ฝ่ายขวา “อนุรักษนิยมไทย” เริ่มต้น “ต่อต้านคอมมิวนิสต์” ลงท้าย “ต่อต้านประชาธิปไตย”

ฝ่ายขวา “อนุรักษนิยมไทย” เริ่มต้น “ต่อต้านคอมมิวนิสต์” ลงท้าย “ต่อต้านประชาธิปไตย”

ฝ่ายขวา “อนุรักษนิยมไทย”

เริ่มต้น “ต่อต้านคอมมิวนิสต์”

ลงท้าย “ต่อต้านประชาธิปไตย”

ปรับปรุงจากหนังสือ ขวา พิฆาต(?) ซ้าย โดย ศิบดี นพประเสริฐ

Advertisement

สุรชาติ บำรุงสุข

ชวนอ่านเรื่องขวาๆ—-

แต่ไม่ชวนเป็น “ฝ่ายขวา” เด็ดขาด

Advertisement

ฝ่ายขวาไทยขยับบทบาทจากการเป็น “นักต่อต้านคอมมิวนิสต์” ในยุคสงครามเย็น มาเป็น “นักต่อต้านประชาธิปไตย” ในยุคหลังสงครามเย็นและในยุคปัจจุบัน จนอาการของการต่อต้านประชาธิปไตยเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งที่เด่นชัดของขวาไทย อีกทั้งผลของความไม่ชอบประชาธิปไตยในบริบทของการเมืองโลก ทให้พวกเขาเปลี่ยนตัวเองเป็นฝ่าย “ต่อต้านสหรัฐ” อย่างไม่น่าเชื่อ

ฉะนั้น เมื่อไม่ชอบประชาธิปไตย ก็จะต้องไม่ชอบอเมริกาด้วย พร้อมกันนี้ความชื่นชมระบอบอนาจนิยมที่เพิ่มมากขึ้น จึงทให้ขวาไทยกลายเป็นกลุ่ม “นิยมจีน” ไปด้วย ทั้งที่ในยุคสงครามเย็น ขวาไทยมีอาการ “คลั่งฝรั่งเกลียดจีน” อย่างชัดเจน แต่ตอนนี้โลกของฝ่ายขวาไทยพลิกกลับหัวกลับหางเป็น “ต้านฝรั่งเชียร์จีน”

อีกทั้งน่าสนใจในอีกแบบ หากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปี พ.. 2519 ไมวันนี้ขวาไทยชื่นชม “คอมมิวนิสต์จีน” ทั้งที่อดีตในยุคสงครามเย็น พวกเขา “เกลียดและกลัว” คอมมิวนิสต์ และมองคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดด้วย ในวันนี้พวกเขากลับนิยมชมชอบ “คอมมิวนิสต์จีน” และมองปักกิ่งด้วยสายตาของความชื่นชมอย่างออกหน้าออกตา

[คำนำเสนอ ในหนังสือ ขวาพิฆาต(?)ซ้าย

ของ ศิบดี นพประเสริฐ สำนักพิมพ์มติชน พ.. 2564]


ขวาพิฆาต(?)ซ้าย อนุรักษนิยมไทยบนทางสองแพร่งของการเมืองโลกยุคสงครามเย็น โดย ศิบดี นพประเสริฐ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2564 ราคา 640 บาท

ลักษณะทั่วไปของอนุรักษนิยมไทยในช่วงระหว่าง พ.. 2516-2521

1. เน้นกฎระเบียบทางสังคม

2. รักษากฎระเบียบทางสังคม

3. นิยมฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย

4. นิยมสหรัฐอเมริกา

5. ต่อต้านคอมมิวนิสต์

ลักษณะเฉพาะของอนุรักษนิยมไทย

1. การเชิดชูอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2. การสนับสนุนบทบาทของกองทัพในการรักษาความมั่นคงของชาติ

3. ท่าทีที่ไม่นิยมการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร

4. อนุรักษนิยมไทยจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าเป็นรากฐานสคัญที่สุดในการจรรโลงความมั่นคงของชาติ การอุปถัมภ์ค้ำจุนศาสนา และการก่อเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี

5. อนุรักษนิยมไทยเข้าใจคว่า “เสถียรภาพ” ในความหมายที่ว่าสังคมปลอดความวุ่นวายทางการเมืองอันเกิดจากความขัดแย้งและการต่อสู้ขัดแย้งทางอุดมการณ์

6. อนุรักษนิยมไทยยอมรับหรือสนับสนุนการใช้มาตรการทางทหารเข้าล้มล้างเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย และเมื่อทเร็จอนุรักษนิยมไทยชั้นนก็จะเป็นผู้เข้ามาออกแบบสถาบันการเมืองให้ใหม่

7. อนุรักษนิยมไทยเห็นชอบกับอุดมการณ์ที่รัฐสนับสนุนและความเปลี่ยนแปลงที่นโดยรัฐ หากผู้นหรือผู้วางแผนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้แก่ระบบราชการหรือเทคโนแครตที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้และหลักการอันมั่นคงที่จะสร้างความเจริญแก่บ้านเมือง ยิ่งรู้สึกวางใจได้มากกว่านักการเมือง

นอกจากนี้ ยังมีลักษณะอีกบางประการที่อาจนมาใช้เป็นเกณฑ์จัดประเภทว่าบุคคลนั้นๆ มีลักษณะอนุรักษนิยมได้ เช่น 1. บุคคลผู้รับราชการในตแหน่งระดับสูง 2. รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลสูง

บทบาทของอนุรักษนิยมไทย

ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.. 2516

บทบาททางการเมืองของอนุรักษนิยมไทยก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ คือบทบาทของข้าราชการและระบบราชการที่มีต่อการเมืองไทยในช่วงนั้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ระบบราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพยึดกุมอนาจเป็นรัฐบาลปกครองประเทศ ซึ่งภารกิจหลักของกองทัพในช่วงเวลานั้นคือ การต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ทั้งด้านการดเนินนโยบายความมั่นคงและการดเนินนโยบายต่างประเทศ

โดยพื้นฐานแล้ว คอมมิวนิสต์ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัฐไทย ดังนั้น รัฐบาลไทยซึ่งหมายรวมไปถึงกองทัพไทยในช่วงทศวรรษ 2500-2510 จึงมีภารกิจหลักในการรับมือกับการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในประเทศจนเรียกได้ว่าเป็นสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้ กองทัพไทยยังมีต้นทุนที่ต้องแบกรับไว้อีกด้วย นั่นคือ หากกองทัพไทยแพ้สงครามคอมมิวนิสต์ กองทัพไทยจะต้องถูกปลดอาวุธและถูกแทนที่ด้วย “กองทัพประชาชน” ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ขณะเดียวกัน นโยบายของกองทัพไทยที่มีต่อคอมมิวนิสต์ยังส่งผลให้บรรดานายทหารต้องปรับแนวคิดเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตยเสียใหม่ ด้วยการตั้งคถามกับมาตรการแบบเดิมที่ใช้เพื่อรับมือคอมมิวนิสต์

ขบวนการฝ่ายขวาในประเทศไทย

ขบวนการฝ่ายขวาในประเทศไทยช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.. 2516 มีหลากหลายกลุ่มด้วยกัน โดยกลุ่มที่มีบทบาทโดดเด่น ได้แก่

สันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย

องค์กรนี้เป็นส่วนหนึ่งของกองอนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) โดยมีต้นแบบแนวคิดในการจัดตั้งมาจากไต้หวัน ที่ใช้การจัดตั้งลักษณะนี้ร่วมกับองค์กรนานาชาติเพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ แต่ในท้ายที่สุด องค์กรนี้ก็เปลี่ยนวัตถุประสงค์จนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิม สอดคล้องกับบริบทที่ประเด็นคอมมิวนิสต์ได้หมดไปในภายหลัง

นวพล

สืบเนื่องจากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) เดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร และขยายประเด็นออกไปในภายหลังจนถึงระดับที่เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและนมาสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ กระแสการเรียกร้องดังกล่าวได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากมาจากนักศึกษาไทยในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ ในสหรัฐฯ ผู้ที่เป็นผู้น คือ วัฒนา เขียววิมล ที่กลังศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

เมื่อพลเอก สายหยุด เกิดผล ได้เดินทางไปราชการที่กรุงวอชิงตัน จึงขออนุญาตผู้บังคับบัญชาติดต่อวัฒนา เขียววิมล เพื่อพิจารณาถึงแนวคิดของบุคคลผู้นี้ว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ และเมื่อบุคคลทั้งคู่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างกันแล้ว จึงชักชวนให้มาร่วมงานกัน

ต่อมา วัฒนา เขียววิมล และคณะได้คิดสร้างกลุ่มการเมืองขึ้นด้วยการอาศัยกองอนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นั่นคือ “นวพล” ที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.. 2517 โดยความหมายของชื่อกลุ่มอาจแปลความได้ว่า “พลังใหม่” ตามรูปแบบการก่อตั้ง

แต่ต่อมาเมื่อแนวทางการดเนินงานระหว่างพลเอก สายหยุด กับวัฒนา เขียววิมล ไม่สอดคล้องต้องกันเสียแล้ว พลเอก สายหยุดจึงแนะนให้วัฒนา เขียววิมล กลับไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งในขั้นแรกวัฒนาก็เชื่อ เนื่องจากที่ดเนินการงานทั้งหมดมาได้นั้นเพราะพลเอก สายหยุดสนับสนุน และเมื่อเห็นว่าพลเอก สายหยุดไม่สนับสนุนเสียแล้ว เขาจึงได้ยินยอมตาม

แต่ต่อมา วัฒนา เขียววิมล ก็ได้ไปพบกับพลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้น วัฒนาได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของพลเอก กฤษณ์ สีวะรา ซึ่งนอกจากจะดำรงตแหน่งผู้บัญชาการทหารบกแล้ว ยังดรงตแหน่งผู้อนวยการกองอนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (ผอ.ปค.) ด้วย

นับจากนั้นเป็นต้นมา วัฒนา เขียววิมล ได้ดเนินการไปโดยลพัง และได้รับการสนับสนุนจากบุคคลอื่นตาม “โครงการนวพล” แต่ในที่สุด เมื่อคนทั่วไปทราบว่าเป็นการแอบแฝงสร้างองค์กรทางการเมืองขึ้นใหม่ด้วยการใช้อนาจรัฐเป็นเครื่องมือสคัญซึ่งพลเอก สายหยุดเห็นว่าไม่ถูกต้อง ประกอบกับการที่พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ถึงแก่อนิจกรรม ความนิยมที่สังคมมีต่อวัฒนา เขียววิมล ก็ลดน้อยถอยลงไปในที่สุด ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ลูกเสือชาวบ้าน

พันตรวจเอก สมควร หริกุล ผู้กกับการตรวจตระเวนชายแดนเขต 4 เห็นว่าการที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะใช้วิธีสงครามประชาชน โดยปลุกระดมมวลชนให้คล้อยตามว่าระบอบการปกครองของไทยในขณะนั้น รวมไปถึงสถาบันหลักของชาติเป็นสิ่งที่เลวร้าย ต้องทลายให้หมดสิ้น

ดังนั้น การต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็จะต้องใช้วิธีการที่คล้ายคลึงกัน หรือ “หนามยอกเอาหนามบ่ง” คือการทสงครามรักษาประชาชนเพื่อมิให้สงครามแย่งชิงประชาชนของฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยประสบความสเร็จ

ทั้งนี้ การทสงครามประชาชนของฝ่ายรัฐบาลไทยนั้นมีแนวคิดหลักคือการทให้ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี จงรักภักดีต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์

ลูกเสือชาวบ้านได้รับการก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.. 2514 โดยพันตำรวจเอก สมควร หริกุล ผู้กกับการตรวจตระเวนชายแดนเขต 4 ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ริเริ่มดเนินการจัดให้มีการฝึกอบรมลูกเสือรุ่นแรกขึ้น พร้อมด้วยวิทยากรจากกองกกับการตรวจตระเวนชายแดนเขต 4 และจากเขตการศึกษา 956 หลังจากการอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นแรกเป็นผลสเร็จแล้ว ได้ขยายผลการฝึกอบรมไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆ ตามแนวชายแดน ได้แก่ เลย อุดรธานี หนองคาย นครพนม พิษณุโลก สกลนคร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และขยายตัวออกไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว ในที่สุด การฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านจึงได้มีขึ้นทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพฯ ด้วย

หลักการของลูกเสือชาวบ้านข้างต้นที่ระบุว่า “ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” นั้น ได้แปรเปลี่ยนไปในเวลาต่อมา ทั้งนี้ ในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ กิจการลูกเสือชาวบ้านขยายตัวออกไปอย่างมาก เห็นได้จากรายงานของกระทรวงมหาดไทยในวันที่ 2 มิถุนายน พ.. 2519 ระบุว่ามีผู้รับการอบรมลูกเสือชาวบ้านไปแล้วจนวน 2,794 รุ่น เป็นจนวนกว่า 900,000 คน ประกอบไปด้วยคนทุกเพศทุกวัย กิจการลูกเสือชาวบ้านจึงต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองในที่สุด และนับว่าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้ามามีส่วนร่วมปราบปรามขบวนการนิสิตนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ

ชมรมวิทยุเสรี

ชมรมวิทยุเสรีเป็นกลุ่มสถานีวิทยุของทหารซึ่งเข้ามาประสานงานกัน โดยสถานีวิทยุยานเกราะเป็นแกนกลางตั้งแต่ พ.. 2518 โดยมีพันโท อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อาคม มกรานนท์ และอุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นโฆษกสคัญ ชมรมวิทยุเสรีนี้มีบทบาทสคัญในการดเนินรายการ “เพื่อแผ่นดินไทย” ที่ถูกนมาใช้โจมตีขบวนการนิสิตนักศึกษาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ โจมตีรัฐบาลพลเรือนในสมัยนั้นว่าอ่อนแอไม่เด็ดขาด ทให้คอมมิวนิสต์ขยายตัวมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงโจมตีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากระบอบการปกครองเดิมไปสู่ระบอบสังคมนิยมในประเทศเพื่อนบ้าน โดยปลุกระดมให้ประชาชนไทยลุกขึ้นมาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย

ชมรมแม่บ้าน

ชมรมแม่บ้านได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.. 2519 เพื่อโจมตีขบวนการนิสิตนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านฐานทัพสหรัฐฯ โดยตรง มีวิมล เจียมเจริญ (วิมล ศิริไพบูลย์ นักเขียนชื่อดังนามปากกา “ทมยันตี” ต่อมาคือ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์) เป็นแกนนคัญ โดยได้รวมเอาบรรดาภรรยาข้าราชการ ภรรยา นายทหารระดับสูง และแม่บ้านจนวนมากเข้าเป็นสมาชิก บทบาทสำคัญของชมรมแม่บ้านคือ การปกป้องสหรัฐฯ และโจมตีขบวนการนิสิตนักศึกษาว่ามีพฤติกรรมบ่อนทลายมิตรประเทศ ทั้งนี้ ชมรมแม่บ้านได้เสนอข้อเรียกร้องให้คงเรดาร์ของสหรัฐฯ ไว้ในประเทศไทย เนื่องจากไม่เห็นว่าเป็นการรุกรานอธิปไตยของรัฐไทย แต่มีมุมมองว่าเรดาร์สหรัฐฯ จะเป็น “หูทิพย์ตาทิพย์” ช่วยสอดส่องระวังภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์

 

ภาพความเคลื่อนไหวของขบวนการฝ่ายขวา

นำไปสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519

บริเวณหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า

ริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า


ชมรมแม่บ้าน ก่อตั้งเมื่อ พ.. 2519 โดยมีทมยันตี หรือ วิมล ศิริไพบูลย์ (เจียมเจริญ) เป็นแกนสำคัญ รวมเอาภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล รวมทั้งแม่บ้านจำนวนมากเข้าเป็นสมาชิก บทบาทที่เด่นชัดคือ การปกป้องและแก้ต่างแทนสหรัฐอเมริกา และโจมตีขบวนการนักศึกษาว่าบ่อนทำลายมิตรประเทศ (ภาพจาก นสพ. ชาวไทย จาก เพจ “บันทึก 6 ตุลา”)

(บน) แถวลูกเสือชาวบ้านขณะปกป้องวัดบวรนิเวศวิหาร(ล่าง) แถวลูกเสือชาวบ้าน ไม่สามารถระบุสถานที่ (ภาพจาก http://doct6.com/archives/2235 ในเพจดังกล่าวเขียนที่มาของภาพชุดนี้ดังนี้ เดือนพฤษภาคม โครงการบันทึก 6 ตุลา ได้รับภาพถ่ายชุดหนึ่งจากคุณปฐมพร ศรีมันตะ ซึ่งได้รับภาพต่อมาจากบุคคลอื่นอีกต่อหนึ่ง เช่นเดียวกับภาพถ่ายนับร้อยภาพของเหตุการณ์ ภาพถ่ายชุดนี้ไม่มีข้อมูลผู้ถ่ายภาพและเจ้าของ รวมทั้งข้อมูลของเหตุการณ์ในภาพ)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image