขอให้กำกับดูแล สอดส่องบริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจ ส่วนใหญ่จะใช้บริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย ที่ปรึกษาทางบัญชีหรือธุรกิจ ขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่และเข้มงวด ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI จะต้องดูแลร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการส่งเสริมการค้าการลงทุนและการเฝ้าระวัง เพื่อไม่ให้มีการอาศัยช่องทางกฎหมายทำผิด และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกระทรวงพาณิชย์ ดูแลพื้นที่ภาคการเกษตร หลังพบคนต่างชาติเปิดโล้งรับซื้อผลไม้ หลายเจ้ามีแนวโน้มไปซื้อพื้นที่การเกษตร คุมระบบขนส่งและการค้า จำเป็นต้องเสริมขีดความสามารถเกษตรกร ผู้ประกอบการในการทำธูรกิจ การส่งออก การกระจายสินค้าไปต่างประเทศ ให้คนไทยสามารถดูแลธุรกิจตลอดสาย ลดความเสี่ยงเกิดนอมินีซื้อพื้นที่ทางการเกษตร และหัวใจสำคัญคือการสร้างความตระหนักรูให้กับเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน

ADVERTISMENT

“หัวใจสำคัญอันหนึ่งต้องสร้างความตระหนักรู้ เป็นมาตรการที่เราเสนอว่าอาจจะดำเนินการได้ทันที ส่วนในระยะต่อไป เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ ก็ควรมีการร่างกฎหมายโดยเฉพาะขึ้นมาสำหรับเรื่องนอมิมี ธุรกิจนอมินี กำหนดกลไกกลาง กลไกต่างจังหวัดโดยยกระดับจากร่างระเบียบสำนักนายกฯ มากำหนดนิยามนอมิมีและธุรกรรมนอมินีให้ชัดเจนขึ้น ครอบคลุมการจดทะเบียน การตรวจสอบติดตาม บทลงโทษและมีความเชื่อมโยงกับกฎหมายต่างๆที่บังคับใช้ โดยได้เสนอไปยังคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ขณะนี้สำนักนายกฯอยู่ระหว่างนำเข้า ครม.ให้พิจารณา และนายกฯสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักในการยกร่างระเบียบสำนักนายกฯ ” นายทรงศัก

นายทรงศัก กล่าวด้วยว่า ส่วนการตั้งข้อสังเกตเจ้าหน้าที่รัฐอาจมีการปล่อยปละละเลย เพราะประชาชนร้องเรียนเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง นายทรงศัก ระบุว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีข้อจำกัดจากข้อกฎหมาย จึงทำตามกฎหมายที่มี อีกทั้งไม่มีกฎหมายและระบบที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ จึงทำให้เจ้าหน้าที่รัฐส่วนหนึ่งไม่กล้าดำเนินการอย่างเต็มที่ และเชื่อว่าสามารถปรับปรุงการทำงานได้โดยใช้ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความจริงใจในการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการบงัคับใช้กฎหมาย และประชาชนต้องให้ความร่วมมือ ไม่เป็นนอมินีให้กับคนต่างชาติ

เมื่อถามถึงความห่วงใยของผู้ตรวจการแผ่นดินที่อยากจะฝากไปยังหน่วยงานต่างๆให้เร่งดำเนินการปิดช่องเรื่องนอมินีไม่ให้กระทบมิติความมั่นคง สาธารณสุขและมิติอื่นๆ นายทรงศักดิ์ กล่าวว่าปัญหานอมินีมีความรุนแรงและขยายตัวรวดเร็ว คนที้งประเทศเป็นห่วง จึงมีความจำเป็นเร่งด่วน หวังว่ารัฐบาลจะยกเป็นวาระแห่งชาติและดำเนินการอย่างเร่งด่วน อีกทั้งขอให้หน่วยงานที่ได้รับข้อเสนอเร่งรัดดำเนินการ ใช้กลไกที่มีดำเนินการอย่างเต็มที่ รวมถึงขอให้กระทรวงพาณิชย์ เร่งรัดร่างระเบียบสำนักนายกฯขึ้นมาเป็นกลไกกลาง หากมีระเบียบสำนักนายกฯและยกระดับคณะกรรมการขึ้นมาเป็นคณะกรรมการระดับชาติ โดยมีนายกฯหรือรองนายกฯเป็นประธานดูแลแต่ละสาขา จะทำให้ดูแลได้ทั่วถึง อีกทั้งต้องเร่งออกกฎหมายซึ่งเป็นจุดสำคัญที่จะปิดช่องว่างต่างๆสำหรับบริษัทต่างๆที่มีแนวโน้มเป็นนอมินี อาศัยใช้ช่องว่างต่างๆ มาดำเนินการ

ส่วนข้อเสนอแนะให้รัฐบาลทบทวนมาตรการฟรีวีซ่า เนื่องจากต่างชาติใช้เป็นช่องทางเข้ามาแย่งงานคนไทยและทำงานในบริษัทนอมินี คล้ายกับ “ทัวร์ศูนย์เหรียญ” นายทรงศัก กล่าวว่าฟรีวีซ่าเป็นเรื่องของนโยบายรัฐบาล จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ความเห็น แต่หากมีผลกระทบจากนโยบายก็ควรจะมีมาตรการกำกับช่วยลดผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามหากมีมาตรการ กลไกควบคุม ติดตามตรวจสอบ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะมีการเข้าเมืองมาในรูปแบบใด หรือเข้ามาทำธุรกิจในลักษณะใช้นอมินี

สำหรับข้อมูลตัวเลขบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ ณ ปี 2568 มีบริษัท 926,950 แห่ง โดยเป็นบริษัทที่ถือหุ้นโดยชาวต่างชาติ 127,522 แห่ง และเป็นบริษัทที่ชาวต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49 จำนวน 18,288 แห่ง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image