พรุ่งนี้ฟัง’พระเจ้าเสือ’

“นวลเจ้าพี่เอย คำน้องเอ่ยล้ำคร่ำครวญ ถ้อยคำเหมือนจะชวน ใจพี่หวน ครวญคร่ำอาลัย

“น้ำตาอาบแก้ม เพียงแซมด้วยเพชรไสว แวววับจับหัวใจ เคล้าแสงใต้ งามจับตา

“นวลแสงเพชร เกล็ดแก้วอันล้ำค่า คราเมื่อแสงไฟส่องมา แวววาวชวนชื่นชม

“น้ำตาแสงใต้ ดื่มใจพี่ร้าวระบม ไม่อยากพรากขวัญภิรมย์ จำใจข่มใจไปจากนวล

Advertisement

“นวลเจ้าพี่เอย นวลเจ้าพี่เอย”

ขึ้นต้นประโยคแรก นักฟังเพลงและเคยฟังเพลงนี้ทราบทันทีว่าชื่อเพลง “น้ำตาแสงใต้” มีตำนานเป็นที่รู้จักดีว่า ผู้ประพันธ์ทำนองคือ ครูแจ๋ว-สง่า อารัมภีร ผู้ประพันธ์คำร้อง คือครูแจ๋ว ครูมารุต และครูเนรมิต ผู้เรียบเรียงเสียงประสานคือ พณวรรธน์ พงศ์ภักดีบริบาล

เพลงนี้ได้ชื่อว่าเป็นเพลงอมตะอีกเพลงหนึ่งที่แต่งขึ้นเป็นเพลงเอกในละครเวทีเรื่อง “พันท้ายนรสิงห์”

Advertisement

ประโยคหนึ่งเรื่องของกวีที่รู้กันว่าเป็นวรรคทองที่มักร้อยแยกคำคือ “จำใจข่ม ใจไปจากนวล” ตามรูปประโยคคือ “จำใจ ข่มใจ ไปจากนวล”

หยิบยกเพลง “น้ำตาแสงใต้” ขึ้นมานำเรื่อง ไม่ใช่จะแนะนำเพลงนี้ แต่มีวาระสำคัญคือ

พรุ่งนี้ 21 เมษายน 2559 เวลา 13.30-16.30 น. ที่ห้องโถงมติชนอคาเดมี สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา มีรายการสนทนาเรื่อง

แผ่นดินพระเจ้าเสือ และตำนานพันท้ายนรสิห์

ผู้นำสนทนาคือ รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา และประเทศพม่า

ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักเขียนและผู้จัดรายการวิทยุทัวร์อดีตกับนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เรื่องของพระเจ้าเสือที่คนไทยรู้จักดี คือพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ชอบปลอมพระองค์ออกไปชกมวยกับราษฎร และมีตำนานพร้อมกับการเสด็จทางชลมารคไปยังคลองโคกขาม ซึ่งคดเคี้ยวเลี้ยวลดเป็นเหตุให้ “พันท้ายนรสิงห์” คัดท้ายเรือไม่พ้น “โขนเรือชนไม้หักปี้ป่น นรสิงห์รู้โทษตน กระโดดขึ้นบนฝั่งถวายชีวิตตัว”

ทั้งสองเรื่อง ที่มีในพงศาวดารเรียกพระองค์ว่า “พระเจ้าเสือ” หรือ “หลวงสรศักดิ์” ซึ่งเล่าว่าเป็นพระราชโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์กับเจ้าหญิงเชียงใหม่

ใน,ฐานะ “หลวงสรศักดิ์” ทรงนำทหารบุกวังลพบุรี แล้วหนุนพระบิดาบุญธรรมชาวเมืองสุพรรณบุรีขึ้นครองราชย์ จากนั้นจึงจัดการกับบรรดาพี่น้องที่จะมาเป็นรัชทายาท

พระเจ้าเสือขึ้นครองราชย์เป็นอันดับที่สองของราชวงศ์สุดท้ายก่อนเสียกรุงศรอยุธยา

พงศาวดารเล่าว่า ทรงชอบเด็กหญิงที่ยังไม่มีระดู และทรงประหารพันท้ายนรสิงห์ ผู้ซื่อตรง อันเป็นที่มาของละครเพลงเวทีเรื่องพันท้ายนรสิงห์ที่นำกลับมาแสดงอีกครั้งก่อนจะรื้อโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยที่เป็นโรงละครเริ่มแรก และพันท้ายนรสิงห์คือละครที่แสดงเป็นเรื่องแรกประเดิมโรงละครศาลาเฉลิมไทย หัวมุมถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

วัดที่ทรงสร้าง ณ สถานประสูติที่เมืองพิจิตร นับเป็นวัด “ขลัง” วัดหนึ่ง และทรงถูกนับว่าเป็นตัวอย่างความเสื่อมของกรุงศรีอยุธยา

… แต่ทั้งหมดนี้มีเรื่องจริงมากน้อยแค่ไหน ?

 

ขอเชิญร่วมรับฟังในวันเวลาตามกำหนด ฟรี !! เพื่อประกันความผิดหวัง โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า โทรศัพท์ 0-2580-0021-40 ต่อ 1206, 1228 เปิดลงทะเบียนล่วงหน้า 2 วันแล้ว ลงทะเบียนวันนี้ยังทัน

อย่างเคย สำหรับลูกค้า AIS สำรองที่นั่ง 50 คนแรก รับพ็อกเก็ตบุ๊ก ฟรี (โปรดแสดงสิทธิกับเจ้าหน้าที่ จะได้รับสิทธินั้นในวันงานทันที)

ผู้สนับสนุน AIS 4G SCG (ปูนตราช้าง) กรมศิลปากร และยาธาตุน้ำขาวไทยนคร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image