09.00 INDEX ความเชื่อมโยง แนวคิด พิชัย รัตตกุล ยาวมายัง ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

ในที่สุด ข้อเรียกร้องของ นายพิชัย รัตตกุล ก็ได้รับการสรุปอออกมาอย่างเป็นระบบโดย ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
คงจำกันได้ว่า นายพิชัย รัตตกุล เสนออะไร
เป็นการเสนอในเชิงเรียกร้องให้ “พรรคการเมือง” จับมือกันเพื่อต้านนายกรัฐมนตรี “คนนอก” ที่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง และมั่นใจว่าต้องเป็น “ทหาร”
ความหมายก็คือ ต้านนายกรัฐมนตรีที่มาจาก “ทหาร”
ความหมายอย่างตรงตัวก็คือ เรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยจับมือเป็นพันธมิตรในแนวร่วม
ในเบื้องต้นอาจมีคนหัวเราะและมองว่าเป็นไปไม่ได้
แต่เมื่อผ่านการวิเคราะห์จาก ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล สังคมก็เริ่มมองความเป็นไปได้

ความเป็นไปได้ในที่นี้ เพราะว่าบทสรุปอันเป็นแนวโน้มการเมืองในห้วงก่อนการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2561 คือ
แนวโน้มที่จะนำไปสู่การสลาย “สีเสื้อ”
นั่นก็คือ มิได้เป็น “เหลือง” ในการต่อต้านพรรคไทยรักไทยเหมือนก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
นั่นก็คือ มิได้เป็นเหลืองซึ่งพัฒนามาเป็น “นกหวีด” ในการออกมาเป่าเพื่อต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเหมือนก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557
หากมีความเป็นไปได้สูงยิ่งขึ้นเป็นลำดับที่จะออกมาต่อต้านรัฐบาลคสช.ซึ่งมาจาก “รัฐประหาร”
กลายเป็น “เอาทหาร” และ “ไม่เอาทหาร”

บรรยากาศเช่นนี้เหมือนกับเหตุการณ์ก่อนเดือนตุลาคม 2516 และก่อนเดือนพฤษภาคม 2535
เพียงแต่เมื่อปี 2516 ไม่เอา “ถนอม”
เพียงแต่เมื่อปี 2535 ไม่เอา “สุจินดา”
เท่ากับข้อเรียกร้องของ นายพิชัย รัตตกุล ได้รับการขานรับและสรุปให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมโดย ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
เท่ากับการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2561 นำไปสู่บทเรียนในเดือนตุลาคม 2516 และในเดือนพฤษภาคม 2535 เด่นชัดมากยิ่งขึ้น มากยิ่งขึ้น
กลายเป็น “เอาทหาร” และ “ไม่เอาทหาร”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image