09.00 INDEX บทเรียนจาก 1 รสช. 1 คมช. กับสภาพที่ “คสช.”ต้องประสบ

เหมือนกับการตัดสินใจของคสช.ที่เข้ากุมอำนาจด้วยตนเองจะคือ”จุดแข็ง”ในทางการเมือง

ต่างจากยุค “รสช.”เมื่อปี 2534

ที่มอบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กับ นายอานันท์ ปันยารชุนและคณะ

ต่างจากยุค”คมช.”เมื่อปี 2549

Advertisement

ที่มอบตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะ

เพราะหลังรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 หัวหน้าคสช. คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยตนเอง

นี่คือ จุดแข็งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

Advertisement

 

เหตุผลที่ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีมีมากมาย

เหตุผล 1 เท่ากับสรุป”บทเรียน”

บทเรียนจากกรณีที่ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมน ตรี บทเรียนจากกรณีที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ที่สำคัญก็คือ คสช.และคมช.ไม่สามารถกำกับและควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

กลายเป็นปัญหาของรสช.ในเดือนพฤษภาคม 2535

กลายเป็นปัญหาอันทำให้อวตารแห่งพรรคไทยรักไทยผงาดขึ้นมาจากการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550

นำไปสู่อีกเหตุผล 1 คือ ไม่อยากให้เสียของ

 

ถามว่า จุดแข็งอันดำรงอยู่หลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ยังอยู่ในสถานะเป็น “จุดแข็ง” อีกหรือไม่

ต้องดูจาก”ความเป็นจริง”ในปัจจุบัน

ความเป็นจริงที่ผลสำเร็จของ “ปรองดอง” สมานฉันท์ดำเนินมาอย่างเป็นรูปธรรมเพียงใด

ความเป็นจริงที่ผลสำเร็จของการบริหารจัดการในเรื่องเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างไร

ความเป็นจริงที่”มาตรา 44″นำไปสู่อะไรในทางการเมือง

หากทุกอย่างคือ ความสำเร็จเสียงเรียกร้องในเรื่องเลือกตั้งคงจะไม่เกิดขึ้น

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image