ไม่เปลี่ยนวันนี้จะตามโลกไม่ทัน

เทคโนโลยีการสื่อสารย่อโลกให้เล็กลง ทำให้คนที่อยู่กันคนละมุมโลกใกล้กันมากขึ้น เราคุยกันแชตกันได้ทุกที่ทุกเวลา และหลากหลายช่องทาง

ไม่ว่าจะผ่านโทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน้ตบุ๊ก

เอาเป็นว่าถ้าสามารถต่อเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ตได้ คนไกลก็จะใกล้กันมากขึ้นในทันที

ผู้คนก้มหน้าก้มตาอยู่กับสมาร์ทโฟนในมือกลายเป็นภาพที่เราเห็นชินตา เวลาไปไหน

Advertisement

ต่อ ไหน บนรถไฟฟ้า รถเมล์ สวนสาธารณะ ในร้านอาหาร ในทุกที่ที่มีคน คนเหล่านั้นมีโทรศัพท์มือถือ และเกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นสมาร์ทโฟนที่เข้าสู่โลกโซเชียลได้

ประชากรชนเผ่าสังคมก้มหน้า น่าจะเกินค่อนประเทศแล้ว เพราะคนใช้โทรศัพท์มือถือในบ้านเราเกิน 100% ไปไกลมากๆ แล้ว

หลายครั้ง เราเองก็เป็นสมาชิกชนเผ่าสังคมก้มหน้าเช่นกัน

Advertisement

บ้างดูวิดีโอสตรีมมิ่ง บ้างแชตกับเพื่อน บ้างอ่านข่าว บ้างเล่นเกม

เรียกว่าโลกดิจิทัลในมือเราเอง กลายเป็นโลกคู่ขนานที่เราใช้เวลาอยู่กับมันไม่แพ้โลกในชีวิตจริง

บิ๊กกลุ่ม “ทรู-ศุภชัย เจียรวนนท์” เปรียบเทียบโลกดิจิทัลว่า ไม่ต่างอะไรกับสมัยที่

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางไปเจอทวีปอเมริกา ขณะที่ในโลกปัจจุบันเจอกับโลกคู่ขนานที่เป็น “ดิจิทัล” ซึ่งยังมีช่องว่างของการเติบโตได้อีกเยอะมาก เพราะเป็นโลกใบใหม่

ใช่ว่าโลกใหม่จะมีแต่โอกาส ใครปรับตัวไม่ทันก็มีสิทธิล้มหายตายจากได้เช่นกัน

ประมาณว่าเกิดง่าย ตายก็ง่าย

อุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญจากโลก “ดิจิทัล”

“การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นรวดเร็วกว่าในอดีตมาก ไม่เฉพาะแต่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม แต่เกิดขึ้นทุกอุตสาหกรรม ในธุรกิจการเงินการธนาคารเริ่มเห็นฟินเทคเข้ามากินโลจิสติกส์ การเดินทางก็กำลังเปลี่ยนด้วยอูเบอร์, แกร็บ, ในธุรกิจค้าปลีกก็เผชิญกับอีคอมเมิร์ซ”

อุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม แม้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี โดยตรงก็ได้รับ

ผลกระทบไม่ต่างกัน

“แอพพลิเคชั่นอย่างไลน์ก็โทรศัพท์ได้แล้วบนดาต้า เขาเริ่มเข้ามาในแอเรียของเราเช่นกันถ้าเราคิดแค่เป็นผู้ให้บริการระบบสื่อ สารหรือเป็นแค่ท่อ ก็จะโดนแย่งรายได้ไป เราต้องถามตนเองว่า ทำไมต้องมีแต่เฟซบุ๊กกับไลน์ล่ะ ทำไมเราไม่คิดว่าเราก็เป็นโซเชียลมีเดียได้ ซึ่งต้องคิดใหม่ และสร้างขึ้นมา”

เป็นองค์กรขนาดใหญ่ จะตามโลกให้ทัน ต้องคิด และทำแบบ “สตาร์ตอัพ”

“บริษัท ใหญ่เวลาจะทำอะไรแต่ละที จะเพิ่มอะไรแต่ละอย่างต้องใช้ เวลาเป็นปีหรือปีครึ่ง แต่สตาร์ตอัพใช้เวลาแค่ 2-3 อาทิตย์เท่านั้น ถ้าเราช้าเราก็จะตามไม่ทัน”

ถามว่าปรับตัวปรับองค์กรอย่างไร

“ศุภชัย” บอกว่า ต้องมี 5 D ด้วยกัน

D ตัวแรก Demand ไม่ใช่แค่รู้ความต้อง

การของตลาดทั่วไป แต่ต้องรู้ความต้องการบนช่องทางดิจิทัล รู้ว่าการเข้าถึงความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปแล้ว

D ตัวที่สอง Digitize การเก็บข้อมูล การบริหารงาน กระบวนการธุรกิจต่างๆ จะต้องเป็น “ดิจิทัล” เพื่อให้มีข้อมูลแบบเรียลไทม์ ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้

ตัวที่สาม Digital Connected มีช่องทางเชื่อมต่อกับลูกค้าในโลกดิจิทัล เช่น มีแอพพลิเคชั่น มีเว็บไซต์ เพราะวิธีการและช่องทางแบบเดิมๆ จะเข้าไม่ถึงลูกค้า

D ตัวที่ 4 Disruptive เมื่อรู้แล้วว่ายังไงดิจิทัลก็จะต้องเข้ามา ก็ควรจะรู้ด้วยว่าสิ่งที่ดิจิทัลทำได้ และจะมาแทนสิ่งที่เรามีอยู่มี ในด้านใดบ้าง

สุดท้าย D-Dream ฝันแบบเด็ก การเปิดกว้าง และรับฟังคนรุ่นใหม่ในองค์กร เพราะเขาคือพฤติกรรมในอนาคตจึงจะบอกเราได้ว่าเราควรเปลี่ยนแปลงอย่างไร

“เมื่อ โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารไปถึงออฟฟิศถึงบ้าน และถึงมือคน ความพร้อมเหล่านี้ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ มีสตาร์ตอัพเกิดขึ้นมากมาย และสามารถเข้าถึงตลาดได้เลย เป็นยุคที่ทุกองค์กรในทุกอุ ตสาหกรรมต้องปรับตัว ถ้าคุณไม่ ปรับ แต่คนอื่นปรับ คุณจะแพ้ได้เลย”

เหมือนกับว่า คุณยังใช้เรือแจว แต่คนอื่นใส่มอเตอร์ติดเครื่องยนต์แล้ว เขาก็จะแล่นไปได้เร็วกว่ามาก คนละสปีด

แม่ ทัพเอไอเอส “สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ก็คิดไม่ต่างกันนัก เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เมื่อขึ้นมารับตำแหน่ง เขาประกาศวิสัยทัศน์ธุรกิจใหม่โดยบอกว่าจะปรับตนเองจากการเป็น “ผู้ให้บริการมือถือ” ไปสู่ “ผู้ให้บริการด้านดิจิทัล”

ไม่ใช่แค่วิสัยทัศน์

“เราเตรียมการหลายด้านด้วยกัน เริ่มจากวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคน เอไอเอสไม่ได้เป็นที่หนึ่งได้ ในวันนี้ เพราะเทคโนโลยี แต่เพราะคนในองค์กร ดังนั้นถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงตนเอง เราอาจรักษาความเป็นผู้นำเอาไว้ไม่ได้”

วัฒนธรรมองค์กรที่จะสร้างขึ้นใหม่เพื่อรับมือกับโลกยุคดิจิทัลของเอไอเอส เรียกว่า “FIND U”

F คือ Fighting Spirit หรือการมีหัวใจนักสู้ เพราะเทคโนโลยีทำให้โลกเปลี่ยนเร็ว

ดังนั้นต้องมีใจสู้ ไม่ว่าจะเจอการเปลี่ยนแปลงแบบไหนก็จะสู้ไหว

I คือ Innovation สร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะคู่แข่งก็จะคิดไม่ต่างกัน การที่จะเอาชนะได้จึงต้องมี ความแตกต่าง

N คือ New Ability ความสามารถใหม่ๆ

D คือ Digital life เราจะพูดอย่างเดียวไม่ได้ สินค้าทุกอย่างที่มี บริการที่ทำ คนในองค์กรต้องหัดใช้ด้วย

สุดท้ายคือ U หรือ Sense of Urgency ตระหนักในความจำเป็นเร่งด่วนที่ ต้องเปลี่ยนแปลง

ในมุมของ “เอไอเอส” องค์กรที่จะอยู่ให้รอดในโลกยุคดิจิทัลต้องมีครบทั้ง 3 อย่าง “ข้อมูล-ความคิดสร้างสรรค์ และความรวดเร็ว” โดยต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างและหลากหลายให้ได้

“ใครหรือองค์กรใดไม่เร่งปรับตัวจะตามโลกไม่ทัน ใครไม่ปรับย่อมมีความเสี่ยง เพราะรายได้มีโอกาสโดนคนอื่นแย่งไปเกิดขึ้นกับทุกอุตสาหกรรม ถ้าไม่ยอมปรับปรุงตนเองก็จะไปต่อไม่ได้ ตามโลกไม่ทัน”

เคยได้ยินไหม แค่อยู่เฉยๆ ก็เท่ากับถอยหลังแล้ว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image