สุวรรณภูมิในอาเซียน : ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “กีดกัน” บรรพชนนานาชาติพันธุ์ แล้วสร้างปัญหาจนเกิดขัดแย้งรุนแรง

ภาพเขียนระบุว่าเป็นขบวนเสด็จ "ราชาฮิเจา" แห่งนครรัฐปตานีในจดหมายโบราณ Achter Theil der Orientalische Indien...พิมพ์ที่กรุงแฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2149 (ภาพจากห้องสมุดของธวัชชัย ตั้งศิริรวานิช)

ไทยไม่มีประวัติศาสตร์แห่งชาติที่แท้จริง (ความเป็นชาติของไทยในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้)

ที่ มีอยู่เป็นเพียงประวัติศาสตร์ของรัฐราชสมบัติในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งสามารถช่วงชิงการนำเหนือรัฐราชสมบัติอื่นๆ ได้อย่างเด็ดขาดเมื่อหลัง พ.ศ. 2310 เท่านั้น

การขาดประวัติศาสตร์แห่งชาติที่แท้จริง (ซึ่งจะสามารถเปิดพื้นที่ให้แก่คนทุกกลุ่มในชาติได้มีตำแหน่งแหล่งที่ของตน ในความทรงจำร่วมกัน) ก่อให้เกิดปัญหาแก่ชาติในปัจจุบันอยู่มาก ทั้งในทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตย, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, แนวทางการพัฒนา ฯลฯ

คนไทย “ร้อยพ่อพันแม่”

Advertisement

คนไทย มีขึ้นจากการขยายอำนาจทางการเมืองของภาษาและวัฒนธรรมไต-ไท

คน พูดภาษาอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เจ๊ก, แขก, มอญ, เขมร, ม้ง, ลาว ฯลฯ ต้องใช้ภาษาไต-ไท และคุ้นเคยวัฒนธรรมไต-ไท หลังจากนั้นบางกลุ่มก็กลายตัวเองเป็น คนไทยลูกผสมร้อยพ่อพันแม่ อาจราวหลัง พ.ศ. 1800

การขยายตัวของคนไต-ไท (ยังไม่ไทย ก่อนเป็นคนไทย) ก็มีพร้อมไปคราวเดียวกันด้วย แต่อำนาจทางการเมืองมีไม่มากเท่าภาษาและวัฒนธรรมไต-ไท

Advertisement

นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกไว้ในหนังสือเล่มใหม่ ความไม่ไทย ของคนไทย (กำลังพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน จะเสร็จเร็วๆนี้) ดังนี้

“เรา ไม่มีวันรู้ว่าพระเจ้ามังรายก็ตาม, ขุนบางกลางหาวก็ตาม, พระเจ้าอู่ทองก็ตาม, ฯลฯ เป็นคนไต-ไทหรือไม่ แต่คนเหล่านี้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมของพวกไต-ไท ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน แม้ในชีวิตปกติเขาอาจพูดภาษาเขมร, ภาษาจีน, ภาษาลัวะ, หรือภาษามอญ ก็ตาม

 

ดัง นั้น การขยายอำนาจทางการเมืองของพวกไต-ไทในคริสต์ศตวรรษที่ 12-15 (หรือพุทธศตวรรษที่ 17-20 ในภูมิภาคอุษาคเนย์ จึงเป็นการขยายอำนาจทางการเมืองของภาษาไต-ไท มากกว่าการขยายอำนาจของ ‘ชนเผ่า’ ไต-ไท โดยพร้อมเพรียงและในอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลเช่นนั้น”

แต่ ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “เพิ่งสร้าง” คนไทยแท้ 100% อพยพจากเทือกเขาอัลไต แล้วสถาปนาสุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย โดยกีดกันบรรพชนนานาชาติพันธุ์อุษาคเนย์

ประวัติศาสตร์ “กีดกัน” ประชาชาติ

ประวัติ ศาสตร์แห่งชาติกีดกันคนส่วนใหญ่ออกไป โดยละทิ้งเรื่องราวที่มีความสำคัญ นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์แห่งชาติ (กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2549) จะสรุปย่อมาดังต่อไปนี้

 

คนพื้นเมืองดั้งเดิมชาติพันธุ์ต่างๆ แถบลุ่มน้ำโขง เกี่ยวดองถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ภาพจากหนังสือ A Pictorial Journey on the old Mekong, Cambodia, Laos and Yunnan by Louis Delaporte and Francis Garnier)
คนพื้นเมืองดั้งเดิมชาติพันธุ์ต่างๆ แถบลุ่มน้ำโขง เกี่ยวดองถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ภาพจากหนังสือ A Pictorial Journey on the old Mekong, Cambodia, Laos and Yunnan by Louis Delaporte and Francis Garnier)

 

บรรพชนนานาชาติพันธุ์

1. อาณาบริเวณและผู้คนนานาชาติพันธุ์ก่อนที่ภาษาไทยจะเป็นภาษาทางการของรัฐราว หลัง พ.ศ. 1700 แทบไม่มีส่วนอยู่ในประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยเลย ทั้งๆ ที่วัฒนธรรมในอาณาบริเวณเหล่านี้มีผลอย่างยิ่งต่อรัฐและสังคมซึ่งเกิดขึ้น หลัง พ.ศ. 1700

นอกจากนั้นผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในอาณาบริเวณนี้ ย่อมประกอบขึ้นเป็นประชากรของราชอาณาจักรต่างๆ ซึ่งถูกรวมอยู่ในชาติไทยในเวลาต่อมา ย่อมมีความสัมพันธ์ทางสังคม, เศรษฐกิจ, การเมือง และวัฒนธรรม กับประชาชนนอกประเทศไทยปัจจุบันอย่างแยกออกจากกันในทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบมา

การพูดถึงอดีตของชาติไทยโดย ไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว ก็เท่ากับละเลยมรดกของชาติซึ่งสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับอารยธรรมของมอญ, เขมร, ชวา-มลายู, คนบนพื้นที่สูง (เช่น ลัวะ, ละว้า, ข่า) ฯลฯ

ทั้ง นี้ยังไม่พูดถึงประชาชนต่างชาติต่างภาษาที่อพยพหรือเดินทางมาทางทะเล นับตั้งแต่อินเดีย, จีน, อาหรับ-เปอร์เซีย, ญี่ปุ่น, ยุโรป และอเมริกา ซึ่งล้วนมีบทบาททางประวัติศาสตร์อย่างสำคัญ และมีส่วนในการสร้างอัตลักษณ์ของชาติไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้

สร้างความขัดแย้งรุนแรง

2. ชาติไทยนั้นประกอบขึ้นด้วยชาติพันธุ์อันหลากหลาย แต่ความหลากหลายนี้ ถูกละทิ้งไปในประวัติศาสตร์แห่งชาติโดยสิ้นเชิง (ยกเว้นจีน)

กลุ่ม ชาติพันธุ์มลายูในภาคใต้เป็นกรณีที่เห็นได้ชัด เพราะอัตลักษณ์ของชาวมลายูในปัจจุบันล้วนตั้งอยู่บนฐานของอดีตที่อยู่นอก ประวัติศาสตร์แห่งชาติไทยทั้งสิ้น

คำปลุกใจชาตินิยมให้รำลึกถึง บรรพบุรุษที่ได้สละเลือดเนื้อปกป้องผืนแผ่นดินเป็นมรดกมาถึงปัจจุบัน หากประสบความสำเร็จ คงทำให้คนมลายูและคนไทยคิดถึงบรรพบุรุษผู้เสียสละคนละฝ่ายของคู่ความขัดแย้ง

หากคำปลุกใจนี้ทำให้ฮึกเหิมก็ยิ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายกระทำความรุนแรงแก่กันและกันมากขึ้น

ไทยอยู่ลอยๆ โดดๆ

3. ประวัติศาสตร์แห่งชาติสำนวนนี้ ละเลยบริบททางประวัติศาสตร์อุษาคเนย์ ไปทั้งหมด ประหนึ่งว่าประเทศไทยตั้งอยู่ลอยๆ พ้นออกไปจากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ของโลก

นอกจาก ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันระหว่างรัฐต่างๆ ในหลายด้านมากกว่าสงครามแล้ว ในความเป็นจริงราชอาณาจักรต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกระแสความเปลี่ยนแปลง และปัจจัยที่ครอบงำอาณาบริเวณกว้างขวางในภูมิภาค

เราไม่อาจพูดถึง สถานะทางการค้าของอยุธยา, ปัตตานี, เชียงใหม่ ฯลฯ โดยไม่พิจารณาถึงรูปลักษณ์ (pattern) ทางการค้าของโลก ซึ่งส่วนหนึ่งรวมเอาอุษาคเนย์ไว้ด้วยได้

เราไม่อาจเข้าใจความขัดแย้ง ระหว่างอยุธยาและหงสาวดีได้ ถ้าไม่พิจารณาผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ หรือในพุทธศตวรรษที่ 24 บนภาคพื้นทวีปของอุษาคเนย์ เกิดมหาอำนาจใหญ่ขึ้นในสามลุ่มน้ำใหญ่ คือเว้, บางกอก และอังวะ โอกาสที่จะปะทะกันในรัฐซึ่งไม่มีพรมแดนชัดเจนจึงเกิดขึ้นได้ง่าย

มหา อำนาจที่อยู่ใกล้เคียง เช่น บางกอก ย่อมคุกคามความมั่นคงของราชอาณาจักรอังวะซึ่งมีความเปราะบางภายในอยู่แล้ว ในขณะที่การแข่งขันอิทธิพลในรัฐเล็กๆ ของลุ่มน้ำโขง ระหว่างบางกอกและเว้ ย่อมให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการทหารแก่ทั้งสองฝ่ายเป็นธรรมดา

แม้แต่การสงครามซึ่งเป็นเนื้อหาหลักของประวัติศาสตร์แห่งชาติ ก็อาจเป็นที่เข้าใจได้จากการมองบริบททางประวัติศาสตร์ของภูมิภาค มากกว่าการมองประเทศไทยลอยออกมาโดดๆ และเข้าใจการสงครามของอยุธยาหรือบางกอกกับเพื่อนบ้านประหนึ่งการต่อสู้ ระหว่างนักบุญและปีศาจร้ายเท่านั้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image