สุวรรณภูมิในอาเซียน : เศรษฐกิจการเมืองไทย ประชาธิปไตยไม่ลงหลักปักฐาน

สุวรรณภูมิในอาเซียน : เศรษฐกิจการเมืองไทย ประชาธิปไตยไม่ลงหลักปักฐาน

ปรับปรุงใหม่จากบทนำหนังสือ ทุน วัง คลัง (ศักดิ)นา

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในระดับสูงที่ดำรงอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ได้กลายเป็นแรงจูงใจสำคัญของชนชั้นปกครองเก่าที่ต่อต้านระบอบการปกครองใหม่แบบประชาธิปไตย

เนื่องจากหากยอมให้ระบอบนี้ลงหลักปักฐานได้สำเร็จแล้ว ฝ่ายตนจะต้องยอมรับการกระจายทรัพยากรให้แก่ชนส่วนใหญ่ของสังคมมากเกินกว่าที่ตนจะยอมรับได้…”

ในยุคโลกาภิวัตน์รอบแรกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น การเข้ามาค้าขายของชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวดัตช์กับอยุธยามิได้ส่งผลให้โครงสร้างทางสังคมและสถาบัน (กติกา) ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจของสยามเปลี่ยนแปลงไปมากนัก ดังนั้นจึงอนุมานได้ว่าระดับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแนวตั้งระหว่างชนชั้นต่างๆ ของสยามไม่เปลี่ยนแปลงมาก

Advertisement

แต่หนังสือทุน วัง คลัง (ศักดิ)นา จะเสนอว่าโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ให้ระดับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในแนวตั้งของสยามเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลัง พ.. 2398 ซึ่งสยามลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง เนื่องจากชนชั้นปกครองสยามต้องปรับเปลี่ยนสถาบัน(กติกา) ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจขนานใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบโลกที่เปลี่ยนไป

การเปลี่ยนแปลงสถาบันเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรัชกาลที่ 5 นั้นส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างชนชั้นเพิ่มสูงขึ้น จนกระทั่งการปฏิวัติ 2475 ซึ่งวางเป้าหมายเพิ่มความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้เป็น 1 ในหลัก 6 ประการของการปฏิวัตินั้น ถูกต่อต้านและตอบโต้จากชนชั้นปกครองเก่าอย่างรุนแรง

อาจกล่าวได้ว่าการโต้กลับทางการเมืองนี้ คือความพยายามที่จะปกปักรักษาส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจให้เป็นดังเดิมก่อน พ.. 2475 การตอบโต้ทางการเมืองไปมาระหว่างชนชั้นปกครองเก่ากับชนชั้นปกครองใหม่จึงเป็นไปอย่างรุนแรงตลอดเวลา จนกระทั่งชนชั้นปกครองเก่าประสบชัยชนะทางการเมืองอย่างเด็ดขาดใน พ.. 2500

Advertisement

ผลพวงของการตอบโต้นี้คือ ระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถลงหลักปักฐานในสังคม (democratic consolidation) และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระดับสูงก็ดำรงอยู่ควบคู่กับสังคมไทยจนกระทั่งทุกวันนี้

ถามที่น่าสนใจจึงมีอยู่ว่า

1) ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจในแง่ที่กลุ่มผู้ปกครองเดิมต้องการที่จะดรงรักษาระเบียบเศรษฐกิจเดิม ในขณะที่กลุ่มผู้ปกครองใหม่ต้องการที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจไปในทิศทางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำนั้น ได้กลายเป็นสาเหตุสคัญแค่ไหน อย่างไร ในภาพใหญ่ของความขัดแย้งทางการเมือง

2) สภาพของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรระหว่างช่วงก่อนกับหลังจาก พ.. 2475 และการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อการลงหลักปักฐานของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร ในช่วงเวลาดังกล่าว

หนังสือทุน วัง คลัง (ศักดิ)นา จะมุ่งตอบคถาม 2 ข้อข้างต้น โดยเชื่อว่าแม้ฉากหน้าของการต่อสู้อย่างยืดเยื้อจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างชนชั้นปกครองเก่ากับชนชั้นปกครองใหม่ แต่หนึ่งในสาเหตุสคัญนั้นคือความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความเป็นธรรมของกลุ่มผู้ปกครองใหม่

ในอีกด้านหนึ่ง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในระดับสูงที่ดรงอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ได้กลายเป็นแรงจูงใจสคัญของชนชั้นปกครองเก่าที่ต่อต้านระบอบการปกครองใหม่แบบประชาธิปไตย เนื่องจากหากยอมให้ระบอบนี้ลงหลักปักฐานได้สเร็จแล้ว ฝ่ายตนจะต้องยอมรับการกระจายทรัพยากรให้แก่ชนส่วนใหญ่ของสังคมมากเกินกว่าที่ตนจะยอมรับได้

เศรษฐกิจแบบตลาดก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริง (.. 2398)

ในอดีตนั้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรเบาบาง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่สามารถนมาเพาะปลูกได้ แรงงานในฐานะปัจจัยการผลิตจึงมีความขาดแคลนโดยเปรียบเทียบกับที่ดิน ดังนั้น รัฐก่อนสมัยใหม่ในแถบนี้จึงเน้นการควบคุมคนมากกว่าครอบครองที่ดิน ในแง่นี้ “การปกครอง” ก็คือการควบคุมผู้คนมากกว่าการบริหารพื้นที่ที่มีขอบเขตแน่ชัดดังเช่นระบบไพร่ของสยามและพม่า อย่างไรก็ตาม ระบบควบคุมแรงงานนี้จะค่อยๆ เสื่อมลงเมื่อระบบเศรษฐกิจแบบตลาดค่อยๆ ขยายตัวขึ้น

นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนอว่าเศรษฐกิจของสยามในยุคกรุงเทพฯ ตอนต้นนั้นเปลี่ยนแปลงไปมากจากยุคอยุธยา เศรษฐกิจแบบตลาดขยายตัวมากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ได้พัฒนาขึ้นจนเป็นระบบตลาดแบบทุนนิยมเต็มตัวก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจแบบตลาดนี้มีผลสำคัญที่ทำให้ระบบไพร่เสื่อมลงอย่างต่อเนื่อง เช่น เมื่อตลาดขยายตัวก็ทำให้ไพร่มีช่องทางทำมาหากินได้มากขึ้น โดยหนีสังกัดไปบุกเบิกพื้นที่ทการเพาะปลูกเพื่อขาย ดังปรากฏหลักฐานในยุครัชกาลที่ 2 ว่าพวกมอญใหม่พากันไปทมาหากินอยู่ทุกตบล รัฐบาลกลัวว่าจะหนีไปจนขาดราชการจึงให้พระยาราชบุรีกวาดต้อนส่งกลับมาที่กรุงเทพฯ ตามเดิม

ในอีกตัวอย่างหนึ่งนั้น เมื่อโอกาสทางการตลาดขยายตัวก็ได้สร้างแรงจูงใจให้ไพร่หนีสังกัดมากขึ้น จนถึงขั้นขายตัวลงเป็นทาสเพื่อหลบเลี่ยงการเข้ารับราชการ โดยตกลงกับนายเงินไว้ว่าจะไปหาเงินจากตลาดมาไถ่ตัว ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นตัวอย่างว่า ในช่วงรอยต่อระหว่างครึ่งแรกกับครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น ต้นทุนของผู้ปกครองในการบังคับใช้ระบบไพร่ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบตลาด

ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงนี้ รัฐบาลรัชกาลที่ 3 ยังคงพยายามที่จะรักษาระบบไพร่ที่มีประสิทธิผลลดลงไว้ต่อไป โดยปรับกฎเกณฑ์ไปในทิศทางที่ให้อิสระแก่ไพร่ในการใช้แรงงานของตนมากขึ้น เช่น ลดภาระการเกณฑ์แรงงานลงจาก 6 เดือนเป็น 4 เดือน หรือยอมรับเงินค่าราชการแทนการเกณฑ์แรงงานแล้วใช้เงินจ้างแรงงานชาวจีน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทงานมากกว่าแทน ฯลฯ เมื่อต้นทุนการบังคับใช้ระบบไพร่นี้สูงขึ้น ในขณะที่ผลประโยชน์จากแรงงานเกณฑ์จะค่อยๆ ลดลงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบตลาด เช่น เมื่อรัฐบาลรัชกาลที่ 3 เลิกผูกขาดการค้า จึงไม่จเป็นต้องให้ไพร่ส่งส่วยสินค้าเพื่อการส่งออก หรือการใช้แรงงานรับจ้างชาวจีนทงานโยธาแทนไพร่ ฯลฯ อีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายให้ไพร่มีความเป็นอิสระมากขึ้น คือการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบตลาด ทำให้รัฐสยามสามารถนำเข้าระบบเจ้าภาษีนายอากรมาใช้เพื่อการเก็บภาษีจากผลผลิตโดยตรง เงินได้จากภาษีในระบบนี้จึงลดความจเป็นที่รัฐจะต้องพึ่งพาแรงงานเกณฑ์ลง จนในที่สุดระบบไพร่และทาสก็จะค่อยๆ ถูกยกเลิกในรัฐบาลรัชกาลที่ 5 เมื่อดอกผลจากสนธิสัญญาเบาว์ริงเบ่งบานมากขึ้นเรื่อยๆ

โดยสรุปแล้ว นิธิเห็นว่าหน่ออ่อนของระบบทุนนิยมเกิดขึ้นแล้วในยุคต้นกรุงเทพฯ ซึ่งผลจากสนธิสัญญาเบาว์ริงจะทให้ระบบตลาดขยายตัวมากขึ้น จนในที่สุดระบบเศรษฐกิจที่มีรากฐานแบบศักดินาก็จะกลายเป็นระบบทุนนิยม แต่กระบวนการเปลี่ยนผ่านในยุคต้นกรุงเทพฯ นี้เองที่ “ชนชั้นนที่เป็นกระฎุมพีจะฉกฉวยผลประโยชน์ได้ก่อนสนธิสัญญาเบาว์ริ่งจึงมิได้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของคนกลุ่มนี้เท่าใด”

กล่าวอีกอย่างคือ ชนชั้นปกครองสยามมีประสบการณ์ปรับตัวรองรับและได้ผลประโยชน์จากการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจแบบตลาดมาก่อนหน้า พ.. 2398 แล้ว ดังนั้นแทนที่จะเสียผลประโยชน์จากสนธิสัญญาเบาว์ริง ชนชั้นปกครองสยามสามารถปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงได้จนกลับกลายเป็นผู้ได้ผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้

โต้ประชาธิปไตยมิให้ลงหลักปักฐาน

ทุน วัง คลัง (ศักดิ)นา เขียนขึ้นเพื่อตอบคถาม 3 ข้อ ดังนี้

ถามที่ 1 ไมชนชั้นปกครองก่อนและหลัง พ.. 2475 จึงต่อสู้อย่างยืดเยื้อตลอดช่วงเวลา 25 ปี (.. 2475-2500)

ตอบ คือ ฝ่ายชนชั้นปกครองเก่าต่อสู้อย่างยืดเยื้อเพื่อรื้อฟื้นสาระสคัญของสถาบันทางการเมืองแบบเก่าที่อนาจทางการเมืองกระจุกตัวในหมู่ชนชั้นปกครองกลุ่มเล็กๆ แคบๆ เพราะสถาบันทางการเมืองแบบเก่าจะมีผลต่อการกหนดสถาบันทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายตนอีกด้วย

ถามที่ 2 ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจในแง่ที่ฝ่ายผู้ปกครองเก่าต้องการจะดรงรักษาระเบียบเศรษฐกิจเก่า ในขณะที่ผู้ปกครองใหม่ต้องการจะปฏิรูปเศรษฐกิจไปในทิศทางเพื่อลดความเหลื่อมล้ำนั้นได้กลายเป็นสาเหตุสคัญ แค่ไหน อย่างไร ในภาพใหญ่ของความขัดแย้งทางการเมือง

ตอบ คือ ความเป็นเจ้าของหรือการถือครองที่ดิน ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตหลักของสังคมก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม กลายเป็นความขัดแย้งทางเศรษฐกิจระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายที่มีผลกระทบทางการเมืองสูง เพิ่มเติมขึ้นจากความขัดแย้งในทางการเมืองโดยตรงระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งมีผู้กล่าวไว้มากแล้ว

ถามที่ 3 สภาพของความเหลื่อมลทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และส่งผลพวงต่อการลงหลักปักฐานของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างไรในช่วงเวลาดังกล่าว

ตอบ คือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหลังจากการรวมศูนย์อนาจการปกครองของรัชกาลที่ 5 จนใน พ.. 2473/2474 มีระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยของสังคมการเมืองหลายๆ แห่งทั้งในเอเชียและยุโรปในหลายช่วงเวลา ส่วนสคัญของความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่สูงขึ้นนี้ เกิดจากการจัดเก็บภาษีและการจัดสรรรายจ่ายของรัฐที่ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำในแนวตั้งระหว่างชนชั้นต่างๆ ผู้ปกครองใหม่หลัง พ.. 2475 จึงทการปฏิรูประบบภาษีและจัดสรรรายจ่ายทางการคลังไปในทิศทางที่ลดความเหลื่อมล้ำอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะยังไม่สามารถสรุปเชิงปริมาณได้ว่า การปฏิรูปการคลังนี้ช่วยลดระดับความเหลื่อมล้ำลงได้ในระดับใดก็ตาม

ในอีกด้านหนึ่ง การบุกเบิกพัฒนาที่ดินทั้งในเขตเมืองและชนบทของชนชั้นปกครองเก่า ทให้ความเหลื่อมล้ำทางด้านสินทรัพย์ระหว่างชนชั้นเพิ่มขึ้นสูงมาก และทให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชนชั้นปกครองเก่าผูกพันกับความเป็นเจ้าของที่ดินสูงยิ่ง เมื่อชนชั้นปกครองใหม่หลัง พ.. 2475 ต้องการกระจายการถือครองที่ดินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านสินทรัพย์ จึงต้องประสบกับการตอบโต้ทางการเมืองอย่างหนักหน่วง จนกระทั่งนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินไม่ประสบความสเร็จเลย

เมื่อถูกซ้ำเติมด้วยความขัดแย้งเรื่องอนาจในการจัดการทรัพย์สินของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเกือบทั้งหมดในขณะนั้นคือที่ดิน จึงทำให้การตอบโต้ทางการเมืองระหว่าง 2 ฝ่ายเข้มข้นมาก จนมีผลทให้ระบอบการปกครองแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยไม่สามารถลงหลักปักฐานได้ในสังคมไทยตั้งแต่ พ.. 2490 เป็นต้นมา

ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา : สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทย กับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน โดย อภิชาต สถิตนิรามัย, อิสร์กุล อุณหเกตุ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2564 ราคา 380 บาท


ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา :

สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทย กับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน

ชวนผู้อ่านย้อนกลับไปขุดรากประวัติศาสตร์ของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซึ่งสัมพันธ์กับการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย

จากยุค “ทำนาบนหลังคน” สู่การปฏิรูประบบเศรษฐกิจภายหลังการปฏิวัติ 2475 ที่มุ่งกระจายทรัพยากรให้แก่ประชาชน แต่ใช่ว่าความพยายามนี้จะบรรลุผลได้โดยง่าย เมื่อชนชั้นปกครองเก่ากำลังรอคอยจังหวะเวลาอันเหมาะสมที่จะทวงอำนาจและผลประโยชน์ที่สูญเสียไปกลับคืนมาอีกครั้ง


เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง

สุวรรณภูมิในอาเซียน : เศรษฐกิจการเมืองไทย ประชาธิปไตยไม่ลงหลักปักฐาน

เรือสินค้าจอดอยู่จำนวนมากในแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังสยามทำสนธิสัญญากับต่างประเทศในสมัย ร. 4

ถนนเจริญกรุงในสมัย ร.5 

ถนนเจิรญกรุงตัดกับถนนมหาไชยในสมัย ร. 5

ชาวสยาม (เมืองเพชรบุรี) สมัย ร.4 

ชาวสยาม (ค่ายหลวง บ้านหว้ากอ) สมัย ร. 4

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image