เขียนจีนให้เป็นไทย ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือ การทูตวิชาการไทย-จีน

เขียนจีนให้เป็นไทย

ประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือ

การทูตวิชาการไทยจีน

Advertisement

เขียนจีนให้เป็นไทย ของ สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์

สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก 2564 ราคา 420 บาท

กว่าจะมาเป็นหนังสือเล่มนี้

[คัดบางตอนจากคำนำของผู้เขียน สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์ (จบปริญญาเอกจาก National University of Singapore เมื่อปี 2561) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]

หนังสือเล่มนี้เน้นประเด็นการสร้าง “องค์ความรู้เกี่ยวกับคนจีนในประเทศไทย” ในยุคสงครามเย็น อันเป็นฐานสคัญที่ส่งผลต่อการสร้างการรับรู้และอัตลักษณ์ของคนจีนในประเทศไทยในยุคปัจจุบัน แต่การทความเข้าใจประเด็นดังกล่าวจำต้องมองบริบทที่สัมพันธ์กับการเมืองในยุคสงครามเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาไทยจีน การเมืองของความรู้สังคมศาสตร์ การเติบโตของสังคมศาสตร์ไทย และการใช้วิชาการเป็นเครื่องมือทางการทูต

การครอบคลุมหัวข้อที่หลากหลายและซ้อนทับกันเช่นนี้ทให้หนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้อ่านทั่วไปและนักวิชาการในวงกว้างที่มีความสนใจแตกต่างออกไปตามประเด็นที่หนังสือเล่มนี้ครอบคลุม อาทิ ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาไทยจีน คนจีนในประเทศไทย ความเป็นจีนในสังคมไทย ไทยศึกษา พัฒนาการสังคมศาสตร์ในประเทศไทยและสงครามเย็น

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ การใช้ข้อมูลหลักฐาน 3 ภาษาจากแหล่งข้อมูลในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา และจีน โดยข้อมูลจากหลักฐานหลายชิ้นเป็นข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยถูกใช้มาก่อนในการศึกษาเกี่ยวกับประเด็นคนจีนในประเทศไทย ไทยศึกษา และสังคมศาสตร์ สงครามเย็น ซึ่งผู้เขียนคิดว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้อ่านอยู่บ้าง อาทิ ข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุของ จี. วิลเลียม สกินเนอร์ (G. William Skinner) และลอริสตัน ชาร์ป (Lauriston Sharp) จากหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เอกสารของจอห์น เค. แฟร์แบงค์ (John K. Fairbank) ผู้บุกเบิกจีนศึกษาในสหรัฐอเมริกาและอาจารย์ของ ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์ และ ดร. สารสิน วีระผล ผู้บุกเบิกจีนศึกษาในไทย และเอกสารของเคนเนธ ยัง (Kenneth Young) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจประเทศไทย จากหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเอกสารบันทึกของเฉินหลี่ว์ฟ่าน (陈吕范) และคณะนักวิชาการจีนที่เข้ามาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านไทยศึกษากับนักวิชาการไทย และเอกสารจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติไทยและหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังเสนอข้อถกเถียงและข้อค้นพบใหม่ที่แตกต่างจากงานศึกษาเกี่ยวกับคนจีนในประเทศไทยที่ผ่านๆ มา โดยมองการสร้าง “อัตลักษณ์จีน” ผ่านงานวิชาการ ซึ่งผู้เขียนสืบเสาะดูร่องรอยการสร้างงานวิชาการเกี่ยวกับคนจีนในไทยของนักวิชาการอเมริกัน จีน และไทย อาทิ จี. วิลเลียม สกินเนอร์ ต้วนลี่เซิง (段立生) และนิธิ เอียวศรีวงศ์ พร้อมกับนเสนอว่างานวิชาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากแรงขับดันเรื่องความเป็นเหตุผลทางวิชาการเท่านั้น หากแต่ยังถูกผลักดันด้วยการเมืองและอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ความรู้สึกที่เรียกว่า “ชาตินิยมวิชาการ”

การสร้างความรู้เกี่ยวกับคนจีนในประเทศไทยช่วงสงครามเย็นมีความสคัญทั้งในแง่การสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ผ่านการกลืนกลายคนจีนให้เป็นไทย เพื่อสร้าง “นายทุนไทยเชื้อสายจีน” ซึ่งเป็นกลจักรสคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยมไทย ขณะเดียวกัน การสร้างความรู้เกี่ยวกับคนจีนในประเทศไทยในฐานะ “คนอื่น” และคู่ตรงข้ามกับ “คนไทย” โดย จี. วิลเลียม สกินเนอร์ ยังช่วยขับเน้นภาพคนไทยและ “ความเป็นไทย” ที่นักสังคมศาสตร์อเมริกันสนักคอร์เนลล์ภายใต้การนของลอริสตัน ชาร์ป สร้างขึ้นให้มีความสมจริง องค์ความรู้ที่สร้างโดยนักวิชาการอเมริกันนี้ถูกถ่ายทอดส่งผ่านมายังวงวิชาการไทยผ่านการสร้างมหาวิทยาลัยสมัยใหม่และโลกวิชาการสังคมศาสตร์ไทยด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการศึกษาของสหรัฐอเมริกาที่มีต่อไทย โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางของการสร้าง “สังคมศาสตร์สงครามเย็น” ในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้งภายในประเทศไทยและการเมืองระหว่างประเทศในทศวรรษ 1970 องค์ความรู้เกี่ยวกับคนจีนในประเทศไทยถูกใช้เป็นเครื่องมือสคัญในการสานสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยจีน พร้อมไปกับการเกิดกระแส “ชาตินิยมวิชาการ” ในหมู่นักวิชาการไทยที่เริ่มท้าทายองค์ความรู้ด้านไทยศึกษาที่นักวิชาการอเมริกันสร้างขึ้น รวมถึงความรู้เกี่ยวกับคนจีนในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนสคัญในการสร้างความรู้เกี่ยวกับไทยศึกษา

การใช้ “ความรู้ประวัติศาสตร์” เป็นเครื่องมือทางการทูตในการสานสัมพันธ์ไทยจีน นไปสู่การรื้อทลายประวัติศาสตร์ฉบับอัลไตน่านเจ้า ที่เน้นความเป็นศัตรูระหว่างไทยจีน และคนจีนในฐานะศัตรูและคนอื่นของคนไทย ซึ่งเป็นชุดความรู้ที่ถูกเน้นย้ำในช่วงวิกฤตความสัมพันธ์ไทยจีนในยุคสงครามเย็น กระทั่งนมาสู่การสร้างความรู้ชุดใหม่ที่เน้นความใกล้ชิดระหว่างไทยจีน และคุณูปการของคนจีนในสังคมไทยที่มีต่อชาติไทย จนนไปสู่การผสานคนจีนในไทยให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยอย่างแนบสนิท

การศึกษาประเด็นนี้ช่วยเผยให้เห็นการใช้ “วิชาการ” เป็นเครื่องมือทางการทูตของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งยังช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อทัศนะที่ทางการจีนมีต่อประวัติศาสตร์ไทย คนจีนในไทย และประเทศไทย

โดยสรุป หนังสือเล่มนี้พยายามเสนอทั้งข้อมูลและแนวทางใหม่ในการศึกษาคนจีนในประเทศไทย ประวัติศาสตร์ไทย และความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาไทยจีน ผ่านการพินิจพิจารณาการสร้างองค์ความรู้อันเป็นผลมาจากการผสานระหว่างพลวัตภายในสังคมไทยกับแรงปะทะข้ามพรมแดน

ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงมีความโดดเด่นกว่าหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเล่มอื่นๆ โดยเฉพาะที่ศึกษายุคสงครามเย็น ซึ่งมักจกัดกรอบการมองอยู่เพียง 2 แบบ คือ 1. เน้นพลวัตภายในประเทศไทยและใช้ข้อมูลภาษาไทยเป็นหลัก และ 2. เน้นเพียงคู่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาไทย

ปฏิบัติการของชาตินิยมวิชาการ

และการทูตวิชาการไทยจีน

[คัดบางตอนมาปรับปรุงให้กระชับจากหนังสือ เขียนจีนให้เป็นไทย ของ สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์]

การผลิตความรู้โดยนักวิชาการจีนเพื่อปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติจีน เริ่มถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นปฏิบัติการทางการทูตที่เข้ามาส่งอิทธิพลต่อการรับรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยและสถานะของคนจีนในประเทศไทยในช่วงทศวรรษ 1980 ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยจีน ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองที่ซับซ้อนในประเทศไทย

เมื่อกลุ่มวิจัยความสัมพันธ์ไทยจีนของเฉินเริ่มทำการวิจัยเพียงไม่กี่ปี งานวิจัยของกลุ่มวิจัยก็เริ่มเป็นที่รับรู้ในสังคมไทย หลังจากได้รับต้นฉบับแปลภาษาอังกฤษของบทความ “จักรพรรดิกุบไลข่านทรงพิชิตอาณาจักรตาลี ทำให้ชนชาติไทยอพยพลงใต้ขนานใหญ่จริงหรือ?” ที่เฉินเขียนร่วมกับตู้จากสารสิน วีระผล นักการทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง ม... คึกฤทธิ์ได้แปลสรุปความบทความชิ้นนี้ลงในคอลัมน์ “ใต้สังเวียน” หนังสือพิมพ์สยามรัฐในเดือนมิถุนายน ค..1978 โดยที่ไม่ได้ตระหนักถึงการเป็นต้นเหตุที่ทำให้นักวิชาการจีนเริ่มผลิตความรู้ชุดนี้ ม... คึกฤทธิ์เน้นว่าบทความชิ้นนี้เขียนขึ้นโดยนักวิชาการจีนเพื่อลบล้างมายาคติเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยที่ถูกผลิตโดยนักวิชาการตะวันตก

การเผยแพร่ความรู้จากจีนมายังไทยด้วยความบังเอิญนี้ได้สร้างความตื่นเต้นให้แก่สังคมไทยในช่วงยุคหลัง 14 ตุลาฯ ที่กระแสชาตินิยมวิชาการในหมู่นักวิชาการไทยผลักให้เกิดการเขียนประวัติศาสตร์ไทยเพื่อนิยาม “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ที่หลุดพ้นจากมรดกยุคเผด็จการทหาร ในช่วงเวลานี้ วงวิชาการไทยก็เริ่มพยายามสร้างองค์ความรู้เป็นของตัวเอง เพื่อหลุดพ้นจากเงาอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามามีบทบาทต่อวงวิชาการไทยอย่างมากในยุคสงครามเย็น พร้อมไปกับกระแสต่อต้านอเมริกันที่เป็นผลพวงมาจากการต่อต้านสงครามเวียดนามและ 14 ตุลาฯ ความรู้จากประเทศคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจีนซึ่งถูกตราให้เป็นความรู้ต้องห้ามมาก่อนในช่วงยุคเผด็จการทหารและเป็นคู่ตรงข้ามกับความรู้ทางวิชาการฝั่งโลกเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนกลาง จึงกลายเป็นเครื่องมือที่เย้ายวนในการต่อสู้เพื่อนิยาม “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ในยุคหลัง 14 ตุลาฯ สำหรับนักวิชาการไทยส่วนหนึ่ง

ในช่วงทศวรรษ 1980 ทั้งไทยและจีนต่างสนับสนุนเขมรแดงเพื่อคานอิทธิพลสหภาพโซเวียตและเวียดนามนั้น การกระชับความสัมพันธ์ไทยจีนจึงเป็นเรื่องสำคัญ การทูตวิชาการจึง ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกระชับสัมพันธ์ ระหว่างต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้แทนจากจีนใน ค.. 1980 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีไทยได้เสนอต่อผู้แทนจีนว่า ไทยจีนควรร่วมมือกันทางด้านวิชาการโดยเฉพาะทางด้านประวัติศาสตร์ เนื่องจาก “ประวัติศาสตร์ไทยที่เขียนโดยนักวิชาการตะวันตกนั้นไม่น่าเชื่อถือ” ดังนั้น “เราจึงควรร่วมมือกันทำงานเรื่องนี้” พลเอก เกรียงศักดิ์เลือกใช้หน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีคือ คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับจีนในเอกสารภาษาจีนเป็นเครื่องมือเพื่อสานต่อการดำเนินงาน “การทูตวิชาการ”——-

รัฐบาลจีนตอบรับข้อเสนอการทูตวิชาการของไทยโดยไม่ลังเล เนื่องด้วยเห็นว่าเป็นโอกาสและช่องทางสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ที่กลุ่มวิจัยความสัมพันธ์ไทยจีนและเครือข่ายผลิตขึ้นมายังประเทศไทย

หลังจากตอบรับแผนการเยือนจีนของคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยฯ ทางการจีนได้จัดให้สถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษาประจำมณฑลยูนนานเป็นเจ้าภาพเชิญคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยฯ เดินทางมายังยูนนานเพื่อแลกเปลี่ยนทางวิชาการในเดือนเมษายน ค.. 1984 พร้อมกับสุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นนิตยสารกึ่งวิชาการที่เริ่มมีบทบาทอย่างสูงในการนิยาม “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ในช่วงทศวรรษ 1980 การเชิญสุจิตต์ไปยังยูนนานไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มีการวางแผนเตรียมการมาก่อนหน้าโดยฝ่ายจีน——-

เมื่อสุจิตต์และคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยฯ เดินทางมาถึงยูนนาน ทางสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษาซึ่งมีเฉินหลี่ว์ฝ่าน หัวหน้ากลุ่มวิจัยความสัมพันธ์ไทยจีน เป็นผู้อำนวยการ ได้จัดให้สุจิตต์และคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยฯ รับฟังการบรรยายและทัศนศึกษาคุนหมิง ต้าหลี่ และสิบสองปันนา เพื่อสัมผัสหลักฐานโบราณคดี และเห็นด้วยตาว่า ต้าหลี่ ซึ่งประวัติศาสตร์ไทยอ้างว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรน่านเจ้านั้นไม่ใช่อาณาจักรของไทย คนไทในจีนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับคนจีนฮั่นมาอย่างยาวนาน เฉกเช่นความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนจีนในประเทศไทย ดังนั้นประวัติศาสตร์ฉบับอัลไตน่านเจ้าจึงเป็นเพียงมายาคติ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยฯ สุจิตต์และรวมถึงคณะผู้แทนไทยอื่นๆ ที่ไปเยือนจีนต่างมิได้ตระหนักรับรู้ถึงวาระแอบแฝงทางการเมืองที่อิงแอบมากับการแลกเปลี่ยนความรู้วิชาการกับนักวิชาการจีน ภายหลังกลับมาจากการเยือนยูนนานแล้วสุจิตต์ได้เขียนและตีพิมพ์หนังสือ คนไทยไม่ได้มาจากไหน? โจมตีประวัติศาสตร์ฉบับอัลไตน่านเจ้า โดยอาศัยข้อมูลหลักฐานที่ได้รับจากการทัศนศึกษาและสนทนากับนักวิชาการจีน ส่วนคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยฯ ภายหลังกลับมาจากยูนนานแล้วก็ได้แปลและตีพิมพ์งานชิ้นเอกของจีนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชนชาติไตในยูนนาน ซึ่งพวกเขาได้รับการแนะนำจากนักวิชาการจีน อาทิ บันทึกเรื่องสิบสองปันนาของหลีฟูจิ (หลี่ฝออี, 李佛一) ประวัติชนเชื้อชาติไท ของเจียงอิ้งเหลียง (应梁)

สำหรับสุจิตต์และคณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยฯ องค์ความรู้ที่ได้รับจากการไปเยือนจีนนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษาวิจัยประวัติศาสตร์ไทยจากมุมมองใหม่ที่พ้นจากประวัติศาสตร์เชื้อชาตินิยมฉบับอัลไตน่านเจ้า สำหรับสุจิตต์ องค์ความรู้นี้สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการนิยาม “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” ที่ท้าทายอำนาจของชนชั้นนำ ผ่านการใช้นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม เป็นกระบอกเสียงนิยาม “ชาติไทย” ที่เป็นของประชาชน และ “ความเป็นไทย” ที่เกิดจากการผสมผสานของวัฒนธรรมของชนหลากหลายชาติพันธุ์ซึ่งรวมถึงคนจีนด้วย


ศิลปวัฒนธรรม:

พื้นที่ผสานของชาตินิยมวิชาการ

นอกจากความร่วมมือทางวิชาการและการเดินสายเผยแพร่ความรู้จากจีนที่ถูกขับดันด้วยกระแสชาตินิยมวิชาการจีน นักวิชาการจีนยังได้ส่งบทความลงตีพิมพ์ใน ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับและมีการเผยแพร่ในวงกว้าง ด้าน ศิลปวัฒนธรรม ที่มีสุจิตต์ วงษ์เทศ เป็นบรรณาธิการและต้องการท้าทายประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักเพื่อปรับเปลี่ยนนิยามชาติไทย ก็มองเห็นทั้งตลาดของงานวิชาการจีนสำหรับผู้อ่านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ต้องการบริโภคองค์ความรู้จากจีน และศักยภาพของงานวิชาการเหล่านี้ในฐานะเครื่องมือสนับสนุนการท้าทายประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลัก ดังนั้นในขณะที่จีนมุ่งใช้วงวิชาการไทยเป็นเครื่องมือในการปรับความรับรู้เกี่ยวกับคนจีนในไทยและประวัติศาสตร์ไทย เพื่อจุดประสงค์ในการสานสัมพันธ์ไทยจีน นักวิชาการไทยก็มองงานวิชาการจากจีนเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการปรับนิยามชาติไทยผ่านการท้าทายประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักในแง่นี้กล่าวได้ว่าชาตินิยมวิชาการไทยจีนได้พบจุดประสานบนหน้านิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม

ในช่วงทศวรรษ 1980 บทความจากจีนจำนวนมากปรากฏในศิลปวัฒนธรรม ถึงแม้บรรณาธิการจะเป็นผู้เลือกตีพิมพ์บทความต่างๆ ทว่าหากพิจารณากระบวนการที่สิ่งพิมพ์เหล่านี้มาถึงมือสุจิตต์จะพบว่าทางการจีนทราบเป็นอย่างดีถึงความเป็นไปได้ที่บทความเหล่านี้จะได้รับการตีพิมพ์ บทความบางชิ้นได้รับการแปลหรือเขียนเป็นภาษาไทยและส่งตรงจากจีนถึง ศิลปวัฒนธรรม ขณะที่บางบทความก็ถูกส่งผ่านมิตรสหายที่มีความใกล้ชิดกับจีนของสุจิตต์ ซึ่งต้องการท้าทายประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลัก

จักรพรรดิกุบไลข่านทรงพิชิตอาณาจักรตาลี ทำให้ชนชาติไทยอพยพลงใต้อย่างขนานใหญ่จริงหรือ?” ของตู้อี้ถิงและเฉินหลี่ฝั้น ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image