09.00 INDEX “รัฐธรรมนูญ” กับ “หัวหน้า คสช.” บทบาท ความหมาย การเมือง

นับวันการยื้อระหว่าง “คนอยากเลือกตั้ง” กับ “คสช.” และ “รัฐบาล” จะทวีความแหลมคมและมากด้วยความละเอียดอ่อน
พลันที่มีการยื่นเรื่องให้ “ศาลรัฐธรรมนูญ”
มองตามความเคยชินกับกระบวนการ “รัฐประหาร” นับแต่รัฐประหารเมื่อปี 2500 เป็นต้นมา
ที่ประกาศและคำสั่งมาจาก “รัฎฐาธิปัตย์”
การฝ่าฝืนต่อประกาศและคำสั่งอันมาจาก “คณะรัฐประหาร” ย่อมเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายโดยพื้นฐาน
แต่ความละเอียดอ่อนอยู่ตรง “รัฐธรรมนูญ”
ขณะเดียวกัน ความละเอียดอ่อนที่ทับทวีคูณเข้ามาก็คือ สถานการณ์ในยุคก่อนรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557
ยังไม่มี “ศาลรัฐธรรมนูญ”

ถามว่าความคิดในการยื่นต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเริ่มเกิดขึ้น จากสถานการณ์อะไร
ตอบได้เลยว่าจากคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 53/2560
อันเป็นคำสั่งที่ส่งผลอย่างลึกซึ้งให้นำไปสู่การแก้ไข พรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง และส่งผลอย่างลึกซึ้งนำไปสู่การยกร่าง พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.
ข้อเสนอนี้ต่อศาลรัฐธรรมนูญมาจากพรรคเพื่อไทย มาจากพรรคประชาธิปัตย์
จากนั้นก็เกิดข้อเสนอจากกลุ่ม Start Up People
เพราะว่าพวกเขาได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558
และประเมินว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

ไม่ว่าข้อเสนออันมาจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย ไม่ว่าข้อเสนออันมาจากกลุ่ม Start Up People
เท่ากับ 1 ตรวจสอบความศักดิ์สิทธิ์ของ “รัฐธรรมนูญ”
ขณะเดียวกัน เท่ากับ 1 ตรวจสอบบทบาทและความหมายของ “ศาลรัฐธรรมนูญ”
ยิ่งกว่านั้น 1 ยังตรวจสอบ “สถานะ” ในทาง “กฎหมาย” ระหว่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กับ คำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 และคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 53/2560 ว่าอันไหนจะมีศักดิ์เหนือกว่าใคร
คำวินิจฉัยของ “ศาลรัฐธรรมนูญ” คือ “คำตอบ”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image