ปลดแอกชาติ ส่งคืนราษฎร เพราะ ชาติเป็นสมบัติของราษฎร

ปลดแอกชาติ ส่งคืนราษฎร เพราะ ชาติเป็นสมบัติของราษฎร
ชาติที่ถูกใส่แอก จนต้องร่วมกันปลดแอกชาติ (ภาพในหนังสือ ปลดแอกชาติ จากศักดินา-(ราชา)ชาตินิยม ของ ฐนพงศ์ ลือขจรชัย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก เมษายน พ.ศ.2564)

ปลดแอกชาติ ส่งคืนราษฎร

เพราะ ชาติเป็นสมบัติของราษฎร

รายงานโดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ

ชาติไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่โดยตัวของมันเองตั้งแต่บรมสมกัปป์ หรือตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาแต่ชาติเป็นสำนึกใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไม่นานนี้เอง ด้วยเงื่อนไขปัจจัยอันหลากหลายและซับซ้อนซึ่งเกิดขึ้นไม่เหมือนกันในแต่ละดินแดน ดังนั้นสำนึกของความเป็นชาติในแต่ละพื้นที่จึงแตกต่างกันด้วย แม้ว่าชาติจะมีพลังอย่างยิ่งยวดในการผลักดันประวัติศาสตร์ของดินแดนนั้นๆ และของโลกเหมือนกันก็ตาม [.นิธิ เขียนไว้ในมติชนสุดสัปดาห์ 14-20 สิงหาคม 2563]

Advertisement

ชาติในโลกล้วนเป็นสำนึกใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุโรปเมื่อไม่นานมานี้. เบน แอนเดอร์สัน (นักปราชญ์พลเมืองโลกชาวอเมริกัน) บอกว่าชาติเป็น “จินตกรรมใหม่”

ในไทย ชาติเพิ่งเกิดมีขึ้น ดังนี้ แผ่นดิน ร.5 จินตกรรมชาติเริ่มเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาแบบใหม่ (อย่างตะวันตก) แผ่นดิน ร.6 นิยามสำนึกใหม่ให้เป็นความภักดีต่อ ชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์ (ตรงกับคำขวัญอังกฤษว่า God, King, and Country) แต่ไม่ราบรื่นเสมอไป

ชาติ” ถูกนิยามใหม่เมื่อ 2475

Advertisement

ชาติ” เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ถูกทำให้มีความหมายกว้างขวางอย่างสากลโลกไปถึงประชาชาติราษฎรอันหลากหลาย แต่หลังจากนั้น “ถูกทำให้ลืม” ด้วยการ “ถูกบังคับสูญหาย”

ธงชาติ 24 มิถุนายน 2475 และสิ่งของเครื่องใช้ “ถูกบังคับสูญหาย” จากห้องแสดงพิพิธภัณฑ์

สิ่งของเครื่องใช้สำคัญของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 เคยถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติฯ (แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ได้แก่ ธงชาติผืนแรก กับสิ่งของเครื่องใช้

ธงชาติผืนแรก ที่คณะราษฎรนำขึ้นประดิษฐานเหนือยอดพระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อเวลาเช้าตรู่ 24 มิถุนายน 2475

สิ่งของเครื่องใช้ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 24 มิถุนายน 2475

หลังจากนั้นสิ่งของจัดแสดงทั้งสองรายการนี้ “ถูกทำให้หายไป” เมื่อ พ.. 2510 ซึ่งเป็นช่วง 10 ปี หลังการปฏิวัติของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (.. 2501)

ปลดแอกชาติ ส่งคืนราษฎร

ชาติที่ถูกใส่แอก จนต้องร่วมกันปลดแอกชาติ (ภาพในหนังสือ ปลดแอกชาติ จากศักดินา-(ราชา)ชาตินิยม ของ ฐนพงศ์ ลือขจรชัย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก เมษายน พ.ศ. 2564)

เมื่อคุณได้เริ่มต้นอ่านหนังสือเล่มนี้ จงลืมชาติที่ท่องจำกันมาตั้งแต่เล็กทิ้งไป เพราะสิ่งที่จะได้เห็นต่อไปนี้ คือร่างที่แท้จริงของ “ชาติ”

นับตั้งแต่ “ชาติ” อุบัติขึ้นในประเทศไทย มันได้กลายเป็นสนามต่อสู้ทางการเมืองที่บ้าเลือด แต่ลี้ลับไม่มีใครรู้เห็น เพราะมันซ่อนตัวอยู่ใต้ผ้าคลุมของปัญญาชนราชสำนัก และชนชั้นนำที่พรางตาราษฎร ผู้เป็นเจ้าของประเทศ

ำปั้น หยดเลือด และน้ำตา ในสงครามยุดแย่งชาติของราษฎรที่ถูกปกปิดในประวัติศาสตร์ฉบับทางการจะถูกเปิดเผย เรื่องราวการย่ำยีบีฑาบนสังเวียนการเมือง และการปิดศพวีรชนประชาธิปไตยด้วยใบบัวของศักดินาจะถูกเปิดโปงใน ปลดแอกชาติ จากศักดินา-(ราชา)ชาตินิยม

(ข้อความปกหลังจากหนังสือ ปลดแอกชาติ จากศักดินา-(ราชา)ชาตินิยม ของ ฐนพงศ์ ลือขจรชัย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก เมษายน 2564)

 

 

ชาติที่ถูกใส่แอก จนต้องร่วมกันปลดแอกชาติ (ภาพในหนังสือ ปลดแอกชาติ จากศักดินา-(ราชา)ชาตินิยม ของ ฐนพงศ์ ลือขจรชัย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก เมษายน พ.ศ.2564)
ผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรสาดสีใส่ป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตอบโต้ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจฉีดน้ำและแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มผู้ชุมนุมหน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563
ธงชาติไทยในการประท้วงของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)
(ซ้าย) ธงชาติไทย อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และ “ม็อบมือถือ” ในการประท้วงขับไล่ พลเอก สุจินดา คราประยูร ที่นำไปสู่เหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 (ขวา) ธงชาติที่เปื้อนเลือดของ จีระ
บุญมาก ผู้เสียชีวิตในการประท้วงในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ
ธงชาติไทยและ “ทรงพระเจริญ” ของกลุ่มคนเสื้อแดงใน พ.ศ.2553 (ซ้าย) และ (ขวา) สนธิ ลิ้มทองกุล ปราศรัยโดยมีธงชาติอยู่ด้านเหลัง พร้อมผ้าพันคอ “กู้ชาติ” ใน พ.ศ.2551

 

ประวัติศาสตร์ไทย

จากชื่อบ้านนามเมือง

สุจิตต์ วงษ์เทศ

ไทยมาจากไม่ไทย หมายถึง คนหลายเผ่าพันธุ์ร้อยพ่อพันแม่ พูดภาษาต่างๆ กัน โดยไม่เรียกตนเองว่าคนไทย ต่อมาใช้ภาษาไทย (ไทไต) เป็นภาษากลาง และใช้มากขึ้นในชีวิตประจำวัน นานเข้าด้วยอำนาจของภาษาและวัฒนธรรมไทไต ก็กลายตนเป็นคนไทย พบเก่าสุดมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐอยุธยา ราวเรือน พ.. 1900-2000 ก่อนหน้านั้นไม่เคยพบหลักฐาน [เชื้อชาติไทยไม่มีในโลก]

หลักฐานชุดหนึ่งที่แสดงลักษณะคนหลายเผ่าพันธุ์ล้วนไม่ไทย แต่แล้วกลายตนเป็นไทย ได้แก่ ชื่อบ้านนามเมืองในประเทศไทย มีทั้งที่เป็นภาษาไทยและเป็นภาษาเพื่อนบ้านต่างๆ ที่แสดงว่าตรงนั้นเคยเป็นหลักแหล่งของคนพูดภาษาไม่ไทยซึ่งมีไม่น้อยกระจายทั่วไป

[ชื่อบ้านนามเมือง หมายถึง ชื่อภูมิสถานบ้านเมืองทั้งธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น คำคล้องจองชุดนี้มีแล้วตั้งแต่ก่อน พ.. 2500 อยู่ในวารสารวิชาการ (ของกระทรวงศึกษาธิการ) ชื่อวัฒนธรรมไทย ผมจำแล้วยกไปใช้ใหม่ในศิลปวัฒนธรรมนิตยสารรายเดือน ตั้งแต่ พ.. 2522 โดยไม่รู้ว่าใครผูกคำชุดนี้? กระทั่งหลัง พ.. 2540 เพิ่งรู้จากปากคำของผู้สร้างสรรค์คำชุดนี้เองว่าคือ ส. พลายน้อย]

ประวัติศาสตร์สังคม

ประวัติศาสตร์สังคมของไทยพบในชื่อบ้านนามเมืองของประเทศไทย

ชื่อบ้านนามเมืองบอกความเป็นมาของสังคมและวัฒนธรรมของบ้านเมืองและภูมิสถานนั้นๆ เป็นภาษาตระกูลต่างๆ บางชื่อรู้และเข้าใจความหมาย แต่จำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้และไม่เข้าใจ บางทีไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นชื่อมีรากจากภาษาอะไร? เช่น ชื่อทางสองฝั่งโขงปนกันได้ทั้งตระกูลมอญเขมร, ชวามลายู, ไทไต ฯลฯ

บางแห่งเป็นภาษาไทยที่รู้และเข้าใจความหมายเพียงผิวเผิน แต่บางแห่งเป็นภาษาไทยเก่าแก่ที่ไม่รู้และไม่เข้าใจความหมายนั้นแล้ว โดยที่หลายแห่งไม่ใช่ภาษาไทย ซึ่งไม่รู้และไม่เข้าใจความหมายจนหารากเหง้าไม่ได้

แต่มีจำนวนไม่น้อยเป็นภาษาอื่น ครั้นนานไปเลื่อนไหลกลายคำเป็นอย่างอื่นโดยธรรมชาติ หรือถูกบังคับให้กลายคำเป็นภาษาไทยด้วยความเข้าใจคลาดเคลื่อน ย่อมทำให้ความหมายเปลี่ยนไป หรือหาความหมายแท้จริงไม่ได้ ตัวอย่างมีในโคลงกำสรวลสมุทร (หรือกำสรวลศรีปราชญ์) วรรณกรรมสมัยต้นอยุธยา เรือน พ.. 2000 พรรณนาภูมิประเทศสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่อยุธยาลงไปทางใต้ ถึงปากน้ำจนออกอ่าวไทย ระบุชื่อบ้านนามเมืองจำนวนหนึ่ง แต่ปัจจุบันบางแห่งเปลี่ยนไป หลายแห่งยังชื่อเดิม

ชื่อบ้านนามเมือง

ประเทศไทยเป็นหลักแหล่งของคนหลายเผ่าพันธุ์ร้อยพ่อพันแม่ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทั้งของพื้นที่และผู้คนเป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้จากอุษาคเนย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (หรือยุคหิน) หลายพันปีมาแล้ว สืบเนื่องต่อมาจนสมัยปัจจุบัน

ชื่อบ้านนามเมืองในไทยโดยทั่วไปเรียกเป็นภาษาต่างๆ มีลักษณะกว้างๆ ดังนี้

1. ภาษาของกลุ่มคนดั้งเดิม ที่มีหลักแหล่งอยู่บริเวณนั้นพบอย่างรวม ได้แก่ ตระกูลมอญเขมร บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง และภาคอื่นๆ ทั่ว ไปตระกูลชวามลายู บริเวณภาคใต้ โดยเฉพาะตอนล่าง และบางท้องถิ่นในภาคกลางและอีสานตระกูลไทไต บริเวณลุ่มน้ำโขงทางภาคเหนือและภาคอีสานตระกูลม้งเมี่ยน และพม่าทิเบต บริเวณที่สูงและพรมแดนภาคเหนือ

2. ภาษาตระกูลไทไต ที่แผ่ตามเส้นทางการค้าตั้งแต่ดินแดนภายในทางภาคใต้ของจีน (โซเมีย) ถึงดินแดนไทยทุกวันนี้

3. ภาษาของกลุ่มคนโยกย้ายจากที่อื่นไปตั้งหลักแหล่งใหม่ในบริเวณต่างๆ เช่น คนมอญจากพม่า ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ อ. พระประแดง จ. สมุทรปราการ เรียกชื่อบ้านนามเมืองบางแห่งด้วยภาษามอญ แต่อาจคลาดเคลื่อนได้เมื่อบางคำพ้องเสียง มีตัวอย่างหลายท้องที่

แต่บางชื่อบางคำที่สำคัญแห่งหนึ่ง ได้แก่ คนพวนถูกกวาดต้อนสมัย ร.3 จากลาวไปตั้งหลักแหล่งอยู่ดงศรีมหาโพธิ์ (. ศรีมหาโพธิ และ อ. ศรีมโหสถ จ. ปราจีนบุรี) มีกลุ่มหนึ่งปลูกเรือนรวมกันเป็นชุมชนอยู่บริเวณที่ดอนโคกเนิน มีต้นขัดมอน (เป็นคำลาวแปลว่าต้นไม้กวาด) ขึ้นหนาแน่นเป็นพิเศษ เลยเรียกบ้านโคกมอน ต่อมาคนสมัยหลังไม่รู้จักต้นขัดมอน เลยเข้าใจกันเองว่าเป็นชื่อชาว “มอญ” จึงสร้างใหม่นิทานท้องถิ่นว่าเคยมีคนมอญตั้งกองจับช้างป่าอยู่บริเวณนั้น เลยเรียก “บ้านโคกมอญ” ซึ่งผิดจากความจริงไปไกล (เพราะไม่เคยมีชาวมอญตั้งกองจับช้างป่าอยู่แถบนั้น)

พลังของภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่น

ระบบการศึกษาไทยเหยียดความรู้ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อนบ้านอุษาคเนย์ โดยเฉพาะภาษาถิ่น แล้วตัดขาดประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เป็นเหตุให้ในไทยไม่มีประวัติศาสตร์สังคม เพราะรัฐมุ่งประวัติศาสตร์สงครามกับเพื่อนบ้าน

ภูมิบ้านนามเมือง คำใคร ไทย-มอญ-เขมร โดย ประสิทธิ์ ไชยชมพู พิมพ์ครั้งแรก มกราคม 2564 (หนา 944 หน้า)

วามเป็นมาของคําสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ของ จิตร ภูมิศักดิ์ (พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2514) เป็นหนังสือวิชาการชั้นสูง อ่านเข้าใจยาก แม้เข้าใจได้ไม่มาก แต่หนังสือความเป็นมาฯ มีพลังกระตุ้นให้อยากรู้กว้างกว่าเคยรู้ ที่สําคัญคือความรู้เกี่ยวกับนิรุกติศาสตร์ของภาษาถิ่นในชื่อบ้านนามเมืองทั่วประเทศ ซึ่งช่วยสนับสนุนความเข้าใจท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทย

พื้นฐานความรู้ความเข้าใจของผมมีไม่มาก หรือไม่มีเลยในภาษาเพื่อนบ้านและภาษาถิ่น จึงต้องพึ่งพาผู้รู้ด้านนี้เสมอ ในจํานวนนั้นผมขอความรู้บ่อยๆ จาก ประสิทธิ์ ไชยชมพู ผู้ทุ่มเทจริงจังต่อเนื่องเรื่องภาษาและวรรณกรรม โดยค้นคว้าเรียบเรียงแล้วนิยามสร้างคําอธิบายชื่อบ้านนามเมืองภูมิสถานท้องถิ่นทั่วประเทศ ต่อมาทยอยนําเสนอผ่านสื่อกลุ่มเล็กๆ แต่มีคุณค่ามหาศาลต่อการศึกษาด้านที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image