เช็กคะแนนเลือกตั้ง ปี’54 จับสัญญาณกาบัตร ปี’62

เช็คคะแนนเลือกตั้ง ปี’54 จับสัญญาณกาบัตร ปี’62

หากการเลือกตั้งเกิดขึ้นในจริงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 นับเป็นเวลาเกือบ 8 ปี ที่ไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น

เพราะการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ถูกนับว่ามีขึ้น เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้การเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นโมฆะ อีกทั้งในระหว่างวันเลือกตั้งเกิดเหตุการณ์ต่าางๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการปิดล้อม-ปิดล็อกคูหาเลือกตั้ง จนเกิดเหตุปะทะในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ…

ดังนั้นวันเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นคือวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Advertisement

ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น

ทำให้เห็นภาคได้อย่างชัดเจนว่า พรรคเพื่อไทย ยึดเก้าอีกส.ส.ภาคอีสานได้อย่างถล่มทลาย ถึง 104 เก้าอี้ จะมีก็เพียงพรรคภูมิใจไทย ที่แบ่งมาได้ 13 เก้าอี้ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคชาติพัฒนา แบ่งได้พรรคละ 4 ที่ และพรรคชาติพัฒนา ได้มาเพียง 1 เก้าอี้ จากทั้งหมด 126 เก้าอี้

Advertisement

ภาคกลาง จากทั้งหมด 82 เก้าอี้ พรรคเพื่อไทยกวาดมาได้ 47 เก้าอี้พรรคประชาธิปัตย์ 15 เก้าอี้ พรรคชาติไทยพัฒนา 11 เก้าอี้ พรรคภูมทิใจไทย 8 เก้าอี้ และพรรคชาติพัฒนา 1 เก้าอี้

ส่วนภาคใต้จากทั้งหมด 53 เก้าอี้ เป็นพื้นที่ของพรรคประชาธิปัตย์ กวาดมาได้ 50 เก้าอี้ แบ่งให้พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคมาตุภูมิ พรรคละ 1 เก้าอี้

ขณะที่ภาคเหนือมี 36 เก้าอี้ พรรคเพื่อไทยกวาดมาได้เกือบทั้งหมด โดยได้มา 35 เก้าอี้ พรรคประชาธิปัตย์ แบ่งไปได้ 1 เก้าอี้

สำหรับภาคตะวันออก มี 26 เก้าอี้ พรรคประชาได้ได้ไป 12 เก้าอี้ เพื่อไทย และพรรคพลังชล ได้ 6 เก้าอี พรรคภูมิใจไทยได้ 2 เก้าอี้ และพรรคชาติไทยพัฒนา 1 เก้าอี้

ภาคตะวันตก มี 19 เก้าอี้ พรรคประชาธิปัตย์ กวาดไป 12 เก้าอี้ พรรคภูมิใจไทย 4 เก้าอี้ พรรคเพื่อไทย 2 เก้าอี้ และพรรคชาติพัฒนา 1 เก้าอี้

ส่วนพื้นที่ กทม. มี 33 เก้าอี้ พรรคประชาธิปัตย์ยึดพื้นที่ ได้ถึง 24 เก้าอี้ แบ่งให้พรรคเพื่อไทย 9 เก้าอี้

เพื่อไทย , ประชาธิปัตย์ , ภูมิใจไทย , ชาติไทย , พลังชล , อื่นๆ

ขณะที่ส.ส.บัญชีรายชื่อมีทั้งหมด 125 เก้าอี้ พรรคเพื่อไทย ได้ไป 61 เก้าอี้ พรรคประชาธิปัตย์ 44 เก้าอี้ ภูมิใจไทย 5 เก้าอี้ พรรคชาติไทยพัฒนา 4 เก้าอี้ พรรครักประเทศไทย 4 เก้าอี้ พรรคชาติพัฒนา 2 เก้าอี้ พรรคพลังชาล พรรคมาตุภูมิ พรรครักษ์สันติ พรรคมหาชน และพรรคประชาธิปไตยใหม่ แบ่งกันพรรคละ 1 เก้าอี้

พื้นที่ภาคอีสานและพื้นที่ภาคเหนือ จึงเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทย และภาคอีสานยังเป็นพื้นที่ที่มีการแบ่งเขตส.ส.มากที่สุด 126 เขต

ส่วนประชาธิปัตย์ แม้จะได้พื้นที่ภาคใต้เกือบทั้งหมด โดยพรรคเพื่อไทย ไม่สามารถเจาะพื้นที่ได้เลย แต่เขตภาคใต้ ไม่ถึงครึ่งของเขตภาคอีสาน และพื้นที่หลักอีกพื้นที่หนึ่งของประชาธิปัตย์ คือกทม. ภาคตะวันออก และตะวันตก ไที่ได้เสียงมากกว่าพรรคอื่น

อย่างไรก็ตามสำหรับกติกาใหม่ของการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2562 นั้นต่างไปจากเดิม โดยมีการเพิ่มส.ส.บัญชีรายชื่อ จากเดิม 125 คน เป็น 150 คน โดยไปปรับลดพื้นที่ส.ส.เขต ลง 25 เขต และแน่นอนว่าเขตที่ลดมากกว่าใครเพื่อน จึงหนีไม่พ้ืนเขตในภาคอีสาน ที่ทำส.ส.ลดถึง 10 เก้าอี้ จาก 126 เหลือ 116 เก้าอี้ ภาคกลาง ลดลง 6 เก้าอี้ จะ 82 เหลือ 76 เก้าอี้ ภาคใต้ ลดลง 3 เก้าอี้ จาก 53 เหลือ 50 เก้าอี้ ภาคเหนือ ลดลง 3 คน จาก 36 เหลือ 33 เก้าอี้ กทม. ลดลง 3 คน จาก 33 เหลือ 30 เก้าอี้ ขณะที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงคือ ภาคตะวันออกมีส.ส. 26 คน และภาคตะวันตกมีส.ส. 19 คน เท่าเดิม

นอกจากหันเขต ไปโปะบัญชีรายชื่อแล้ว สูตรการคำนวณบัญชีรายชื่อยังสร้างความสับสนอยู่ คะแนนนั้น จะไปตกเป็นของพรรคอันดับที่ 1 เหมือนการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 หรือไม่ หรือจะตกไปอยู่กับพรรคอันดับที่ 2-3-4 ตามที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ว่าไว้

เพราะในรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ระบุว่า การคำนวณหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็นจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร
(2) นำผลลัพธ์ตาม (1) ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรค ที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จำนวนที่ได้รับให้ถือเป็นจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้
(3) นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองจะพึงมีได้ตาม (2) ลบด้วยจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดที่พรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้ง ผลลัพธ์คือจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ
(4) ถ้าพรรคการเมืองใดมีผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เท่ากับหรือสูงกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (2) ให้พรรคการเมืองนั้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามจำนวนที่ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี รายชื่อทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต่ำกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ตาม (2) ตามอัตราส่วน แต่ต้อง ไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจำนวนที่จะพึงมีได้ตาม (2)
(5) เมื่อได้จำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองแล้ว ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งตามลำดับหมายเลขในบัญชีรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในกรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดตายภายหลังวันปิดรับสมัครรับเลือกตั้งแต่ก่อนเวลาปิดการลงคะแนน ในวันเลือกตั้ง ให้นำคะแนนที่มีผู้ลงคะแนนให้มาคำนวณตาม (1) และ (2) ด้วย
การนับคะแนน หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ การคิดอัตราส่วน และการประกาศผลการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สรุป เป็นตัวเลขกลมๆ ว่า หากมีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งให้กับทุกพรรค 25,000,000 คน หารด้วย 500 ได้เท่ากับ 50,000

แล้วนำตัวเลข 50,000 ที่ได้มานั้นหารกับคะแนนของพรรคที่ได้ส.ส.เขตทั้งหมด ซึ่งในปี 2554 พรรคเพื่อไทยได้ 14,000,000 เสียง หารด้วย 50,000 เท่ากับ 280

เท่ากับว่าคะแนนพึงมีของพรรคเพื่อไทยคือ 280 เก้าอี้ หากพรรคเพื่อไทยได้ส.ส.เขต 240 ก็อี้ ก็ต้องได้ส.ส.เพิ่ม อีก 40 เก้าอี้ เท่าคะแนนพึงมี….เว้นเสียแต่ว่าพรรคเพื่อไทย ได้เก้าอี้มากว่าคะแนนพึงมี จึงจะไม่ได้ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่ม…

แต่ก็ดูจะย้อนแย้งกับที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่าไว้ ที่ว่าจะไม่มีพรรคใดได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง…..

เว้นเสียแต่ว่าพรรคเพื่อไทย จะได้คะแนนต่ำว่าที่เคยได้ในครั้งก่อนมอย่างมาก หรือไม่ถึง 10 ล้านเสียงคะแนนจึงจะไม่ถึงหนึ่งอย่างแน่นอน…!!!

แล้วอะไรจะเป็นสาเหตุที่จะทำให้คะแนนของพรรคเพื่อไทยลดลง…

โจทย์ที่กำลังมีคนหาคำตอบ…???

#ทีมงานการเมือง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image