แท็งก์ความคิด : แค่เห็นก็เป็นสุข : โดย นฤตย์ เสกธีระ

ครั้นที่เคยติดตามคณะของ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ไปรัสเซียเพื่อดูโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ ปิโยต ชูรอฟสกี้ ชาวรัสเซีย เป็นผู้ประพันธ์

ได้เห็นสีหน้าและอาการปีติของอาจารย์สุกรีที่พบโน้ตเพลงนี้แล้วยังจำได้

จำได้ถึงอาการไล่นิ้วไปตามตัวโน้ต และส่งเสียงออกมาเป็นทำนอง

ใช่เลย เป็นทำนองบทเพลงสรรเสริญพระบารมีจริงๆ

Advertisement

ด้วยความสงสัยว่าทำไมอาจารย์ถึงดีใจมากเช่นนี้ก็ทราบว่าเป็นความปรารถนามาตั้งแต่ยังหนุ่ม

หลังจากศึกษาเกี่ยวกับบทเพลงสรรเสริญพระบารมีและพบว่าชูรอฟสกี้เป็นผู้ประพันธ์

ชีวิตนี้จึงอยากเห็นโน้ตเพลงบทนี้

Advertisement

แต่ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองสมัยนั้นที่โลกแบ่งขั้ว ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ประกอบกับสาเหตุอื่นๆ จึงทำให้ไม่สามารถไปยังหอสมุดกลางรัสเซียที่

กรุงมอสโกเพื่อยลโฉมโน้ตเพลง

กระทั่งมีโอกาสเมื่อปี 2560 จึงเดินทางไปและได้พบโน้ตดังกล่าวสมใจ

เมื่อสมปรารถนา แค่ได้มอง แค่ได้เห็น แค่ได้สัมผัส โดยไม่ต้องครอบครองก็สุขใจ

ความรู้สึกมีความสุขแค่ได้เห็นเช่นนี้ เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อเดินทางไปพร้อมกับ อีซูซุ วีไอพี เพรส ทริป เมื่อสัปดาห์ก่อน

เมื่อคณะเดินทางนำโดย นายโทชิอากิ มาเอคาวะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด และนางปนัดดา เจณณวาสิน กรรมการรองผู้จัดการฯ ไปเยือนปารีส
หนึ่งในโปรแกรมการเดินทางคือการเยือนพิพิธภัณฑ์มาร์มอตตอง โมเนต์ สถานที่แสดงภาพของ โคลด โมเนต์ ศิลปินผู้บุกเบิกภาพวาดยุคอิมเพรสชั่นนิสม์

และในบรรดาภาพวาดของโมเนต์ที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนั้น

ภาพชื่อ Impression ,Sunrise ก็วางเด่นเป็นสง่าอยู่ด้วย

ภาพวาดนี้มีความสำคัญมาก และอาจจะถือว่าชื่อของภาพนี้คือต้นกำเนิดของชื่อยุค อิมเพรสชั่นนิสม์Ž เลยก็ว่าได้

เนื่องจากภาพวาดสมัยก่อนโมเนต์ ศิลปินผู้วาดมักจะวาดรูปในสตูดิโอ แต่

โมเนต์และกลุ่มเพื่อนกลับไม่คิดเช่นนั้น

พวกเขากลับคิดที่จะวาดภาพที่มองเห็นแล้วรู้สึกประทับใจ ณ ที่แห่งนั้น

ไม่ว่าจะเป็นที่แจ้ง ริมบึง ในสวน และอื่นๆ

เมื่อพบเห็นภาพก็ละเลงสีที่เห็นลงไปบนผืนผ้า

สมัยของโมเนต์นั้นเป็นยุคที่วิทยาศาสตร์ค้นพบว่า แสงประกอบด้วยเฉดสีต่างๆ

ดังนั้น สีจากแสงที่สายตาศิลปินมองเห็นจึงมีความสำคัญ

ตามประวัติ ในสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 สถาบันจิตรศิลป์ (Academy of Fine Arts) มีอิทธิพลต่อศิลปะของฝรั่งเศส

ขณะนั้นผลงานทางศิลปะมีแนวทางอนุรักษนิยม ทุกอย่างตกอยู่ภายใต้การครอบงำ ขณะที่อคาเดมีแห่งนี้ได้วางมาตรฐานการวาดภาพของฝรั่งเศสเอาไว้เข้มงวด

เข้มงวดทั้งการกำหนดเนื้อหา การกำหนดเทคนิค ตอนนั้นภาพสีทึบๆ เป็นที่นิยม และภาพวาดที่เหมือนจริงเป็นภาพชั้นดี

ขณะที่ศิลปินเริ่มมีแนวคิดและแนวทางที่แตกต่าง และต้องการแหวกแนว จึงผลิตผลงานตามที่ตัวเองคิดว่าดีงาม

กระทั่งปี ค.ศ.1863 เกิดเรื่องขึ้น เมื่อคณะกรรมการของอคาเดมีปฏิเสธผลงานของโมเนต์ที่ชื่อว่า การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้าŽ (Le dejeuner sur lžherbe) มิให้นำออกแสดง

เหตุที่ไม่ยอมรับเพราะภาพดังกล่าวมีภาพของผู้หญิงเปลือยนั่งอยู่ข้างๆ ผู้ชายสองคนในขณะที่กำลังไปปิกนิก

คณะกรรมการเห็นว่าภาพดังกล่าวอยู่ในข่ายต้องห้าม

แต่ภายหลัง พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ทรงออกกฎหมายให้สิทธิศิลปินนำเสนอภาพที่วาด ภาพหลายภาพที่ถูกแบนจึงมีโอกาสได้โชว์

หนึ่งในภาพที่นำมาเสนอ มีนักวิจารณ์เขียนบทความวิจารณ์ถึงภาพ Impression ,Sunrise ของโมเนต์มากสุด

แล้วหลังจากนั้นลักษณะของภาพแบบนี้ก็ได้ชื่อว่า อิมเพรสชั่นนิสม์Ž

ด้วยความโด่งดังของภาพดังกล่าวทำให้มีโอกาสได้รู้จัก ทั้งจากหนังสือภาพและจากออนไลน์

รวมทั้งได้เห็นในนิทรรศการ FROM MONET TO KANDINSKY ที่ รีเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่กรุงเทพฯ

แต่ไม่เคยเห็นภาพจริง

ดังนั้น เมื่อวันที่ไปเยือนพิพิธภัณฑ์ที่ได้ชื่อว่ารวมเอาภาพของโมเนต์มาจัดแสดงมากที่สุด สายตาจึงสอดส่ายมองหาภาพที่อยากเห็น

นั่นคือภาพนี้ Impression ,SunriseŽ

แล้วเมื่อไกด์นำทัวร์พิพิธภัณฑ์แนะนำให้รู้จักภาพที่อยากเห็น ความรู้สึกสมหวังก็ปะทุ

ภาพที่อยู่เบื้องหน้าคือภาพที่เคยได้ยินชื่อ เคยเห็นมาแล้วในหนังสือ เคยเห็นแล้วในอินเตอร์เน็ต

แต่มีโอกาสได้มาเห็นของจริงก็ที่นี่

ภาพวาดที่มองใกล้ๆ อาจดูไม่รู้เรื่อง แต่พอมองไกลๆ สามารถสัมผัสได้ถึงความงาม

ภาพที่เหมือนไม่สมบูรณ์ แต่กลับได้รับความนิยมติดอันดับโลก ถือว่าไม่ธรรมดา

มองภาพนี้ มองแล้วมองอีก มองด้วยความชื่นชม

นี่แหละหนาที่เรียกว่า แค่ได้เห็นก็มีความสุข

นี่แหละหนาคุณค่าของพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมของมีคุณค่าเอาไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง

เก็บความรู้ เก็บความคิดสร้างสรรค์ และเก็บความสุข

เก็บเอาไว้ให้คนรุ่นหลังที่ได้เข้ามาดูรับการถ่ายทอดไป

ถ่ายทอดความสุขจากการได้สัมผัสทางตา

แค่ได้เห็น ไม่ต้องครอบครองก็ทำให้เป็นสุขได้

แค่ได้เห็นก็พกพาความอิ่มใจกลับมาเมืองไทย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image