สุจิตต์ วงษ์เทศ : สัจนิยมมหัศจรรย์

สัจนิยมมหัศจรรย์ ของ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ อ่านแล้วทำให้ผมตาสว่างว่าพลังสร้างสรรค์จากตำนานนิทานมีจริงๆ และดีจริงๆ จะขอยกคำอธิบายจากหนังสือ (หน้า 20) มาดังนี้

‘สัจนิยมมหัศจรรย์’ (magic realism) โดยชื่อก็บอกอยู่ในตัวว่าคือการหลอมรวมเข้าด้วยกันของวรรณกรรมสองประเภทที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันโดยสิ้นเชิง นั่นคือ

คำว่า ‘realism’ นั้นอ้างอิงถึงวรรณกรรมแนวสัจนิยมที่มุ่งถ่ายสะท้อนความเป็นจริงของชีวิตและสังคมโดยยึดหลักความเหมือนจริงและความสมจริง ซึ่งหากพิจารณาจากกำเนิดของวรรณกรรมสกุลสัจนิยมที่เริ่มขึ้นในโลกตะวันตกช่วงศตวรรษที่ 18-19 หลักความเหมือนจริงและความสมจริงของวรรณกรรมสัจนิยมจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องตั้งอยู่บนหลักของเหตุและผลตามแบบวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในแนวปฏิฐานนิยม โดยมีความจริงเชิงประจักษ์นิยมเป็นบรรทัดฐาน (ดูรายละเอียดใน Grant)

ส่วนคำว่า ‘magic’ นั้นอ้างอิงไปถึงวรรณกรรมแนวแฟนตาซีเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ เหนือจริง ที่ไม่อาจอธิบายได้ด้วยหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ มักพบได้โดยทั่วไปในงานวรรณกรรมพื้นบ้านหรือตำนานท้องถิ่น

Advertisement

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ‘สัจนิยม’ มีนัยประหวัดไปถึงยุโรป ชนชั้นกลาง และหลักเหตุผลนิยม ขณะที่ ‘มหัศจรรย์’ มีนัยประหวัดไปถึง ‘โลกที่สาม’ ชาวบ้าน และความเชื่อที่ถูกมองว่างมงาย

วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์จึงเป็นการเปิดเวทีให้โลกทรรศน์สองแบบ และตรรกะสองระบบ ได้มาปะทะสังสรรค์กันอย่างเต็มที่”

วรรณกรรมโลกที่สาม

Advertisement

วรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์จึงถูกมองว่าเป็น “วรรณกรรมที่เปิดพื้นที่ให้กับความหลากหลายและความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งดำรงอยู่ในสังคม หรือแฝงตัวอยู่ในระบบคุณค่าและระบบความเชื่อ ได้เข้ามาปะทะสังสรรค์กันอย่างเต็มที่ โดยไม่พยายามที่จะกดทับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิให้ได้สำแดงตัวเองออกมา”

และบางทีถูกมองว่า “เป็นวรรณกรรมของประเทศโลกที่สาม”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image