สุจิตต์ วงษ์เทศ : จีน-ไทย ในหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี

ผู้เข้าชมนิทรรศการพิเศษ จิ๋นซีฮ่องเต้ : จักรพรรดิองค์แรกของแผ่นดินจีนกับกองทัพทหารดินเผา ในสองสัปดาห์แรกที่เปิดให้เข้าชม เฉลี่ยจำนวนวันละ 4,000 คน โดยกลุ่มคนไทยสูงสุด จำนวนร้อยละ 80 ขณะนี้กรมศิลปากรได้ขยายเวลาให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. วันพุธ-วันอาทิตย์ ค่าข้าชมคนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท

จิ๋นซี่ฮ่องเต้ [พ.ศ 285-334] ราว 2,200 ปีมาแล้ว รวบรวมดินแดนและผู้คน ไม่จีนŽ หลากหลายชาติพันธุ์ หรือ ร้อยเผ่าพันมังกรŽ ผนึกเข้าด้วยกันทางวัฒนธรรม ซึ่งต่อไปจะเรียกรวมๆ ว่า จีนŽ
[สรุปจากหนังสือประกอบนิทรรศการจิ๋นซีฮ่องเต้ฯ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2562]

คนในจีน ไม่จีนŽ กับคนในไทย ไม่ไทยŽ ก่อนสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ มีการติดต่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมราว 3,000 ปีมาแล้ว เพราะหม้อดินเผา 3 ขา ต้นแบบจากจีน ขุดพบในไทยทางลุ่มน้ำแม่กลอง-ท่าจีน [จ. กาญจนบุรี-จ. สุพรรณบุรี] นอกจากนั้นยังพบกระจายลงไปคาบสมุทรภาคใต้ถึงมาเลเซีย

สมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ในไทยมีอะไร?

ร่วมสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ฯ ในไทยมีชุมชนกระจัดกระจายทั่วไป แต่ที่รู้จักกว้างขวางทางวิชาการโบราณคดี มีอายุเก่าแก่ก่อนสมัยจิ๋นซีฯ แล้วสืบเนื่องถึงสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้แก่ ภาคกลางที่บ้านเก่า (จ. กาญจนบุรี) ภาคอีสานที่บ้านเชียง (จ. อุดรธานี) เป็นต้น
ช่วงเวลาที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวบรวมบ้านเมืองและรัฐต่างๆ เข้าด้วยกัน [ซึ่งเป็นต้นทางของจีน] ขณะนั้นในไทยมีคน ไม่ไทยŽ มีบ้านเมืองระดับรัฐที่เมืองอู่ทอง [อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี] เป็นต้นทางต่อไปข้างหน้าจะเรียกอย่างรวมๆ ว่า ไทยŽ

Advertisement

นิทรรศการพิเศษเรื่องจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของจีน ได้ผลคุ้มเกินค่ามหาศาลด้านแบ่งปันข้อมูลความรู้ (ระดับสากล) สู่มวลชน

แม้ไม่ถ้วนหน้า [เพราะไม่เคลื่อนที่ไปจัดทั่วประเทศ] แต่กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นอยากรู้ต่อไปอีกว่าอะไ? ทำไม? มาจากไหน? เป็นไง?

ตามหลักฐานวิชาการสมัยหลังจิ๋นซีฮ่องเต้ จีนกับไทยเกี่ยวข้องกันมโหฬารพันลึก มีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีทั้งโบราณวัตถุ, โบราณสถาน, และเอกสาร ซึ่งไทยควรมีนิทรรศการพิเศษแบบเดียวกันนี้ต่อเนื่องอย่างน้อยปีละครั้ง

ลำเอียงทางวิชาการในไทย

นักค้นคว้าไทยมีไม่น้อยที่ค้นคว้าเรื่องความสัมพันธ์ไทย-จีน จากหลักฐานจีน มีความรู้ระดับนักปราชญ์ของไทย แต่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างอาจเนื่องเพราะหน่วยงานรัฐและสถาบันการศึกษาระดับสูงยกย่องหลักฐานอินเดีย และสนับสนุนนักวิชาการด้านอินเดีย จนเต็มไปด้วยผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญอินเดีย เลยมองข้ามความสำคัญหลักฐานจีน จึงไม่มีผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญจีนโดยตรง เป็นเหตุให้กระทรวงวัฒนธรรมต้องแปลงานค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับจีนส่วนมากจากฝรั่งตั้งแต่สมัยแรก
ตัวอย่าง กรณี ทวารวดีŽ หลักฐานต้นทางจากเอกสารจีน แต่เกือบทั้งหมดของนักวิชาการไทยอ้างงานค้นคว้า [อย่างสรุป] ของฝรั่ง โดยไม่ยกหลักฐานต้นทางจากเอกสารจีนโดยตรงทั้งหมดมาแสดงอย่างเป็นระบบ เพราะขาดผู้รู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษาในหน่วยงานทางการ

ทางที่ถูกที่ควร กระทรวงวัฒนธรรมต้องให้ความสำคัญทัดเทียมกันทั้งอินเดียและจีน เพราะไทยอยู่กึ่งกลางของภูมิภาคที่รับวัฒนธรรม 2 ด้าน คือ อินเดียกับจีน แต่เกิดลำเอียงข้างอินเดียมากกว่าจีนในวงวิชาการประวัติศาสตร์โบราณดคีในไทย ทำให้มีปัญหาการตีความทางวิชาการ เช่น พิธีกรรมหลังความตาย (ตั้งแต่สมัยก่อนรับศาสนาจากอินเดีย) น่าจะใกล้เคียงกับจีน แต่คำอธิบายส่วนมากหนักไปทางอินเดีย ทำให้น่าสงสัย?

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image