คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง : การเมืองนัวเนียกับศาสนา ไม่ว่าภารตะหรือสยาม

การเมืองนัวเนียกับศาสนา ไม่ว่าภารตะหรือสยาม

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง : การเมืองนัวเนียกับศาสนา ไม่ว่าภารตะหรือสยาม

ไม่รู้ใครไปเริ่มสอนสั่งว่า “การเมือง” เป็นเรื่องสกปรก เต็มไปด้วยเล่ห์กลโกง นักการเมืองนั้นส่วนมากเข้ามากอบโกย จะมีดีอยู่บ้างก็น้อย การสอนสั่งเช่นที่ว่าทให้คนรังเกียจการเมือง โดยเฉพาะศาสนิกชน

ด้วยเหตุนี้ แม้แต่ฝ่ายที่ออกตัวว่านิยมประชาธิปไตย หลายคนยังรู้สึกไม่พอใจที่มีพระภิกษุสามเณรหลายรูปออกมาเคลื่อนไหวพร้อมๆ กับประชาชน บอกว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ก็มี

อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์เคยกล่าวในทนองว่าอันที่จริง กฎของมหาเถรสมาคมที่ห้ามพระภิกษุเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยปราศจากนิยามว่าการเมืองคืออะไรนั้น คือการเมืองในตัวเองทีเดียว เพราะฝ่ายพระที่มีอนาจซึ่งทเหมือนนิ่งเฉยกับการเมือง แต่ในความเป็นจริงเข้าข้างฝ่ายรัฐโดยตลอด และนั่นคือการเล่นการเมืองโดยอ้างว่าไม่ใช่การเมืองหรือเล่นการเมืองแบบอีแอบนั่นแหละ

เราจึงได้เห็นพระที่มีสมณศักดิ์สูงให้การต้อนรับและทพิธีกรรมต่างๆ ให้แก่นักการเมืองและคนในรัฐบาลอย่างเต็มที่ โดยไม่สนว่าคนเหล่านั้นจะละเมิดศีลมากน้อยแค่ไหน หรือไม่ก็ออกมาเชลียร์ในรูปแบบต่างๆ

Advertisement

ในทางตรงข้าม เราจึงได้เห็นพระเล็กพระน้อยที่ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตยถูกตั้งข้อหาสารพัด ทั้งๆ ที่ท่านเหล่านี้เลือกเคลื่อนไหวในแนวทางสันติวิธีที่ไม่ได้ละเมิดพระธรรมวินัย แต่เพราะอยู่ตรงข้ามกับฝ่ายบ้านเมือง จึงกลายเป็นผู้ประพฤติ “ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” อันเป็นการละเมิดกฎของมหาเถรสมาคม

เอาเข้าจริง หากการเมืองคือ “อนาจนานาชนิดในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร” ตามนิยามของอาจารย์นิธิแล้ว จะมีใครปลอดพ้นไปจากการเมืองได้บ้าง เพราะแม้แต่นักบวชก็ต้องเข้าสู่การจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรตามอำนาจทางวัฒนธรรมที่ตัวเองมีอยู่

ดังนั้น ความพยายามที่จะ “เป็นกลาง” ทางการเมืองของนักบวชหรือพระ จึงเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงการเมืองเฉพาะในระบบโดยตรงแต่เพียงอย่างเดียว เช่น ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ไม่ลงเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง แต่กลับไปเล่นการเมืองในคณะนักบวชของตัวหรือใช้ความสัมพันธ์กับรัฐให้เป็นประโยชน์ แล้วเสแสร้งว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองทุกประการ อันนี้จึงไม่ใช่การไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นกลางทางการเมือง แต่เป็นการเมืองในตัวเองอย่างที่อาจารย์นิธิบอกไว้ แถมเป็นแบบไม่สร้างสรรค์ด้วย

ในเมื่อเราไม่อาจที่จะหลีกเลี่ยงการเมืองในมิติอื่นๆ ของชีวิตได้ ความเป็นกลางทางการเมืองสหรับพระหรือนักบวชอาจหมายถึงการเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างสร้างสรรค์และยึดมั่นในท่าทีสำคัญของศาสนาไว้ โดยใช้ท่าทีนี้ทำความเข้าใจและสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ทางสังคมที่ตัวอยู่ เช่น ไม่ว่าฝ่ายใดหากกระทความรุนแรงต่ออีกฝ่าย ซึ่งเป็นการขัดต่อศีลธรรมพื้นฐานของพุทธศาสนา พระในพุทธศาสนาก็ควรเห็นว่า นี่คือความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ที่ตนไม่ควรนิ่งเฉย ยิ่งหากล่วงเลยไปถึงขั้นปาณาติบาตแล้ว ก็ควรออกมาประณาม หรือรวมตัวกัน “คว่ำบาตร” ต่อฝ่ายนั้นตามพระธรรมวินัย

องค์ทะไลลามะที่ 14 ซึ่งชนชั้นนและชนชั้นกลางไทยเราพากันนิยมชมชอบ โดยไม่ค่อยใส่ใจในสิ่งที่ท่านสอนสักเท่าไหร่ ถึงกับเคยตรัสว่า การลงไปทงานการเมืองอย่างสร้างสรรค์นั้น อาจถือเป็นการปฏิบัติในวิถีโพธิสัตว์ได้เลยทีเดียว นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการตีความพุทธศาสนาให้เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างสร้างสรรค์ได้ โดยไม่ต้องรังเกียจเดียดฉันท์การเมืองอย่างที่เป็นอยู่ในบ้านเรา

ผมเข้าใจเอาเองว่า ความคิดที่ว่าพระหรือนักบวชจะต้องไม่ยุ่งกับการเมืองในเมืองไทย อาจค่อยๆ ก่อร่างขึ้นผ่านการก่อตั้งคณะสงฆ์สายวัดป่า ซึ่งเป็นความพยายามจะแสดงให้เห็นว่า มีพระอีก “สาย” หนึ่งที่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดจริงจัง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตของฆราวาสเหมือนพวก “พระบ้าน” ทั้งๆ ที่มีงานศึกษาออกมาแล้วว่าการเกิดขึ้นของพระสายวัดป่า ในทางหนึ่งคือความพยายามจะต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ของชนชั้นน การเชิดชูพระในสายไม่ยุ่งการเมืองนี้ ที่จริงก็เป็นการเมืองอีกแบบเช่นกัน

จากที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งผมคิดเองบ้างและได้รับจากนักวิชาการท่านอื่นบ้าง หลายท่านได้ทงานเพื่อจะแสดงให้เห็นว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐที่ต่างก็ช่วงใช้กันไปมา หรือการเมืองภายใต้ระบบของศาสนาเอง ผมได้อาศัยคอธิบายและความคิดของนักวิชาการเหล่านี้ มาต่อยอดเขียนบทความในมติชนสุดสัปดาห์หลายต่อหลายครั้ง จึงอยากแสดงความขอบคุณไว้ด้วย

กระนั้น งานอีกอย่างซึ่งนักวิชาการหลายท่านอาจไม่สนใจเพราะเป็นภาระทางใจของศาสนิกเสียมากกว่า คือการพยายามแสดงให้เห็นมิติที่ไม่สร้างสรรค์และสร้างสรรค์ รวมทั้งการตีความคสอนทางศาสนาเพื่อตอบสนองต่อปรากฏการณ์ทางการเมืองในสังคมร่วมสมัย ผมผู้เห็นตัวเองเป็นศาสนิกที่ปรารถนาดีต่อทั้งศาสนา สายธรรมคสอน เพื่อนศาสนิกและเพื่อนมนุษย์ที่ยังคงต้องการให้ศาสนาดรงอยู่ต่อไปอย่างมีความหมาย จึงมาเน้นทงานอันนี้มากกว่า

ความพยายามที่ว่านั้น ได้ทำให้ผมกลายเป็นคนเชยแสนเชยที่ยังหวังว่าศาสนาจะรอด ในโลกที่คนคิดกันแล้วว่าศาสนาไม่มีความหมายอะไรอีกต่อไป แต่ในทางกลับกัน ผมก็กลายเป็นคนหัวรุนแรงที่ดูเหมือนพยายามจ้องจะล้มศาสนาสหรับเพื่อนศาสนิกสายอนุรักษนิยมที่อ่านไม่แตก ตราบใดที่เขายังไม่เอาอะไรมาตีหัวผม ผมก็เพียงทได้แค่ยิ้มแห้งๆ แล้วก้มหน้าก้มตาเขียนบทความเท่าที่เขายังให้เขียน

นอกจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเราแล้ว ด้วยความสนใจวัฒนธรรมภารตะหรืออินเดียเป็นทุนเดิม หลายครั้งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองนั้นก็น่าสนใจเกินกว่าจะปล่อยผ่าน ผมจึงได้หยิบเอาเหตุการณ์เหล่านั้นมาสะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งเพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ในโลกที่มีประชาธิปไตยมากกว่าเรา แต่มีวัฒนธรรมและศาสนาคล้ายเราอย่างอินเดีย ศาสนากับการเมืองยังสามารถสัมพันธ์กันอย่างไรได้บ้าง อาจมีทั้งที่สร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์เช่นเดียวกัน แต่การที่เราได้เห็นตัวอย่างภายนอกจักรวาลของเราออกไป อาจจะช่วยให้เราเกิด “จินตนาการ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราขาดที่สุดในการนึกถึงอนาคต (ที่ยังมืดด) หรือนึกถึงความเป็นไปได้อื่นๆ ในบ้านเราเอง

แม้หลังๆ ผมจะเขียนบทความในเชิงโบราณคดีหรือวัฒนธรรมน้อยลง ส่วนประเด็นทางศาสนากับการเมืองที่มีมากขึ้นนั้น ดูเหมือนจะขาดมุมมองที่เฉียบคมอยู่ แต่อย่างน้อยที่สุด ผมยังพอมีจินตนาการความฝันใฝ่และตัวอย่างใหม่ๆ ที่อยากจะแบ่งปันกับท่านผู้อ่านในภาวะที่บ้านเมืองของเราวิกฤตดังที่เป็นอยู่ ซึ่งคงพอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาของท่านผู้อ่านได้บ้าง

ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ผมคิดว่าการต่อสู้ทางการเมืองในรัฐสภาและบนถนน รวมทั้งการเคลื่อนไหวต่างๆ อาจไม่เพียงพอ เพราะในทางหนึ่ง อุปสรรคต่อระบอบประชาธิปไตยในบ้านเราคือความเชื่อและความคิดที่ล้าหลัง อันปฏิเสธไม่ได้ว่ามีที่มาจากศาสนาและวัฒนธรรมที่ถูกแช่แข็ง การจะแก้ไขอุปสรรคเหล่านั้นคือการเข้าไปต่อสู้เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางศาสนาและวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย

เพื่อนหลายคนมีทัศนะว่า ประชาธิปไตยไม่ได้เป็นเพียงแค่รูปแบบทางการเมืองการปกครองเท่านั้น แต่มันเป็น “จิตวิญญาณ” ที่ต้องบ่มเพาะให้เกิดขึ้น โจทย์สำคัญอีกอย่างสหรับนักการศาสนาผู้หวังดี คือจิตวิญญาณของศาสนาและวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว จะสามารถไปกันได้กับจิตวิญญาณของประชาธิปไตยหรือไม่ หากไม่ก็จต้องทิ้งไป แต่หากยังพอไปกันได้ การ “ตีความ” คสอนที่เปิดกว้างและสอดรับกับคุณค่าของโลกสมัยใหม่ จึงกลายเป็นกุญแจสคัญสหรับเรื่องนี้

การรวบรวมบทความทั้งหมดจากคอลัมน์ “ผี พราหมณ์ พุทธ” ในมติชนสุดสัปดาห์ เพื่อตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้ ผมได้จัดแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อสคัญ

หัวข้อแรกคือ “พุทธธรรมกับการเมือง” ประกอบด้วยบทความ 14 บทความ เริ่มต้นด้วยบทความที่แสดงให้เห็นถึงการตีความพุทธธรรมแบบอื่นๆ ให้สัมพันธ์กับความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคสอนเรื่องโพธิจิต จากนั้นจึงเป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในบ้านเรา แล้วสุดท้ายจะเชิญชวนให้พิจารณาเหตุการณ์สคัญในทางการเมือง เช่น การเกิดม็อบของคนรุ่นใหม่ที่มีพระภิกษุและสามเณรไปเข้าร่วมว่าเราจะมองเห็นและเข้าใจเหตุการณ์เช่นนี้อย่างไรบ้าง

หัวข้อที่สองคือ “พราหมณ์ฮินดูกับการเมืองและความศักดิ์สิทธิ์” ประกอบด้วยบทความ 11 บทความ เนื้อหาประกอบด้วยปรากฏการณ์ทางศาสนาในอินเดีย ซึ่งเป็นการนเสนอตัวอย่างของการตีความ พลวัตและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น นอกจากนี้ ผมอยากชวนให้พิจารณาประเด็นเรื่อง “ฮินดูที่เพิ่งสร้าง” ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมกลังสนใจ กล่าวคือ การประกอบสร้างทางวัฒนธรรมและศาสนาสหรับการสร้างประวัติศาสตร์ชาติและการก่อตั้งประเทศขึ้นใหม่ในอินเดียเราอาจเห็นเป็นตัวอย่างเบื้องต้นในการทความเข้าใจการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมและศาสนาในบ้านเราเอง รวมทั้งเป็นแรงกระตุ้นให้เรามีจินตนาการต่อสังคมเราในอนาคต ทั้งนี้อาจมีประเด็นเรื่องประเพณีของศาสนาพราหมณ์ในบ้านเราที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่บ้างเล็กน้อย

หัวข้อที่สามคือ “ไสยศาสตร์กับการช่วงชิงความหมายในการเมืองไทย” การเมืองไทยไม่เคยว่างเว้นเรื่องไสยศาสตร์ไม่ว่าจากฝ่ายไหน ในฐานะที่ไสยศาสตร์เป็นการช่วงชิงความหมายและการช่วงชิงความศักดิ์สิทธิ์ให้มาอยู่กับฝ่ายตน ซึ่งมอบอนาจทางวัฒนธรรมให้ เราอาจมองไสยศาสตร์ทั้งในฐานะความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังความเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือในฐานะที่เป็นปฏิบัติการจิตวิทยาการเมืองด้วย ที่น่าสนใจคือ แนวต่อสู้ด้านนี้ได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่พอสมควร ดังจะเห็นได้จากกรณี “หมุดราษฎร” รวมทั้งการโต้ตอบจากฝ่ายอนุรักษนิยม การต่อสู้ด้วยไสยศาสตร์จึงไม่ใช่แค่กลอุบายผิวๆ เผินๆ แต่เป็นความพยายามที่จะเปลี่ยน “มโนสนึก” หรือยั่วล้อต่อความเชื่อที่ฝ่ายอนุรักษนิยมใช้เพื่อครอบงำมาโดยตลอด ในบทความจนวน 7 บทความ ผมพยายามที่จะชวนท่านผู้อ่านให้พิจารณาการเคลื่อนไหวด้านนี้ในฐานะแนวต่อสู้อีกด้านหนึ่งของฝั่งประชาธิปไตย

หัวข้อสุดท้ายคือ “ข้อเสนอส่งท้าย: ปฏิรูปศาสนาไปพร้อมกับการเมือง” ด้วยรักและหวัง ผมได้รวบรวมบทความจนวน 6 บทความที่เสนอความเข้าใจและทางออกเท่าที่ผมจะคิดออก เริ่มต้นด้วยการทความเข้าใจพรรคการเมืองกับนโยบายทางศาสนา ตามด้วยข้อเสนอเรื่องการทศพของผู้ไม่นับถือศาสนา และสุดท้ายคือซีรีส์บทความ “ปฏิรูปศาสนาไปพร้อมกับการเมือง” ที่มุ่งหวังว่าจะนไปสู่การเข้าใจประเด็นเรื่อง “รัฐฆราวาสวิสัย” (secular state) อย่างที่รัฐในโลกสมัยใหม่พึงเป็น แม้จะเป็นเพียงข้อเสนอเล็กๆ ในเบื้องต้น แต่ก็หวังว่าอย่างน้อยจะจุดประกายต่อความสนใจของผู้คน และชี้ชวนให้คิดต่อมากกว่าจะเป็นข้อสรุป

ผมอายุ 40 ในปีนี้ เข้าเขตกลางคน มีสุภาษิตอินเดียว่าเมื่อคนเราอายุถึง 40 ปีจะมีความฉลาดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบ้าง แต่นี่ผมก็ยังไม่เห็นความฉลาดที่ว่านั้น เว้นเสียแต่ว่าได้เห็นความบกพร่องของตนเองโดยเฉพาะในทางสติปัญญามากขึ้น ที่กล่าวมานี้ก็เพื่อจะบอกท่านผู้อ่านว่า หากมีสิ่งใดที่อ่อนด้อยทางปัญญา ขอให้ท่านโปรดอภัย และอยากจะชวนท่านเป็นเพื่อนช่วยคิดเสมือนเราได้เดินทางไปด้วยกัน หนังสือรวมบทความเล่มนี้จึงขอปวารณาตัวเป็นเพื่อนร่วมทางมากกว่าจะเป็นผู้บอกทาง


 

  • ศาสนาต้อง [ไม่] ห้ามเรื่องการเมือง?

โดย วิจักขณ์ พานิช

จาก คำนิยม

ภารตะสยาม ศาสนาต้อง [ไม่] ห้ามเรื่องการเมือง? โดย คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2564 ราคา 280 บาท

งานของอาจารย์คมกฤชเต็มไปด้วยเกร็ดทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และความรู้แตกฉานทางปรัชญาศาสนา ทั้งยังแฝงด้วยแง่คิดและอารมณ์ขัน แต่ที่ทรงพลังยิ่งกว่าและหาได้ยากยิ่ง คือ “พลังแห่งโพธิจิต” ที่อาจารย์คมกฤชสอดแทรกไว้ในแทบทุกบทความที่เขาเขียน ทั้งศาสนาและการเมืองต่างต้องการ “หัวใจของความเป็นมนุษย์” ที่จะช่วยแปรเปลี่ยนศาสนาและการเมืองให้หลุดพ้นจากอำนาจของอัตตา สู่การเป็นพลังแห่งการตื่นรู้อันสร้างสรรค์ที่จะยังประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งปวงอย่างเสมอภาคเท่าเทียม เมื่อนั้นศาสนากับการเมืองก็จะบรรจบพบกันอีกครั้ง ไม่ใช่ในฐานะอำนาจที่ฉ้อฉล แต่ในฐานะคุณค่าทางจิตวิญญาณของสังคมร่วมสมัยที่เราใฝ่ฝัน ศาสนาคือจิตวิญญาณ และการเมืองก็คือจิตวิญญาณเช่นกัน ทั้งสองมีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมหัวใจความเป็นมนุษย์ให้ส่องสว่าง งอกงาม



กิตติวุทโฒ ภิกขุ
(พระเทพกิตติปัญญาคุณ) ภาพจาก จตุรัส หนังสือข่าวกรองประจำสัปดาห์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 21 วันที่ 29 มิถุนายน 2519

การเมืองนัวเนียกับศาสนา ไม่ว่าภารตะหรือสยาม

กลุ่มพระภิกษุสามเณรร่วมชุมนุมเรียกร้องการปฏิรูปพุทธศาสนา

พิธีฝังหมุดคณะราษฎร ในเช้าวันที่ 20 กันยายน พ.. 2563 

หมุดคณะราษฎร 2563 หรือหมุดคณะราษฎรที่ 2

 สัปปายะสภาสถาน ภาพจาก Gunofficial 1998. Wikimedia Common. CC-BY-SA 4.0

เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ด้านหน้าเป็นภาพพานรัฐธรรมนูญ ด้านหลังเป็นภาพพระสยามเทวาธิราช จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์พัดยศสมณศักดิ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วัดคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับบริจาคจากนายสุเทพ ขำมา โดย ดร. พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี (มากคล้าย) เป็นผู้ถ่ายภาพ ภาพจาก Tevaprapas. Wikimedia Common. CC-BY-SA 4.0

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image