สุจิตต์ วงษ์เทศ : ท่องจำตำรา ไม่หาความจริง

“เด็กอ่านแต่ตำรา ไม่เห็นของจริง” เป็นปัญหาหมักหมมของระบบการศึกษาไทยมานานมาก อาจนานเป็นศตวรรษแล้วก็ได้

มีผู้รู้ตั้งข้อสังเกตนานมากแล้วว่าการศึกษาไทย มีต้นแบบจากการศึกษาของพระสงฆ์ในวัดที่ถูกกำหนดให้ท่องบาลี จนมีคำเปรียบเทียบว่าเหมือนนกแก้วนกขุนทอง

การเรียนการสอนในสถานศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและวรรณคดี ฯลฯ เรียนโดยอ่านตำรา ท่องจำตำราเหมือนนกแก้วนกขุนทอง อย่างไม่รู้จักและไม่เห็นของจริง เช่น สถานที่จริง, ภูมิประเทศจริง, สภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่เป็นจริง ฯลฯ

จึงไม่มีสังคม ไม่มีคน ไม่มีวิถีชีวิตแท้จริงของคนในสังคม ไม่มีข้าวปลาอาหาร บ้านเรือน ฯลฯ

Advertisement

ประวัติศาสตร์ไทยมีแต่เรื่องสงครามของวีรบุรุษ, โบราณคดีไทยมีแต่เรื่องศิลปกรรมในวัดกับวัง, วรรณคดีไทยมีแต่แปลศัพท์บาลี-สันสกฤต และอื่นๆ ที่อยู่เหนือความจริงบนโลกมนุษย์

เพชร เหมือนพันธุ์ ผู้รู้เนื้อแท้การศึกษาไทย บอกไว้ในมติชนรายวัน จะยกมาเป็นพยานดังนี้

“ประเทศที่ประสบผลสำเร็จเขาจะเรียนในห้องเรียนน้อยที่สุด เวลานอกนั้นเอาไปเรียนนอกห้องเรียน”

Advertisement

“สังคมไทยต้องกล้าที่จะต้องพูดความจริง กล้าที่จะรับฟังความเห็นที่แตกต่าง ต้องใช้ความจริงมาตัดสินใจ อย่าใช้เพียงความรู้สึกหรือคิดเอาเอง กล้าบอกให้รู้ว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนที่ผ่านมาในอดีตนั้น ไม่ใช้การศึกษา เป็นเพียงการกรอกความรู้ให้เด็กไทย จึงคิดอะไรไม่ได้ แก้ปัญหาไม่เป็น รอคำสั่ง ไม่อดทน ไม่มีความรับผิดชอบ ฯ”

(เพชร เหมือนพันธุ์ ในมติชน ฉบับประจำวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2559 หน้า 19)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image