สุจิตต์ วงษ์เทศ : เห็บเผด็จการ

ไทยอยู่บนเส้นทางการค้าโลกอย่างน้อยตั้งแต่ราวเรือน พ.ศ. 1000 (หรือก่อนยุคทวารวดี)

เส้นทางการค้าโลกที่สำคัญ คือ ตะวันตกกับตะวันออก หรืออินเดียกับจีน ทำให้บริเวณนี้เคยถูกเรียกจากเจ้าอาณานิคมยุโรปว่า อินโดจีน

สถานที่ตั้งอันเป็นคุณสมบัติอย่างนี้ ไม่จำเป็นต้องทำตัวเหมือน เห็บ (ตามแนวคิดเห็บสยาม ของกระทรวงการคลัง) ก็เติบโตมั่งคั่งและมั่นคงได้ (มีพยานสำคัญมากคือสิงคโปร์) ถ้าไม่กะล่อนตามแบบศรีธนญชัย

ประเทศไทย นอกจากจะตั้งอยู่กึ่งกลาง (โดยประมาณ) ของภูมิภาคแล้ว ลักษณะภูมิศาสตร์ยังเกื้อกูลให้เกิดผลดี เนื่องจากมีพื้นที่เป็นแผ่นดินทอดยาวยื่นลงไปทางทิศใต้เป็นคาบสมุทร มีทะเลขนาบ 2 ด้าน คือ ทะเลจีนกับทะเลอันดามัน

Advertisement

ทะเลจีน ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางตะวันออก กับ ทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย อยู่ทางตะวันตก ทำให้รับประโยชน์จากลมมรสุมทะเลอย่างน้อย 2 ประการ คือ การกสิกรรมและการค้า

การกสิกรรม ลมมรสุมจากทะเล 2 ด้าน ทำให้มีฝนตกชุก ส่งผลให้การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร และการประมงในทะเลอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ

การค้า ลมมรสุมจากทะเล 2 ด้าน ทำให้มีการเดินเรือทะเลค้าขายกับบ้านเมืองที่อยู่ห่างไกล

Advertisement

บริเวณประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางคมนาคมค้าขายทางทะเลมาแต่โบราณกาล เท่ากับเป็นตัวเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนค้าขายระหว่างตะวันออกกับตะวันตก

โลกตะวันออก เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ กับ โลกตะวันตก เช่น อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย ยุโรป ฯลฯั้

จึงส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติในสมัยโน้น แล้วไทยเป็นศูนย์กลางการบินพาณิชย์ของนานาชาติในสมัยนี้

ถ้ามีระบอบการปกครองอย่างสากลโลก ก็มั่นคงและมั่งคั่งได้ โดยไม่ต้องเป็นเห็บเผด็จการ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image