คอลัมน์ นอกลู่ในทาง : “คาร์พูล”ยุคดิจิทัล

แฟ้มภาพ

คอนเซ็ปต์ “คาร์พูล” (Car pool) หรือการใช้รถร่วมกันในกรณีเดินทางไปทางเดียวกันหรือเส้นทางใกล้เคียงกัน ไม่ใช่เรื่องใหม่?ในบ้านเราเมื่อสิบกว่าปีก่อนก็เคยมีการโปรโมตแนวคิดนี้เป็นเรื่องเป็นราวอยู่พักใหญ่?เพราะมีประโยชน์หลายด้านด้วยกัน?ทั้งประหยัดน้ำมัน, ช่วยแก้ปัญหาการจราจร, ลดการสึกหรอในรถยนต์ได้ในกรณีที่มีการสลับกันนำรถออกมาใช้ เรื่อยไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ในละแวกบ้าน หรือในที่ทำงาน เป็นต้น

แม้จะเป็นคอนเซ็ปต์ที่ดีมากแต่จะทำให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นกิจจะลักษณะก็ไม่ง่าย มักจะทำกันเป็นรายสะดวกมากกว่า เช่น ชวนเพื่อนร่วมงานนั่งรถไปด้วยกันเมื่อรู้ว่าต้องไปทางเดียวกัน เป็นต้น

จะว่าไป “คาร์พูล” น่าจะเป็นต้นทางของไอเดียของรูปแบบธุรกิจ?”แชร์ริ่ง อีโคโนมี” (Sharing Economy) ที่กำลังอินเทรนด์สุดสุดในยุคสมัยปัจจุบัน?

ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งปัน “บ้าน” ให้เป็นที่พัก ทั้งบ้านที่มีเจ้าของบ้านอยู่ด้วย และบ้าน

Advertisement

ว่างๆ?ซึ่งกำลังเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นักเดินทางอย่าง “airbnp.com” เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าไปพักตามโรงแรม?เช่นกันกับในกรณีของ?Uber และ Grap ที่มีให้บริการแล้วในบ้านเรา?

“แกร็บ” (Grap) หนึ่งในผู้ให้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอพพลิเคชั่น เพิ่งฉลองการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ในการให้บริการในประเทศไทยด้วยการเปิดตัวบริการใหม่ ในชื่อ “แกร็บฮิทช์” (GrapHitch) หรือบริการ “ทางเดียวไปด้วยกัน”

คงไม่ผิดถ้าจะบอกว่า?”แกร็บฮิทช์” คือ “คาร์พูลยุคดิจิทัล” ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมายกระดับ “คาร์พูล” แบบดั้งเดิมให้สะดวกขึ้น

Advertisement

จากคาร์พูลลิ่งธรรมดาๆ มาสู่ “โซเชียลคาร์พูลลิ่ง”

“แกร็บฮิทช์” เป็นบริการที่ 5 ในครอบครัว

แกร็บที่ให้บริการในบ้านเรา นอกเหนือไปจาก”แกร็บแท็กซี่” บริการเรียกรถแท็กซี่ (GrabTaxi), “แกร็บคาร์” (GrabCar) บริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคล, “แกร็บไบค์” (GrabBike) บริการเรียกรถจักรยานยนต์รับจ้าง และ “แกร็บเอ็กซเพรส” (GrabExpress) บริการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ??

แต่ “แกร็บฮิทช์” มีความแตกต่างไปจากบริการอื่นๆ ของแกร็บตรงที่ไม่ได้มุ่งหวัง “รายได้” ถือเป็นบริการเพื่อสังคม โดยอัตราค่าบริการ “50 บาท” ต่อเส้นทางต่อคนนั้น ผู้โดยสารจะจ่ายให้กับคนขับรถ ซึ่งเป็นเจ้าของรถทั้งหมด?

“วีร์ จารุนันท์ศิริ” ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ และกิจการสาธารณะ บริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด เล่าถึงที่มาที่ไปว่าเกิดจากความต้องการที่จะนำความสามารถด้านเทคโนโลยีมาช่วยลดปัญหาด้านการขนส่งสาธารณะได้มาก โดยแกร็บฮิทช์เป็นบริการที่เอื้อให้ผู้ขับรถที่มีที่โดยสารเหลือในรถสามารถเลือกรับส่งผู้โดยสารรายอื่นที่จะไปในเส้นทางเดียวกัน และต้องการบริการราคาประหยัดได้ ถือเป็นการนำความสามารถของเทคโนโลยีที่มีมาเพิ่มทางเลือกในการเดินทางให้ผู้บริโภค?

“คนกรุงเทพฯที่ต้องใช้บริการขนส่งมวลชนในการเดินทาง มักนิยมใช้บริการถไฟฟ้า, รถไฟใต้ดิน และรถประจำทาง ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน โดยมีแกร็บฮิทช์เป็นอีกทางเลือกในการเดินทางสำหรับผู้บริโภค?โดยสามารถจองล่วงหน้าได้ตั้งแต่ 15 นาที-7 วัน เลือกวัน, เวลา และเพศคนขับรถได้เอง เช่นเดียวกันคนขับที่สามารถเลือกผู้โดยสารได้?คอนเซ็ปต์คาร์พูล

ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สิ่งที่เราทำคือนำเทคโนโลยีที่มีมาใช้ประโยชน์”

แม้ไม่ได้มุ่งหวัง “รายได้” แต่ในมุมของการให้บริการที่ครอบคลุมความต้องการของ

ผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม?”แกร็บฮิทช์” จะเป็นบริการที่เข้ามาอุดช่องว่างในตลาดประเทศไทย โดยนำเสนอบริการที่มีราคาค่าโดยสารอยู่ระหว่างแท็กซี่และบริการขนส่งมวลชน เช่น รถประจำทาง รถไฟ และรถตู้?

ไม่ใช่แค่เพิ่มทางเลือกใหม่?ถ้าได้รับความนิยมแพร่หลายจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯที่ได้ชื่อว่าเมืองรถติดอันดับโลกได้ด้วยไม่มากก็น้อย จากที่ทุกวันนี้ต้องรองรับรถยนต์ส่วนบุคคลมากกว่า 4 ล้านคัน/วัน?และเกินครึ่งมีผู้โดยสารไม่เต็มคัน

“นอกจากลดความหนาแน่นของผู้ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ ลดปัญหาการจราจรติดขัดแล้วยังช่วยภาระค่าใช้จ่ายให้ทั้งผู้โดยสารและเจ้าของรถได้ด้วยการแชร์ค่าใช้จ่ายในการ

เดินทาง”

ในช่วงเปิดตัวบริการใหม่ “แกร็บ” จัดโปรโมชั่นเพื่อโปรโมต “แกร็บฮิทช์” ได้เร้าใจไม่แพ้บริการอื่นๆ ที่มีแคมเปญกระตุ้นการใช้งานอย่างต่อเนื่อง โดยโปรโมตทั้งในส่วนของคนขับหรือเจ้าของรถ และผู้โดยสารพร้อมกันได้ เช่น มีโปรโมชั่น

“รับ 1 คนขึ้นรถ คนขับรับเลย 100 บาท” ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2559?เช่นกันกับฟากผู้โดยสารมีโปรโมชั่น นั่ง “ฟรี” เมื่อใส่รหัส “GHFREE” โดยใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2559

“แกร็บ” ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสตาร์ตอัพ

ดาวรุ่งพุ่งแรงแห่งเอเชีย?ในฐานะที่มีทุนสูงเกินพันล้านเหรียญสหรัฐแล้ว หลังการระดมทุนรอบล่าสุดได้เงินมาอีก 750 ล้านเหรียญสหรัฐ?ซึ่งการเพิ่มทุนรอบใหม่ ทุนส่วนใหญ่ได้มาจาก “ซอฟต์แบงก์” บริษัทไอทีสื่อสารยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น

ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมใน 36 เมือง ใน 6 ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเวียดนาม, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

มีสมาชิกผู้ขับขี่มากกว่า 5 แสนคนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีส่วนแบ่งตลาด 95% ของแอพพลิเคชั่นสำหรับเรียกรถแท็กซี่ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน และมีส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มบริการเรียกรถโดยสารส่วนบุคคลมากกว่า 50%?

ในประเทศไทย จากจุดเริ่มต้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว วันนี้ “แกร็บ”?ให้บริการครอบคลุม 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, เชียงราย, ชลบุรี (พัทยา), ขอนแก่น, ภูเก็ต และอุบลราชธานี?มีสมาชิกผู้ขับขี่เพิ่มขึ้น 6 เท่า ขณะที่การใช้บริการมีอัตราเติบโตถึง 17 เท่า รวมกันทุกบริการ

ที่น่าสนใจคือ ลูกค้าส่วนใหญ่จะใช้บริการมากกว่า 1 อย่าง

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของ “แชร์ริ่ง อีโคโนมี” ที่เข้ามาพลิกโฉมธุรกิจยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image