จับตาสถานการณ์(ชีวิต) ‘ตะวัน-แบม’ วันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมง กับความเคลื่อนไหวนอกเรือนจำ

 หากไม่มีเหตุการณ์พลิกผัน 

วันนี้ พุธที่ 25 มกราคม 2566 มีการนัดหมายคาร์ม็อบโดย 4 กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อคุ้นหู ได้แก่ ทะลุวัง, คนรุ่นใหม่นนทบุรี, โมกหลวงริมน้ำ และ 24 มิถุนาประชาธิปไตย 

เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปักหมุดเคลื่อนขบวนไปชุมนุมใหญ่หน้าศาลอาญา รัชดาภิเษก เพื่อปราศรัยสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องที่เสนอโดย ทานตะวัน ตัวตะลุนนท์ หรือตะวันและ อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือแบม’ 2 เยาวชนที่ประกาศถอนประกันตนเอง ก่อนอดอาหารน้ำ ตั้งแต่ 18 มกราคมที่ผ่านมา กระทั่งส่งผล

Advertisement
ทะลุฟ้า นัด ‘ยืนหยุดขัง’ หน้าหอศิลป์ 112 ชม. ‘ไผ่ ดาวดิน’ เป็นต้นเสียงร่วมตะโกน 3 ข้อเรียกร้องของ ‘ตะวัน-แบม’ อานนท์ นำภา อุ้มลูกร่วม

กระทบต่อร่างกายอย่างหนัก ถูกนำไปรักษาตัวที่ รพ.ราชทัณฑ์ โดยยืนยันไม่ยอมรับทั้งยาและน้ำเกลือ 

อัพเดตวันต่อวัน สถานการณ์ชีวิต’ 2 เยาวชน

อาทิตย์ที่ 22 มกราคม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า เมื่อเวลาตีหนึ่ง 43 นาที มีสายเรียกเข้าจากเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ขอให้ทนายเข้าพบ ตะวันและแบมในช่วงเช้า ก่อนพบว่าทั้ง 2 อยู่ในสภาพอิดโรย แบมอิดโรยกว่าตะวัน และเพิ่งเป็นลมในห้องน้ำ ทว่า ยังคงยืนยันปฏิเสธการรักษา การให้สารอาหารทางหลอดเลือด จนกว่า 3 ข้อเรียกร้องจะถูกตอบรับ 

Advertisement

นอกจากนี้ ยังแสดงความประสงค์ไม่มีความต้องการที่จะอยู่ที่โรงพยาบาลของราชทัณฑ์อีกต่อไปโดยให้เหตุผลว่ากังวลความปลอดภัย 

พวกเราเข้มแข็งมาก และมีกำลังใจที่ดีมาก และได้ยินเสียงพลุที่มีบุคคลมาจุดเพื่อให้กำลังใจทั้งสอง ขอบคุณทุกคน และให้กำลังใจทุกคนที่ต่อสู้อยู่ข้างนอก 

คือข้อความที่ตะวันและแบมฝากต่อสังคมผ่านทนายความ พร้อมชู 3 นิ้ว

ต่อมา 23 มกราคมตะวันเกิดหมดสติ ล้มศีรษะฟาดพื้นในห้องน้ำ แต่ยังคงปฏิเสธการรักษา ทั้ง 2 อิดโรย น้ำหนักลด 5-6 กิโลกรัม ซีด และทรงตัวลำบาก 

ปูน ธนพัฒน์ เยาวชนนักกิจกรรม เปลี่ยนตัวเลขชั่วโมงของการยืนหยุดขังโดยมีเป้าหมาย 112 ชม. (ภาพจากเพจทะลุฟ้า)

ทนายความที่เข้าเยี่ยมระบุว่า ตะวันอ่อนเพลียหมดสติในห้องน้ำและล้มจนศีรษะกระแทกพื้น โดย น..ทานตะวันปฏิเสธการรักษาด้วยการสแกนศีรษะ โดยอาการของทั้ง 2 คน คือ ปากซีด นอนหลับยาก และน้ำหนักลดถึง 5-6 กิโลกรัม และขณะพูดคุยกับทนายต้องใช้เจลเย็นประคบเพื่อให้รู้สึกตื่นตัวพูดคุยกับทนายได้ 

นอกจากนี้ ทั้ง 2 คนยังแสดงเจตจำนงว่าไม่อยากถูกบังคับให้อยู่ รพ.ราชทัณฑ์อีกต่อไป และต้องการให้พาตัวกลับไปที่ทัณฑสถานหญิงกลางหรือสถานรักษาพยาบาลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์เนื่องจากกังวลว่าข้อมูลที่ออกมาจาก รพ.ราชทัณฑ์จะไม่ตรงกับความเป็นจริง

ความตอนหนึ่ง ดังนี้ 

ทั้งสองปากแห้งมากจนขาวซีด อิดโรย นอนหลับยาก ตะวันน้ำหนักลดไปเกือบ 5 กก. ส่วนแบมลดไป 6 กก.แล้วระหว่างการสนทนา ทั้งสองนั่งทรงตัวลำบาก ต้องเอนพิงกันไปมาเพื่อให้นั่งอยู่ได้ ตะวันซบไหล่แบม ส่วนแบมเอาหัวซบหัวตะวันอีกที ตลอดการสนทนาทั้งสองจะใช้เจลประคบเย็นประคบตามหน้าผาก ต้นคอ ใบหน้า เพื่อให้รู้สึกตื่นตัวและพูดคุยกับทนายความได้ ทั้งนี้ ตะวันแบม ยังคงยืนยันอดอาหารน้ำต่อไป 

นำมาซึ่งบรรยากาศและสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง 

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ข้อถกเถียงในเชิงเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของตะวันและแบม ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในโลกออนไลน์ด้วยมุมมองและคอมเมนต์ที่แตกต่าง แม้ในฟากฝั่งหนุนประชาธิปไตยด้วยกันเอง 

เช่นเดียวกับการย้อนกลับมาก่อเกิดความเคลื่อนไหวบนท้องถนนอีกครั้ง โดยเฉพาะกิจกรรมยืนหยุดขังโดยหลากหลายกลุ่ม แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่าจำนวนคนและกระแสตอบรับแตกต่างจากที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด 

เพจ ‘ราษฎรเชียงราย’
ถ่ายทอดสดกิจกรรมยืนหยุดขังหน้าอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย

ทะลุฟ้านัด 01.12 . ยิงยาวยืนหยุดขังขีดเส้น 112 ชั่วโมง

22 มกราคม กลุ่มทะลุฟ้าเผยแพร่ประกาศด่วน นัดหมายทำกิจกรรมยืน หยุด ขัง 112 ชั่วโมงรวม 4 คืน หน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่เวลา 01.12 . ของวันที่ 22 มกราคม จนถึง 26 มกราคม เวลา 17.12 . บรรยากาศในช่วงกลางดึกสมาชิกกลุ่มทะลุฟ้า นำโดย ธนพัฒน์ กาเพ็ง หรือ ปูน และประชาชนจำนวนหนึ่ง ร่วมกันยืนหน้าหอศิลป์ กทม. ชู 3 นิ้ว เชิญชวนประชาชนให้ร่วมยืนเพื่อยืนยันข้อเรียกร้อง

ป้ายผ้ามีคนอดน้ำอดอาหารอยู่ในคุก #ยกเลิก112’ และทะลุฟ้า ยืนหยุดขัง 112 ชม. 4 วันรวดถูกแขวนบนสกายวอล์กเป็นฉากหลัง 

รุ่งขึ้น ความเข้มข้นเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่นเดียวกับจำนวนคนซึ่งส่วนหนึ่งร่วมห้อยป้าย และยืนอ่านหนังสือ รวมถึงติดป้ายผ้าเพิ่มเติมขณะที่คุณกินข้าวมี 2 คนอดข้าว ขณะที่คุณกินน้ำมี 2 คนอดน้ำและมีคนอดน้ำอดอาหารอยู่ในคุกมีการตั้งโต๊ะสำหรับยืมอ่านหนังสือฟรี โดยมีป้ายกระดาษระบุข้อความว่า Free Politic prisoners Stop violation of Human rights และ Read for the right to bail และหนังสือที่ให้ยืมอ่านมี อาทิ ฉากและชีวิต ของวัฒน์ วรรลยางกูร,  How to ต่อต้านทุนนิยมในศตวรรษที่ 21 เขียนโดย Erik Olin Wright แปลโดย พงษ์ประภัสสร์ แสงสุริยง และคาร์ล มากซ์ แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ และอีกมากมาย 

ปูน ทะลุฟ้าให้สัมภาษณ์เมื่อกิจกรรมดำเนินไปเป็นเวลา 12 ชั่วโมงว่า ขอให้โลกออนไลน์ช่วยกันกระจายข่าว ว่าตอนนี้มีเด็ก 2 คนอดอาหารอยู่ในเรือนจำ แม้ไม่ได้ลงถนนเหมือนก่อน แต่อย่างน้อยได้แสดงจุดยืนสนับสนุนข้อเรียกร้องของเพื่อนที่ยังอยู้ในเรือนจำ 

เรามายืนหยุดขังเพื่อที่จะสื่อสารให้ทุกคนได้รู้ว่าตอนนี้มีเพื่อนของเรา 2 คน กำลังอดน้ำและอดข้าวอยู่ในเรือนจำ รูปแบบกิจกรรมเป็นการยืนแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบ 112 ชั่วโมง เพื่อที่จะสื่อสารสังคม สื่อสารประเด็นนี้ไปให้สังคมรับรู้มากที่สุด เพราะเวลาที่คนเดินผ่านไปผ่านมาแถวนี้ เขาหยิบมือถือขึ้นมาอ่าน หรือว่าเขาอ่านป้ายผ้าที่เราเขียน อย่างน้อยได้รับรู้แล้วว่ามี 2 คน กำลังอดอาหารอยู่ และสิ่งที่รัฐไทยกำลังทำอยู่คืออะไร 

กลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอกอีสาน อดอาหาร 8 ชั่วโมงคู่ขนาน ตะวัน-แบม ที่บึงสีฐาน ม.ขอนแก่น (ภาพจากศูนย์ทนายฯ)

เรารู้สึกว่าอยากออกมาต่อสู้เคียงข้างพวกเขา อย่างน้อยในกระแสและสถานการณ์ที่เงียบตอนนี้อาจจะทำอะไรมากไม่ได้ ดังนั้น การยืนเฉยๆ การยืนแล้วมีป้ายบอกว่าปล่อยเพื่อนเรา ปล่อยนักโทษทางการเมืองทุกคน ทำให้คนข้างนอกก็ยังต่อสู้เคียงข้างคนข้างใน อาจจะไม่ได้ลงถนนเหมือนเมื่อก่อน แต่อย่างน้อยเราก็แสดงจุดยืนว่าเพื่อนเรายังติดอยู่ข้างใน และเราก็จะสนับสนุนข้อเรียกร้องของเพื่อนเราปูน ธนพัฒน์กล่าว โดยย้ำว่า ขออย่านิ่งเฉย 

อย่านิ่งเฉย อะไรที่เราทำได้ก็ทำ เรามีสื่อ เรามีโซเชียลในมือก็อยากหยิบขึ้นมาให้เป็นประโยชน์ ตอนนี้เพื่อนก็ยังสู้อยู่ข้างใน เราแค่ยืน ถ้าพูดง่ายๆ แต่เพื่อนเราคืออดอาหารอยู่ บางครั้งเราเหนื่อยยังได้กลับบ้านได้ ดื่มน้ำ แต่เพื่อนของเรายังอยู่ในคุกในเรือนจำ สูญเสียอิสรภาพ นับไม่ได้เลยกับอะไรที่เขาเจอมาบ้าง แล้วเราก็อยู่ข้างนอก 

บางครั้งเราอาจจะเหนื่อยและท้อบ้าง แต่อย่างน้อยก็มีคนที่หนักกว่าเราอยู่ เราก็รู้สึกว่าอะไรที่ทำให้เพื่อนได้ในตอนนี้ อะไรที่สื่อสารให้เพื่อนได้มากที่สุดก็อยากทำให้เขา เป้าหมายเรายืนยันว่า เราจะยืน 112 ชั่วโมง จะมาสื่อสาร 112 ชั่วโมง เพื่อให้สังคมได้รับรู้ 

คนรุ่นใหม่แหลมคม ยอมเอาชีวิตแลก

หนึ่งในผู้เข้าร่วมยืนหยุดขังกับกลุ่มทะลุฟ้า คือ อานนท์ นำภา ทนายความพ่อลูกอ่อน ซึ่งพาลูกๆ และภรรยามาร่วมด้วย  

อานนท์เผยว่า อยากให้สังคมกลับไปดูข้อเรียกร้องของเยาวชนทั้ง 2 ราย วันนี้เดินทางมาพร้อมครอบครัวเพื่อยืนยันว่าการแสดงออกเป็นเสรีภาพ จึงอยากให้เป็นเรื่องปกติ

อย่างเราพาครอบครัวมาเดินเล่นมาบุญครอง ก็มายืน ส่วนตัวเองก็มา อย่าให้เป็นเรื่องบีบคั้นที่ถึงขนาดต้องมา สะดวกก็มา ไม่สะดวกก็เคลื่อนไหวในโซเชียลก็ได้ สำหรับกลุ่มทะลุฟ้าเขาแน่อยู่แล้วในเรื่องการทำกิจกรรม และการยืนบนเส้นของสันติวิธี ก็อยากให้ทุกคนแสดงออกทางการเมืองด้วยความสงบสันติ และแสดงให้เห็นว่าการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่นั้นแหลมคม และยอมที่จะเอาชีวิตเข้าแลก

3 ข้อเรียกร้องนี้ต้องถูกขานรับ และทั้งพรรคการเมืองและคนที่อยู่ในสังคมของการเมือง เพราะ 3 ข้อนี้เป็นขั้นพื้นฐานของระบบประชาธิปไตยจริงๆ ถ้าเราจะสู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การปล่อยนักโทษการเมือง หรือการยกเลิก ม.112 ต้องช่วยกันพูดถึงข้อเรียกร้องนี้ และจากการให้เป็นนโยบาย เป็นวาระของชาติอานนท์กล่าว 

ป้ายผ้าย้ำเตือนว่ามี 2 เยาวชน
อดอาหาร-น้ำสู้อยู่ในคุก

ก่อนหน้านั้น เจ้าตัวยังโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่าการกระทำของตะวันและแบม กล้าหาญมาก โดยยอมรับว่าไม่มีความกล้าเท่าเยาวชนทั้ง 2

เอาจริงก็มีแค่ทางนี้ทางเดียวที่ทำให้คนหันกลับมาสนใจปัญหาในกระบวนการยุติธรรมไทย สนใจรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมือง และยกเลิกกฎหมาย 112 ในวงกว้างขนาดนี้ ไม่มีทางอื่นที่จะสร้างอิมแพคได้ขนาดนี้

เมื่อไม่มีใครกล้าทำ ตะวันกับแบม จึงเป็นคนที่กล้าหาญ และเสียสละมากๆ การอดข้าวอดน้ำโดยไม่สนใจชีวิตตนเอง ผมยอมรับตรงๆ ว่าผมก็ไม่กล้าหาญขนาดน้องทั้งสองคน ผมได้แต่ภาวนา และลงมือลงแรง ลุกขึ้นยืน เพื่อสานต่อข้อเรียกร้องของทั้งสอง และหวังว่าวิกฤตทางร่างกายของการอดข้าวอดอาหารจะผ่านพ้นไปด้วยว่า คนทั้งสังคมช่วยกันพูดและทำให้ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อถูกขานรับ ก่อนที่ทั้งสองจะเสียชีวิตอานนท์ระบุในโพสต์ 

ศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล ร่วมยืนหยุดขังเฟส 3 วันที่ 227 หน้าศาลฎีกา (ภาพจากเพจ พลเมืองโต้กลับ)

เยาวชนขอนแก่น ร่วมอดอาหารคู่ขนานตะวันแบม

สำหรับบรรยากาศหน้า ศาลฎีกา ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ ซึ่งกลุ่มพลเมืองโต้กลับจัดกิจกรรมยืนหยุดขังเฟส 3 เป็นเวลา 112 นาทีต่อเนื่องมานานเกือบ 230 วันแล้วนั้น ครั้นมีกรณี ตะวันแบม ก็มีผู้เข้าร่วมหนาตาขึ้นกว่าเก่า โดยมีการนำป้ายรูปเยาวชนทั้ง 2 ราย พร้อมข้อความเรียกร้องสิทธิประกันตัวทั้งภาษาไทย และอังกฤษ แขวนคอ 

นอกจากประชาชน นักกิจกรรม นักต่อสู้เคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว บางวันนักวิชาการชื่อดังหลายราย ยังเข้าร่วมด้วย อาทิ ศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซินแมดิสัน สหรัฐอเมริกา และ ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นต้น รวมถึงกลุ่ม OctDem ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนเดือนตุลา ประกาศขอเป็นไทยไม่เฉยร่วมยืน หยุด ขัง ที่หน้าศาลฎีกาในวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อแสดงจุดยืนว่าจะเคลื่อนไหวหนุนช่วยเจตนารมณ์ของ ตะวันแบม ที่ยอมนำอิสรภาพของตนเองเป็นคบเพลิงเปิดโปงความอยุติธรรม 

ไม่เพียงในกรุงเทพมหานคร แต่ยังเกิดความเคลื่อนไหวในกลุ่มเยาวชนในจังหวัดต่างๆ อาทิกลุ่มเฟมินิสต์ปลดแอกอีสานร่วมอดอาหารเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ที่บึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเรียกร้องให้คืนสิทธิการประกันตัว แก่นักกิจกรรมทางการเมือง คู่ขนานไปกับการอดอาหารและน้ำของตะวันและแบมระหว่างถูกคุมขัง 

ยังไม่นับ กรณีที่กลุ่ม We Volunteers หรือวีโว่เดินสายยื่นหนังสือสถานทูตต่างๆ ได้แก่ สถานทูตฝรั่งเศส มาเลเซีย แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย ชิลี และเกาหลีใต้ เนื้อหาระบุถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังการประชุมเอเปค 2022 รวมถึงการที่นักกิจกรรมโดนเพิกถอนการประกันตัว จากการเข้าร่วมชุมนุมเอเปค โดยเรียกร้องให้ผู้นำและผู้เข้าร่วมการประชุมเอเปคแต่ละประเทศ ไม่นิ่งเฉยและปล่อยให้รัฐไทยละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน

เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวในช่วงเวลาที่ต้องจับตาสถานการณ์แบบวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมงของ 2 เยาวชนตะวันแบมที่ยอมแลกชีวิตสู้เพื่ออุดมการณ์ที่ตนวาดหวังอย่างไม่หวั่นไหว

ทีมข่าวเฉพาะกิจ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image