“บิ๊กตู่” งัด ม.44 ปราบมาเฟีย ล้างยาเสพติด เข้ม 3 พฤติการณ์ต้องห้าม

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศ ตอนพิเศษ 74 ง กรณี คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/ 2559 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยปรากฏว่าได้มีบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์กระทำความผิดอาญาบางประการที่เป็นภยันตราย ต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการข่มเหง ขู่เข็ญ รังแก หรือแสดงตน อันเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเกรงกลัว ไม่กล้าขัดขืน หรือร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เพราะเกรงภัยจะเกิดแก่ตน

นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีบุคคลที่ดำรงชีพด้วยการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติด เป็นเจ้ามือพนัน มีพฤติการณ์ซ่องสุมอาวุธ เพื่อให้สามารถได้รับประโยชน์ต่าง ๆ ที่มิชอบด้วยกฎหมาย การที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีจึงมีความยุ่งยาก ซับซ้อน หรืออาจ เกิดความเสี่ยงภัยต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องกำหนดกระบวนการในการป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดอาญาที่มีลักษณะดังกล่าวเป็นพิเศษ เพื่อเป็นมาตรการเสริมกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญา รวมทั้งคุ้มครองความสงบเรียบร้อย และระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตลอดจนเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้แก่สุจริตชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในคำสั่งนี้

“เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม” หมายความว่า ข้าราชการทหาร ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ขึ้นไป ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้
“ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศต่ำกว่า
ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ลงมา และให้หมายความรวมถึง ทหารประจำการ ทหารกองประจำการ
และอาสาสมัครทหารพราน ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า
คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคำสั่งนี้

ข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำ
อันเป็นความผิดตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายคำสั่งนี้

Advertisement

บุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำความผิดตามวรรคหนึ่งซึ่งจะ
อยู่ในบังคับตามคำสั่งนี้ ต้องเป็นผู้มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์
ที่มิชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้
(1) กระทำความผิดโดยการข่มขืนใจให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด
โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง
หรือของผู้อื่น
(2) แสดงตนให้บุคคลอื่นเกรงกลัว ไม่กล้าขัดขืนหรือร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดำเนินการ
เพราะเกรงภัยจะเกิดแก่ตน
(3) ดำรงชีพด้วยการกระทำผิดกฎหมาย
การกระทำตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการใช้ จ้างวาน หรือสนับสนุนการกระทำใด ๆ
ที่เป็นการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งด้วย

ข้อ 3 ในการดำเนินการตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(1) ออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม
หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามข้อ 2
(2) จับกุมตัวบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนำส่งพนักงานสอบสวน
เพื่อดำเนินการต่อไป
(3) ช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนในความผิด
ตามข้อ 2 โดยในการเข้าร่วมดังกล่าวให้ถือว่าเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามเป็นพนักงานสอบสวน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(4) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ
ทั้งนี้ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลซึ่งกระทำความผิด ตามข้อ ๒ หลบซ่อนอยู่
หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิด
ตามข้อ ๒ หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่า
จะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้
เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(5) ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบตาม (4)
(6) กระทำการอื่นใดตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

ข้อ 4 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด
ตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอำนาจเรียกตัวบุคคลนั้นมาเพื่อสอบถามข้อมูล
หรือให้ถ้อยคำอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการตามข้อ 2 และในกรณีที่ยังสอบถามไม่แล้วเสร็จ
จะควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ก็ได้แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวัน แต่การควบคุมตัวดังกล่าวต้องควบคุมไว้ในสถานที่อื่น
ที่มิใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้ต้องหามิได้
เมื่อมีเหตุอันจะต้องดำเนินคดีต่อบุคคลที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งในฐานะเป็นผู้ต้องหา
ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามในฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินการต่อไป
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

Advertisement

ข้อ 5 ในกรณีที่บุคคลใดถูกควบคุมตัวตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง เนื่องจากการกระทำความผิด
ตามข้อ 2 เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามอาจปล่อยตัวไปโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้
เงื่อนไขในการปล่อยตัวตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัย
ตามมาตรา 39 (2) ถึง (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา การห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือการสั่ง
ระงับธุรกรรมทางการเงิน
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อ 6 ให้ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานป้องกัน
และปราบปรามในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ตามที่เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามสั่งการหรือมอบหมาย

ข้อ 7 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วย
เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นพนักงาน
ฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อ 8 การกระทำตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

ข้อ 9 เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม
ที่กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่า
กรณีจำเป็น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2548 แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมาย
ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ข้อ 10 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

คำสั่ง ณ วันที่ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2559

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

12

คำส่ง3

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image