ตำนานพันท้ายนรสิงห์

วันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เมื่อ 234 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 หลังปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 06.54 น.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี บันทึกว่า พิธียกเสาหลักเมืองตามตำราเรียกว่าพระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ เส้นผ่านศูนย์กลางที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองพ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลึกลงในดิน 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง

เสาหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์อยู่ตรงข้ามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) บูรณะซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้ง คือสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเสาหลักเมืองเดิมเนื่องจากชำรุด แล้วจัดสร้างเสาหลักเมืองใหม่ เป็นแก่นไม้สัก ประกับด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานกว้าง 70 นิ้ว บรรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์สูงกว่า 5 เมตร อัญเชิญเสาหลักเมืองเดิมกับเสาหลักเมืองใหม่ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ ตามแบบอย่างศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.2395

หลังจากนั้นมีการบูรณะซ่อมแซมใหญ่เมื่อ พ.ศ.2523 เตรียมเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ใน พ.ศ.2525

Advertisement

ที่ศาลหลักเมือง ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง 5 คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี ด้านข้างจัดให้มีคณะละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ที่ต้องการบูชาหลักเมืองว่าจ้างรำบูชา

10 โมงเข้าวันนี้ถึงบ่ายสามโมงเย็น ที่ด้านหลังอาคารมติชนอคาเดมี ติดตลาดน้อยประชาชื่น จัดจำหน่ายพืชผักผลไม้ อาหาร และเครื่องใช้ในราคาถูกเป็นกันเอง-เห็นว่าลูกชิ้นปิ้งอร่อย

ด้านหน้าเป็นร้านจำหน่ายหนังสือ มติชนบุ๊กสโตร์ มีหนังสือของสำนักพิมพ์มติชน และสำนักพิมพ์อื่นให้น้องหนูเลือกซื้อหาหนังสือทั้งใหม่ที่เพิ่งพิมพ์ออกมาจำหน่าย และหนังสือเก่า ในราคาลดเป็นพิเศษ

Advertisement

ตรงกลางห้องโถง เวลา 13.30 น. วันนี้เป็นรายการสโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา

เสวนาเรื่อง “แผ่นดินพระเจ้าเสือ และตำนานพันท้ายนรสิงห์”

ผู้เสวนาคือ รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ กับ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ

ก่อนเริ่มงานอาจจะได้รับฟังเสียงเพลงพันท้ายนรสิงห์ กับเพลงน้ำตาแสงใต้ที่ไพเราะ

เพลงน้ำตาแสงใต้มีเวอร์ชั่นเดียว แต่เพลงพันท้ายนรสิงห์มีสองสามเวอร์ชั่น คือเวอร์ชั่นแรกประกอบละครเวที เวอร์ชั่นต่อมาประกอบภาพยนตร์ และเวอร์ชั่นสุดท้ายของค่ายอาร์เอส

เวอร์ชั้นเดิมประกอบละครเวทีครั้งแรกที่โรงละครศาลาเฉลิมไทย พ.ศ.2493 คือเพลงพันท้ายนรสิงห์ คำร้อง พันตรี ศรีโพธิ์ ทศนุต ทำนอง เนรมิต, มารุต ผู้ขับร้อง ประนอม คุปตะวาทิน และ สิงห์ อิ่มหล้า

“ปางเมื่อพระเจ้าเสือ เสด็จประทับ เรือเอกไชย ประพาสชลาลัย ใคร่สำรวจตรวจพารา พันท้ายนรสิงห์ ถือท้ายนิ่ง ระวังนาวา เอกไชยแล่นเข้าคลองมา ล่วงถึงหน้าโคกขามตำบล (เฮ้ เฮ เฮ้ เฮ เห่ เฮ เฮ เฮ)

คลองคด คัดเรือไม่ไหว โขนเรือโดนไม้ หักปี้ป่น นรสิงห์รู้โทษตน กระโดดขึ้นบนฝั่ง ถวายชีวิตตัว นรสิงห์ทูลถวายชีวิต เมื่อทำผิด แล้วไม่กลัว เกียรติศักดิ์ รักยิ่งกว่าตัว ยอมเสียหัว ไม่ยอมเสียวินัย จนพระทัย สั่งให้ประหาร แล้วสร้างศาลคู่กันไป เอาศีรษะนรสิงห์ไว้ อีกโขนเรือ เคียงคู่กัน (เฮ้ เฮ เฮ้ เฮ….)

“พี่น้องทุกเหล่าเชื้อเผ่าไทย จงรักษาเกียรติวินัย เช่นนรสิงห์ ไทยต้องรักวินัยให้มั่นจริง บูชายิ่งกว่าหัวใจ อย่าได้ลืม อย่าได้ลืม”

รายการเสวนา มีเอกสารแจกฟรี พร้อมน้ำชากาแฟและอาหารว่างรับรองผู้เข้าร่วมฟังเสวนา ลูกค้า AIS สำรองที่นั่งล่วงหน้า 50 คนแรกโปรดแสดงสิทธิกับเจ้าหน้าที่หน้างาน รับพ็อคเก็ตบุ๊กฟรี พบกันในงานครับ

13007202_864400373689356_5530577842717324892_n

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image