สุวรรณภูมิในอาเซียน : “ล่ามโซ่” อนาคตของชาติ “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี”

ล่ามโซ่” อนาคตของชาติ

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี”

ปรับปรุงจากหนังสือ ระบอบลวงตา

ของ สฤณี อาชวานันทกุล

Advertisement

การพูดว่าเรามี “ยุทธศาสตร์ชาติ” และ “แผนปฏิรูปประเทศ” ฟังดูเผินๆ ก็เหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่ในความเป็นจริงก็คือ กลไกเหล่านี้ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2560 ลังล่ามโซ่อนาคตของประเทศ

เราเป็นชาติที่มีเอกสารและกฎหมายชื่อยุทธศาสตร์ชาติ แต่เราเป็นชาติที่ไม่มียุทธศาสตร์ ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางยุทธศาสตร์ที่จะผูกมัดรัฐบาลและสังคมไทยยาวนานถึง 20 ปี และในอนาคต ถ้าหากเราได้รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากฝ่ายเดียวกันกับผู้ครองอนาจปัจจุบัน เมื่อนั้นก็เชื่อว่ากลไกทางกฎหมายก็จะกลายสภาพเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

เนื้อหา” ที่ล้าหลัง

Advertisement

ไมตัวชี้วัด 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ถึงวัดอะไรไม่ได้ และทไมผ่านไป 3 ปีถึงบรรลุได้แค่ 1 ใน 5 ของเป้าหมายปี 2565 ทั้งหมด คตอบก็คือ เพราะเป้าหมายจนวนมากกำกวม เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ ทหลายเรื่องมากเกินไปโดยไม่มีการกหนดลดับความสคัญก่อนหลังเชิงกลยุทธ์ (strategic priorities)

ลองคิดดูว่า ถ้ามีบริษัทแห่งหนึ่งออกมาประกาศว่า บริษัทมีเป้าหมายที่จะเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยมียุทธศาสตร์ 6 ด้าน แผนแม่บท 23 ประเด็น ครอบจักรวาลทุกเรื่องตั้งแต่การสนับสนุนให้พนักงานมีน้ำใจนักกีฬา ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม ไปจนถึงการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ

เราคงไม่เรียกบริษัทนี้ว่าเป็นบริษัทที่มียุทธศาสตร์ชัดเจน ยุทธศาสตร์ชาติก็เช่นกัน แนวทางในแผนแม่บทเต็มไปด้วยคกว้างๆ อย่าง พัฒนา บูรณาการ สร้างสรรค์ ส่งเสริม ยกระดับ กระตุ้น เพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงให้ทันสมัย

ฟาสซิสต์ทอะไรบ้างเมื่อได้อนาจรัฐมาแล้ว แพ็กซ์ตันเล่าอย่างน่าสนใจถึงความแตกต่างระหว่างระบอบมุสโสลินีกับระบอบฮิตเลอร์ ฟาสซิสต์เยอรมัน ใช้วิธีสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อทงานคู่ขนานไปกับกลไกเดิมของรัฐ ส่วนฟาสซิสต์อิตาลีอาศัยระบบราชการดั้งเดิม ปัญหาที่ทั้ง 2 กลุ่มเผชิญก็คือสมาชิกพรรคสายหัวรุนแรงที่ไม่อยากได้แค่ระบอบอนาจนิยมเหมือนในอดีต แต่อยาก “ปฏิวัติถึงรากถึงโคน” เพื่อรักษาอนาจของระบอบฟาสซิสต์ไว้ตลอดไป

นอกจากเนื้อหาของยุทธศาสตร์ชาติจะกว้างเกินไป ททุกเรื่องเกินไป ไม่มี strategic priorities หรือการจัดลดับความสคัญก่อนหลังแล้ว ยังเป็นการขยายรัฐราชการออกไปอย่างมหาศาล สร้างภาระหน้าที่ซ้ำซ้อนให้กับหน่วยงานรัฐจนวนมากที่มีภารกิจประจ

ยังไม่ต้องพูดว่า สิ่งที่กลังเกิดขึ้นในสังคมหลายอย่างกลังเดินสวนทางกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ

นอกจากยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทจะกว้างขวาง ไม่จัดอันดับความสคัญของประเด็น หลายเรื่องกหนดแนวทางกว้างๆ เป็นนามธรรมแล้ว ยังไม่พูดถึงเรื่องที่เห็นๆ อยู่ว่าสคัญและประชาชนจนวนมากเรียกร้อง

ยกตัวอย่าง ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท

พูดถึงการเพิ่มความพร้อมของกองทัพ แต่ไม่พูดถึงการปฏิรูปกองทัพ

พูดถึงประชาชนว่าต้องมีค่านิยมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต แต่ไม่พูดถึงการเพิ่มอนาจของประชาชนในการติดตามตรวจสอบรัฐ ด้วยหลักการ open data และ open government

พูดถึงการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ แต่ไม่พูดถึงการกระจายอนาจ

พูดถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่ไม่พูดถึงความสคัญของการสร้าง “สนามแข่งขันที่เท่าเทียม” (level playing field) และขจัดคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ซึ่งในยุคนี้ยกระดับเป็นสิ่งที่ตัวเองเรียกว่า “การฉ้อฉลเชิงอนาจ” เพราะไม่ได้แค่ใช้นโยบายเอื้อประโยชน์ แต่ใช้คสั่ง คสช. และการออกกฎหมายมาเอื้อประโยชน์

พูดมาถึงตรงนี้หลายท่านอาจคิดว่า ก็แน่นอนอยู่แล้ว ไม่มีใครหรอกที่หยั่งรู้อนาคตล่วงหน้าไป 20 ปีได้ แต่นั่นก็ยิ่งเป็นคถามว่า แล้วเราจะมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีไปทไม แถมสถานะที่เป็น “กฎหมาย” ก็ทให้มันไม่ยืดหยุ่นเป็นอย่างยิ่ง

นักวิชาการและผู้มีอิทธิพลทางความคิดจนวนไม่น้อยที่สนับสนุนรัฐประหาร 2557 พยายามอธิบายว่า คนไทยควร “อดทน” และ “ให้เวลา” กับ คสช. เพราะรัฐประหารครั้งนี้อาจนไปสู่ “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ตามที่หัวหน้า คสช. ควบตำแหน่งนายกฯ คนใหม่ได้เคย ลั่นวาจาไว้หลายครั้งหลายครา

ยุทธศาสตร์ชาติไม่ยืดหยุ่นอย่างไร อาจจะดูได้จากวิกฤตโควิด-19 ที่อยู่กับเรามาแล้วเป็นปี สร้างความเดือดร้อนเสียหายมากมายทั้งด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และสังคม ซ้ำเติมให้ความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น และจะส่งผลพวงไปอีกนาน ทุกประเทศต้องทบทวนทิศทางการพัฒนา หลายประเทศใช้โอกาสนี้เริ่มปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม ดเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น เพราะมองเห็นแล้วว่าโควิด-19 จะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ผลพวงจากการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนในอดีตจะชัดเจนและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ตอนที่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีออกมาปี 2561 แผนแม่บทออกปี 2562 ไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดวิกฤตโควิด-19 ในปีถัดมา แต่เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นแล้ว เราก็คงคิดว่ายุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บททั้งหมดนี้ต้องได้รับการทบทวน บางเรื่องอาจต้องยกเลิกไปเลย หรือรื้อใหม่ทใหม่

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แค่มีการออกแผนแม่บทขึ้นมาอีกหนึ่งแผน เรียกว่า “แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ อันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 .. 2564-2565” เนินการคู่ขนานไปกับแผนแม่บทเดิม 23 ประเด็น โดยไม่มีการแก้ไขยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บทเดิมแต่อย่างใด

วิธีการ” และ “ที่มา” อันสิ้นไร้ความชอบธรรม

ถึงตรงนี้ ควรย้ำอีกครั้งว่าเรามีเอกสารยุทธศาสตร์ชาติที่ไม่ได้ทให้ชาติมียุทธศาสตร์ มีตัวชี้วัด 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ที่เป็นนามธรรม วัดไม่ได้ มีค่าเป้าหมายปี 2565 กว่า 80% ที่ยังบรรลุไม่ได้ แถมในสถานการณ์ที่เราเจอวิกฤตโควิด-19 ก็ไม่รู้จะบรรลุได้กี่เปอร์เซ็นต์ภายในเวลาที่เหลืออีก 1 ปี 8 เดือน และวิกฤตครั้งใหญ่นี้ก็ไม่ได้กระตุ้นให้ไปทบทวนแผนแม่บทใดๆ เลย

ปัญหาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะคนเขียนยุทธศาสตร์ชาติไม่ต้องรับผิดชอบอะไร กรรมการยุทธศาสตร์ชาติมาจากการแต่งตั้งของ คสช. อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 63 ปี ส่วนใหญ่ในนี้คือ 19 จาก 34 คน เป็นทหารกับนักธุรกิจ มีตัวแทนจากภาคประชาสังคมเพียงคนเดียว

กรรมการยุทธศาสตร์ชาติไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งนั้นกับผลลัพธ์หรือเป้าหมาย ไม่ว่าเราจะบรรลุได้หรือไม่ได้ กรรมการหลายท่านคงไม่ได้มีชีวิตอยู่จนถึงปี 2580 จุดหมายปลายทางของยุทธศาสตร์ เพราะจากกรรมการทั้งหมด 34 คน เกินครึ่งหรือ 20 ท่าน ก็มีอายุเกิน 60 ปีแล้ว

หลายคนมีมายาคติเกี่ยวกับการพัฒนาว่า ประเทศไหนก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเป็นเอกเทศกับระบอบการเมืองพวกเขาเชื่อต่อไปด้วยว่าเมื่อประเทศพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ เมื่อนั้นประชาชนโดยรวมก็จะไม่หวงแหนสิทธิทางการเมือง หรือโหยหาประชาธิปไตยที่หายไป

แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถแยกการพัฒนาเศรษฐกิจออกจากสถาบันทางการเมืองได้เลย บ่อยครั้งด้วยซ้ำไปที่สถาบันทางการเมืองเป็นตัวกำหนดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ชาติเขียนโดยคนที่ คสช. แต่งตั้ง เขียนโดยใช้อนาจเผด็จการ ไม่มีความยึดโยงใดๆ กับประชาชน ประกาศใช้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง แต่มันมีสถานะเป็นกฎหมาย และวางกลไกที่จะผูกมัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งยาวนาน 20 ปี เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 หนดว่า การเสนองบประมาณรายจ่ายประจปี และการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยคณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหาร จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ส่วน พ... ยุทธศาสตร์ชาติก็กหนดว่า หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ด้วย

สรุปสั้นๆ ได้ว่า ยุทธศาสตร์ชาติที่มาจากอนาจเผด็จการจะสคัญกว่านโยบายของพรรคการเมืองที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามา

การพูดว่ายุทธศาสตร์ชาตินี้ “ล่ามโซ่” อนาคตของชาติ จึงไม่ใช่คกล่าวที่เกินจริงแต่อย่างใด

ความแย่ยังไม่จบอยู่เพียงเท่านี้

... ยุทธศาสตร์ชาติ มาตรา 25 และ 26 บอกว่า ถ้าหน่วยงานรัฐไม่แก้ไขปรับปรุงการทงานให้เป็นไปตามแผนแม่บท คณะกรรมการจัดทยุทธศาสตร์ชาติ (วันนี้มี 200 กว่าคน ครอบคลุม 6 ด้าน) ซึ่งเป็น “ชุดเล็ก” และ ส.. หรือ ส.. สามารถส่งเรื่องให้ ป... “เนินการกับหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ไม่ดเนินการหรือดเนินการไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือแผนแม่บท”

ในมาตรา 29 ของกฎหมายเดียวกันบอกว่า ในกรณีที่การดเนินการของหน่วยงานของรัฐไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ หรือแผนแม่บท อันเป็นผลจากมติ ครม. หรือเป็นการดเนินการของ ครม. โดยตรง วุฒิสภาชุดแรกสามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คณะกรรมการจัดทยุทธศาสตร์ชาติส่งเรื่องให้ ... เนินการในฐานทุจริตต่อหน้าที่

การตัดสินว่านโยบายประชานิยมนโยบายใด “ดี” หรือ “ไม่ดี” จึงต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น นโยบายนี้พุ่งไปที่คนจนจริงหรือไม่ ประโยชน์ตกถึงมือกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่เพียงใด บิดเบือนกลไกตลาดอย่างรุนแรงจนส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวหรือไม่ รัฐใช้เงินมือเติบจนส่งผลเสียต่อสถานะการคลังอย่างรุนแรงหรือไม่ ฯลฯ

การบัญญัติให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นกฎหมายและเขียนการบังคับใช้ไว้แบบนี้ ทให้เรายิ่งสับสน แยกแยะยากกว่าเดิม ระหว่างต้นทุนหรือความไม่แน่นอนของการดเนินนโยบาย ซึ่งเป็นเรื่องปกติกับการทุจริตคอร์รัปชั่น

ทั้งที่การไม่ดเนินการหรือดเนินการไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติเป็นคนละเรื่องกันอย่างสิ้นเชิงกับการทุจริต

เขียนแบบนี้นอกจากจะทให้ ป... มีอนาจทในสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่แล้ว ยังเปิดช่องให้มีการกลั่นแกล้งรัฐบาลหรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะรัฐบาลในอนาคตที่ไม่ได้สนับสนุน คสช.

พูดสั้นๆ ก็คือ หัวหน้าหน่วยงานของรัฐและ ครม. อาจถูกตีความว่ามีความผิด ทั้งที่ไม่ได้ทุจริตคอร์รัปชั่น แต่คนที่เขียนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทกลับไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น จะบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ได้ก็ไม่เป็นไร

ผลที่เกิดขึ้นก็คือ รัฐบาลในอนาคตที่มาจากการเลือกตั้งจะไม่มีอิสระในการดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงไว้ กลายเป็นว่าต้องรับผิด (accountable) ต่อกลไกที่มาจากอนาจเผด็จการ แทนที่จะรับผิดต่อประชาชนอย่างที่ควรเป็น

พูดมาถึงตรงนี้บางท่านอาจสงสัยว่า ถ้าไม่ทแบบนี้แล้วควรทแบบไหน เพราะการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ควรมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน แต่ก็ควรยืดหยุ่นพอที่จะปรับเปลี่ยนได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป

ตอบที่เรียบง่ายก็คือ เราควรกลับเข้าสู่ครรลองของระบอบประชาธิปไตย เปิดโอกาส เปิดพื้นที่ให้กับพรรคการเมืองและภาคส่วนอื่นๆ รวมทั้งประชาชน ได้มาเสนอประเด็นที่ตัวเองเห็นว่าสคัญ รวมถึงวาระการปฏิรูปในเรื่องต่างๆ

การอบรมเรื่อง IO เป็นเรื่องปกติในหลักสูตรทางทหารจริงอย่างที่กองทัพกล่าวอ้าง และการท IO ก็เป็นเรื่องปกติในภาวะ “สงคราม” ที่กองทัพต้องรบกับประเทศอื่นที่มองว่าเป็น “ศัตรู” ที่กลังคุกคามอธิปไตยของชาติ

แต่การท IO กับประชาชน ทสงครามจิตวิทยากับประชาชนไม่ใช่เรื่องปกติ แต่เป็นเรื่องเลวร้ายที่ผิดกฎหมาย และสังคมอารยะทุกแห่งล้วนแต่ยอมรับไม่ได้

เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทุกพรรคได้นเสนอ “สินค้า” ในตลาดนโยบาย ในรูปของนโยบายหาเสียง เปิดโอกาสให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ออกแบบและประกาศยุทธศาสตร์ในประเด็นที่ตัวเองชนะเลือกตั้งเข้ามา ซึ่งก็แปลว่าประชาชนจนวนมากให้การสนับสนุน

และแน่นอน เราต้องให้โอกาสรัฐบาลทพลาดด้วย เพราะนโยบายสาธารณะเป็นเรื่องซับซ้อน ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะเวลาที่รับมือกับปัญหาใหม่ๆ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ ปรับปรุงกันไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด

เราต้องแยกแยะการ “ทพลาด” ออกจากการ “ทผิด” ไม่อย่างนั้นก็ยากที่จะหาคนกล้าคิดกล้าทอะไรใหม่ๆ

เราต้องไม่ลืมว่า การปฏิรูปครั้งสคัญๆ ในอดีตหลายเรื่องเกิดจากนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองที่ต่อมาชนะเลือกตั้ง หรือการขับเคลื่อนของภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เรียนฟรี หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค

การ “ผูกขาด” นโยบายสาธารณะไปอีก 20 ปี ผ่านกลไกยุทธศาสตร์ชาติที่มีเนื้อหาคลุมเครือกว้างขวาง ให้อนาจ ส.. และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่มาจากอนาจเผด็จการนั้น นอกจากจะทให้ผู้มีอนาจไม่มีความรับผิด (accountability) ยังเป็นการ “ล่ามโซ่” การพัฒนาประเทศ สุ่มเสี่ยงที่จะถูกตีความเพื่อกลั่นแกล้งนักการเมือง “ฝ่ายตรงข้าม” ถ้าได้เป็นรัฐบาล และทให้นโยบายสาธารณะขาดความหลากหลาย ขาดความยืดหยุ่นที่จเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยและสังคมโลก

เรารู้อยู่ว่าโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว เต็มไปด้วยความผันผวนไม่แน่นอน ความสนใจและความต้องการของประชาชนก็ไม่ได้หยุดอยู่กับที่

ความเสี่ยงจนวนมากเป็นสิ่งที่เรียกว่า emergent risks หรือความเสี่ยงอุบัติใหม่ เราไม่ค่อยเข้าใจมัน แต่รู้ว่ามันจะสคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นความพร้อมที่จะปรับตัว การปรับเปลี่ยนแผนอยู่ตลอดเวลาจึงสคัญมาก

ในโลกแบบนี้ การตรายุทธศาสตร์ชาติเป็นกฎหมายซึ่งแก้ไขยากมาก ทั้งมีผลยาวนานถึง 20 ปี เท่ากับรัฐบาล 5 สมัย ผูกมัดให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐห้ามออกนอกลู่นอกทาง โดยมีบทลงโทษกกับ ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องอย่างแน่นอน

การกลับเข้าสู่ครรลองของระบอบประชาธิปไตยคุ้มครอง และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในตลาดนโยบาย จะเอื้อให้เกิดทางเลือกที่หลากหลายของนโยบายสาธารณะ จูงใจให้เกิดความรับผิด (accountability) เพราะประชาชนสามารถ “ลงโทษ” พรรคที่ทไม่ได้ตามที่หาเสียงไว้ ด้วยการไม่ลงคะแนนให้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะร่วมกันปลดโซ่ตรวนที่ชื่อ “ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” ออกจากอนาคตของประเทศ

ถึงเวลาแล้วที่เราจะทลายอุตสาหกรรมการปฏิรูปประเทศ อุตสาหกรรมของ “ผู้เชี่ยวชาญ” ไม่กี่ร้อยคนที่ผูกมัดรัฐบาลทั้งในปัจจุบันและอนาคตไปอีกสิบกว่าปี

ถึงเวลาแล้วที่เราจะฟื้นคืนตลาดการแข่งขันทางนโยบายระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ และตลาดการรณรงค์เรียกร้อง แลกเปลี่ยนถกเถียงของประชาชน

Behind the Illusion ระบอบลวงตา โดย สฤณี อาชวานันทกุล สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ราคา 360 บาท

ผู้เขียนเห็นว่าไม่มีเรื่องใดที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ก้าวไปข้างหน้า เท่ากับการช่วยกันอธิบายความเลวร้ายของระบอบอำนาจนิยม (ซึ่งผู้เขียนอธิบายในหนังสือเล่มนี้ว่า สมควรเรียกว่า “ฟาสซิสต์” ที่ครองอำนาจอยู่ปัจจุบัน ให้สังคมไทยบรรลุ “ฉันทามติ” ว่าระบอบนี้ไม่มีวันนำพาประเทศไปสู่ความเจริญได้ เนื่องจากมุ่งสืบทอดอำนาจของคนกลุ่มน้อยมากกว่ากระจายความเจริญให้กับคนทั้งประเทศ อีกทั้งยังมีโลกทัศน์และทัศนคติที่คับแคบและล้าหลังราวกับติดอยู่ในสมัยสงครามเย็นเมื่อครึ่งค่อนศตวรรษที่แล้ว

ไม่ว่าคนไทยแต่ละคนจะมีความคิดและความเชื่อแตกต่างกันเพียงใด ผู้เขียนเห็นว่า การถอดรื้อมายาคติและมองเห็นอันตรายของระบอบอำนาจนิยมก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการหาทางออกจากระบอบนี้”

สฤณี อาชวานันทกุล

Behind the Illusion ระบอบลวงตา โดย สฤณี อาชวานันทกุล ชวนผู้อ่านมองทะลุระบอบลวงตาอันพร่าเลือน บิดพลิ้ว และล่อหลอก เพ่งพินิจเข้าไปผ่านกรอบการเมือง ความยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำ และการฉ้อฉลเชิงอำนาจ หลังม่านหมอกอันลวงตา อาจเผยให้เห็นปีศาจจำแลงตัวสุดท้ายที่สิ้นท่ารอวันปราชัย

ในประเทศไทย บริษัทยิ่งมีอนาจตลาด ยิ่งไม่อยากออกไปแข่งในประเทศอื่น เพราะได้กำไรสบายๆ แล้วในประเทศตัวเองจาก Markup สูงๆ และยิ่งไม่ออกไปแข่ง ก็ไม่มีแรงจูงใจที่จะเพิ่มผลิตภาพหรือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ

ไม่มีเรื่องใดที่สคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ก้าวไปข้างหน้า เท่ากับการช่วยกันอธิบายความเลวร้ายของระบอบอนาจนิยมที่ครองอนาจอยู่ปัจจุบัน ให้สังคมไทยบรรลุ “ฉันทามติ” ว่า ระบอบนี้ไม่มีวันนพาประเทศไปสู่ความเจริญได้ เนื่องจากมุ่งสืบทอดอนาจของคนกลุ่มน้อยมากกว่ากระจายความเจริญให้กับคนทั้งประเทศ อีกทั้งยังมีโลกทัศน์และทัศนคติที่คับแคบและล้าหลังราวกับยังติดอยู่ในสมัยสงครามเย็นเมื่อครึ่งค่อนศตวรรษที่แล้ว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image