จับตา‘สมรภูมิใหญ่’ สงคราม-ความเชื่อมโยง

จับตา‘สมรภูมิใหญ่’ สงคราม-ความเชื่อมโยง

หมายเหตุรศ.ดร.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างอิหร่านกับอิสราเอลที่เชื่อมโยงกับประเด็นภูมิรัฐศาสตร์โลก

ความขัดแย้งของอิหร่านกับอิสราเอล เป็นปมร้าวลึกทางประวัติศาสตร์อยู่แล้ว เพราะว่าสำหรับอิหร่านแล้ว การที่ถูกโจมตีสถานทูต ถือว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ที่ผ่านมาอิหร่านก็ไม่ไว้ใจอิสราเอลกับสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว จนเกิดการจับตัวนักการทูตของอเมริกาเป็นตัวประกัน มีแหล่งข้อมูลจากอิสราเอลมาเป็นระยะว่า อิหร่านก็มีส่วนสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของอิสราเอล

ฉะนั้น เรื่องราวที่เกิดขึ้นจึงเป็นมูลเชื้อของความไม่ไว้ใจ ในเชิงของประวัติศาสตร์การทูตอยู่แล้ว สำหรับอิหร่านเอง ตัดสินใจชิงโจมตีอิสราเอล เพื่อเป็นการสั่งสอนและป้องปรามด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนวิเคราะห์เหมือนกันว่า สถานการณ์มันลุกลามบานปลาย และจะทำให้ตะวันออกกลางมันร้อนระอุขึ้น

ครั้งนี้ อิหร่านเข้ามาเกี่ยวข้องในความขัดแย้ง เป็นประเทศมหาอำนาจระดับกลางในเวทีการเมืองเหมือนกัน ก็อาจจะสร้างความผันผวนพอสมควร นับจากนี้ต้องรอดูกันว่าสงครามจะขยายสเกลมากขึ้นหรือไม่ เพราะว่าเกิดการโจมตีจากอิหร่านมาเลย โจมตีมาที่อิสราเอล มันไม่ได้โฟกัสที่ฉนวนกาซาหรืออิสราเอล ปาเลสไตน์ ซีเรีย เพียงอย่างเดียวอีกแล้ว รวมถึงการดำรงอยู่ของอิสราเอลในตะวันออกกลาง เป็นองค์ประกอบนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐมาหลายปีอยู่แล้ว ความจริงถ้าย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคสงครามเย็น สหรัฐก็มีส่วน เพราะสหรัฐจะทุ่มเททรัพยากรหลายอย่างมาที่ตะวันออกกลาง ด้วยการซัพพอร์ตความแข็งแกร่งของอิสราเอลอยู่ เพื่อให้สู้กับทั้งเรื่องปาเลสไตล์ในอดีต รวมถึงแนวร่วมอื่นของปาเลสไตน์ด้วยก็ดี โดยเฉพาะการกดดันอิหร่าน ผมคิดว่ามันเป็นการปกป้องผลประโยชน์ระดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาในพื้นที่ตะวันออกกลาง

Advertisement

อีกส่วนหนึ่ง คือ สหรัฐกับอิหร่าน เป็นไม้เบื่อไม้เมากันอยู่แล้ว ตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่านโดยอยาตอลเลาะห์รูฮอลเลาะห์ โคไมนี และการล้มล้างพระราชวงศ์ปาห์ลาวี มีการจับกุมตัวนักการทูตของสหรัฐเป็นตัวประกันอะไรแบบนั้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้สหรัฐกับอิหร่านไม่ถูกกันอยู่แล้ว

วันนี้อิหร่านก็คงคิดว่า เคยถูกสหรัฐปิดล้อมในเชิงยุทธศาสตร์มาก่อน โดยเฉพาะการที่สหรัฐไปบุกอิรักกับอัฟกานิสถาน เป็นการล็อกอิหร่านไว้ทั้งซ้ายและขวา แม้วันนี้สหรัฐจะถอนกำลังและอิทธิพลลดลงใน 2 รัฐนี้แล้ว แต่ว่าการเคลื่อนไหวของซีไอเอ หรือหน่วยอื่น ก็ยังทำให้อิหร่านหยุดนิ่งไม่ได้ รวมถึงการที่อิสราเอลสามารถชนะพันธมิตรของอิหร่านได้นั้น มันก็ทำให้อิหร่านไม่สบายใจอยู่ในหลายจุด จึงจะต้องเริ่มชิงโจมตีเพื่อเป็นการป้องปราม อิหร่านก็คิดว่าตัวเองมีรัสเซีย เกาหลีเหนือ หรือแนวร่วมอื่นที่จะสนับสนุนร่วมรบกับอเมริกา

สถานการณ์ความขัดแย้งของโลกตอนนี้ คิดว่ามันกำลังผูกโยงกันทุกมุมแล้ว ทั้งจากศึกระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่ทะเลดำหรือยูเรเซีย แล้วลงมาที่ตะวันออกกลาง อิสลาเอล ฮามาส แล้วตอนนี้ขยับมาที่อิหร่านอีก อิหร่านก็เป็นรัฐขนาดใหญ่ในตะวันออกกลาง เป็นรากฐานของอารยธรรมแบบเปอร์เซีย ก็เป็นมหาอำนาจสำคัญระดับหนึ่งของภูมิภาคนี้

Advertisement

ดังนั้น การที่อิหร่านขยับเขยื้อนจะขยับไปทิศทางเดียวกันกับรัสเซีย หรือปาเลสไตล์ พร้อมกับกลุ่มพันธมิตรอะไรอย่างนี้ ถ้ามันเคลื่อนไปแนวเดียวกัน อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะมันหมายถึงการได้ตั้งเป้าหมายสู้กับศัตรูตรงข้ามคนเดียวกัน คือ อิสราเอล และสหรัฐอเมริกา รวมถึงรัฐตะวันตกบางประเทศ ฉะนั้นการแยกขั้วตอนนี้จึงเป็นการปักม่านปะทะประชันกัน ตั้งแต่ด้านบนของยูเรเซีย จากตอนบนของพื้นที่ยูเรเซีย ตั้งแต่แถวยูเครนลงมาตะวันออกกลาง ในด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก มันมีแรงผ่าให้เกิดแนวสู้กัน ระหว่างกลุ่มพันธมิตรที่แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว

สเกลมันการขัดแย้งอาจขยายไปถึงการเกิดแนวร่วมอะไรบางอย่าง จากเอเชียตะวันออกอย่าง ประเทศจีน และเกาหลีเหนือ สำหรับการเกิดท่าทีที่จะเอนเอียงไปซัพพอร์ตทางการเมือง ที่ร้อนระอุระหว่างอิหร่านและอิสราเอล หรือแม้กระทั่งรัสเซียและยูเครนตอนนี้ คิดว่ามันเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกัน เพื่อต่อการตั้งเป็นค่ายภูมิรัฐศาสตร์ในแนวยาวขึ้นมา

เราก็ลุ้นกันว่าขอให้เป็นสงครามที่จำกัดขอบเขต คือ อยู่ในอาณาบริเวณขนาดย่อม แต่ตอนนี้ดูทิศทางแล้วสเกลมันใหญ่ขึ้น แล้วเป็นการขยับของมหาอำนาจจากแอเรีย (Area) หนึ่ง มายังอีกแอเรียหนึ่งในทิศทางที่คล้ายกัน จะทำให้สเกลในการเกิดสงครามมันเหวี่ยงวงสะวิงไปในสเกลที่กว้างใหญ่ มันจะไม่เป็นผลดีต่อระเบียบโลก มันอาจจะไม่มีการยับยั้งในช่วงเวลาที่ทันท่วงที

ตอนนี้การที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาลงในศึกของรัสเซียกับยูเครนที่ยูเรเซีย เข้ามาอยู่ในระบบความมั่นคงในตะวันออก แล้วก็เข้ามาที่อิสราเอล ฮามาส ตะวันออกกลาง และก็ยังไม่นับการที่สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในเอเชียคาบสมุทรเกาหลี และอินโด-แปซิฟิก มันก่อไปทั่วโลกแล้ว เพราะฉะนั้นสหรัฐอเมริกาขยับการหนุนยูเครน อิสราเอล เกาหลีใต้ และอาจจะหนุนรัฐบาล NUG ในพม่า เพื่อการต่อสู้กับรัฐบาลทหารของมิน อ่อง ลาย

ด้านรัสเซียเองก็ขยับฝั่งอิหร่านลุยกับสหรัฐที่ยูเรเซีย ในศึกของยูเครนกับอิหร่าน และก็ขยับการตีในอิสราเอลแล้ว ซึ่งทางรัสเซีย อิหร่าน หรือเกาหลีเหนือก็น่าจะขยับช่วยเหลือกัน แล้วพวกนี้มีแนวโน้มในการซัพพอร์ตรัฐบาลทหารพม่า เอาจริงแล้วเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้บ้านเราเหมือนกัน คิดว่าทั้งหมดนี้เป็นการขยับของทางมหาอำนาจที่กระทบกันเป็นทอดๆ ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะเห็นได้จากร่องรอยการแตกหักของพันธมิตร ในแต่ละค่ายที่สู้กันในสเกลกว้างขึ้น

ทั้งนี้ สถานการณ์ตอนนี้ก็เป็นเรื่องใกล้บ้านเราด้วย เพราะการแข่งขันระหว่างสหรัฐ จีน รัสเซีย ก็มีความเข้มข้นอยู่รอบประเทศไทย โดยเฉพาะในกรอบของอินโด-แปซิฟิก, 1 กรอบ 1 เส้นทาง และกรอบของทะเลจีนใต้ มันก็มีการเอ็นเคาน์เตอร์ (Encounter) เผชิญหน้ากันอยู่ในด้านภูมิรัฐศาสตร์

คราวนี้ก็อาจจะใกล้บ้านเราขึ้นมา ในแง่ที่ความขัดแย้งที่อิสราเอล และฝ่ายตรงข้าม เป็นเรื่องของศาสนา และกระทบถึงหลักสังคมมุสลิมด้วย ซึ่งอิสราเอลเป็นยิว แต่คีย์แมนที่สำคัญ คือ คนเชื้อสายยิวเข้าไปอยู่ในเครือข่ายสำคัญที่จะกำหนดนโยบายทางการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา หรือแม้กระทั่งเรื่องของพลังงานน้ำมันด้วย ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น

อีกทั้ง อิสราเอลก็ไปขัดแย้งกับปาเลสไตล์ และอีกหมายประเทศที่เกี่ยวกับมุสลิม มีการขยับตรงนี้ ฉะนั้นถ้าเข้มข้นกลมเกลียวกันมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อชาวมุสลิมแถบบ้านเรา และประเทศอื่นในอาเซียน จะมองสถานการณ์ตอนนี้อย่างไร และจะถูกแบ่งขั้ว (polarized) กันบ้างไหม สำหรับเรื่องของอารยธรรมแบบตะวันตก กับอารยธรรมแบบอิสลามแบบเคร่งครัด มันเกี่ยวพันกันอย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อนเลย

ส่วนที่ใกล้ตัวกับประเทศเรา จะเห็นได้ว่ามีความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องของการช่วงชิงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เห็นชัด จะเป็นเรื่องของพม่า เพราะรัฐบาลมิน อ่อง ลายได้รับการซัพพอร์ตจากรัสเซียและเกาหลีเหนือ ส่วนรัฐบาล NUG ได้รับการซัพพอร์ตจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรื่องของโรฮีนจาที่เงียบไปแต่ยังไม่จบ มันก็เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้ง ระหว่างคนมุสลิมกับคนพุทธด้วย รวมถึงความสัมพันธ์ของปากีสถาน อิหร่านที่มีต่อกองทัพพม่า ก็ใช่ว่าจะไม่มี ก็มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันบางโครงการทหาร และเกี่ยวกับเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ แร่ยูเรเนียม ที่มีความเกี่ยวข้องกับความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับกองทัพพม่า

ที่พูดมาทั้งหมดนี้มองจากพม่า เก็จะเห็นตัวผู้กระทำการ (Actor) เข้ามาจับกันหลายกลุ่มแล้ว เพียงแต่วันนี้อิทธิพลของพม่ายังอ่อนอยู่ ถ้าเทียบกับสหรัฐอเมริกาที่มุ่งไปที่อิสราเอล แล้วตอนนี้ก็เน้นจัดการกับอิหร่านในพื้นที่ตะวันออกกลาง

ฝั่งรัสเซีย ยูเครน ก็อาจจะมีผู้ถือผลประโยชน์ร่วม (stakeholder) บางกลุ่มที่สหรัฐยังพอมีอิทธิพลอยู่บ้างในพม่า แต่ว่าการที่สหรัฐจะยกกองกำลังมาที่พม่าเยอะนี้ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งก็จะกลายเป็นว่าตอนนี้พม่าได้รับอิทธิพลจากจีนเข้าไปเยอะอยู่ในช่วงนี้ สหรัฐจะแก้เกมอย่างไรก็ค่อยว่ากันอีกที แต่ตอนนี้กำลังจะลากไปลงที่อิสราเอลกับอิหร่านที่กำลังเป็น ณ ตอนนี้

ด้านการรับมือของสหประชาชาติต้องค่อยดูกลไกกัน โดยองค์ประกอบหลักของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) กำลังจะประชุมกัน แต่ว่าก็มีจีน รัสเซีย สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส อยู่ด้วย น่าจะมีการงัดข้อถ่วงดุลกัน เพราะว่ามติท้ายที่สุดแล้วมันต้องมีการวีโต้ (Vito) กัน ต้องไม่มีทางคัดค้าน เพราะถ้ารัสเซียกับอิหร่ายังมีความสัมพันธ์ที่ยังคงแนบแน่นกันอยู่ หรือจีนก็น่าจะเอนเอียงไปทางอิหร่านอยู่บ้าง คงไม่อยากเป็นศัตรูกับอิหร่าน หรือไม่อยากร่วมหัวจมท้ายกับสหรัฐในการยำอิหร่าน

ตอนนี้คิดว่าเสียงยังไม่มีมติที่มีความชัดเจนออกมาจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพราะฉะนั้นอยากมองภาพที่ลดลองมาจากระดับการรับมือของยูเอ็นลงมา แล้วมองถึงการเมืองเฉพาะหน้าเกี่ยวกับการสู้รบ เพื่อความอยู่รอด เพื่อการแก้แค้น เพื่อศักดิ์ศรี ก็ยังคงเป็นกำลังรบของสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงวางกองกำลังควบคุมไว้ที่ตะวันออกกลาง

อันนี้ก็คงต้องมาดูกันต่อว่าสหรัฐอเมริกา น่าจะมีกำลังของตัวเองและพันธมิตร จะไปโยกกำลังจากไหนมาได้บ้างในการมาจัดการกับอิหร่าน ตอนนี้มีการใช้โดรนเข้ามาถล่ม และมีระบบการป้องกันภัยทางอากาศของอิสราเอลที่สหรัฐเข้าบุก หากในอนาคตสงครามใหญ่โตขึ้นแล้ว สหรัฐอเมริกาก็มีฐานกำลังในคูเวต ซาอุดีอาระเบีย และรัฐต่างๆ รอบอ่าวเปอร์เซียที่เคยใช้จัดการกับอิรักมาแล้ว จะมีการโยกเข้าไปในอิหร่านอย่างไร

การใช้กองกำลังของสหรัฐแทรกเข้าอีกอยู่ในอีกการรบหนึ่งของอัฟกานิสถาน ยังคงต้องรับมือกับกองรบทาลิบันด้วยส่วนหนึ่งเหมือนกัน จะใช้แนวรบตรงนี้ไหม หรือถ้ายังไม่ใช้ ก็ต้องโถมปิดล้อมอิหร่านทางทะเล หรือทางพื้นทวีปบางส่วน แต่ถ้าใช้แนวรบจากอัฟกานิสถานแล้ว มันจะคุ้มไหม หรือจะเลือกใช้กองกำลังจากเทือกเขาคอเคซัส เช่น จอร์เจีย มันถึงจุดเคลื่อนพลมาปิดล้อมอิหร่านได้ไหม ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด

ทั้งหมดนี้คือกองกำลังที่อยู่ในมือของสหรัฐอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสหรัฐสามารถเดินด้วยตัวเอง พร้อมกับพันธมิตรแถวนั้นในการสู้กับอิหร่านได้ แต่อิหร่านก็รู้ ไม่งั้นคงไม่เสี่ยงชิงถล่มอิสราเอล เพราะก็รู้ว่าสหรัฐปกป้องอิสราเอลอยู่ แต่อิหร่านเขาก็มีพันธมิตรที่สำคัญของเขาเหมือนกัน ที่สามารถจะต่อติดกันได้

ยกตัวอย่าง หนึ่งในพันธมิตรของอิหร่าน เช่น รัสเซียมีอิทธิพลบางส่วนอยู่บริเวณคอเคซัส จะสามารถลดกองทัพสหรัฐ ที่จะเคลื่อนมาจากตรงนั้นได้ รวมถึงรัสเซียก็ยังคงมีอิทธิพลที่แทรกอยู่ในอัฟกานิสถาน ซีเรีย ก็จะสามารถช่วยอิหร่านได้ในการยึดภาคพื้นทวีปอันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าจับตากันอีกทีหนึ่งว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร

ถ้าสงครามเป็นอยู่อย่างนี้อยู่ แล้วยังไม่ยุติเสียทีมีโอกาสที่สงครามจะกินเข้าไปในซีกตะวันตกทั้งหมดของยูเรเซียเลย คือ ตั้งแต่ด้านยูเครน ไครเมียทะเลดำ บางส่วนของตุรกี ลงมาอิสราเอล ตะวันออกกลาง แล้วก็น่าจะลงมาที่เขตอารยธรรมเปอร์เซียร์ของอิหร่านด้วย มันจึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image