ที่มา | อาทิตย์สุขสรรค์, มติชนรายวัน อาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2564, หน้า 13-14 |
---|---|
ผู้เขียน | อธิษฐาน จันทร์กลม |
จากศักราช 2562 ที่งาน “พันธุ์บุรีรัมย์” มหกรรมกัญชา จัดขึ้นเป็นครงแรก สร้างเสียงขานรับจากประชาชน เข้ามาขอจดแจ้งปลูก และครอบครองกัญชาภายในงานอย่างล้นหลาม
สู่ศักราช 2564 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 5-7 มีนาคมที่พ้นผ่าน สถานจัดงานมหกรรม “กัญชากัญชง 360 องศา เพื่อประชาชน”
วันประกาศความสำเร็จนโยบาย “กัญชา 6 ต้น” โดย อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ภายหลังองค์การอาหารและยา (อย.) มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ใช้ส่วนของกัญชาและกัญชง ในผลิตภัณฑ์อาหารได้
จากผลผลิตด้านยา สู่การต่อยอด ขยับขยายให้ชุมชน ได้มีโอกาสก่อเกิดโครงการ กัญชา 6 ต้น ที่โนนมาลัย เป็นวิสาหกิจชุมชนโมเดลแรก ภายใต้แนวคิด “ใช้กัญชาในครัวเรือนเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์”
ให้ชาวบ้าน ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ รวมตัว 7-10 หลังคาเรือน ปลูกบ้านละ 6 ต้น นำผลผลิตส่วนช่อดอกส่งแก่ รพ.คูเมือง อันเป็นแหล่งแปรรูป ผลิตยา ของภาครัฐ ภายใต้การรับรองมาตรฐาน GMP ส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อจ่ายให้ผู้ป่วยในปลายทาง
ส่วนที่เหลืออย่าง กิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น ราก ก็ให้นำไปต่อยอดเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน คลอดมาเป็นเมนู น้ำพริกซู่ซ่า จิ้งหรีดลนลา น้ำอ้อยหรรษา คุกกี้ม่วนกรุ๊บ เตรียมความพร้อมขออนุญาต อย.เพื่อผลิตต่อไป
“ในโมเดลนี้เราซ่อนอะไรไว้หลายอย่างอยากให้คนที่มาดูงานเข้าใจ model 6 ต้น ซึ่งไม่ได้ยากแต่ต้องรู้ว่าจะมีปัญหาอะไรบ้างที่อาจจะเกิด เราพยายามนำทุกส่วนมาใส่ไว้ในโมเดลหลักนี้”
คือเสียงของหนึ่งในต้นเรื่อง ด้านการผลิตเป็นยา อย่าง นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และผู้อำนวยการ รพ.พยาบาลคูเมือง ก่อนค่อยๆ คลายอีกหลายแง่มุมที่ซ่อนไว้ภายใต้โมเดลนี้ออกมาทีละน้อย
บนเวทีสัมมนาวิชาการห้องใหญ่ในช่วงบ่าย ภายใต้หัวข้อ “บ้านละ 6 ต้น ฝันที่เป็นจริง” ท่ามกลางประชาชน เกษตรกร และหน่วยงานราชการ ร่วมฟังการบรรยายอย่างคับคั่ง
“คุณหมอกิตติ” เริ่มเล่าจาก บทบาทของ รพ.คูเมือง ในการผลิตยา อาทิ น้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น สูตร CBD, ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง, ยาศุขไสยาศน์ และยาทำลายพระสุเมรุ ชนิดแคปซูล ไปพร้อมๆ กับการสนับสนุนยาจากกัญชาให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อใช้กับผู้ป่วยในคลินิกกัญชา ภายใต้ความร่วมมือกับ กรมการแพทย์แผนไทย, อย. และสถาบันทางการแพทย์
ใต้หมวก “ผอ.สถาบันกัญชาฯ” เป็นคณะทำงานขับร่วมกับกระทรวง ทบวง กรม ให้ไปในทิศทางเดียวกันไปจนถึงการคุยกับประชาชน ให้มีความเข้าใจที่ชัดเจน และใช้ประโยชน์จากกัญชาได้อย่างถูกต้อง
“บทบาทภารกิจ คือการเป็นศูนย์กลางนโยบายความร่วมมือหลัก ทำหน้าที่เชื่อมประสาน ระหว่างรัฐและเอกชน เช่น นิติบุคคล กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงศึกษาธิการ และกำลังจะไปร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะเราขับคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกันขับเคลื่อน”
นพ.กิตติบอกด้วยว่า ขณะนี้มี 2 เฟสหลัก ช่วงแรก คือการขับเคลื่อน “กัญชาด้านการแพทย์” พยายามเอากัญชาเข้าสู่ รพ.ภาครัฐให้มากที่สุด
“แต่เนื่องจากเป็นการขับเคลื่อนปีแรก หลายคนมองว่าชักช้า ผมบอกว่า ลองไปดูประวัติศาสตร์ของประเทศอื่น หลาย 10 ปีกว่าเขาจะขับเคลื่อนกัญชาได้ ของเราแค่ปีครึ่ง เข้าปีที่ 2 ตอนนี้สามารถเข้าถึงใบได้แล้วอนาคตก็จะเข้าถึงได้เรื่อยๆ เข้าใจอยู่ว่า จะมีบางกลุ่มที่มีความกังวลในเรื่องกัญชามาก มีทงกลุ่มต้าน และสนับสนุน เราจึงพยายามทำให้เดินไปในแนวทางที่เหมาะสม” คุณหมอกิตติประกาศบนเวที
บรรทัดนับจากนี้ คือคำตอบของข้อสงสัยในมุมประชาชน ที่ร่วมมหกรรมกัญชากัญชง ต่อโมเดล “กัญชา 6 ต้น” ที่พวกเขาวาดหวังว่าจะสร้างรายได้ ให้หลุดพ้นกับดักความยากจน อันเป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูเศรษฐกิจชาติ
เท่าที่ทราบ คือกัญชา กัญชง เป็นคนละสายพันธุ์ ดูกันที่ใบหรือไม่?
กัญชากัญชง กำหนดที่สารสำคัญเป็นหลัก ต่างประเทศไม่ได้แยก แยกที่ THC ทงใบ รากต้น เฉลี่ยแล้ว มีสารสำคัญเท่าไหร่ ถ้าน้อยกว่า 1%คือ กัญชง มากกว่า 1%คือ กัญชา ถ้าใบรับรองว่า มีสาร THC มากกว่า 1%จะนำเข้าไม่ได้ แต่ถ้าเขียนว่า 0.6-0.8%สามารถนำเข้าได้ ต่างกันที่สาร
ถ้าเป็นส่วนของสารสกัด จะต้องมีค่า THC น้อยกว่า 0.2%ส่วนที่มี THC จะเอาไปให้หน่วยงานรัฐ ถอดสารออก ให้เหลือแต่ CBD ไปด้านสู่เครื่องสำอาง อาหาร สมุนไพรแทน เช่น หากใครต้องการทำกัญชงใส่น้ำดื่ม สามารถทำได้ แต่ถ้ามี THC เกินกว่า 1%เป็นกัญชาก็เอามาทำไม่ได้
โมเดลกัญชา 6 ต้น เป็นอย่างไร?
เริ่มจาก “รพ.สต.” กับ “กรมการแพทย์แผนไทย” มีความต้องการใช้สูตรยาน้ำมันเดชา และยาทาริดสีดวงทวาร ก็ไปบอก “วิสาหกิจชุมชน” ว่าปลูกให้หน่อย ส่งช่อดอกมาให้ รพ.สต.ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งส่งไป รพ.ภาครัฐ ทำน้ำมันเดชา หรือเอาใบบางส่วนมาให้ รพ.สต.ผลิตยา ริดสีดวงทวารที่ใช้ใบ
ส่วนระหว่างที่ปลูก ใบ ราก ลำต้น ซึ่งปลดล็อกแล้ว ก็สามารถนำไปทำผลิตภัณท์ของท่านได้
แต่ท่านต้องเข้าใจว่า ภาครัฐไม่มีสิทธิผลิตยาแข่งกับเอกชน แต่ดันส่งช่อดอกให้หน่วยงานรัฐดูแลกำกับ เราเห็นปัญหาตรงนี้ ใน พ.ร.บ.ฉบับที่ 7 จึงต้องค่อยๆ ปลดไปทีละระดับ ว่ามีความกังวลเรื่องอะไรบ้าง แล้วค่อยๆ เดินกันไป อย่างงานนี้เราก็พยายามดึงข้อมูลคนไข้ที่กรมสุขภาพจิตทำข้อมูลผู้ที่ใช้ยากัญชาว่ามีปัญหาทางจิตเวชกี่คน กินแล้วเป็นมากขึ้น หรือน้อยลง เพราะแพทย์ต้องใช้ข้อมูลในการขับเคลื่อน สำหรับข้อกังวลทุกวันนี้ ข้อมูลจากทุกแห่งตรงกัน คือมีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงเท่านน หากใช้ภายใต้การกำกับของแพทย์
ทำไมต้องเป็น 6 ต้น?
เป็นเรื่องของโมเดล แต่มีตัวแปรหนึ่งที่สำคัญมาก คือกระบวนการที่ทำให้ต้นทุนถูก หากโรงเรือนราคาเป็นล้าน ชาวบ้านจะเข้าถึงได้อย่างไร จึงต้องออกแบบโมเดลด้วยการเอาชาวบ้านเป็นหลัก แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
ความจริงอาจจะปลูก 10 ต้นก็ได้ 6 ต้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ เป็นเพียงโมเดลรองรับงานวิจัยที่ รพ.คูเมือง ทำกับวิสาหกิจชุมชน “เพลา เพลิน” ซึ่งโรงเรือนต้องทำอย่างแน่นหนา เหมือนเอากัญชาขังคุก มีกล้องวงจรปิด 16 ตัว เก็บข้อมูลตลอดเวลา 1 ปี ตลอด 24 ชม. ถึงขนต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ถึง 30-40 ลูก
ที่กำหนด 6 ต้นเพราะความเสียหายจะน้อย จะทำโรงเรือนหรือรวลวดหนามก็แล้วแต่ท่าน ผ่อนปรนลงบ้างเพื่อให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้ แต่ถ้าท่านจะปลูกในระดับใหญ่ขึ้น ความเสียหายที่อาจหลุดลอดไปสู่สังคมอาจจะมาก จึงต้องมีรวลวดหนาม มีกล้องวงจรปิด และระบบป้องกัน ปลูกมากกว่า 6 ต้นก็ได้ในพื้นที่ 50 ตารางเมตร แต่ต้องบริหารจัดการให้ดี
คอนเซ็ปต์ของ “โมเดล 6 ต้น ที่โนนมาลัย” เป็นอย่างไรบ้าง?
วิสาหกิจชุมชนจะปลูกทงหมด แต่ส่งช่อดอกให้ รพ.คูเมือง และ รพ.สต. เพื่อใช้กับผู้ป่วย สำคัญคือ ท่านเอาใบ ราก ต้นมาใช้ประโยชน์ได้ ด้วยการกลับไปดูว่าธุรกิจเดิมท่านทำอะไรมาก่อน เช่นเลี้ยงตั๊กแตน ปลูกข้าว ทำเบเกอรี่ ร้านอาหาร ทำโรงแรม ลองคิดโจทย์ว่าจะเอาสิ่งนี้ไปเพิ่มมูลค่าได้อย่างไร เช่น น้ำพริกซู่ซ่า จิ้งหรีดลนลา น้ำอ้อยหรรษา ใส่ใบ เชื่อไหม ในงานมหกรรมครงนี้ เตรียมจิ้งหรีดมา 30 กิโล ขายหมด น้ำอ้อยไม่มีเหลือ ถ้าท่านมองธุรกิจแบบนี้ จะสร้างมูลค่าได้จากตรงนี้ ลองคิดในภาพรวม ถ้าใครไม่อยากเสี่ยงปลูก 6 ต้น เลี้ยงแมลงห้ำ ที่กินแมลงด้วยกัน เอาไปปล่อยที่ที่เกิดเพลี้ยไฟ ไรแดง ซึ่งคุมได้ยาก โดยเราก็ได้ดึงกรมวิชาการเกษตรเข้ามาช่วย เช่น จู่ๆ ใบเป็นสีเหลือง ขาดธาตุอะไร ถ้าเป็นแบบนี้ท่านจะไปถามใคร จะถามใต้ดินก็ไม่ได้ เวลาเพลี้ยไฟไรแดงลง เอาไม่อยู่ 300-400 ตัวไม่พอ ต้องหลักพันขึ้นไป สุดท้ายต้องเอาต้นไปทำลาย
สำหรับโมเดล 6 ต้น ที่โนนมาลัย 3 หมู่บ้าน 7 หลังคาเรือน แต่ละบ้านทำโมเดลรวไม้ไผ่ รวเหล็ก ลงทุน 1,000-2,000 บาท ลงทุน 6 ต้นก่อน เนื่องจากเป็นงานวิจัยระยะแรก จะมีการนำกระถางดิน 3 รูปแบบมาเปรียบเทียบกัน เช่น ดินที่ เพลา เพลิน ดินภูเขาไฟ และที่บ้านของเขาจะได้รู้ว่าดินไหนปลูกดี
ทงนี้ ดินบางแห่งมีปัญหา แม้จะไม่ได้ใช้ยา เพราะน้ำไหลมาจากหมู่บ้านอื่นที่มีสารปนเปื้อน ก็ใช้ผลิตยาให้คนไข้ไม่ได้ บางคนจึงขายที่ดิน ที่ไม่มีสารปนเปื้อน อยู่ที่ว่าท่านมองอนาคตธุรกิจอย่างไรบ้าง
ที่ออกแบบปลูกในครัวเรือนเป็น 6 ต้น เพื่อ 2 ประการ คือ 1.ปลูกใช้เอง ในส่วนใบ ราก ลำต้น เช่น ทำยาประคบซึ่งมีในตำรับยาโบราณ มีสารที่ลดการอักเสบ
ส่วนจิ้งหรีดทอดที่ใส่ในกัญชา และเอาใบมาใส่กับจิ้งหรีดด้วย ถามว่าจะมีสารเมา THC หรือไม่ “ไม่มี” มันหลุดไปกับน้ำมัน แต่ยังมีสารที่ลดอาการเจ็บปวด พวกใบทอด น้ำพริก จิ้งหรีด น้ำอ้อย คุกกี้ เป็น THCa แทบไม่มี THC มีน้อยมาก
ทำไมต้องเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้หรือ?
กุศโลบายของวิสาหกิจชุมชน คือ อยากให้ชาวบ้านกำกับกัน เพราะมีบางส่วนอย่างช่อดอกที่ยังเป็นยาเสพติดอยู่ ถ้าอยากปลูกคนเดียวสามารถไปปลูกกัญชงได้
ตอนนี้พันธุ์ที่โรงพยาบาลคูเมืองใช้คือ ชาร์ลอตต์ แองเจิล ซึ่งเดิมเป็นกัญชา แต่ตอนนี้เป็นกัญชงแล้ว เพราะสาร (เมา) THC น้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เอาไปเคลมว่าเป็นกัญชงปลดล็อกออกจากยาเสพติด ออกจากการควบคุมกำกับโดยภาครัฐ
แต่สายพันธุ์ไทยอาจจะยาก เนื่องจากช่อดอกมีสาร THC สูงก็จะยังเป็นกัญชาอยู่ร่ำไป หน่วยงานรัฐต้องกำกับเท่านน
อย่าลืมว่ากัญชาอย่างไรก็ต้องจบด้านการแพทย์ ระหว่างนนใบ ราก ลำต้นก็เป็นผลประโยชน์ของประชาชนให้ได้ใช้ประโยชน์
มีโมเดลอะไรที่กำลังนำเสนออยู่ตอนนี้?
โมเดลที่กำลังนำเสนออยู่ ทางกรมวิชาการเกษตรจะช่วยดู เป็นโมเดลกัญชา seed collection & distribution, bank
โดยภาครัฐ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย วิสาหกิจชุมชน จะมีเมล็ดครอบครองอยู่เป็นจำนวนมาก โดยกรมการแพทย์แผนไทย มีพันธุ์กัญชาจำนวนมากที่สุด จึงเข้ามาช่วยดูแลในช่วงแรก และส่งกระจายไปโรงพยาบาลต่างๆ นำมาปลูกเป็นต้นกล้า เพราะบางที่ไม่อยากได้เมล็ด ก็เอาต้นกล้าไปปลูก
บางทีเราเอาใจใครก็ถูกด่า เอาเมล็ดเข้ามา เอื้อนายทุน แต่จะเอาอะไรปลูก ซึ่งความจริงถ้าท่านไปทำเรื่องขอนำเข้าเมล็ดจากต่างประเทศได้ แต่จะมีค่าใบรับรอง (Phytosanitary Certificate) เป็นหมื่น ยิ่งเอาเยอะ ค่าเมล็ดจะถูกลง บางคนถึงเอาเมล็ดเข้ามาขาย
ตอนนี้กรมวิชาการเกษตรก็จะทำหน้าที่รับรองพันธุ์ให้ ขณะนี้มีการขึ้นทะเบียนพันธุ์รับรอง “อิสระ 01” แต่ยังไม่คุ้มครอง ยังพัฒนาอะไรไม่ได้ แค่ขึ้นทะเบียนรับรองไว้เป็นโมเดลก่อน
จ.บุรีรัมย์น่าจะพร้อมแล้ว ขณะนี้กำลังคุยกับวิสาหกิจชุมชน ในการเพาะให้ต้นกล้าไปปลูก แต่ปัญหาที่กังวลคือ การดูแลโดยชาวบ้านมากกว่า จึงได้ประสานกับ รมช.เกษตรฯ และท่านอธิบดี ว่าเราจะวางแผนตรงไหนก่อน เพื่อเตรียมพร้อมให้ทีมเกษตรลงไปช่วยชาวบ้านว่าจะต้องดูแลอย่างไร
เพราะเราเจอศัตรูตามธรรมชาติ จึงเอาน้ำสะเดามาเคลือบไว้ไม่ให้มาเกาะ แต่ปัญหาคือ เคลือบมากไปจนใบเปลี่ยนสีและตาย อาจจะเกิดจากการกระตุ้นสารบางอย่าง ขนาดผมยังไม่รู้เรื่องนี้ แล้วชาวบ้านที่ปลูกๆ อยู่ เจอปัญหาว่าจะทำอย่างไร ประชาชนกี่หลังคาเรือนที่จะปลูกใครจะมาช่วยเขาดู วันนี้เราจึงต้องเตรียมการประกันว่า ถ้าชาวบ้านจะปลูก ต้องปลอดภัย และอยู่รอดได้ ดินแบบไหน ใครจะดูแล เอาดินจากแหล่งที่ไม่มีสารปนเปื้อนโลหะหนัก ยาฆ่าแมลงมาให้ เพราะไม่เช่นนนก็จะวนกลับเข้าไปสู่วัฏจักรเดิมๆ ของไทย คือปลูกออร์แกนิกไม่ได้ เพราะสุดท้ายต้องส่งด้านการแพทย์ ตามที่ พ.ร.บ.กำหนดไว้ ต้องทำอย่างไร ไม่อย่างนนจะมีสารเคมีปนเปื้อน เพราะต้องส่งทำยา แต่หากบอกว่าเป็นโมเดลแบบต่างประเทศ ที่คนป่วยไปหาหมอ และเอาเมล็ดไปปลูกที่บ้าน 6 ต้น ปลูกแล้วใช้เอง คือ พ.ร.บ.ฉบับที่ 8 ที่ยังไม่คลอด
ถ้าอยากปลูกกัญชา 6 ต้น ต้องทำอย่างไร?
จะต้องเริ่มเข้าใจกลไกของกัญชาก่อน ความจริงผมเป็น ผอ.โรงพยาบาลคูเมือง มีการทำงานวิจัยกัญชาตงแต่เป็นสมัยพันลำ มีคนมาจดแจ้ง 5,000 กว่าคน เจอคนไข้เป็นมะเร็ง บางคนบอกว่าตายแน่ๆ แต่ยังอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน มีแบบนี้เยอะ
งานก่อนหน้าก็ยังไม่มีการงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ยังไม่มียาให้ใช้ผู้ใหญ่จึงหันมาหา รพ.คูเมือง คุยกันว่าสามารถทำที่นี่ได้ ผมจึงรับภารกิจตงแต่เวลานน มีการออกผลิตภัณฑ์มากมายจับคู่กับวิสาหกิจชุมชน “เพลา เพลิน” มียา CBD ยาศุขไสยาศน์ ออกมา ขณะนี้กระจายไปทั่วประเทศไทยแล้ว
ผมอยากให้มอง ต้น กลาง และปลายน้ำ วันนี้ขออนุญาตไม่พูดถึงการแพทย์ แต่ขอพูดด้านเศรษฐกิจ ข้อแรก 1.ทุกคนอยากปลูกหมด ซึ่งคุณค่าของกัญชากัญชง มี 3 ส่วน ตลอดทงต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เราอยากจะสร้างมูลค่าที่ตรงไหน
“ต้นน้ำ” ไปเล่นที่การดูสารสำคัญ ว่าเป็น THC หรือ CBD ถามว่าอยากปลูก 6 ต้น เอาเมล็ดจากไหน อีกไม่นานเราจะมีกลุ่มหนึ่งขายเมล็ด อีกกลุ่มขายต้นกล้า ท่านจะได้เห็นอาชีพเหล่านี้เกิดขึ้น เราเตรียมไว้หมดแล้ว
เตรียมหน่วยงานด้ายการเกษตร ที่จะมาพัฒนาต้นกล้า กับสายพันธุ์ให้ท่าน ซึ่งการเตรียมพร้อมนนสำคัญมาก
ถามว่า “กลางน้ำ” ใครสกัด บางคนใช้แอลกอฮอล์เอทานอลสกัดธรรมดา บางที่สกัดแบบร้อน หรือสกัดเย็น สุดท้ายคนที่สกัดได้มากสุด จะได้กำไรสูงสุด คนเริ่มเล่นเรื่องเหล่านี้แล้ว
บางเจ้าไม่แข่งตรงนน แต่ไปทำโอท็อปของฉันเอง จึงต้องมองตำแหน่งของสายธารให้เจอ คุณค่ามีตลอดทงสารธาร แต่สุดท้ายปลายน้ำสำคัญมาก เราจะหามูลค่าอย่างไร ตอนนี้ ใบ ราก ลำต้น ให้ท่านเล่นได้แล้ว ก่อนหน้านี้ราคา 5,000 บาท ตอนนี้ปั่นมาถึง 15,000 บาทแล้ว
แต่อย่าไปใส่ใจการปลูกมากนัก คุณค่าสุดท้าย อยู่ตรงที่ จิ้งหรีดทอด เดิมถุงละ 30 บาท ใส่ใบกัญชา 1 ใบ เพิ่มมา 60 บาท มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือน้ำอ้อยหรรษา ใส่มะนาวไปนิด ใส่กัญชาให้มีกลิ่น แต่เทอร์พีน (กลิ่น) ไม่เหมือนกัน บางคนเป็นกลิ่นเลม่อน บางคนกลิ่นมะม่วง ซึ่งกลิ่นเทอร์พีนบางพันธุ์ บางคนก็เหม็น จึงคาดเดาได้เลยว่าการใส่ใบกัญชาในอาหาร ที่ตอนนี้ขายได้หมด แต่ต่อไปจะไม่ใช่ อยู่ที่ใครทำอร่อยที่สุด
ไปจนถึง “ภาคส่งออก” ล่าสุดบางบูธในมหกรรมนี้ มีการจัดอบรม มีธุรกิจโรงแรม สอนทำอาหาร และการปลูกแล้ว ดังนน อย่ามองแค่การปลูก มองให้ถึงตรงนี้ด้วยจะดีมาก เพราะการจะสร้างมูลค่าได้มากที่สุดอยู่ที่ปลายทาง เราอาจจะจับมือกัน ระหว่างต้น กลาง และปลายน้ำทำผลิตภัณฑ์ออกมา นี่คือสิ่งที่อยากให้เห็นภาพ คือการออกแบบ Ecosystem เพราะกัญชาไม่ได้มีคุณค่าแค่กัญชา
ผมอาจจะไปเลี้ยงแมลงนักล่า (predators) เลี้ยง ตัวห้ำ เพื่อจัดการ เพลี้ยไฟ ไรแดง ฉันทำกระถาง ฉันขายน้ำ ขายปุ๋ย ฉันขายดิน ไม่ต้องยุ่งกับการปลูกยาเสพติด ซึ่งตอนนี้มีคนทำแพคเกจ “สมาร์ทฟาร์ม” แล้ว ทำเป็นตู้ ซื้อไป คุณปลูกได้เลย
กัญชาไม่ได้ขับเคลื่อนด้านเดียว จะเห็นว่าอาชีพใหม่เกิดขึ้นหลายอย่าง ต่อไปนี้คนที่ปลูกเก่ง ฉันอาจไม่ต้องขายกัญชาแต่ขายคอร์สสอนการปลูกแทน
ส่วนคลื่นต่อไป คือเมื่อไหร่ที่ อย.กำหนดสเปกของอาหาร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง ว่าต้องมีสารสำคัญเท่าไหร่แล้ว ที่จะขายดี คือ “แล็บ” ตรวจสารสำคัญ
ผมถึงบอกว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านนี้ ไม่ใช่เศรษฐกิจเฉพาะส่วนกัญชา แต่มีเศรษฐกิจ อีโคซิสเต็ม อยู่เต็มไปหมด อยู่ที่ว่าจะหาโอกาสได้หรือไม่ แม้กระทั่งร้านอาหาร ทำแฟรนไชส์เต็มไปหมด หรือวิสาหกิจชุมชนบางคน ทำหน้าที่เพาะเมล็ดและต้นกล้าขายให้ลูกค้า ได้รู้ชัวร์ๆ ว่าเป็นต้นเพศผู้-เมีย พันธุ์ไหน ทำได้หมด ส่งออกนอก ส่งไป รพ.ของรัฐที่ใช้ดอกกัญชาทำยาก็ได้
ส่วนช่วงใบที่ปลดล็อกมาแล้ว ภาคเอกชนก็สามารถรับใบไปผลิตได้ แต่ตอนนี้มีราคาสูง ถ้าคนปลูก 6 ต้นเต็มไปหมด ราคาจะเริ่มลดลง ช่วงนี้น่าจะผลิตยาก เพราะใบกิโลละหมื่น
อยากให้จำไว้ว่า ไม่ได้มีเฉพาะกัญชา แต่ยังมีสิ่งรอบๆ กัญชาที่สามารถสร้างมูลค่าได้ทั้งหมด เช่น ถ้า จ.บุรีรัมย์ทำ 6 ต้นทั้งหมด จะต้องเจอปัญหาแมลงและดินอย่างแน่นอน เราอาจจะขายกระถางแอร์พอต แถมดินปลอดสารเคมี ก็ว่ากันไป อย่าไปมองแค่ส่วนของกัญชา บางคนรอขายอย่างนี้ดีกว่า ได้กำไรกว่า ไม่ต้องเสี่ยงในการควบคุมกำกับด้วย
เวลานี้ หน่วยงานรัฐที่ขับเคลื่อนงานด้านกัญชา กำลังเดินหน้าอยู่ในขั้นตอนไหน?
เราทำไปหลายข้อแล้ว เราทำทุกวันประชุมตลอด แต่ภาคราชการต้องขับเคลื่อนด้วยกฎหมาย ตอนนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังพัฒนาสายพันธุ์ให้เราอยู่แต่เขาบอกว่าใช้คำว่า “ธนาคารเมล็ดพันธุ์” (seed bank) ไม่ได้ ให้ใช้คำว่า “คนเก็บ” กับ “คนกระจายเมล็ด”
อีกโจทย์ใหญ่คือการกระจายยาสู่ รพ.ภาคเอกชน, เรื่องสิทธิประโยชน์ ตอนนี้ก็มีการบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ส่วน “การส่งออก” คือโจทย์ต่อไป
เรื่องของการแบ่งเขต (Zoning) กัญชา กัญชง ผมได้คุยกับคณะกรรมการแล้วว่า ถ้าสมมุติเราจะปลูกกัญชา 6 ต้น แต่ข้างบ้านปลูกกัญชง ซึ่งจะข้ามสายพันธุ์กัน จึงต้องคอยดู อยากให้เข้ามาดูในเว็บไซต์ของ อย. ว่าพื้นที่ปลูกตรงไหนบ้างที่อยู่ใกล้เรา เพราะบางทีเกสรตัวผู้ลอยไกลเป็น 10 กิโลเมตร บางคนเอาต้นตัวเมียมาโชว์ในงาน มีคนเอาต้นกะเทยมาในงาน พอกลับไป ออกดอก มีเมล็ด ต้องเข้าใจว่าต้นตัวเมียเมื่อไหร่ติดเมล็ด สารสำคัญจะร่วงออกมา บางคนถึงขนท้อ ขอปลูกกัญชายากมาก ไปปลูกกัญชงก็แล้วกัน ไม่ต้องมีการกำกับโดยหน่วยงานรัฐ
นอกจากนี้ ภาครัฐกำลังทำการลดขนตอนขออนุญาตปลูก ซึ่งมีขนตอนชัดเจน เช่น ที่ดินชาวบ้านที่จะทำโรงเรือนปลูก มีปัญหา เรื่องการเช่าจำนองไม่ถูกต้อง ชื่อไม่ตรงกับเจ้าของ ผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะไม่เซ็นให้ หากอยากปลูก เริ่มจากที่ดินก่อน แล้วคุยกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จากนนจับมือกันตงวิสาหกิจชุมชน
ส่วนกรมการแพทย์แผนไทย กำลังทำตำรับยาที่หลากหลาย ด้านงานวิจัย กำลังหาทุนให้กลุ่มแพทย์เฉพาะทางได้ทำการวิจัย ซึ่งตอนนี้ก็มีภาคเอกชนหลายแห่งนำหลักสูตรมาให้สถาบันกัญชาดูให้ เพื่อสอนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการอบรมกลุ่มแพทย์ พยาบาล ให้มีความรู้ ซึ่งประชาชนสามารถค้นข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของ “สถาบันกัญชาทางการแพทย์” จะมีคนคอยตอบ นอกจากนี้ ยังมีการทำระบบสารสนเทศ คลินิกบูรณาการด้วย
เข้าใจว่าทุกท่านอยากปลูก แต่กัญชายังมีข้อจำกัดอยู่ ถ้าเราจะรอ พ.ร.บ.ออก ก็อีกหลายปี แต่ ณ วันนี้เราสามารถทำได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มี
ใบกัญชาที่ขายออนไลน์ ผิดกฎหมายหรือไม่?
หากท่านไปซื้อกับวิสาหกิจชุมชน หรือหน่วยงานรัฐที่จำหน่ายให้วิสาหกิจชุมชน เพื่อไปทำประโยชน์ จะมีใบรับรอง ที่ติดตามย้อนกลับเพื่อตรวจสอบได้
ท่านซื้อจากออนไลน์ก็ได้ แต่สมมุติว่าวันหนึ่งมีตำรวจเข้าไปดูร้านของท่าน ว่าเอากัญชามาจากไหน ถ้าทำถูกต้องก็ไม่ต้องกลัว เพราะจะสามารถเช็กกับวิสาหกิจชุมชนได้ ซึ่งจะมีใบอนุญาตถูกต้อง
แล้วต้องมีใบอนุญาตซื้อหรือไม่?
ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต แต่ผู้ขายต้องมี เช่น “วิสาหกิจชุมชน เพลา เพลิน” จะเอาไปทำครัว แพทย์ก็จะออกใบอนุญาตให้เอาลำต้น ราก ใบ ไปใช้ ส่วน อย.จะตามสเต็ปเดียว คือ ควบคุมการนำไปใช้ประโยชน์ อย.ต้องติดตามย้อนกลับได้ ว่าเอาไปให้ใคร อยากให้สบายใจก็ต้องทำหลักฐานขณะทำการซื้อ-ขาย
กัญชา ไม่ใช่ยาเสพติดแล้ว ถ้าเป็นใบ ลำต้น ราก แต่ว่าท่านต้องตอบแหล่งที่มาให้ได้
รพ.สต.ต้องมีแพทย์แผนไทยอยู่ใน รพ.สต.เท่านนหรือไม่?
ถ้าจับมือกับ รพ.สต.ได้ ส่งให้โรงพยาบาลที่มีแพทย์แผนไทยได้ทงหมด ขอแค่ให้เป็นหน่วยงานรัฐที่ดูแลด้านการแพทย์และเภสัชกร
ถ้าหากในจังหวัดไม่มี รพ.แพทย์แผนไทย หรือแพทย์ทางเลือก ก็ไม่สามารถทำธุรกิจได้ใช่หรือไม่?
ในโรงพยาบาล ถ้ามีแพทย์แผนปัจจุบันอยู่ ก็สามารถทำกัญชาได้เช่นกัน จึงต้องตอบโจทย์ว่าต้องการปลูกกัญชาไปทำอะไร เหตุที่กำหนดเป็น รพ.สต. เพราะต้องการให้เป็นโมเดลที่สเกลเล็กสุด ซึ่งความจริงไม่จำเป็นต้องไปขออนุญาตที่ รพ.สต. ที่โรงพยาบาลก็ได้ เนื่องจากกฎหมายตอนนี้อยู่ในช่วงที่เราต้องทำความเข้าใจ รพ.สต. บางคนไม่อยากจับมือ เพราะคนถือใบอนุญาตคือหน่วยงานรัฐ หากมีอะไรผิดพลาด วันดีคืนดีมีคนขโมยเอาไปขาย ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องไว้ใจกันต้องทำให้เขามั่นใจว่าจะไม่ใช้ในทางที่ผิด
แต่ถ้าท่านบอกว่า ไม่อยากยุ่ง ปลูกกัญชงทำได้เลย จะปลูกอย่างไรก็แล้วแต่ท่าน ไม่ต้องมีระบบอะไรมากมาย ซึ่งมูลค่ากัญชงเวลานี้ก็มหาศาลไม่แพ้กัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ‘ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม’ ยกระดับธุรกิจ-ลดเหลื่อมล้ำ ศก.ไทย
- ‘สมศักดิ์’ ชี้ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ สกัดผลกระทบต่อเด็กเป็นสำคัญ แต่ยังไม่ดูรายละเอียด
- กรมแพทย์แผนไทยฯ คลอดประกาศรางวัลนำจับ ‘กัญชา’ ระหว่างรอ พ.ร.บ.ฉบับใหม่
- สธ.เปิดรับฟังความเห็น (ร่าง)พ.ร.บ.กัญชา ฉบับล่าสุด ปลดล็อกช่อดอกออกจากยาเสพติด แต่คุมเข้มการใช้