คอลัมน์ โลกสองวัย : เป็นคำนิยาม ‘แม่’ และบทเพลง

มีคำถามว่า คุณหมอเขียนบทความเรื่องนี้ทำไม คำตอบของคุณหมออาจผิดความคาดหมายของคุณ

เพราะคุณหมอบอกว่า

ผมเขียนบทความนี้เพื่อไถ่โทษให้กับการกระทำของตัวเอง

ผมคือชายถือกรรไกร ผมทำลายหลักฐานทุกอย่างของชีวิตก่อนเกิดของใครหลายคน

Advertisement

แน่นอน ผมไม่มีหลักฐานเป็นชิ้นเป็นอันที่จะพิสูจน์สิ่งที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้

อย่างไรก็ดี ผมอยากให้คุณได้เห็นอะไรบางอย่าง ผมหวังว่ามันคงช่วยยืนยันสิ่งที่ผมเขียนมาได้บ้าง ขอเพียงคุณเปิดใจมากพอ

เลิกชายเสื้อขึ้นดูสิครับ สิ่งที่ผมพูดถึงคือสิ่งที่อยู่กลางท้องคุณ

Advertisement

มองผ่านคราบขี้ไคลลงไป ลองใช้มือสัมผัสมันดูก็ได้

รู้สึกมั้ย นั่นแหละชีวิตก่อนการเกิดของคุณ

ฉับ !!!

สำหรับคนทั่วไป เสียงกรรไกรครั้งนั้น เปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่าง แต่สำหรับใครบางคนยังคงทำหน้าที่ส่งอาหาร จัดการเรื่องการขับถ่าย แม้กระทั่งดูแลเรื่องการหายใจให้กับใครอีกคนอย่างที่เธอเคยทำ

เพียงแต่ครั้งนี้ เธอทำมันผ่านสายสัมพันธ์ทางใจ

และเท่าที่ผมเห็นมา สายสัมพันธ์นี้ กรรไกรคมแค่ไหนก็ไม่สามารถตัดมันให้ขาดจากกันได้เลย

“…ลองคิดพินิจให้ดี ค่าน้ำนมแม่นี้จะมีอะไรเหมาะสมโอ้ว่าแม่จ๋า ลูกคิดถึงค่าน้ำนม เลือดในอกผสมกลั้นเป็นน้ำนมให้ลูกดื่มกิน…”

เพลงค่าน้ำนมเป็นหนึ่งใน 5-6 เพลงที่ ไพบูลย์ บุตรขัน แต่งให้มารดา คือนางพร้อม ประณีต (ไพบูลย์มีนามสกุลเดิมว่า “ประณีต”) ซึ่งเป็น

ผู้ดูแลครูไพบูลย์อย่างใกล้ชิดมาตลอด ตั้งแต่วัยหนุ่มจนท่านเสียชีวิตเมื่ออายุ 70 ปี วันที่ 30 เมษายน 2508 ขณะที่ครูไพบูลย์ป่วยเป็นโรคเรื้อนที่ผู้คนทั่วไปรังเกียจ

เพลงนี้เป็นเพลงแรกที่ ชาญ เย็นแข บันทึกเป็นแผ่นเสียง หลังจากตั้งใจจะให้ บุญช่วย หิรัญสุนทร เป็นผู้ขับร้องบันทึกเสียงให้กับวงดนตรีของครูสง่า อารัมภีร แต่บุญช่วยป่วย ไม่สามารถมาร้องได้ ครูสง่าจึงให้ ชาญ เย็นแข ลูกศิษย์ ขับร้องแทน

ค่าน้ำนม ขับร้องครั้งแรก ครูสง่า อารัมภีร เป็นผู้เล่นเปียโนและเรียบเรียงเสียงประสานกับ ประกิจ วาทยากร วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2492 โดยบริษัท นำไทย จำกัด เป็นแผ่นเสียงตราสุนัข สลากเขียว แผ่นครั่งขนาด 10 “ความเร็ว 78 รอบต่อนาที จำหน่ายได้ 800 แผ่น”

หลังจากแผ่นเสียงออกจำหน่ายได้รับความนิยมอย่างมากมาตลอดหลายปี ลาวัณย์ โชตามระ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส เคยบันทึกไว้เมื่อ ปี 2508 ว่า นับเป็นประวัติการณ์ที่ทางการยุคนั้นกำหนดให้ 15 เมษายน เป็นวันแม่ เมื่อถึงวันนั้นวิทยุจะกระจายเสียงเพลงค่าน้ำนมทั้งวัน

ต่อมา ผู้ขับร้องคือ สมยศ ทัศน์พันธ์ ยังเป็นเพลงยอดนิยมใน “วันแม่” มาถึงยุคนี้

“…ค่าน้ำนมควรชวนให้ลูกฝัง แต่เมื่อหลังเปรียบดังผืนฟ้าหนักกว่าแผ่นดิน บวชเรียนพากเพียรจนสิ้น หยดหนึ่งน้ำนมกินทดแทนไม่สิ้นพระคุณแม่เอย…”

นั้นคือ “…บุญคุณอันใหญ่หลวง (ของแม่) ที่เฝ้าหวงห่วงลูกแต่หลังเมื่อยังนอนเปล แม่…เราเฝ้าโอละเห่ กล่อมลูกน้อยนอนเปลไม่ห่างหันเหไปจนไกล…”

จาก “ค่าน้ำนม” ที่ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) ฟังมาตั้งแต่เล็กจนโตป่านนี้ กระทั่งแม่ล่วงลับไปแล้ว ยังไม่เคยลืมเลือนไปจากหัวใจ ขณะที่ในห้วงใกล้เคียงกัน อีกเพลงหนึ่งซึ่งข้าพเจ้า (ผู้เขียน) ขอให้ บูรพา (เต้ย) อารัมภีร ค้นเนื้อร้องและประวัติให้เมื่อสองสามปีก่อน คุณพี่เต้ยอุตส่าห์ใช้เวลาไม่นานจึงได้เนื้อเพลงที่ข้าพเจ้า (ผู้เขียน) “ฮัม” ให้ฟังส่งมาทาง “ไลน์” เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559 ชื่อเพลง “กล่อม” ใครเคยฟังมั่งเอ่ย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image