เปิดร่างแก้ไขรธน.ชั่วคราว 4 มาตรา-ผ่าทางตันประชามติ

หมาย เหตุ – เนื้อหาและสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ. .. ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้เสนอ จำนวน 4 มาตรา เพื่อเข้าสู่วาระการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 10 มีนาคมนี้

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พุทธศักราช…

หลักการ

แก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

Advertisement

เหตุผล โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 1 รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พุทธศักราช…”

Advertisement

มาตรา 2 รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 39/1 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“เมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้แจ้งคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ และให้คณะรัฐมนตรีแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบโดยเร็วเพื่อดำเนินการจัด ให้มีการออกเสียงประชามติตามมาตรานี้ และให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญโดย สรุปในลักษณะที่ประชาชนจะสามารถเข้าใจเนื้อหาสำคัญๆ ของร่างรัฐธรรมนูญได้โดยสะดวก และส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่แจ้ง คณะรัฐมนตรี”

มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ วรรคห้า วรรคหก วรรคเจ็ด วรรคแปด วรรคเก้า วรรคสิบ วรรคสิบเอ็ด และวรรคสิบสอง ของมาตรา 39/1 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558

“ให้เป็นหน้าที่ ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติและ ประกาศผลการออกเสียงประชามติ และจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญตามวรรคสาม เพื่อเผยแพร่ด้วยวิธีการใดๆ ให้ประชาชนทราบได้โดยสะดวกและเป็นการทั่วไป

หลัก เกณฑ์ วิธีการ และกำหนดเวลาในการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ การเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ การออกเสียงประชามติ การนับคะแนน บัตรเสีย และการประกาศผลการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติต้องใกล้เคียงกับคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้าย ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับอายุ ให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีในวันออกเสียงประชามติเป็นผู้มีสิทธิออก เสียงประชามติ

การจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ให้ออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้น ทั้งฉบับ โดยต้องกระทำในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ในการนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีมติเสนอประเด็นอื่นใดไม่เกินหนึ่ง ประเด็นที่สมควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพิ่ม เติมว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบพร้อมไปในคราวเดียวกันด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องเสนอภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการร่าง รัฐธรรมนูญตามวรรคสาม

ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออก เสียงประชามติ ซึ่งต้องไม่เร็วกว่าเก้าสิบวันแต่ไม่ช้ากว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันถัด จากวันที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญส่งคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคสาม

ภายใต้บังคับวรรคสิบสอง ในการออกเสียงประชามติ ถ้าคะแนนเสียงข้างมากของผู้ออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสามสิบวัน นับแต่วันประกาศผลการออกเสียงประชามติ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ก่อนนายกรัฐมนตรีนำ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตามวรรคเก้า ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการปรับปรุงคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้ สมบูรณ์และสอดคล้องกับผลการลงประชามติ

ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและพระราชทานคืนมา หรือเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา ให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไปร่างรัฐธรรมนูญด้วยโดยอนุโลม และในกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอประเด็นเพิ่มเติม ให้นำมาตรา 37/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ออกเสียงประชามติเป็นเกณฑ์และไม่ต้องให้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

นายกรัฐมนตรี

บันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญ

คณะ รัฐมนตรีมีมติให้เสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พุทธศักราช…ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้จัดทำบันทึกวิเคราะห์สรุปสาระสำคัญของร่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ ดังต่อไปนี้

1.เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่าง

เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้นให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

2.สาระสำคัญของร่าง

1.กำหนดว่าเมื่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วให้ แจ้งคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ และให้คณะรัฐมนตรีแจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบโดยเร็วเพื่อดำเนินการจัด ให้มีการออกเสียงประชามติตามมาตรา 39/1 และให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญโดย สรุปในลักษณะที่ประชาชนจะสามารถเข้าใจเนื้อหาสำคัญๆ ของร่างรัฐธรรมนูญได้โดยสะดวก และส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่แจ้ง คณะรัฐมนตรี

2.ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการดำเนินการจัดให้มีการออก เสียงประชามติและประกาศผลการออกเสียงประชามติ รวมทั้งจัดพิมพ์และเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐ ธรรมนูญให้ประชาชนทราบได้โดยสะดวกและเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และกำหนดเวลาในการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ การเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ การออกเสียงประชามติ การนับคะแนน และการประกาศผลการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

3.คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติต้องใกล้เคียง กับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งสุดท้ายก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับอายุ ให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีในวันออกเสียงประชามติเป็นผู้มีสิทธิออก เสียงประชามติ

4.การจัดให้มีการออกเสียงประชามติ ให้ออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนั้น ทั้งฉบับ โดยต้องกระทำในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร ในการนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีมติเสนอประเด็นอื่นใดไม่เกินหนึ่ง ประเด็นที่สมควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพิ่ม เติมว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ชอบพร้อมไปในคราวเดียวกันด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้ ต้องเสนอภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการร่าง รัฐธรรมนูญ

5.ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติ ซึ่งต้องไม่เร็วกว่าเก้าสิบวันแต่ไม่ช้ากว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันถัด จากวันที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญส่งคำอธิบายสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง

6.ในการออกเสียงประชามติให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ออกเสียงประชามติ (Simple majority) ตามหลัก Majority rule อันเป็นหลักสากลซึ่งไม่นับผู้ไม่มาออกเสียงและบัตรเสีย (Majority rule, Rule by the choice of the majority of those who actually vote, irredspective of whether a majority of those entitled participate, Black’s Law Dictionary Special Delauxe, Fifth Edition 1979, p. 861) โดยถ้าคะแนนเสียงข้างมากของผู้ออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐ ธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในสามสิบวัน นับแต่วันประกาศผลการออกเสียงประชามติ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

7.เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญ จึงกำหนดให้ชัดเจนว่าก่อนนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูล กระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญดำเนินการปรับปรุงคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้ สมบูรณ์และสอดคล้องกับผลการลงประชามติ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image