สุวรรณภูมิในอาเซียน : จิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของจีน นิทรรศการพิเศษในไทย

ซ้าย-จักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ รูปสลักหิน ตั้งอยู่หน้ามิวเซียม ทางเข้าสุสานหรือฮวงซุ้ยของจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ หมู่บ้านซีหยาง ตำบลหลินถง บริเวณเชิงเขาหลีซาน มณฑลซ่านสี ห่างจากตัวเมืองซีอานไปทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กม. [บรรยายและถ่ายภาพโดย ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต 9/2/2560] ขวา-แผ่นจารึกพระบรมราชโองการ สำริด สมัยราชวงศ์ฉิน (พ.ศ. 322-337) ภาษาจีนโบราณ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดมาตราการชั่ง ตวง วัด ให้เป็นระบบเดียวซึ่งตราขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยจักรพรรดิจิ๋นซี (ยืมจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ส่านซี)

จิ๋นซีฮ่องเต้ สำเนียงแบบไทย กลายจากคำจีนว่า ฉินสื่อหวงตี้ แปลว่าจักรพรรดิองค์แรกแห่งฉิน หรือจักรพรรดิองค์แรกของจีน

ฉิน (จิ๋น) คือ ราชวงศ์ฉิน

สื่อ (ซี) แปลว่า แรก

หวงตี้ (ฮ่องเต้) หมายถึง จักรพรรดิ

Advertisement

พระนามเดิม เจิ้ง แซ่อิ๋ง ประสูติ พ.ศ. 285 ที่ รัฐเจ้า นครหลวงหานตาน (ปัจจุบันอยู่ระหว่างภาคใต้มณฑลเหอเป่ย จรดภาคตะวันออกมณฑลซานซี)

ครองราชย์ พ.ศ. 298

ราชาภิเษก พ.ศ. 307

Advertisement

จักรพรรดิ พ.ศ. 323

สวรรคต พ.ศ. 334 [พระชนมายุ 49 พรรษา ทรงประชวร ณ เมืองซาซิว ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอเป่ย]

ประวัติย่อจิ๋นซีฮ่องเต้

จิ๋นซีฮ่องเต้ นามเดิมเจิ้ง แซ่อิ๋ง (หรือ อิ๋งเจิ้ง) ประสูติเมื่อ พ.ศ. 285 ที่รัฐเจ้า นครหลวงหานตานั้

[นครหลวงหานตาน ปัจจุบันอยู่ระหว่างภาคใต้มณฑลเหอเป่ยจรดภาคตะวันออกมณฑลซานซี (มณฑลซานซี ไม่ใช่มณฑลส่านซี ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรฉิน มีเมืองหลวงอยู่เสียนหยาง)]

ทรงเป็นโอรสขององค์ชายอี้เหริน กับเจ้าจี (อดีตนางรำของพ่อค้าหลี่ปู้เหว่ย ที่ภายหลังเป็นอัครมหาเสนาบดีและผู้สำเร็จราชการ เมื่อครั้งอิ๋งเจิ้งขึ้นครองราชย์เมื่อทรงพระเยาว์)ั้

เหตุที่ “อิ๋งเจิ้ง” ถือประสูติในเขตแดนของรัฐเจ้านั้น เพราะว่าองค์ชายอี้เหรินถูกราชสำนักฉินส่งไปเป็นตัวประกันอยู่ที่รัฐเจ้า ทำให้องค์ชายได้รู้จักกับพ่อค้าชื่อหลี่ปู้เหว่ย และได้เจ้าจี มาเป็นชายา (พระราชประวัติตอนนี้ มีผู้ตั้งข้อสงสัยหลายอย่าง)

หลี่ปู้เหว่ย เดินหมากทางการเมืองเมื่อองค์ชายอี้เหรินกลับจากรัฐเจ้ามาสู่รัฐฉินแล้วได้เป็นรัชทายาทของรัฐฉิน ก่อนจะขึ้นเป็นอ๋องในที่สุด โดยหลี่ปู้เหว่ยรั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างๆ ตลอดรัชสมัย

รัฐฉินมีเมืองหลวงตั้งอยู่เมืองเสียนหยาง (ใกล้ๆ นครซีอานปัจจุบัน)ั้ค่อยๆ ดำเนินนโยบายที่ผนวกดินแดนของรัฐอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง อิ๋งเจิ้ง สืบราชย์สมบัติต่อจากฉินจวงเซียงอ๋อง (อี้เหริน) ขณะพระชนมายุได้ 13 พรรษา ในปี พ.ศ. 247ั้โดยมี หลี่ปู้เหว่ย เป็นผู้สำเร็จราชการและพระบิดาบุญธรรม (ก่อนจะถูกปลดและเนรเทศในภายหลังที่ทรงมีพระราชอำนาจเต็ม) จึงรวบรวมแผ่นดินทั้ง 6 รัฐอันประกอบด้วย หาน, เจ้า, เว่ย, ฉู่, เยียน และ ฉี เข้ารวมเป็นหนึ่งของรัฐฉินจนราบคาบ

จิ๋นซี เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วดำเนินนโยบายกลืนรัฐอื่นั้พร้อมทั้งปฏิรูปประเทศโดยใช้ระบอบการปกครอง, ตัวอักษร, และกำหนดมาตราเครื่องวัด ตวง ชั่ง เงินตราเหมือนกันทั้งหมดั้

เริ่มสร้างสุสานขึ้นตามความเชื่อหลังความตายเมื่อขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน แต่อาจมีหยุดชะงักไปบ้าง 9 ปี ในการเกณฑ์แรงงานเป็นทหารเพื่อขยายอาณาจักรั้

การสร้างสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ เมื่อพระชนมายุ 49 พรรษา (พ.ศ. 334) เสด็จประพาสและทรงประชวร พระอาการหนักขึ้นจึงเร่งรีบแปรขบวนเสด็จกลับพระนครเสียนหยาง ครั้นถึงเมืองซาซิว (อยู่ในมณฑลเหอเป่ยปัจจุบัน) พระอาการกลับเลวร้ายลงและเสด็จสวรรคต

สุสานสร้างเกือบ 30 ปีจึงแล้วเสร็จในรัชสมัยฮ่องเต้ฉินที่ 2 หรือ หูไห่ พระราชบุตรองค์ที่ 2 (ครองราชย์ พ.ศ. 333-336) สืบต่อจากจิ๋นซีฮ่องเต้

29 มีนาคม พ.ศ. 2517ั สุสานแห่งนี้พบโดยบังเอิญเมื่อชาวนาในหมู่บ้านซีหยาง ชื่อั้หยางจื้อฟา ขุดดินทำบ่อน้ำบริเวณเชิงเขาหลีซาน ห่างจากตัวเมืองซีอานไปทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กม.พบซากทหารดินเผาที่ทราบภายหลังว่ามีอายุมากกว่า 2,000 ปี

ระบบเงินตรา แม่พิมพ์เหรียญสำริดเริ่มมีปรากฏขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก เมื่อราว 2,800 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การค้าขายรุ่งเรือง จึงเกิดนวัตกรรมการหล่อสำริดเป็นเงินตราแบบต่างๆ เพื่อรักษามูลค่า และใช้ซื้อสินค้าบริการ รูปแบบและตราประทับบนเงินตราของรัฐต่างๆ อาจแตกต่างกันไป แต่เหรียญกลมที่มีรูตรงกลาง หรือ “สตางค์รู” จะกลายเป็นเงินตรามาตรฐานของอารยธรรมจีน ซึ่งมีการผลิตใช้อย่างกว้างขวาง ต่อเนื่องและยาวนานกว่า 2,500 ปี
[ภาพสตางค์รู สมัยจั๋นกว๋อ จากหนังสือจิ๋นซีฮ่องเต้ กรมศิลปากร พ.ศ. 2562]
ผู้เข้าชมนิทรรศการพิเศษ จิ๋นซีฮ่องเต้ : จักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนกับกองทัพทหารดินเผา ในสองสัปดาห์แรกที่เปิดให้เข้าชม เฉลี่ยจำนวนวันละ 4,000 คน โดยกลุ่มคนไทยสูงสุด จำนวนร้อยละ 80 ขณะนี้กรมศิลปากรได้ขยายเวลาให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันพุธ-วันอาทิตย์ ค่าข้าชมคนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท


จิ๋นซีฮ่องเต้ : จักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนกับกองทัพดินเผา

นิทรรศการจิ๋นซีฮ่องเต้ : จักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนกับกองทัพทหารดินเผา ที่นำมาจัดแสดงในประเทศไทยครั้งนี้ ไม่เพียงแต่นำโบราณวัตถุจากสุสานจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้มาจัดแสดงเท่านั้น แต่ยังจัดแสดงโบราณวัตถุในภาพรวมเพื่อเผยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและพิธีกรรมสำหรับฮ่องเต้ และจักรพรรดิที่แสดงถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรมตลอดจนศิลปกรรมต่างๆ

โดยวัตถุที่นำมาจัดแสดงมีทั้งโบราณวัตถุจากยุคก่อนการรวมชาติ สมัยราชวงศ์ โจวตะวันออกซึ่งมีอายุราวกว่า 2,700 ปีมาแล้ว และโบราณวัตถุจากสมัยราชวงศ์ฮั่นอาณาจักรอันรุ่งโรจน์ที่ดำรงความยิ่งใหญ่และมั่งคั่งสืบต่อมาจากอาณาจักรก่อนหน้า โดยแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองจีนในสมัยต่อมาได้สืบสานและปรับเปลี่ยนคติการปกครอง วิถีการดำเนินชีวิต และมีการเตรียมชีวิตเพื่อโลกหน้าอย่างไร

สิ่งเหล่านี้เป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตและจารีตของชาวจีนซึ่งยังคงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่ทว่าปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลาแต่เพียงเท่านั้น ท่านจะได้เห็นว่าความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย การฝังสิ่งของมากมายลงในสุสาน รวมทั้งวิทยาการล้ำหน้าต่างๆ นั้น ไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งจะปรากฏในยุคจักพรรดิจิ๋นซี แต่เป็นผลพวงของการสั่งสมหล่อหลอมที่ดำเนินมาก่อนหน้านั้น และเป็นลักษณะเฉพาะตัวของอารยธรรมจีนที่มีสายธารอารยธรรมอันเก่าแก่ ยิ่งใหญ่ และต่อเนื่องที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

[จากหนังสือ จิ๋นซีฮ่องเต้ฯ กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2562 หน้า 30]

ลูกชั่งน้ำหนัก 30 จิน สำริด สมัยราชวงศ์ฉิน (พ.ศ. 323-338) จักพรรดิจิ๋นซีทรงตัดสินพระทัยใช้กลยุทธ์สร้างมาตรฐาน เพื่อบริหารแผ่นดินจีนให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกๆ ด้าน ได้แก่ มาตราฐานการชั่ง ตวง วัด เงินตรา ความกว้างของเกวียน ถนน ตัวอักษร ฯลฯ (ยืมจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ส่านซี)

เรียบเรียงจาก

1. กว่าจะมาเป็นจีน : ประวัติก่อตั้งอาณาจักรของจิ๋นซีฮ่องเต้. ทองแถม นาถจำนง, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2531

2. จิ๋นซีฮ่องเต้ มหาราชหรือทรราช. บุญศักดิ์ แสงระวี, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553

3. ประวัติศาสตร์จีน กำเนิดมนุษย์ดึกดำบรรพ์ถึงอารยธรรมใหม่. คล่อง ศิรประภาธรรม, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2556

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image