สุวรรณภูมิในอาเซียน : ฝรั่งรุกพระนั่งเกล้าฯ จักรวรรดินิยมบุกอุษาคเนย์

ฝรั่งรุกพระนั่งเกล้าฯ จักรวรรดินิยมบุกอุษาคเนย์

ฝรั่งรุกพระนั่งเกล้าฯ

จักรวรรดินิยมบุกอุษาคเนย์

โดย สุเนตร ชุตินธรานนท์ และ วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์

Advertisement

ปรับปรุงใหม่จากคำนำหนังสือ ฝรั่งรุกพระนั่งเกล้าฯ การทูตสยามคราวจักรวรรดินิยมบุกอุษาคเนย์ [สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2564 ราคา 240 บาท]


ฝรั่งรุกพระนั่งเกล้าฯ การทูตสยามคราวจักรวรรดินิยมบุกอุษาคเนย์ เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะในด้านการต่างประเทศอันสัมพันธ์กับจักรวรรดินิยมอังกฤษ ซึ่งเป็นจักรวรรดินิยมตะวันตกชาติแรกที่ขยายแสนยานุภาพเข้ามาในภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19

การขยายอำนาจเข้ามาของตะวันตกในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นแตกต่างไปจากในครั้งคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพราะมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีมาแล้วในเชิงโครงสร้าง

Advertisement

การขยายแสนยานุภาพในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงมิได้เป็นเพียงการมุ่งครองเส้นทางการค้า ยึดเมืองท่าสำคัญ และผูกขาดสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดบนเป็นหลัก แต่เป็นการขยายแสนยานุภาพเพื่อหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจทุนนิยมที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งที่คาดหวังคือทรัพยากรจำนวนมหาศาล ผลิตผลทางการเกษตรเพื่อหล่อเลี้ยงแหล่งผลิตด้านอุตสาหกรรม และพลเมืองในอาณานิคม ควบคู่ไปกับแรงงานราคาถูก ตลาดส่งออกสินค้า และแหล่งการลงทุน เพื่อให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์และผลประโยชน์ตามกล่าว มหาอำนาจตะวันตกก็ใช้ข้อได้เปรียบทางการทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นเครื่องมือบุกรุก ยึดครอง และบริหารจัดการบ้านเมืองในโลกตะวันออกอันเป็นเป้าหมาย

ราชอาณาจักรสยามในยุคนั้นซึ่งเป็นหนึ่งในมหาอำนาจบนผืนทวีปอุษาคเนย์ต้องเผชิญ “แรงเสียดทาน” จากจักรวรรดินิยมอังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวที่มีศักยภาพเพียงพอจะคุกคามราชอาณาจักรสยามได้

ดังนั้นการศึกษาถึงบทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ครั้งยังดำรงพระบรมราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์จนเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ ด้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อตั้งรับมหาอำนาจตะวันตกซึ่งเป็นภัยคุกคามสำคัญของโลกเอเชียและสยามประเทศในยุคนั้น ย่อมเป็นการตีแผ่พระอัจฉริยภาพสำคัญที่นอกเหนือไปจากพระอัจฉริยภาพด้านอื่นๆ เช่น การพระศาสนาซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่ รวมถึงกรณี “เงินถุงแดง” ที่มักจะถูกนำมาอ้างอิง

เงินถุงแดง” คือ เงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่ได้จากการค้าสำเภาหรืออื่นๆ ที่ทรงเก็บไว้ข้างพระที่เพื่อสะดวกแก่การหยิบฉวยใช้สอย เป็นเงินคนละส่วนกับเงินในท้องพระคลังหลวง เงินนี้ถูกเก็บไว้ในถุงแดงและอาจรวมไว้ในกำปั่นอีกทีหนึ่ง จึงเรียกอย่างตรงตัวว่า “เงินถุงแดง” การนี้มีหลักฐานปรากฏว่ามีพระราชประสงค์จะให้เก็บเงินนี้ไว้ใช้ “กู้บ้านกู้เมือง”

อาจมีผู้สงสัยว่าเหตุใดพระองค์จึงทรงมองเห็นการณ์ไกลว่าวันหนึ่งในอนาคต (นั่นคือในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) สยามต้องหาเงินมาไถ่ดินแดนจากการยึดครองของมหาอำนาจตะวันตก

ก็คงต้องขยายความว่าที่มีสายพระเนตรกว้างไกลได้ขนาดนั้น เพราะพระองค์ทรงเห็นราชสำนักพม่าต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้อังกฤษด้วยทุนทรัพย์ที่สูงยิ่ง ปัญหาดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบรุนแรงและยืดเยื้อต่อผู้แพ้สงคราม นับว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์สยามพระองค์แรกที่ทรงรู้เห็นและสัมผัสได้ถึงผลกระทบอันยิ่งใหญ่ของการต้องสูญเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เป็นที่น่าเสียดายว่าในการศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ยังขาดการศึกษาที่เทียบเคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมสมัยในราชอาณาจักรข้างเคียง โดยเฉพาะพม่าหรืออังวะ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อทีท่าและความสัมพันธ์ของราชสำนักรัตนโกสินทร์ต่อการคุกคามของจักรวรรดินิยมอังกฤษ

ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อมุ่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์นี้กระทำได้ 2ประการ ประการแรกที่นิยมกระทำกันคือ กล่าวถึงพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ อาทิ ด้านการพระศาสนา โดยเฉพาะการสร้างวัดและการปฏิรูปด้านภาษีอากร ซึ่งมีงานค้นคว้าวิจัยอยู่มากแล้ว ประการที่ 2 ทำได้ด้วยการนำเสนอข้อเท็จจริงและมุมมองทางประวัติศาสตร์ต่อประเด็นที่เป็น “ข้อครหา” ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นกับพระมหากษัตริย์เพียงบางพระองค์ หนึ่งในนั้นมีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมอยู่ด้วย

ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นหลังนี้มีความสำคัญแต่ไม่มีผู้นำมากล่าวถึงเช่นประเด็นแรก หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งเสนอทั้งมุมมองและสาระที่ “ต่างออกไป” เพื่อชี้แจงว่าความเข้าใจในทางด้อยพระเกียรตินั้นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อย่างน้อยก็ไม่สอดคล้องกับข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์

กล่าวโดยทั่วไปแล้ว หลักฐานที่นำเสนอภาพหรือมุมมองที่ลบหลู่พระมหากษัตริย์นั้นมักไม่ปรากฏในหลักฐานข้างฝ่ายไทย ยกเว้นกรณีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวงซึ่งจะมีความบริภาษไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่ชำระในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ และในงานวรรณกรรมบางเรื่อง

แต่ในทางตรงกันข้าม ความบริภาษมักปรากฏในบันทึกชาวต่างชาติ อาทิ ในงานนิพนธ์ของ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต หรือที่เรียกกันว่า “วัน วลิต” นายสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา ประจำกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (.. 2176-2185) เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาโดยสังเขป และ รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามสืบราชสมบัติหลังจากสมเด็จพระอินทรราชา พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 22 แห่งกรุงศรีอยุธยา ความบริภาษที่ปรากฏในหลักฐานฝรั่งตะวันตกนั้นเกิดจากผู้บันทึกมีโลกทัศน์ มิติความเข้าใจเจตนา และผลประโยชน์ที่ต่างไป

ข้อครหา” ต่อ ร.3

ในกรณีของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ต้องเผชิญกับตัวแทนข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษที่อินเดียซึ่งประสงค์จะเข้ามาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตและชักชวนให้สยามต้องลงนามในสนธิสัญญาซึ่งสยามจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เมื่อทำการไม่สำเร็จก็ย่อมจะไม่พึงพอใจเพราะประมาณว่าพันธกิจล้มเหลว ในกรณีที่เกิดกับจอห์น ครอว์เฟิร์ด ราชทูตอังกฤษที่เดินทางเข้ามายังสยามใน พ.. 2364 ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตามคำสั่งของลอร์ดเฮสติงส์ อุปราชประจำอินเดีย

กล่าวได้ว่าชาวตะวันตกโดยเฉพาะข้าราชการที่เดินทางเข้ามาในครั้งนั้นมักจะมีโลกทัศน์เชิงลบต่อชาวตะวันออกเป็นพื้นอยู่แล้ว การตัดสินใจต่างๆ ก็นิยมใช้มาตรฐานอย่างตะวันตกเป็นเกณฑ์ตัดสิน ยิ่งกรณีของครอว์เฟิร์ดซึ่งประกอบพันธกิจล้มเหลว ยิ่งส่งผลให้เกิดอคติ โดยเฉพาะต่อผู้ที่ตนเห็นว่าเป็นคู่กรณี คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ นั่นจึงเป็นที่มาของข้อบริภาษที่ว่าพระองค์ทรงแย่งราชสมบัติของพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

หนังสือเล่มนี้ได้นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาแสดงว่าความเข้าใจดังกล่าวนั้นคลาดเคลื่อน ทั้งนี้เพราะแต่โบราณกาลมา สยามไม่เคยมีกฎหมายว่าด้วยการสืบราชสมบัติ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะขึ้นครองแผ่นดินก็ทรงเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะทรงสั่งสมอำนาจบารมีมาตลอดรัชกาลของสมเด็จพระบรมชนกนาถ

ในทางตรงกันข้ามกับจอห์น ครอว์เฟิร์ด ราชทูตอังกฤษนามว่าเฮนรี เบอร์นีย์ ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในภายหลังและประสบความสำเร็จในการลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์กับราชสำนักสยาม ได้กล่าวชมเชยและยกย่องพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก สะท้อนให้เห็นว่าอคติทางการเมืองมีส่วนสำคัญต่อการประเมินคุณสมบัติของพระองค์

.3 เป็น “พวกหัวเก่า”

นักวิชาการในยุคหลังยังตำหนิพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นพวกหัวเก่า โดยตัดสินจากการที่พระองค์ไม่แก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นีย์ เมื่ออังกฤษส่งเซอร์เจมส์ บรู๊ก ผู้แทนรัฐมนตรีต่างประเทศ เข้ามาแก้ไขสัญญาเดิมถึง 8 จาก 9 ข้อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบบสยามมากจนเกินไป ความพยายามเดียวกันนี้มีมาตั้งแต่ครั้งจอห์น ครอว์เฟิร์ดและเฮนรี เบอร์นีย์ เดินทางเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี

ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่านักการทูตฝ่ายสยามภายใต้การกำหนดทิศทางของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ดำเนินนโยบายทางการทูตอย่างระมัดระวัง และที่สำคัญคือไม่ยอมเสียเปรียบมหาอำนาจตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อตกลงทางการค้าหรือข้อตกลงการกำหนดเขตอิทธิพลในคาบสมุทรมลายู การที่สยามสามารถแข็งข้อและไม่ทำตามความประสงค์ของจักรวรรดิอังกฤษก็ด้วยปัจจัยด้านสงครามอังกฤษพม่าบีบรัด ทำให้อังกฤษไม่อาจกระทำการกับสยามได้ถนัดมือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและคณะขุนนางฝ่ายสยามที่รู้ซึ้งถึงข้อจำกัดของคู่กรณี จึงร่างสนธิสัญญาที่ได้เปรียบซึ่งใช้สืบทอดมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ที่ผ่านมามักจะแบ่งประวัติศาสตร์ยุคแรกออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคจารีตกับยุคปฏิรูปประเทศให้ทันสมัย หนังสือเล่มนี้จะอธิบายให้เห็นว่าการแบ่งยุคออกเป็น 2 ช่วงเด็ดขาดจากกันไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็น “ช่วงเปลี่ยนผ่าน” ของการยอมรับมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะข้อเรียกร้องทางการเมืองที่จะกระทำ “เท่าที่จำเป็น” การกำหนดเพดานว่ามีความจำเป็นเท่าไรและอย่างไรนั้นขึ้นกับการข่าว ประสบการณ์ และไหวพริบที่ไม่เป็นรองมหาอำนาจตะวันตก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำที่ผ่านประสบการณ์การติดต่อกับชาวต่างชาติมาอย่าง “โชกโชน” ด้วยต้องทรงรับตำแหน่งพระคลังสินค้ามาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระอัจฉริยภาพด้านการต่างประเทศที่สำคัญคือการตั้งรับมหาอำนาจตะวันตก ทั้งนี้เพราะมีเพียงมหาอำนาจตะวันตกที่มีศักยภาพเหนือสยามประเทศในยุคนั้น

ด้วยประการฉะนี้ ถึงแม้ว่าในรัชกาลของพระองค์จะปรากฏกิจการด้านการต่างประเทศตลอดจนราชการสงครามโดยเฉพาะในภูมิภาคอุษาคเนย์ แต่ก็ไม่มีอาณาจักรใดจะเป็นภัยคุกคามราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ จะมีก็แต่มหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นด้วยการสยบราชอาณาจักรอังวะซึ่งเป็นคู่สงครามของสยามลงได้อย่างราบคาบ

ดังนั้น ในการศึกษาพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวของหนังสือเล่มนี้จึงมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับจักรวรรดินิยมอังกฤษเป็นสำคัญ


อาจารย์สุเนตรและอาจารย์วิกัลย์ได้สรุปบริบทประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์สยามอังกฤษไว้อย่างดีในหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มนี้ เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป นับแต่คณะผู้แทนอังกฤษคณะแรกนำโดยจอห์น ครอว์เฟิร์ด ที่เข้ามาเมื่อปลายรัชกาลที่ 2 จนถึงสงครามอังกฤษพม่าครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิหลังของคณะผู้แทนอังกฤษคณะที่ 2 นำโดยเฮนรี เบอร์นีย์

การเจรจาระหว่างเบอร์นีย์กับคณะผู้แทนสยามที่กรุงเทพฯ ครั้งนั้นใช้เวลานานถึง 9 เดือน และสิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญาซึ่ง “เป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกในยุคกรุงเทพฯ” สนธิสัญญาฉบับนี้ซึ่งต่อมาเรียกว่า สนธิสัญญาเบอร์นีย์ สาระสำคัญอยู่ที่การจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับอังกฤษ โดยอังกฤษยอมรับอิทธิพลของสยามเหนือรัฐต่างๆ ทางเหนือของแหลมมลายู กล่าวคือ ไทรบุรี เประ กลันตัน และตรังกานู

ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์พาณิชย์ ฝ่ายสยามอนุญาตให้ปีนังซื้อเสบียงอาหารจากไทรบุรี เช่น ข้าว โดยไม่ต้องเสียภาษีขาออก แต่นอกจากระบุกฎเกณฑ์การค้าระหว่างกันเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว มิได้เปลี่ยนแปลงอัตราภาษีปากเรือตามที่ฝ่ายอังกฤษต้องการ

คำนำเสนอ ของ เตช บุนนาค


หนังสือเล่มนี้ได้ให้ความรู้ใหม่ๆ ว่าด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในส่วนตัวของผม ความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นมาคือความรู้ด้านเหตุการณ์ข้างพม่าโดยเฉพาะเหตุการณ์ก่อนและหลังสงครามอังกฤษพม่าครั้งแรก (The First Anglo-Burmese War) .. 2367-2369 (.. 1824-1826) พระองค์ทรงรู้ตื้นลึกหนาบางข้างอังกฤษ จึงไม่ยอมทำสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ เรื่องเบื้องหลังสนธิสัญญาเบอร์นีย์ (The Burney Treaty) .. 2369 (.. 1826) มีผู้เขียนไว้มาก ผมเชื่อว่าผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้น่าจะได้ความรู้ใหม่ๆ ประดับสติปัญญา

คำนำเสนอ ของ .. ชาตรีเฉลิม ยุคล


พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง

กองทัพอังกฤษโจมตีนครย่างกุ้งใน พ.. 2367 (.. 1824) ปีที่เริ่มสงครามอังกฤษพม่าครั้งแรกเขียนขึ้นในศตวรรษที่ 19 โดย เจ. มัวร์

ทัศนียภาพของเมืองบางกอกในหนังสือของ จอห์น ครอว์เฟิร์ด

by Unknown photographer, albumen print, circa late 1850s

จอห์น ครอว์เฟิร์ด

เปิดเสรีทางการค้าของราชอาณาจักรสยามที่มีมาตั้งแต่ช่วงก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง จากจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดเมืองกาย อ. พนมสารคาม จ. ฉะเชิงเทรา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image