ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา คลี่ประวัติศาสตร์ความเหลื่อมล้ำ กลางสมรภูมิเศรษฐกิจไทยเมื่อประชาธิปไตยไม่ลงหลักปักฐาน

(จากซ้าย) อิสร์กุล อุณหเกตุ และผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ ในเสวนา ‘ทุน วัง คลัง (ศักดิ)นา’ ที่มติชนอคาเดมี 8 พ.ย.ที่ผ่านมา

พุ่งขึ้นอันดับ 1 หนังสือขายดีประจำบูธ ‘สำนักพิมพ์มติชน’ ในงาน Matichon Bookmark 2021 #คั่นไว้ในใจเธอซึ่งจบลงหมาดๆ วานนี้อย่างไม่เกินความคาดเดา สำหรับ ‘ทุน วัง คลัง (ศักดิ)นา : สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทย กับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน’ ผลงานชั้นเยี่ยมของ รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย และ อิสร์กุล อุณหเกตุ ซึ่งเปิดเผยถึงประวัติศาสตร์แห่งความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอันมีที่มาที่ไปลึกซึ้งชวนค้นหาและทำความเข้าใจ

ในงานดังกล่าว มีกิจกรรม ‘Talk : ทุน วัง คลัง (ศักดิ)นา’ ชวนทั้ง 2 ผู้เขียนมาร่วมวงพูดคุยทั้งบนเวทีและผ่านโลกออนไลน์ โดยมี ผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ รับหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ พาผู้อ่านย้อนสำรวจการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หลังการอภิวัฒน์สยาม พ.ศ.2475 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งส่งผลให้ชนชั้นปกครองสูญเสียอำนาจ และนำมาสู่การกำจัดคณะราษฎรพ้นเวทีการเมือง สร้างความเข้าใจบริบทสังคมไทย นอกเหนือจากที่ปรากฏในแบบเรียน

(จากซ้าย) อิสร์กุล อุณหเกตุ และผศ.อัครพงษ์ ค่ำคูณ ในเสวนา ‘ทุน วัง คลัง (ศักดิ)นา’ ที่มติชนอคาเดมี 8 พ.ย.ที่ผ่านมา

‘ที่ดิน สินทรัพย์ รายได้’

จากสนธิสัญญาเบาว์ริ่งถึงหลังอภิวัฒน์สยาม

Advertisement

รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย ที่มาในรูปแบบออนไลน์ กล่าวว่าหนังสือเล่มนี้ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเมือง กินเวลาตั้งแต่ พ.ศ.2398-2475 หรือ 100 ปีเศษ เล่าถึงระดับความเหลื่อมล้ำ ตั้งแต่ พ.ศ. 2398 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ไทยเซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ซึ่งคือจุดเริ่มต้นของเศรษฐศาสตร์การเมืองไทย เมื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความเหลื่อมล้ำอย่างมาก หลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

ในบทที่ 1-2 ของหนังสือ กล่าวถึงวิธีการสะสมทุน (ที่ดิน) เนื่องจากเป็นสังคมเกษตร ยังไม่เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ปัจจัยสำคัญในการผลิตข้าวเพื่อส่งออก คือ ‘ที่ดิน’ ที่ดินจึงมีราคาแพงมาก ราคาข้าวที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ดึงดูดให้มีการเปลี่ยนระบบครองและการถือครองที่ดิน ทำให้ได้ค่าเช่า นำมาสู่ความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้น ค่าเช่ามีราคาแพง ที่ดินกลายเป็นสินทรัพย์หลักของชนชั้นปกครอง ความเหลื่อมล้ำเกิดจากการสะสมที่ดิน ต่อมา พัฒนาเป็นอสังหาริมทรัพย์” รศ.ดร.อภิชาตกล่าว พร้อมยกตัวอย่างการพัฒนาอสังหา เช่น แพร่งนารา แพร่งภูธร และการลงทุนสร้างตึกแถวให้เช่า

จากกระบวนการที่กล่าวมานี้ รศ.ดร.อภิชาต ระบุว่า เป็นเหตุ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูง ทั้งด้านสินทรัพย์ และรายได้ เนื่องจากชนชั้นนำถือครองที่ดินประมาณ 41,000 ไร่ อีก 120 ครัวเรือน ถือครองที่ดินเฉลี่ย 1,000 ไร่ โดยเมื่อสิ้นรัชกาลที่ 5 ‘พระคลังข้างที่’ กลายเป็นผู้ครอบครองที่ดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ขนาดสินทรัพย์ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ มีขนาดใหญ่ 3-4 เท่า ของงบประมาณแผ่นดิน

Advertisement

ต่อมา ภายหลังการอภิวัฒน์สยาม 2475 ซึ่งชนชั้นปกครองเก่าพยายามขัดขวางทางการเมือง ในไม่กี่เดือนแรก ปรีดีเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจ เพราะประเทศล้าหลัง โดยเสนอให้รัฐบังคับซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิม และรวมรวบชาวนามาปลูกข้าวในลักษณะสหกรณ์ เป็นไร่นาขนาดใหญ่ อนุญาตให้เอกชนถือที่ดินได้ ซึ่งเป็นการไปตีเอาขุมทรัพย์ของชนขั้นปกครองเดิม จึงมีการตอบโต้ทันที นำไปสู่การรัฐประหาร 1 เมษายน 2476 ต่อมาเหตุการณ์นี้นำไปสู่ ‘กบฏบวรเดช’ เพื่อตอบโต้ ในเดือนตุลาคม 2476 โดยทั้ง 2 เหตุการณ์นี้ ทำให้ความพยายามที่จะประนีประนอมทางการเมืองล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง แม้ว่ากบฏบวรเดชจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ก็ตาม
“แนวคิดการปฏิรูปที่ดินขนานใหญ่ เอามาดูแลโดยรัฐ เป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง เราจึงไม่มีการปฏิรูปที่ดินในลักษณะเอาที่ดินเจ้าของเดิมมากระจาย ไม่มี จนถึงปัจจุบัน ความกระจุกตัว จึงสูงมากๆ คือผลพวงของการที่เค้าโครงเศรษฐกิจถูกล้มโดยรัฐประหารและทำให้ประชาธิปไตยไม่ลงหลักปักฐาน”

‘รักษากระเป๋า’ โต้ประชาธิปไตย

ไม่ให้ ‘ลงหลักปักฐาน’

รศ.ดร.อภิชาตยังกล่าวถึงวลี ‘โง่ จน เจ็บ’ ด้วยว่า เป็นความพยายามลดความเหลื่อมล้ำด้วยการปฏิรูปที่ดิน แต่ไม่สำเร็จ แต่มีการให้งบเพิ่มด้านการศึกษาและสาธารณสุข

ก่อน 2475-สมัยรัชกาลที่ 6 รัฐไทยไม่ยอมรับการสาธารณสุขการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องบริการพื้นฐาน ต่อมา รัฐไทยยอมรับจากแรงขับของต่างประเทศ ซึ่งก่อนอภิวัฒน์สยาม 2475ไม่มีโรงพยาบาล หรือการแพทย์สมัยใหม่เลย มีเพียงคนหยิบมือเดียวเท่านั้นที่เข้าถึง จากการตั้ง รพ.ศิริราช วชิรพยาบาลเป็นต้น

จนหลังปี 2475 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้น และก่อตั้ง รพ.ประจำจังหวัด โดยประสบความสำเร็จในปี 2499 นี่คือความสำเร็จในการจัดสวัสดิการด้านสาธารณสุข ส่วนงบประมาณด้าน ‘การศึกษา’ แม้รัฐจะให้ความสำคัญกว่า การสาธารณสุข แต่ก็มีงบน้อย ไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ของงบรายจ่ายประจำปี และเป็นการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม เพื่อชนชั้นสูง การศึกษาเพื่อมวลชน แทบไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐให้วัดสืบต่อไป

“การขาดแคลนทางการศึกษา จึงกลายเป็น 1 ใน หลัก 6 ประการของคณะราษฎร มีการระดมสร้างโรงเรียน งบการศึกษาเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ในช่วงก่อนปี 2500 การศึกษาภาคบังคับ ทำได้
สำเร็จเกือบทั้งหมด ในปี 2500 ระบบการศึกษาสมัยใหม่และการแพทย์ ถูกวางรากฐานสำเร็จ ก่อนการรัฐประหารของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์”

การจะรักษาเงินให้อยู่ในกระเป๋าต่อได้ จึงต้องขัดขวาง ผู้ปกครองรุ่นใหม่ ด้วยการตอบโต้ทางการเงิน พูดง่ายๆ การพยายามปฏิวัติ คือ ซีรีส์สำคัญ ที่พยายามตอบโต้ไม่ให้ประชาธิปไตยลงหลักปักฐาน หรือพูดง่ายๆ ว่า รักษากระเป๋า ไม่ต้องการให้อำนาจกระจายตัวไปสู่ประชาชน

ทหารจึงเสพติดทำเนียมรัฐประหารมาโดยตลอดการรัฐประหารครั้งสำคัญของจอมพลสฤษดิ์ ชนชั้นปกครองเก่า ประสบชัยชนะเด็ดขาด ก่อนถูกล้างแนวคิดกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ จากเวลานั้น เพราะใช้แนวเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เร่งรัดพัฒนา โดยไม่สนใจความเหลื่อมล้ำ” รศ.ดร.อภิชาตกล่าว

รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย ร่วมเสวนาผ่านช่องทางออนไลน์

ความเหลื่อมล้ำ-อำนาจรวมศูนย์

2 ปัญหาที่ 2475 ก็แก้ไม่ตก

“1.อำนาจที่รวมศูนย์ นำไปสู่ 2.ความเหลื่อมล้ำ ในปี 2475 พยายามแก้ แต่ไม่สำเร็จใน 2 ปัญหานี้ หนังสือเล่มนี้พยายามสื่อว่า นี่คือปัญหาที่อยู่มาเป็น 100 ปี แต่ยังไม่ถูกแก้ไข จึงไม่แปลกที่ความขัดแย้งจะดำรงอยู่ในปัจจุบัน สิ่งที่หนังสือเล่มนี้นำเสนอ คือปัญหาปัจจุบัน” รศ.ดร.อภิชาตกล่าว

อีกหนึ่งผู้เขียน อิสร์กุล อุณหเกตุ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ถ้าพูดถึงเศรษฐกิจผูกขาด เกิดได้จากหลายสาเหตุมาก แต่การผูกขาดโดยตัวมันเอง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การมอบสัมปทาน หากมองไปก่อนปี 2475 เป็นการผูกขาดโดยการครอบครองปัจจัยการผลิต ด้วยที่ดิน และ
การเก็บค่าเช่า หากพูดถึงผู้ผูกขาด ในบทที่ 2 ของเล่มนี้ มีความน่าสนใจมาก

“การปฏิรูปการคลัง เรามอง 2 ขาหลัก คือ 1.รายรับรัฐบาลมาอย่างไร ซึ่งหลักๆ คือ ภาษี 2.รายจ่ายของรัฐบาล ส่วนที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้ คือ การคลัง ที่ปัจจุบันเราพยายามเก็บภาษีคนรวย เอาไปใช้จ่ายช่วยคนจน แต่ก่อนปี 2475 ไม่ได้เป็นแบบนั้น การคลังมีข้อจำกัดเยอะ ในปี 2398 มีการเซ็นสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ที่จำกัดสินค้าส่งออกคือ ข้าว แต่ไม่มีการเก็บอากรขาเข้า-ออก

ด้วยการที่ คน เป็นกำลังหลัก ถ้าจะขูดรีด ก็ขูดรีดจากคน, แรงงาน, ไพร่, ทาส แต่เมื่อมีสนธิสัญญาเบาว์ริ่งจำกัด จึงใช้วิธีขูดรีดจากปัจจัยการผลิต ที่เป็น 1.คน 2.ที่ดิน (ยังไม่มีอุตสาหกรรม) เราเห็นภาพว่า การคลัง พอจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้บ้าง แต่สถานการณ์ไม่เป็นอย่างนั้น ชาวนาจ่าย 3 เด้ง คือ ค่าเช่าที่นา จ่ายอากรค่านา และ จ่ายค่ารัชชูปการ จากปัจจุบัน ที่เป็นภาษีอัตราก้าวหน้า มีน้อย จ่ายน้อย มีมากจ่ายมาก แต่กรณีนี้จ่ายเท่ากันหมด กลับทำให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นอีก” อิสร์กุล กล่าว

อาจารย์เศรษฐศาสตร์ รั้วเหลืองแดง กล่าวต่อไปว่า ส่วนขาที่ 2 คือ รายจ่าย ในตอนนั้น เงินที่ได้ แทนที่จะเอาไปพัฒนาเศรษฐกิจ แต่ไม่มี กลับเอาไปลงกับ งบทหาร และความมั่นคงในประเทศ เช่น กระทรวงนครบาล หรือ มหาดไทย แทนที่การคลังจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ กลับเพิ่มความเหลื่อมล้ำ
“หลังปี 2745 มีสถานการณ์หลายอย่าง จากสถานการณ์โลก ก่อนช่วง ปี ค.ศ.1930 มีวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก การส่งออกข้าวชะงัก ส่วนที่ชนชั้นปกครองใหม่พยายามทำ คือดูว่าอะไรไม่เป็นธรรม มีการเปลี่ยนเป็น ภาษีเงินได้ และอากรต่างๆ จนมีการออกประกาศยกเลิกสิ่งเหล่านี้ไปหมด

รายจ่ายที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้ อย่างเช่น รายจ่ายด้านการศึกษา ตั้งแต่มีการปฏิรูปการคลังใหม่ ของพวกนี้มีสัดส่วนน้อยมาก ทั้งการศึกษา และสาธารณสุข มีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ ของรายจ่ายในช่วงนั้น” อิสร์กุล กล่าว ก่อนทิ้งท้ายว่า หนังสือเล่มนี้ อ่านแล้วจะเข้าใจอดีต เพื่อเข้าใจปัจจุบันมากขึ้น ระบบการคลัง ทำไมถึง
เป็นปมขัดแย้ง ก่อนหน้า 2475 เงินที่เก็บมา จะเอาไปใช้จ่ายกับอะไรไม่ได้มาจากการตัดสินใจของคนหมู่มาก แต่ก่อน 2475 ไม่ใช่ มีช่วงที่ไทยประสบวิกฤตหนัก ปัจจุบันมีการอภิปรายงบในสภาทำไมการคลังจึงมีความขัดแย้ง เพราะคนต้องการมีอำนาจในการตัดสินใจ ประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงเห็นการเข้าไปแย่งชิงเพื่อแบ่งเค้ก

เป็นเล่มสำคัญที่พลาดไม่ได้ทั้งคอเศรษฐศาสตร์และประชาธิปไตยที่ไม่อาจแยกออกจากกัน

อธิษฐาน จันทร์กลม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image