รวมมาตรการ‘รบ.’ เยียวยาทุกกลุ่มบรรเทาพิษ‘โควิด’ กลุ่มประชาชนทั่วไป

1.ลดภาระค่าใช้จ่าย/คืนเงินประกันไฟฟ้า-น้ำ และลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำ ร้อยละ 3 เวลา 3 เดือน, ตรึงอัตราค่าไฟ (FT) เดือนพฤษภาคม 2563 ในอัตรา -11.60 สตางค์ต่อหน่วย, เลื่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2562 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2563

2.สนับสนุนค่ารักษาพยาบาล การจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด-19/ให้ผู้ที่มีอาการป่วยติดโรคโควิด-19 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน หากมีภาวะฉุกเฉินเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลใดก็ได้ทั้งรัฐและเอกชน ใช้กลไกการจ่ายจาก 3 กองทุน (กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนรักษาพยาบาลประกันสังคม และกองทุนรักษาพยาบาลสวัสดิการข้าราชการ), จัดหาหน้ากากผ้า 50 ล้านชิ้น กระจายแล้ว 13 ล้านชิ้น, เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจาก 15,000 บาท เป็นตามจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท

3.จัดการหนี้เดิมที่มีอยู่/พักชำระเงินต้น ไม่เกิน 1-2 ปี/ลดดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 10-20 ต่อปี/ลดดอกเบี้ยเงินกู้และเงินงวดผ่อนชำระไม่เกิน 6 เดือน/ ขยายชำระหนี้ (ธ.ออมสิน/ธ.ก.ส.), รีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิต ธ.ออมสิน 100,000 บาทต่อราย ผ่อนไม่เกิน 4 ปี, โรงรับจำนำปรับลดดอกเบี้ย รับจำนำ และผ่อนผันหรือยืดชำระหนี้แก่ผู้จำนำ, ธ.ออมสิน/ธ.ก.ส. เงินกู้ฉุกเฉิน/กู้เพื่อไปชำระหนี้ที่ต้องชำระ (หนี้ผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน) รายละ 10,000 บาท วงเงินรวม 40,000 ลบ. ดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน กู้ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้น ดอกเบี้ย 6 เดือน, ธ.ออมสิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงกู้ชำระหนี้ที่ต้องชำระ (หนี้ผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน) รายละ 50,000 บาท วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือนเดือน กู้ไม่เกิน 3 ปี, สำนักงานธนานุเคราะห์ (สธค.) ประชาชนฐานราก 200,000 ราย มีเงินจ่ายค่าครองชีพ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.125% ต่อด. กู้ไม่เกิน 2 ปี

4.ให้เงินกู้ใหม่ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (ถ้าต้องการ)/ธอส. วงเงิน 1,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ผ่อนไม่เกิน 6 เดือน กู้ภายใน 31 มีนาคม 2563, วงเงิน 10,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.0% ต่อปี ผ่อนชำระไม่เกิน 4 เดือน กู้ภายใน 30 มิถุนายน 2563, ธ.ออมสิน/ธ.ก.ส. เงินกู้ฉุกเฉิน/กู้ชำระหนี้ที่ต้องชำระ (หนี้ผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน) รายละ 10,000 บาท วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน กู้ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน ปลอดชำระเงินต้น ดอกเบี้ย 6 เดือนไม่ต้องมีหลักประกัน, ธ.ออมสิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงกู้ชำระหนี้ที่ต้องชำระ (หนี้ผ่อนรถ/ผ่อนบ้าน) รายละ 50,000 บาท วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน กู้ไม่เกิน 3 ปี, สธค.-ประชาชนฐานราก 200,000 ราย มีเงินจ่ายค่าครองชีพ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.125% ต่อเดือน กู้ไม่เกิน 2 ปี

Advertisement

5.สนับสนุนการจ้างงาน/สำนักงานงบประมาณจัดสรรงบ 2,700 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานจ้างงานประชาชน จ้างไม่เกิน 6 เดือน อัตราจ้างต่อเดือนไม่เกิน 9,000 บาท

กลุ่มลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดประกอบกิจการ หรือผู้ได้รับผลกระทบอื่นๆ (ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม)
เช่น ลูกจ้างรายวัน หาบเร่แผงลอย คนขับรถรับจ้าง เกษตรกรที่ไม่มีรายได้ประจำ ประชาชนที่มีอาชีพอิสระที่ไม่มีรายได้ประจำ มัคคุเทศก์ ลูกจ้างของสนามมวย สนามกีฬา สถานบันเทิง นวดแผนโบราณ สปา ฟิตเนส
1.สนับสนุนเงิน 3 ล้านคน รายละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน
**(ส่วนมาตรการเยียวยาอื่นๆ เหมือนกลุ่มประชาชนทั่วไป ในข้อ 1-5)

กลุ่มแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม/ผู้มีรายได้ประจำ
เช่น พนักงานบริษัท พนักงานห้างสรรพสินค้า พนักงาน สถานศึกษา พนักงานของสถานประกอบการ

Advertisement

1.ชดเชยรายได้ที่หายไป/เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (โรคระบาด) ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563
(1) กรณีนายจ้างหยุดกิจการ ปิดเอง ประกันสังคมจะจ่ายชดเชยกรณีว่างงาน ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยไม่เกิน 180 วัน (ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน)
(2) กรณีรัฐสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายชดเชยกรณีว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ไม่เกิน 60 วัน (ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน), จ่ายประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตน กรณีลาออกร้อยละ 30 ไม่เกิน 90 วัน (4,500 บาทต่อเดือน) และกรณีเลิกจ้าง ร้อยละ 50 ไม่เกิน 180 วัน (7,500 บาทต่อเดือน)

2.ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตน กำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม จากร้อยละ 5.0 เป็นร้อยละ 1.0 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 3 เดือน, ขยายการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน งวดค่าจ้างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 ออกไปอีก 3 เดือน (งวดค่าจ้างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 ให้นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป คือ กรกฎาคม-กันยายน 2563)
**(ส่วนมาตรการเยียวยาอื่นๆ เหมือนกลุ่มประชาชนทั่วไป ในข้อ 1-5)

กลุ่มผู้ประกอบการทั่วไป
เช่น กลุ่มสถานบริการที่ราชการให้ปิด กลุ่ม SMEs กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่อง

1.คืนสภาพคล่อง-เพิ่มรายได้ / เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการภายในประเทศที่เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดี กรณียื่นแบบ ภ.พ.30 ทางอินเตอร์เน็ต จะได้รับคืนภายใน 15 วัน และกรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา จะได้รับคืนภายใน 45 วัน, คืนสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการในประเทศ (1) ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่มีอัตราร้อยละ 3 ให้เหลือร้อยละ 1.5 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 กันยายน 2563 (2) ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่มีอัตราร้อยละ 3 ให้เหลือร้อยละ 2 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563-31 ธันวาคม 2564 ในกรณีที่จ่ายผ่านระบบ e-Withholding Tax

2.ลด-ชะลอภาระค่าใช้จ่าย/คืนเงินประกันไฟฟ้า-น้ำ/ลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำ ร้อยละ 3 ระยะเวลา 3 เดือน (มีนาคม-พฤษภาคม), ลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับ (1) น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่ใช้บินในประเทศ อัตราภาษีตามปริมาณ 0.20 บาท/ลิตร จนถึง 30 กันยายน 2563 (2) น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงไปต่างประเทศ อัตราตามปริมาณ 0 บาท/ลิตร กรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์/เงื่อนไขที่กำหนด และ 0.20 บาท/ลิตร สำหรับกรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

เลื่อนการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้
(1) ภ.ง.ด.50 กรณียื่นชำระภาษีตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563-30 สิงหาคม 2563 เป็นภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
(2) ภ.ง.ด.51 สำหรับกรณียื่นชำระภาษีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563-29 กันยายน 2563 เป็นภายในวันที่ 30 กันยายน 2563, ขยายชำระภาษีผู้ประกอบอุตสาหกรรมสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน จากยื่นชำระภาษีภายใน 10 วันหลังนำสินค้าออก เป็นอาจขอชำระภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกัน, ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่นๆ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผล
กระทบ ออกไป 1 เดือน

3.จัดการหนี้เดิมที่มีอยู่/มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย โดย ธปท. เช่น ผัดผ่อนการชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน ต่อเนื่องไม่เกิน 5 ครั้ง, มาตรการพักต้นเงินลดดอกเบี้ย และขยายชำระหนี้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธ.ออมสิน พักชำระเงินต้นไม่เกิน 2 ปี ลดดอกเบี้ยตามสัญญาร้อยละ 10-20 ต่อปี ลูกหนี้สามารถรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตได้วงเงินกู้สูงสุด 100,000 บาทต่อราย ผ่อนชำระไม่เกิน 4 ปี อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 8.5-10.5 ต่อปี, ธ.ก.ส. ขยายชำระหนี้เงินต้นเป็นเวลา 1 ปี และ ธพว. พักชำระหนี้เงินต้น 6-12 เดือนขยายชำระหนี้ตามความสามารถ, ธนาคารเอ็กซิมแบงก์ พักชำระ หนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน
ยกเว้นภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่น ทั้งของเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน (สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ Leasing), เก็บค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดร้อยละ 0.01 กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สำหรับเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและเจ้าหนี้อื่น

4.ให้เงินกู้ใหม่ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (ถ้าต้องการ)/ธ.ออมสิน รายไม่เกิน 20 ล้านบาท วงเงินรวม 150,000 ล้านบาท ให้แก่สถาบันการเงิน คิดดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี และให้สถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการร้อยละ 2 ต่อปี ระยะเวลา 2 ปี โดยรัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินแก่ ธ.ออมสิน ร้อยละ 2.5 ต่อปี, ธอส. วงเงิน 1,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย ดบ. 0.01% ต่อปี ผ่อนไม่เกิน 6 เดือน กู้ภายใน 31 มีนาคม 2563 และวงเงิน 10,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.0% ต่อปี ผ่อนไม่เกิน 4 เดือน กู้ภายใน 30 มิถุนายน 2563, ธพว.เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ดอกเบั้ย 3% สำหรับ 2 ปีแรก กู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 5 ปี

5.ส่งเสริมการจ้างงานให้กับผู้ประกอบการ (ไม่ปลดลูกจ้าง) จัดหาสินเชื่อเพิ่มสภาพคล่อง วงเงิน 30,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี ให้แก่สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม มีเงื่อนไขต้องรักษาจำนวนผู้ประกันตนไม่น้อยกว่า 80% ณ วันที่ได้รับสินเชื่อ เป็นเวลา 3 ปี, มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงาน-ไม่ปลดลูกจ้างและคงการจ้างงานถึงธันวาคม 2563 หักรายจ่ายค่าจ้างงานได้ 3 เท่า (ค่าจ้างเดือนเมษายน-กรกฎาคม 63), ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของนายจ้าง กำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม จากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 4.0 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 3 เดือน, ขยายการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน งวดค่าจ้างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 ออกไปอีก 3 เดือน (งวดค่าจ้างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 ให้นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป คือกรกฎาคม-กันยายน 2563)

6.สร้างแรงจูงใจการจัดหาอุปกรณ์ด้านสาธารณสุข และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค/ยกเว้นอากรสำหรับสินค้านำเข้า 3 ประเภท ได้แก่ (1) หน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด (2) หน้ากากกรองฝุ่นหมอกควัน หรือสารพิษ เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย และ (3) วัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเป็นของสำเร็จรูปตาม (1) และ (2)
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบริจาคเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อฯ, ให้บริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ สปน. นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะเพื่อการสาธารณประโยชน์ และเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบริจาคเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อฯ ยกเว้นอากรขาเข้าของที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19) ตามรายการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด

กลุ่มสถานบริการที่ราชการให้ปิด
เช่น ไนต์คลับ ดิสโก้เธค ผับ บาร์ ค็อกเทลเลานจ์ สนามม้า สนามมวย นวดแผนโบราณห้างสรรพสินค้า
ได้รับมาตรการช่วยเหลือเช่นเดียวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทั่วไป และได้รับการช่วยเหลือในมาตรการเพิ่มเติม ดังนี้
ลด/ชะลอภาระค่าใช้จ่าย/ขยายเวลาการยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีของการประกอบกิจการสถานบริการที่จัดเป็นบริการตามบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต จากวันที่ 15 เมษายน 2563 และ 15 พฤษภาคม 2563 เป็น 15 กรกฎาคม 2563 (ไนต์คลับ ดิสโก้เธค ผับ บาร์ ค็อกเทลเลานจ์ ให้รวมสถานที่ที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง ซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 น. และสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด กิจการเสี่ยงโชคประเภทสนามแข่งม้า และสนามกอล์ฟ), ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอื่นๆ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ออกไป 1 เดือน

กลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
ได้รับมาตรการช่วยเหลือเช่นเดียวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทั่วไป และได้รับการช่วยเหลือในมาตรการเพิ่มเติม ดังนี้

1.ลดภาระค่าใช้จ่าย/หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า สำหรับรายจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่าง 1 เมษายน-31 ธันวาคม 2563 กรณีที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าร่วมมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโควิด-19

2.จัดการหนี้เดิมที่มีอยู่/ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) พักชำระหนี้เงินต้นสำหรับเงินกู้ยืมระยะยาวที่มีวงเงินคงเหลือไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นเวลา 6 เดือน ต้องมีประวัติการผ่อนชำระหนี้ดีไม่น้อยกว่า 6 เดือน และต้องไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สำหรับเอสเอ็มอี, บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) พักการชำระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ 12 เดือน สำหรับลูกค้าเอสเอ็มอี เดิมของ บสย. สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ธุรกิจบริการท่องเที่ยวร้านอาหารและโรงแรมที่พัก,
ธนาคารเอ็กซิมแบงก์ ขยายผ่อนชำระเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 2 ปี เพิ่มสัดส่วนการเบิกเงินกู้ ลดดอกบี้ย ลงร้อยละ 0.125 เป็นเวลา 1 ปี

3.ให้เงินกู้ใหม่ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (ถ้าต้องการ)/ธ.ออมสิน โครงการสินเชื่อเอสเอ็มอี ประชารัฐสร้างไทย วงเงินคงเหลือ 40,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย ร้อยละ 4 ต่อปีใน 2 ปีแรก ระยะกู้สูงสุด 7 ปี กำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนเอสเอ็มอี เป็นเวลา 4 ปี
ธพว.โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน วงเงินคงเหลือ 15,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ย เริ่มต้นร้อยละ 3 ต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก วงเงินต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะกู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี (ระยะปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี), ธ.กรุงไทย โครงการสินเชื่อ กรุงไทยเอสเอ็มอี วงเงินคงเหลือ 55,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 4 ต่อปี วงเงินต่อรายสูงสุด 3 เท่าของหลักประกัน กู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี กำหนดจ่ายค่าธรรมเนียม ค้ำประกันสินเชื่อแทนเอสเอ็มอี เป็นเวลา 4 ปี
ธ.ออมสิน โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรระยะที่ 2) วงเงินคงเหลือ 15,000 ล้านบาท ธ.ออมสินคิดดอกเบี้ยกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการอัตราร้อยละ 0.1 ต่อปี และธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการคิดดอกเบี้ยกับเอสเอ็มอี ในอัตราร้อยละ 4.0 ต่อปี วงเงินต่อรายสูงสุด 50 ล้านบาท กู้สูงสุด 7 ปี (ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี)

กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง
ได้รับมาตรการช่วยเหลือเช่นเดียวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการทั่วไป และได้รับการช่วยเหลือในมาตรการเพิ่มเติม ดังนี้
1.คืนสภาพคล่อง/เพิ่มรายได้/สร้างดีมานด์/มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ ให้บริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายที่ได้ จ่ายเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่ได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว เพื่อการอบรมสัมมนาภายในประเทศ หักภาษีได้ 2 เท่า ของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง
ให้หน่วยงานต่างๆ ปรับแผนการเดินทางไปราชการต่างประเทศที่ตั้งไว้สำหรับศึกษาดูงาน ประชุม สัมมนา อบรมที่ต่างประเทศ มาดำเนินการภายในประเทศ หรือเปลี่ยนแปลงงบ ไปตามแนวทางข้างต้น

2.ลด/ชะลอภาระค่าใช้จ่าย/เลื่อนการจ่ายค่าเช่าที่ราชพัสดุสำหรับผู้เช่าประเภทผู้ประกอบการที่อยู่ ธุรกิจท่องเที่ยว และเกี่ยวเนื่องไปจนถึงกันยายน 2563, ขยายชำระค่าไฟฟ้าและน้ำประปาสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า/น้ำประเภทกิจการเฉพาะอย่าง (ธุรกิจโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย) ตลอดจนไม่คิดค่าปรับ (ดอกเบี้ย) ตลอดระยะเวลาผ่อนผัน และผ่อนผันไม่เกิน 6 เดือน ของแต่ละรอบบิล
มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงกิจการโรงแรม ให้บริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงแรมหักรายจ่ายสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการต่อเติมเปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม เป็นจำนวน 1.5 เท่า ของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง
คืนเงินหลักประกันสำหรับธุรกิจนำเที่ยวทุกประเภท ร้อยละ 70 ของเงินหลักประกันเดิม ได้แก่ ธุรกิจนำเที่ยวประเภทเฉพาะพื้นที่ได้คืน 7,000 บาท ประเภทภายในประเทศได้คืน 35,000 บาท ประเภทนำเที่ยวจากต่างประเทศ ได้คืน 70,000 บาท และประเภททั่วไป ได้คืน 140,000 บาท

3.จัดการหนี้เดิมที่มีอยู่ / ขยายชำระหนี้ให้ 2 เท่าของระยะเวลาคงเหลือตามสัญญา สูงสุดไม่เกิน 5 ปี สำหรับลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยว (ธ.ออมสิน)

4.ให้เงินกู้ใหม่ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (ถ้าต้องการ)/ธอส. ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี งวดผ่อนชำระได้ไม่เกิน 6 เดือน ลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เช่น ไกด์นำเที่ยว พนักงานโรงแรม ผู้ประกอบการ รายย่อยในแหล่งท่องเที่ยว,
ธพว.วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 3% สำหรับ 2 ปีแรก ระยะกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 5 ปี เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย (เช่น ธุรกิจทัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจขนส่งที่เกี่ยวเนื่อง รถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า) บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ห้องพัก และร้านอาหาร
ธ.ออมสิน จัดสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวเป็นการเฉพาะ วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท (แบ่งจากมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโควิด-19 วงเงิน 150,000 บาท)

กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ที่กระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้ง
สร้างขวัญและกำลังใจ/ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วย

(1) สำหรับแพทย์และสัตวแพทย์ ที่ปฏิบัติงานใน-นอกหน่วยงานสังกัด สธ. สถานพยาบาลเทศบาลและท้องถิ่นผลัดละ 1,500 บาทต่อคน
(2) สำหรับพยาบาล นักวิชาการด้านการสาธารณสุข นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่ปฏิบัติงานใน-นอกหน่วยงานสังกัด สธ. สถานพยาบาลเทศบาลและท้องถิ่น ผลัดละ 1,000 บาทต่อคน กำหนดให้ผลัดละไม่ต่ำกว่า 8 ชม.
ค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ข้าราชการ หรือข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค โดยได้รับแต่งตั้งจาก สธ.ในการประชุมครั้งละ 1,000 บาทต่อคน
ยกเว้นภาษีเงินได้ปีภาษี 2563 ให้กับบุคคลธรรมดา สำหรับค่าตอบแทนในการเสี่ยงภัยของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้ (1) ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุม และรักษาผู้ป่วยจากไวรัสโควิด-19 (2) ค่าตอบแทนบุคคลที่มิใช่ข้าราชการหรือข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจาก สธ.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image