คอลัมน์ โลกสองวัย : อนุฯสิทธิเสรีภาพ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ

สมาชิกวุฒิสภามีคณะกรรมาธิการหลากหลายคณะ คณะหนึ่งคือ ”คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภาŽ” มี นายสมชาย แสวงการ เป็นประธาน

นอกจากนั้น ในคณะกรรมาธิการแต่ละคณะยังมีคณะอนุกรรมาธิการรอีกหลายคณะ คณะหนึ่งคือ คณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพด้านสื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ มีการประชุมและมีมติเห็นควรให้จัดโครงการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. …. รวม 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 จัดในวันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุม 2702 ชั้น 27 อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น ผู้รับเชิญให้เข้าร่วมฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้คือกลุ่มนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน

ครั้งที่ 2 จัดในวันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นคือ กลุ่มวิชาการด้านสื่อสารมวลชน

Advertisement

ครั้งที่ 3 จัดในวันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ณ อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นคือ กลุ่มผู้บริโภค

ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพด้านสื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ มี นายนิพนธ์ นาคสมภพ สมาชิกวุฒิสภาเป็นประธาน

ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ นายสมชาย แสวงการ ประธานที่ปรึกษา นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล นายเขมทัตต์ พลเดช นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ นายวิริยา ธรรมเรืองรอง นายกฤษณพร เสริมพานิช นายสุทธิยง ลิ้มเลิศวาที ที่ปรึกษา

Advertisement

อนุกรรมาธิการประกอบด้วย นายจัตุรงค์ เสริมสุข รองประธาน นายวรินทร์ เทียมจรัส นายเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ นายภัทระ คำพิทักษ์ นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา นายไตรลุจน์ นวะมะรัตน นางสาวรวิวรรณ จตุรพิธพร นายเอกชัย ชัยเชิดชูกิจ นางสาวทวินันท์ คงคราญ อนุกรรมาธิการ นางสุจิตรา
จงชาณสิทโธ อนุกรรมาธิการและเลขานุการ

หน้าที่และอำนาจคณะอนุกรรมาธิการมีดังนี้

1.พิจารณาศึกษา รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงเบื้องต้น และปัญหาอื่นใดที่เกี่ยวข้องในด้านสิทธิเสรีภาพ การสื่อสารของรัฐ สื่อสารมวลชน และสื่อสาธารณะ รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

2.พิจารณาสอบหาข้อมูลข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากกรณีการร้องเรียนหรือปัญหาการแทรกแซงหรือการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของหน่วยงานของรัฐหรือสื่อมวลชน หรือสื่อสาธารณะ เพื่อหามาตรการและแนวทางในการแก้ไข

3.ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และภาคประชาชน เพื่อร่วมกันพิจารณาปัญหาอันเกิดจากการแทรกแซงหรือการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน และการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อสาธารณะ

4.ส่งเสริมและผลักดันให้มีการพัฒนากฎหมาย นโยบาย และมาตรการเพื่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การสื่อสารของรัฐ สื่อสารมวลชน และสื่อสาธารณะ ตลอดจนการติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5.ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมาธิการมอบหมาย และเมื่อพิจารณาศึกษาแล้วเสร็จ ให้รายงานต่อคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาต่อไป

คณะอนุกรรมาธิการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

(ขณะนี้สมาชิกวุฒิสภา อยู่ระหว่างพิจารณาตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่ขาด 1 คน)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image