ไทย-จีน 3,000 ปีมาแล้ว ความสัมพันธ์ทางสังคม-การเมือง

ไทยจีน 3,000 ปีมาแล้ว

ความสัมพันธ์ทางสังคมการเมือง

สุจิตต์ วงษ์เทศ รายงาน

ไทยจีน ราว 3,000 ปีมาแล้ว มีความเป็นมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทางสังคมวัฒนธรรมและการเมืองตั้งแต่สมัยยังไม่มีประเทศไทยและยังไม่มีประเทศจีน โดยพบหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีของกลุ่มคนพูดภาษาไทยและกลุ่มคนพูดภาษาจีน ซึ่งมีทั้งสงครามความขัดแย้งและสันติภาพสนิทสนมกลมเกลียวซึ่งกันและกันสืบเนื่องจนปัจจุบัน

Advertisement

แต่สังคมไทยส่วนมากถูกครอบงำด้วย “เฟกนิวส์” อย่างน้อย 2 เรื่อง ที่ถูกสร้างโดยชนชั้นนำในรัฐราชการวมศูนย์ ได้แก่ ไทยรับวัฒนธรรมอินเดียก่อนรับวัฒนธรรมจีน และไทยจีนเกี่ยวข้องกันครั้งแรกเมื่อพ่อขุนรามคำแหงไปเมืองจีนราว 700 ปีมาแล้ว

เรื่องแรก ที่ว่าไทยรับวัฒนธรรมอินเดียก่อนรับวัฒนธรรมจีนล้วนเป็น “เฟกนิวส์” เพราะบรรพชน “ร้อยพ่อพันแม่” กลุ่มหนึ่งที่พูดภาษาไทยเก่าสุดตั้งถิ่นฐานทางภาคใต้ของจีนบริเวณลุ่มน้ำแยงซี พื้นที่ต่อเนื่องกับถิ่นฐานบรรพชนของจีนฮั่น ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปทางลุ่มน้ำฮวงโห ผู้คนทั้งหลายเหล่านั้นติดต่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันมากกว่า 3,000 ปีมาแล้ว นานมากก่อนรู้จักและรับวัฒนธรรมอินเดีย

เหตุที่งมงายว่าไทยรับวัฒนธรรมอินเดียก่อนรับวัฒนธรรมจีน เพราะวัฒนธรรมอินเดียได้รับการยกย่องจากสถาบันชั้นสูงและกลุ่มชนชั้นนำของไทย จึงทำให้ระบบการศึกษาเชิดชูวัฒนธรรมอินเดีย แล้วด้อยค่าวัฒนธรรมจีน แม้ทุกวันนี้สถาบันการศึกษาทางประวัติศาสตร์โบราณคดีก็ยังด้อยค่าวัฒนธรรมจีนเหมือนเดิม

Advertisement

(ซ้าย) พ่อขุนรามคำแหงไม่เคยไปเมืองจีน (อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ภาพจากเพจ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย) (ขวา) สังคโลก ผลิตโดยช่างจีนของเจ้านครอินทร์ กษัตริย์สุพรรณภูมิ (ไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหง)

เรื่องหลัง เชื่อกันสืบมาว่าความสัมพันธ์ไทยจีนเริ่มแรกที่พ่อขุนรามคำแหงไปเมืองจีนแล้วได้ช่างจีนทำสังคโลกที่กรุงสุโขทัยราว 700 ปีมาแล้ว ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วน “เฟกนิวส์”

กรุงสุโขทัยไม่เคยมีกษัตริย์เดินทางไปเมืองจีน ส่วนพ่อขุนรามคำแหงไม่เคยไปเมืองจีนและไม่เคยได้ช่างจีนทำเครื่องสังคโลกในแผ่นดินพ่อขุนรามคำแหง ดังนั้นความสัมพันธ์ไทยจีนจึงไม่ได้เริ่มต้นในแผ่นดินพ่อขุนรามคำแหงกรุงสุโขทัย ราว 700 ปีที่แล้ว

แต่ไทยจีนมีความสัมพันธ์เริ่มแรกเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยไม่มีไทย, ไม่มีกรุงสุโขทัย, และยังไม่มีจีน โดยพบ “หม้อสามขา” เป็นหลักฐานสำคัญอย่างยิ่ง

หม้อสามขา ภาชนะดินเผามี 3 ขา เป็นเครื่องเซ่นผีที่แสดงฐานะทางสังคมระดับชนชั้นนำของหัวหน้าเผ่าพันธุ์ที่ตายแล้วฝังไว้ (ในภาพ) หม้อสามขาอายุราว 3,000 ปีมาแล้ว พบที่บ้านเก่า ต. จรเข้เผือก อ. เมืองฯ จ. กาญจนบุรี จากการขุดค้นโดยคณะสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ ไทยเดนมาร์ก พ.. 2503-2505 จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จ. กาญจนบุรี (ภาพจากพิพิธภัณฑ์ฯ โดย นางสาวณุดา ปิ่นตัน)

หม้อสามขา” หลายพันปี เครื่องเซ่นผี มีต้นแบบจากจีน

หม้อสามขา” แสดงความสัมพันธ์ไทยจีนสมัยดั้งเดิมเริ่มแรกหลายพันปีมาแล้ว เพราะมีต้นแบบจากจีน คือภาชนะดินเผามี 3 ขา เป็นเครื่องเซ่นผีเพื่อแสดงฐานะทางสังคมของคนตายที่ฝังในหลุมดินซึ่งเกี่ยวข้องความเชื่อเรื่องขวัญทางศาสนาผี พบทั่วไปตั้งแต่ลุ่มน้ำฮวงโหในจีนจนถึงในไทย และคาบสมุทรมลายู

หม้อสามขา (อายุหลายพันปีมาแล้ว) พบครั้งแรกในจีน ถูกนักโบราณคดีจีนขุดพบในหลุมฝังศพ (จากหนังสือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ของ ชิน อยู่ดี กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2510 หน้า 42-47)

ส่วนในประเทศไทยพบครั้งแรกที่บ้านเก่า อ. เมืองฯ จ. กาญจนบุรี จากการขุดค้นในหลุมศพโดยคณะสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ไทยเดนมาร์ก (เมื่อ พ.. 2503-2505) หลังจากนั้นพบทั่วไปทาง จ. สุพรรณบุรี และอื่นๆ กระจายกว้างขวางในชุมชนดั้งเดิมบริเวณที่ราบเชิงเขาทางตะวันตกตั้งแต่ภาคเหนือของไทย แล้วแผ่ทอดยาวผ่านภาคกลางลงไปภาคใต้ตลอดคาบสมุทรมลายู

ลักษณะของหม้อสามขาเหล่านี้ตรงกับภาชนะดินเผามีสามขาอายุราว 3,000 ปีมาแล้วในวัฒนธรรมลุงชานของจีนบริเวณลุ่มน้ำฮวงโห (จีนเรียกวัฒนธรรมหลงซาน-Longshan culture) เป็นหลักฐานยืนยันว่ากลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ ในไทยกับในจีนเมื่อหลายพันปีมาแล้ว มีการติดต่อสังสรรค์สัมพันธ์กันตามเส้นทางการค้าตั้งแต่ลุ่มน้ำฮวงโห ผ่านลุ่มน้ำแยงซีบริเวณ “โซเมีย” (ซึ่งเป็นที่ราบในหุบเขาสูงทางตอนใต้ของจีน) ลงไปลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ต่อเนื่องถึงคาบสมุทรมลายู

หม้อสามขาเป็นเครื่องเซ่นผีเพื่อแสดงฐานะทางสังคมของคนตายผู้เป็นชนชั้นนำระดับหัวหน้าเผ่าพันธุ์ที่ฝังในหลุมดิน ดังนั้นเมื่อหัวหน้าเผ่าพันธุ์ตายก็เอาหม้อสามขาฝังรวมในหลุมฝังศพ เพื่อใช้งานในโลกต่างมิติตามความเชื่อเรื่องขวัญทางศาสนาผี

ไทยจีน 3,000 ปีมาแล้ว มีความสัมพันธ์ทางภาษาและวรรณกรรม

ภาษาและวรรณกรรมไทยมีรากฐานเริ่มแรกหลายพันปีมาแล้ว จากสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจการเมืองบริเวณโซเมีย (Zomia) หลังจากนั้นมีการแลกเปลี่ยนกับภาษาและวัฒนธรรมหลากหลายของพวกเยว์ทั้งในโซเมียและนอกโซเมีย แล้วเลือกสรรผสมผสานเข้าด้วยกันจนถึงสมัยหลังก็เกิดสิ่งใหม่เรียกภาษาไทยและวรรณกรรมไทย

โซเมีย เป็นชื่อดินแดนที่มีทิวเขาสลับซับซ้อนผืนใหญ่กลางทวีปเอเชีย บนดินแดนเทือกเขานี้มีที่ราบหุบเขากระจายอยู่ทั่วไปทั้งขนาดใหญ่และน้อยอันเป็นที่ตั้งของชุมชนเมือง ซึ่งบางแห่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐใหญ่อื่น บางแห่งเป็นอิสระในตัวเอง บางแห่งแม้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐใหญ่ในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติกลับมีอิสระปกครองและดำเนินความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านด้วยตนเอง [วิลเลม ฟาน สเคนเดิล (Willem van Schendel)ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม สมมติชื่อว่า Zomia สรุปจากคำอธิบายหลายแห่งของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เช่น จากหนังสือ ความไม่ไทยของคนไทย (.. 2559) และในเล่มอื่นๆ]

บริเวณที่ราบหุบเขาสูงทางตอนใต้ของจีน หรือทางใต้แม่น้ำแยงซี ซึ่งเป็นหลักแหล่งกว้างขวางของกลุ่มชนหลากหลายชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกรวมๆ อย่างเหยียดๆ ด้วยถ้อยคำของฮั่นจากจีน (ซึ่งมีหลักแหล่งอยู่ทางเหนือขึ้นไป) ว่าเป็นพวกป่าเถื่อนเรียก เยว่, ฮวน, หมาน เป็นต้น

เยว่ (ออกเสียงคล้ายเยวี่ย, เหวียด, เหยอะ, แหยะ, แย้ ฯลฯ) เป็นชื่อรวมๆ ที่จีนเรียกคนหลายชาติพันธุ์นับไม่ถ้วน (บางครั้งจีนเรียก “ไป่เยว่” หมายถึงเยว่ร้อยเผ่า, เยว่ร้อยจำพวก) ประกอบด้วยคนต่างภาษาที่พูดตระกูลภาษาต่างๆ ตามชื่อสมมติที่ถูกสร้างใหม่ ได้แก่ จีนทิเบต, พม่าทิเบต, ม้งเมี่ยน, มอญเขมร, ชวามลายู, ไทไต หรือ ไทกะได เป็นต้น

[เยว่ร้อยเผ่า หรือเยว่ร้อยจำพวก เป็นพวก “ไม่ฮั่น” พบหลักฐานสนับสนุนหลายอย่าง ได้แก่ เอกสาร, เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากทองสำริด, พิธีกรรมความเชื่อจากภาพเขียนบนเพิงผาและอื่นๆ แต่จำเพาะเอกสารจีนโบราณชื่อ “หมานซู” (แต่งเป็นภาษาจีน พ.. 1410) บอกเล่าว่าคนพื้นเมืองป่าเถื่อนหลายจำพวกซึ่งไม่ใช่ฮั่นอยู่ทางใต้ของจีนตั้งแต่ทางใต้แม่น้ำแยงซีถึงฝั่งทะเลสมุทร (จากหนังสือหมานซู จดหมายเหตุพวกหมาน ของ ฝันฉัว กรมศิลปากรให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนโบราณแปลเป็นภาษาไทย แล้วพิมพ์ครั้งแรก พ.. 2512) เท่ากับเป็นที่รู้กันนับพันปีแล้วว่าทางใต้ของจีนล้วน “ไม่ฮั่น” หมายถึงเป็นหลักแหล่งของคนหลายชาติพันธุ์ “ร้อยพ่อพันแม่” ซึ่งล้วนไม่ใช่จีน]

เซ่นกบขอฝนการละเล่นของชาวจ้วง พูดตระกูลภาษาไทไต ที่บ้านหนาหลี่ซุน อำเภอเทียนเอ๋อ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกวางสี บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (ภาพเมื่อ พ.. 2537)

ไทไต หรือ ไทกะได ชื่อสมมุติเรียกตระกูลภาษาซึ่งเป็นต้นตอหรือรากเหง้าภาษาไทย (ในประเทศไทยทุกวันนี้) มีข้อมูลเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

1. ตระกูลภาษาไทไต หรือ ไทกะได มีอายุเก่าสุดราว 3,000 ปีมาแล้ว

2. แหล่งเก่าสุดของตระกูลภาษาไทไต หรือ ไทกะได อยู่ในโซเมียทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีน บริเวณที่ปัจจุบันเป็นมณฑลกวางสีกวางตุ้ง กับทางเหนือของเวียดนาม (สมัยนั้นหลายพันปีมาแล้วเป็นพื้นที่เดียวกัน ยังไม่มีเส้นกั้นอาณาเขตแบ่งประเทศ) หลักแหล่งดั้งเดิมของจ้วงของจ้วงผู้ไท (จ้วงเป็นชื่อรวมของคนไทไตในกวางสี ส่วนผู้ไทเป็นชื่อรวมของคนไทไตในเวียดนาม)

3. ทางใต้ของมณฑลกวางสีกวางตุ้งในจีน กับทางเหนือของเวียดนามดั้งเดิมเป็นดินแดนเดียวกัน (ไม่มีจีนเวียดนาม) คนตั้งหลักแหล่งที่นั่นเป็นพวกถูกฮั่นเรียก เยว่ มีหลายชาติพันธุ์อยู่ปนกัน ได้แก่ คนพูดตระกูลภาษาม้งเมี่ยน, จีนทิเบต, ไทไต เป็นต้น โดยมีภาษาไทไตเป็นภาษากลางการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ครั้นต่อไปข้างหน้ามีการค้าระยะทางไกล ภาษาไทไตจะเป็นภาษากลางทางการค้าของดินแดนภายในภาคพื้นทวีปทางใต้ของจีน แล้วขยายลงไปถึงลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำสาละวิน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและคาบสมุทร

4. สมัยนั้นคนพูดภาษาตระกูลไทไตทางตอนใต้ของจีนบริเวณโซเมียไม่เรียกตนเองว่าไทย แต่เรียกตนเองตามชื่อทางวัฒนธรรมเป็นกลุ่มๆ ตามที่เลือกสรรกันเอง ได้แก่ ต้ง, จ้วง, นุง, สุ่ย, หลี, ปู้ยี, มู่หล่าว, เหมาหนาน, ผู้ไท เป็นต้น

ส่วนคำว่า ไท หรือ ไต แปลว่า คน หรือ ชาว เช่น ไทพวน แปลว่า คนพวน หรือ ชาวพวน, ไตลื้อ แปลว่า คนลื้อ หรือ ชาวลื้อ (ข้อมูลรายละเอียดมีอีกมากในหนังสือความเป็นมาของคำสยามฯ ของ จิตร ภูมิศักดิ์ โครงการตำราฯ พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2519) คำว่า ไต มีใช้ในภาษาเขมร พบในจารึกพิมาย แปลว่าคน แต่มีฐานะทางสังคมต่ำลงหมายถึงคนที่เป็นทาส

5. คนพูดตระกูลภาษาไทไตและคนหลากหลายชาติพันธุ์บริเวณโซเมียต่อไปข้างหน้าจะมีความเคลื่อนไหวโยกย้ายไปมาหลายทิศทางตามเส้นทางการค้าภายใน กระทั่งลงไปตั้งหลักแหล่งมีอำนาจทางภาษาและวัฒนธรรมอยู่ร่วมกับคนในตระกูลภาษาอื่นๆ เช่น ชวามลายู, มอญเขมร, ทิเบตพม่า เป็นต้น ครั้นนานไปได้กลายตนแล้วเรียกตนเองด้วยชื่อสมมุติใหม่ว่าไทย 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากจีน

ภาษาและวรรณกรรมที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วรับจากกลุ่มต่างๆ ในดินแดนจีนและจากจีนฮั่นโดยตรงเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ได้แก่ ภาษาไทย, แม่ปีลูกปี, สิบสองนักษัตร, แถน, ขวัญ, ปลาบู่ทอง ฯลฯ

แม่ปีลูกปี (ในล้านนา) ได้ต้นแบบจากปฏิทิน “กานจือ” ของจีน ราว 3,000 ปีมาแล้ว (คำอธิบายโดยสรุปของ เจีย แยนจอง นักปราชญ์จีนเรื่อง ไทไต)

แม่ปี หมายถึง ศก มี 10 ศก ได้แก่ กาบ, ดับ, ลวาย, เมิง, เปิด, กัด, กด, ลวง, เต่า, ก่า

ลูกปี หมายถึง นักษัตร มี 12 นักษัตร ได้แก่ ใจ้, เป้า, ยี่, เม้า, สี, ใส้, สง้า, เม็ด, สัน, เล้า, เส็ด, ไก๊ [ปีนักษัตรทางภาคกลาง เรียกชื่อปีด้วยคำจากหลายภาษา เช่น ชวด (ภาษาจีน), ขาล (ภาษาเขมร), จอ (ภาษากุย) เป็นต้น]

สิบสองนักษัตร ไทไตรับจากจีน นามปีมหาจักรของไทยในล้านนาตรงกับภาษาจีนโบราณ เช่น ล้านนา เรียก ปีกาบใจ้ ตรงกับจีนว่า กับจี้ (ภาคกลางเรียก ปีชวดเอกศก) ล้านนา เรียก ปีกัดเม้า ตรงกับจีนว่า กี่เม้า (ภาคกลางเรียก ปีเถาะฉศกเป็นต้น

จีนเปลี่ยนปีนักษัตรตอนปีใหม่จีน (ตรุษจีน) ส่วนไทยเปลี่ยนปีนักษัตรตอนปีใหม่ไทย คือ เดือนอ้าย หรือเดือนที่ 1 หลังลอยกระทง(แต่ถูกชนชั้นนำอำนาจรวมศูนย์ครอบงำว่าเปลี่ยนตอนสงกรานต์ ซึ่งเฟก)

สัตว์รอบวงในได้แก่สัตว์ประจำทิศทั้ง 4 คือ มังกร, หงส์, เสือ และเต่า ถัดออกมาคือสิบสองนักษัตร และวงนอกเป็นสัตว์ 28 ตัว

[ภาพบนคันฉ่องโลหะยุคราชวงศ์ถัง ค..618-905 (..1161-1448) จากหนังสือ สิบสองนักษัตร ของ ส.พลายน้อย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่สาม พ.. 2547 หน้า 2)]

แถน ได้จากภาษาจีนฮั่นว่าเทียน, เตียน ซึ่งแปลว่าฟ้า หมายถึงผู้เป็นใหญ่บนฟ้า คือผีฟ้า มีอำนาจเหนือธรรมชาติสูงสุดอยู่บนฟ้า บางทีเรียกเจ้าแห่งฟ้า หรือเจ้าฟ้า เป็นแหล่งรวมพลังขวัญของคนชั้นนำที่ตายแล้วของเผ่าพันธุ์ ถูกส่งขึ้นฟ้ารวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกับผีฟ้าเพื่อปกป้องคุ้มครองคนที่ยังไม่ตายอยู่ในชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ [บอกไว้ในหนังสือ พงศาวดารโยนก ของพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) เรียบเรียงเมื่อปลายแผ่นดิน ร.5 .. 2451]

ขวัญ ได้จากภาษาฮั่นว่าเฮวิ๋น, หวั๋น หมายถึงพลังอำนาจเหนือธรรมชาติที่ีมีในคน, สัตว์, พืช, สิ่งของ, อาคารสถานที่ ฯลฯ

ขวัญเป็นคำออกเสียงตามรับรู้ในภาษาไทยปัจจุบัน ซึ่งใกล้ชิดเป็นคำเดียวและความหมายเดียวกับภาษาฮั่นว่า หวั๋น (กวางตุ้ง) ฮุ้น (แต้จิ๋ว) น่าเชื่อว่าเป็นระบบความเชื่อร่วมกันมาแต่เดิม [มีคำอธิบายอยู่ในหนังสือหลายเล่ม ได้แก่ (1.) ไทยจีน ของพระยาอนุมานราชธน (พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2479) พิมพ์ครั้งที่สอง พ.. 2505 หน้า 93, (2.) บทความเรื่อง “พิธีกรรมหลังความตาย มีส่งขวัญคล้ายกันทั้งไทยและจีน” ในหนังสือ “คนไท” ไม่ใช่ “คนไทย” แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา โดย เจีย แยนจอง สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2548 หน้า 86]

ขวัญคือส่วนที่ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่เคลื่อนไหวได้ ลักษณะเป็นหน่วย มีหลายหน่วย แต่ละหน่วยสิงสู่อยู่กระจายตามส่วนต่างๆ ของคน, สัตว์, พืช, สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้, อาคารสถานที่ เป็นต้น ต่อมาคนตาย เพราะขวัญหายไม่อยู่กับเนื้อกับตัว หรือไม่อยู่กับมิ่งคือร่างกายอวัยวะของคน หรือกล่าวอีกอย่างว่าคนตาย ส่วนขวัญไม่ตาย แต่หายไปไหนไม่รู้? ถ้าเรียกขวัญคืนร่างได้คนก็ฟื้นคืนปกติ

[มีรายละเอียดอีกมากในหนังสือ ขวัญเอ๋ย ขวัญมาจากไหน? ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักพิมพ์นาตาแฮก (พิมพ์ครั้งแรก พ.. 2560) พิมพ์ครั้งที่สอง พ.. 2462]

ปลาบู่ทอง คำบอกเล่าเก่าแก่ของชาวจ้วง (พูดตระกูลภาษาไทไต) มณฑลกวางสี ทางใต้ของจีน แล้วแพร่กระจายหลายทิศทางกว้างไกล ทางหนึ่ง ไปตามเส้นทางการค้าดินแดนภายในจากทางใต้ของจีน เข้าถึงลุ่มน้ำโขง ลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา อีกทางหนึ่ง เข้าสู่ราชสำนักจีน พบหลักฐานเก่าสุดในหนังสือของจีน โดยต้วนเฉิงซี (ระหว่าง พ.. 1346-1406) แล้วแพร่หลายถึงยุโรป ถูกดัดแปลงเป็นเรื่องซินเดอเรลลา มีบันทึกโดยชาวอิตาลี พ.. 2180

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image