จีนหงุดหงิด “คึกฤทธิ์” ปล่อยมุข เรียกคืนดินแดนยูนนาน “อาณาจักรไทย”

จีนหงุดหงิด “คึกฤทธิ์” ปล่อยมุข เรียกคืนดินแดนยูนนาน “อาณาจักรไทย”

จีนหงุดหงิด “คึกฤทธิ์” ปล่อยมุข

เรียกคืนดินแดนยูนนาน “อาณาจักรไทย”

ปรับปรุงใหม่จากข้อความในหนังสือ เขียนจีนให้เป็นไทย

Advertisement

ของ สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์

(สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก 2564 หน้า 254-269)

ประวัติศาสตร์ไทยฉบับอัลไตน่านเจ้า เป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีน

Advertisement

เพราะเป็นประวัติศาสตร์บาดหมางสร้างบาดแผล ที่ถูกเสกสรรปั้นแต่งขึ้นจากชนชั้นนำไทยโดยไม่พบหลักฐานวิชาการสนับสนุน ดังนี้

1. ความเชื่อรับจากเจ้าอาณานิคมยุโรปเรื่อง “เชื้อชาติไทย”บริสุทธิ์ ซึ่งไม่มีจริงในโลก

2. ความเชื่อเรื่องคนไทยมีถิ่นกำเนิดบริเวณเทือกเขาอัลไตซึ่งมาจาก “จินตนาการ” ล้วนๆ ของนักเขียนนักค้นคว้าแต่งหนังสือส่งประกวด

3. ชาตินิยมไทย “เนรมิต” ประวัติศาสตร์ไทยใช้งานการเมืองตามนโยบายของมหาอำนาจสหรัฐเพื่อต่อต้านและปิดล้อมจีน

รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ ม... คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนอย่างเป็นทางการใน ค.. 1975 (.. 2518)

แม้การเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทยจีนของ ม... คึกฤทธิ์จะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม อย่างไรก็ตาม หากอ่านเอกสารหลักฐานจากฝั่งจีนจะพบว่า ม... คึกฤทธิ์และชนชั้นนำไทยได้สร้างปัญหาให้กับความสัมพันธ์ไทยจีนตั้งแต่เริ่มต้นอันเป็นผลมาจากสุญญากาศทางความรู้เกี่ยวกับจีน จนนำไปสู่การขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับความอ่อนไหวของจีนต่อประเด็นประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ที่เกี่ยวพันกับการนิยาม “ชาติจีน”

ภายหลังจากการเจรจาเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทยจีน นายกรัฐมนตรีไทย ม... คึกฤทธิ์ และโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรีจีนได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.. 1975 (.. 2518) ปัญหาข้อหนึ่งที่ทั้งฝ่ายไทยและจีนให้ความสำคัญอย่างมากคือประเด็นคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นว่าควรจะต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม เนื่องจากเป็นปัญหาที่อ่อนไหวต่อความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศ

จีนหงุดหงิด เมื่อคึกฤทธิ์มีอารมณ์ขัน “ปล่อยมุข”

อย่างไรก็ตาม เพียง 3 วันต่อมา ปัญหาที่ไม่คาดคิดมาก่อนและเกี่ยวข้องกับประเด็นคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทยได้สร้างความกังวลให้แก่ทางการจีนอย่างมาก

ภายหลังจากการลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯ คณะของ ม... คึกฤทธิ์ได้เดินทางเยือนเซี่ยงไฮ้และคุนหมิง เมื่อเดินทางถึงคุนหมิงเมืองเอกของมณฑลยูนนาน ในวันที่ 4 กรกฎาคม ทางเจ้าภาพได้จัดเลี้ยงรับรองอาหารค่ำซึ่งปรุงโดยชนชาติไทจากสิบสองปันนา มีลาบเนื้อและน้ำพริกอ่องเป็นอาหารจานเด็ดเพื่อสร้างความประทับใจให้กับคณะของ ม... คึกฤทธิ์ ภายหลังรับประทานอาหาร ม... คึกฤทธิ์ได้กล่าวขอบคุณเจ้าภาพด้วยอารมณ์ขันว่า

เมื่อมาถึงคุนหมิง รู้สึกว่าข้าพเจ้ากลับมาบ้านเดิมอีกครั้งหนึ่ง เพราะทราบจากประวัติศาสตร์ว่าสมัยราชวงศ์ถัง อาณาจักรไทยย้ายจากเมืองตาลีมาอยู่คุน หมิง แต่นั่นเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ที่พิสูจน์ได้ก็คืออาหารมื้อแรกที่นี่มีอาหารไทย 2 อย่างคือลาบเนื้อ ซึ่งอร่อยกว่าไทยมาก และน้ำพริก ถ้าอย่างนี้ไม่เรียกว่ากลับบ้านเดิมก็ไม่รู้จะเรียกว่าอะไรอีกแล้ว

อานันท์ ปันยารชุน นักการทูตหนุ่มร่วมคณะ ม... คึกฤทธิ์ได้กล่าวถึงความรู้สึกโดยรวมของคณะนักการทูตไทยและเล่าขยายความถึง ม... คึกฤทธิ์ว่า

เราทุกคนก็รู้ว่าเรื่องสิบสองปันนา และเรื่องเชียงรุ่งในมณฑลยูนนาน ความสัมพันธ์ทางด้านจิตใจมันก็มีมานาน คุณคึกฤทธิ์ก็บอกเลยคืนนั้นว่าพรุ่งนี้เช้าผมจะเอาธงไทยไปปักหน้าบ้านพักรับรอง แล้วประกาศว่าคณะของเรามาปลดแอกมณฑลยูนนานออกจากจีนแล้ว เรามาเรียกร้องดินแดนกลับคืนไป

ฝ่ายจีนไม่ได้รู้สึกซาบซึ้งกับคำกล่าวขอบคุณของนายกรัฐมนตรีไทยและความพยายามที่จะเชื่อมโยงไทยกับจีนมากนัก ตรงกันข้ามคำกล่าวด้วยอารมณ์ขันของ ม... คึกฤทธิ์ กลับสร้างความวิตกกังวลให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกรุงปักกิ่งที่ร่วมเดินทางมากับคณะนักการทูตไทย ซึ่งรวมถึงฮานเนี่ยนหลง (韩念龙) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน และฮว่ากั๋วเฟิง (华国锋) รองนายกรัฐมนตรีสำหรับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ที่เพิ่งทำการปฏิวัติสำเร็จใน ค.. 1949 (.. 2492) การสร้างนิยาม “ชาติจีน” เป็นโจทย์สำคัญอันหนึ่งในการยึดโยงคนจีนเข้าด้วยกัน เมื่อการปฏิวัติเสร็จสิ้นลง ทางการจีนได้พยายามนิยาม “ชาติจีน” ว่าคือประเทศชาติที่เกิดจากการหลอมรวมของคนหลากหลายชาติพันธุ์รวม 56 ชาติพันธุ์ ซึ่งมาจากโครงการจัดจำแนกชาติพันธุ์ตามสูตร 55 (ชนชาติพันธุ์ส่วนน้อย) +1 (ชนชาติพันธุ์ฮั่น) = 56 ทั้งนี้สูตรการจำแนก 56 ชาติพันธุ์นี้เพิ่งมาสำเร็จลงตัวเมื่อ ค.. 1979 (.. 2522) ด้วยการจัดจำแนกชนชาติพันธุ์จีนั่ว (诺族) เป็นชนชาติพันธุ์สุดท้าย

ดังนั้น คำกล่าวของ ม... คึกฤทธิ์ใน ค.. 1975 (.. 2518) ที่กล่าวถึงความผูกพันระหว่างชนชาติพันธุ์ไทในยูนนานกับคนไทย ความรู้สึกเหมือนกลับบ้านเดิมและการเรียกร้องดินแดนคืน อันเป็นผลมาจากการถูกหล่อหลอมด้วยประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับอัลไตน่านเจ้าจึงสร้างความวิตกกังวลให้แก่ทางการจีนอย่างมาก เนื่องจากเป็นการท้าทายกระบวนการนิยาม “ชาติจีน” ของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ด้วยการยึดโยง “ชนชาติพันธุ์ไท” ในจีนเข้ากับจินตนาการ “ชาติไทย” อันเป็นผลผลิตจากประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย ขณะเดียวกันประสบการณ์ขมขื่นจากช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมที่เพิ่งผ่านพ้นไม่นาน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติส่วนน้อยกับรัฐบาลเป็นประเด็นอ่อนไหว

ดังนั้นประวัติศาสตร์ฉบับอัลไตน่านเจ้าจึงเป็นเรื่องอันตราย นอกจากการอ้างอธิปไตยโดยนัยเหนือชนชาติพันธุ์ไทในจีนแล้ว ประวัติศาสตร์ฉบับดังกล่าวยังอ้างอธิปไตยทางประวัติศาสตร์เหนือดินแดนจีน ดังที่ ม... คึกฤทธิ์กล่าวด้วยอารมณ์ขันว่า “คณะของเรามาปลดแอกมณฑลยูนนานออกจากจีนแล้ว เรามาเรียกร้องดินแดนกลับคืนไป”

ชาตินิยมวิชาการ และการทูตวิชาการจากจีน

หลังคณะของ ม... คึกฤทธิ์เดินทางกลับไทยไม่กี่วัน กระทรวงการต่างประเทศจีนและพรรคคอมมิวนิสต์ได้สั่งการผ่านพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลยูนนาน ให้สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ประจำมณฑลยูนนานวิจัยประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยจีน เพื่อความกระจ่างในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทั้ง 2 ประเทศทั้งเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับอัลไตน่านเจ้าที่อ้างอธิปไตยทางประวัติศาสตร์เหนือชนชาติพันธุ์และดินแดนบางส่วนของจีน ทั้งยังเน้นความไม่ลงรอยระหว่างชนชาติพันธุ์ไท() กับจีน ด้วยการอ้างว่าการรุกรานของจีนเป็นชนวนทำให้ “คนไท()ทิ้งแผ่นดิน” อพยพลงใต้จากน่านเจ้าจนมาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยทุกวันนี้

สำหรับการวิจัยความสัมพันธ์ไทยจีนที่ใช้ระยะเวลายาวนานกว่า 2 ทศวรรษ จากจุดเริ่มต้นในฐานะโครงการภายใต้สถาบันวิจัยประวัติศาสตร์ประจำมณฑลยูนนาน กระทั่งถึงการยกระดับไปเป็นโครงการภายใต้การควบคุมของสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา สังกัดสถาบันสังคมศาสตร์ประจำมณฑลยูนนาน กลุ่มวิจัยได้วางเค้าโครงวิจัยตั้งแต่แรกว่าจะเน้นสร้างประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยจีนที่เน้นมิตรภาพ และเน้นว่าคนไทในยูนนาน ซึ่งคนไทยในประเทศไทยอ้างว่าเป็นเครือญาติที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเนื่องจากอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตนั้น ไม่ได้อพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ดังนั้น สงครามระหว่างไทยจีนที่ทำให้คนไทยต้องถอยร่นลงใต้ตามประวัติศาสตร์ฉบับอัลไตน่านเจ้าจึงเป็นเพียงมายาคติ และบรรพบุรุษของคนไทยไม่เคยสร้างอาณาจักรใดๆ ในประเทศจีน ดังนั้น การอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนบางส่วนของจีนว่าเคยเป็นของไทยมาก่อนจึงเป็นเรื่องเพ้อฝัน นอกจากนี้กลุ่มวิจัยยังประณามแนวคิดเรื่องเชื้อชาติบริสุทธิ์ที่เป็นแกนของประวัติศาสตร์ไทยว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เพื่อปฏิเสธความเกี่ยวข้องทางสายเลือดระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาไทในจีนกับคนไทยในประเทศไทย

เขียนไท/ไตให้เป็นจีน

กลุ่มวิจัยมีฐานความเชื่อว่ากลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท ไม่ว่าจะถูกเรียกด้วยชื่อชาติพันธุ์ใดก็ตาม เช่น ฉาน ไต ไท ต่างเป็นเครือญาติชนชาติพันธุ์เดียวกันที่มีภาษาและวัฒนธรรมร่วมกัน เพียงแต่มีถิ่นที่อยู่อาศัยคนละประเทศ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มชนชาติพันธุ์นี้ถูกเรียกขานด้วยชื่อที่แตกต่างกันไป ดังนั้นคนไทยในประเทศไทยและชนชาติไตในจีนจึงเป็นเครือญาติชาติพันธุ์กัน

กลุ่มวิจัยโจมตีจักรวรรดินิยมตะวันตกว่าเป็นผู้ร้ายที่ยุแยงทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างไทยจีน ด้วยการสร้างประวัติศาสตร์ไทยเน้นเชื้อชาติบริสุทธิ์ และใช้อิทธิพลคุกคามทำให้ทั้งไทยและจีนตกอยู่ในฐานะ “กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา” ขณะเดียวกัน กลุ่มวิจัยก็ให้ภาพคนจีนในไทยในฐานะผู้มีคุณูปการต่อชาติไทย โดยเฉพาะในมิติทางเศรษฐกิจ นับแต่ยุคการค้าบรรณาการที่คนจีนมีบทบาทสำคัญ จนถึงการสร้างเศรษฐกิจระบบตลาดที่มีทุนจีนเป็นแกน

นักวิชาการจีนเน้นย้ำว่า คนไทไม่ได้อพยพมาจากจากเทือกเขาอัลไต และ น่านเจ้าไม่ใช่อาณาจักรไท น่านเจ้าเป็นอาณาจักรที่ถูกสร้างขึ้นโดยบรรพบุรุษของชนชาติไป๋ (白族) และอี๋ (彝族) ในช่วงยุคราชวงศ์ถัง และการพิชิตน่านเจ้าโดยกุบไลข่านเป็นการพิชิตโดยสันติซึ่งไม่ทำให้เกิดการอพยพขนานใหญ่

เมื่อปฏิเสธประวัติศาสตร์ฉบับอัลไตน่านเจ้า นักวิชาการจีนจำเป็นต้องหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่า “คนไทยมาจากไหน” กลุ่มวิจัยได้เสนอคำตอบออกเป็น 2 ทาง ดังนี้

1. กลุ่มที่นำโดยเฉินหลี่ว์ฟ่านและตู้อี้ว์ถิง (杜玉亭) มีความเชื่อเช่นเดียวกับนักวิชาการไทยในกลุ่มสุจิตต์ วงษ์เทศ และศรีศักร วัลลิโภดม ว่าคนไทยในประเทศไทยทุกวันนี้เกิดจากการผสมผสานของคนหลากหลายชาติพันธุ์ และคนไทยบางกลุ่มยังได้อพยพขึ้นเหนือไปยังตอนใต้ของจีนด้วย กลุ่มของเฉินและตู้อ้างอิงหลักฐานโบราณคดีที่ชี้ว่ามีผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยนับแต่ยุคหินเก่าเป็นข้ออ้างสนับสนุนสมมติฐานดังกล่าว เพื่อเน้นให้ความสำคัญกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ภายในประเทศไทย ในฐานะคำตอบต่อคำถามที่ว่า “คนไทยมาจากไหน”

2. กลุ่มที่นำโดยเจียแยนจองเชื่อเรื่องการอพยพลงใต้ และยังเชื่อว่าบรรพบุรุษของคนไทยไม่ได้มีเพียงชนชาติไตในยูนนานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไทในทางตอนใต้ของจีนทั้งหมดจากยูนนานจนถึงกวางตุ้ง และอารยธรรมจีนมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อวัฒนธรรมของกลุ่มคนไทพวกนี้ เซี่ยหยวนจางซึ่งเป็นที่รู้จักในวงวิชาการไทยในนาม เจียแยนจอง หรือยรรยง จิระนคร แท้ที่จริงเป็นคนไทยเชื้อสายจีนเกิดในประเทศไทย เมื่อ ค.. 1930 เจียเติบโตในบริบทยุคจอมพล ป. ที่ชาตินิยมไทยมองจีนเป็นศัตรูของชาติ ทั้งยังต้องเรียนประวัติศาสตร์ชาติฉบับอัลไตน่านเจ้าที่สร้างความกระอักกระอ่วนต่อความเป็นจีนของตน เมื่อโรงเรียนจีนที่เขาศึกษาอยู่ถูกสั่งปิดโดยรัฐบาลไทย เจียจำต้องเดินทางไปศึกษาต่อในจีนและกลายเป็นผู้ตกค้างหลังเกิดการปฏิวัติ ค.. 1949 ที่นำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้บริบทดังกล่าว เจียจึงถูกแยกจากครอบครัวที่ไทยและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ เนื่องจากภายใต้การปกครองของเผด็จการทหารยุคสงครามเย็น การเดินทางกลับไทยอาจทำให้เจียจำต้องถูกคุมขังในฐานะคอมมิวนิสต์

ไทย 2 แนวทาง

แม้ว่ากลุ่มของเฉินและตู้กับกลุ่มของเจียจะสร้างคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทว่าทั้ง 2 กลุ่มมีฉันทามติร่วมกันที่การเน้นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างจีนฮั่นกับไทยเป็นความสัมพันธ์ฉันมิตรนับแต่โบราณกาล นอกจากคำอธิบายของเจียที่เน้นการรับอารยธรรมจีนฮั่นผ่านความสัมพันธ์ฉันมิตร เฉินและตู้สร้างความเกี่ยวพันระหว่างคนไทยในประเทศไทยกับกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไทที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์จีนโบราณเพื่อตอกย้ำว่า ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างคนไทยกับจีนมีมาอย่างช้านาน ทั้งที่กลุ่มคนไทยในประเทศไทยปัจจุบันอาจไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนเหล่านั้น เฉินและตู้อ้างว่าไทยจีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นนับแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (.. 25-220)

กลุ่มวิจัยไม่ได้อาศัยเอกสารจีนในการสร้างประวัติศาสตร์ไทยเพียงอย่างเดียว ที่จริงแล้วเอกสารจากวงวิชาการไทยมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการสร้างความรู้ของนักวิชาการจีน การแปลเอกสารวิชาการของไทยที่ถูกแจกจ่ายภายใน “วงใน” ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ไทยจีน มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างฐานความรู้และกรอบคิดให้กับกลุ่มวิจัย โดยเฉพาะการแปลบทความวิชาการที่ปรากฏในศิลปวัฒนธรรมซึ่งถูกสั่งซื้อโดยสำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศในกรุงปักกิ่ง เพื่อใช้สำหรับการวิจัยและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับไทย

การแปลงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งคือการแปลข้อเขียนของสุจิตต์ วงษ์เทศ เรื่อง คนไทยไม่ได้มาจากไหน? ซึ่งวิพากษ์ประวัติศาสตร์ไทยฉบับอัลไตน่านเจ้า และเสนอว่าคนไทยอยู่พื้นที่ประเทศไทยปัจจุบันมานานแล้ว โดยคนไทยเกิดจากการผสมผสานของคนหลากชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มวิจัยเมินเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่ามีงานเอกสารวิชาการไทยซึ่งรวมถึงเอกสารที่ทางการจีนได้เลือกแปลเพื่อทำวิจัยเผยให้เห็นว่านับแต่ทศวรรษ 1960 นักวิชาการไทยบางกลุ่มเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ประวัติศาสตร์ฉบับอัลไตน่านเจ้าอย่างจริงจัง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทย เข้าพบเหมาเจ๋อตุง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน แล้วมีคำบอกเล่าเรื่อง “โจรคบโจร” เมื่อครั้งไปสถาปนาสัมพันธภาพทางการทูตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2518
ม.ร.ว.คึกฤทธ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของไทย และคณะ เดินทางถึงกรุงปักกิ่ง (ซ้าย) นายเติ้งเสี่ยวผิง รองนายกรัฐมนตรีหมายเลข 1ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้การต้อนรับที่สนามบินกรุงปักกิ่ง วันที่ 30 มิถุนายน 2518 (ภาพจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติ ฉบับวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2518)
จีนหงุดหงิด “คึกฤทธิ์” ปล่อยมุข  เรียกคืนดินแดนยูนนาน “อาณาจักรไทย”
นายโจวเอินไหล นายกรัฐมนตรี กับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีไทย เป็นตัวแทนของรัฐบาลทั้งสองประเทศ ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2518 ณ กรุงปักกิ่ง (ภาพจากหนังสือความสัมพันธ์ไทยจีน, สำนักงานสารนิเทศแห่งคณะรัฐมนตรีศาธารณรัฐประชาชนจีน, 2547)
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image