09.00 INDEX การเดินสาย ประชุม ครม.สัญจร เป็น”การหาเสียง” การเมืองหรือไม่

ทั้งๆที่การประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยามิได้เป็นครั้งแรกสำหรับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ก่อนหน้านี้ก็เคยมี

ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดสระแก้ว ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  ไม่ว่าจะเป็นที่จังหวัดอุบลราชธานี

แล้วเหตุใดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงกลายเป็นปัญหา

Advertisement

1 อาจเป็นเพราะก่อนไปประชุมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีการไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี

แล้วมีอดีตส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนาปรากฏตัว”ต้อนรับ”

ไม่เพียงแต่ต้อนรับอย่างธรรมดา หากยังเสนอกัปปิยโวหารให้อยู่ต่อไปอีก

Advertisement

จึงนำไปสู่ 1 ซึ่งสะท้อนบรรยากาศ”การหาเสียง”

คำว่าบรรยากาศของ “การหาเสียง” กล่าวสำหรับในยุคหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

ถือได้ว่าเป็น “คำหยาบ”

เพราะการหาเสียงเป็นเรื่องของ “นักการเมือง” เป็นเรื่องของ

“พรรคการเมือง” ซึ่งกลายเป็นบุคคลและกลุ่มบุคคลซึ่งไม่พึงปรารถนา

มีความจำเป็นต้อง “ปฎิรูป” ก่อน “เลือกตั้ง”

การที่นำเอาคำว่า “หาเสียง” มาเป็นเหมือนคำกริยาในการขยายบทบาทและการเคลื่อนไหวของรัฐบาลอันมาจากการรัฐประหารจึงถือว่าเป็นการทำให้แปดเปื้อน

“ขอย้ำว่าเราจะสร้างภาพทำไม เพราะเราไม่คิดจะลงเลือกตั้งกับพวกเขา”

พวกเขาในที่นี้คือพวก”นักการเมือง”

ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ จะออกมาอธิบายอย่างไรในเรื่องการเดินสาย

ก็ยากอย่างยิ่งที่จะหลุดพ้นจาก”ข้อสังเกต”

ในเบื้องต้นอาจเป็นข้อสังเกตจาก “นักการเมือง” แต่ต่อไปก็จะกลายเป็นข้อสังเกตจาก “ชาวบ้าน” เพราะล้วนมีบทเรียน มีประสบการณ์

อาจเป็นประสบการณ์จาก”นักการเมือง” แต่ก็สามารถปรับประสานเข้ากับ “คสช.”และรัฐบาลคสช.ได้

ว่าเป็น”การหาเสียง” หรือไม่เป็น “การหาเสียง”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image