24 มิถุนายน 2475 ต้นทางแห่งภารกิจประชาธิปไตย

ตั้ งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา กิจกรรมในเดือนมิถุนายนในปีต่อมาก็ต้องมีรายการเพิ่มอีกอย่าง คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย ในอดีตมีงานฉลองรัฐธรรมนูญ, งานวันชาติ 24 มิถุนายน ฯลฯ ปัจจุบันงานเฉลิมฉลองดังกล่าวเปลี่ยนเป็นเวทีเสวนา, บทความ, สารคดี ฯลฯ 

สำหรับ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมิถุนายน 2566 มีบทความอันเนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาให้อ่านแบบจุกๆ กับข้อมูลที่ไม่ค่อยเป็นที่กล่าวถึง

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
นายกรัฐมนตรีคนแรกในระบอบประชาธิปไตย

หนึ่งคือ “‘อโหสิโลหิตหยดแรกประชาธิปไตยไทย ของ นริศ จรัสจรรยาวงศ์ กับเรื่องราวของเช้ามืดวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ที่บ้านพักของ พระยาเสนาสงคราม (...อี๋ นพวงศ์) จุดปะทะจุดเดียวที่เกิดเลือดตกยางออกในการปฏิวัติครั้งนี้ 

ขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีธนากร) ผู้ลั่นไกใส่พระยาเสนาสงคราม บันทึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นไว้ในเลือดหยดแรกของประชาธิปไตยว่าการปฏิวัติเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 เวลา 04.45 . ข้าพเจ้าได้ทำอะไรบ้าง ข้าพเจ้าจะได้บรรยายฉะเพาะจุดของข้าพเจ้าซึ่งได้รับมอบหมายเท่านั้น จุดของข้าพเจ้าคือ การคุมตัว พล..พระยาเสนาสงคราม ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ บ้านท่านนายพลอยู่ที่ถนนนครชัยศรี แต่ต้องเดินเข้าตรอกไปประมาณ 150 เมตร

Advertisement

เวลา 07.00 . …ตรงประตูบ้านท่านนายพลควบคุมคนขับรถยนต์รับจ้าง ซึ่งเราได้จ้างไว้เพื่อใช้เป็นรถนำ พล..พระยาเสนาสงครามไปพระที่นั่งอนันตสมาคมถึงเวลาประมาณ 8 . การสนทนาต้องหยุดลงทันที เนื่องจากพวกเราได้ยินเสียงฝีเท้านายทหารได้ให้ฉายาท่านนายพลว่าตัวเล็กเดินดัง 

ข้าพเจ้าจำเสียงได้จึงรีบผละออกจากวงสนทนาสาวเท้าไปยังประตูบ้านท่านนายพล แต่ข้าพเจ้ายังเดินไปไม่ถึงประตูบ้าน ท่านนายพลก็เดินผ่านประตูออกมา 3-4 ก้าวแล้ว ข้าพเจ้าจึงหยุดชิดเท้าแล้วยกมือขวาขึ้นกระทำวันทยาหัตถ์เพื่อจะรายงานเชิญตัว การกระทำวันทยาหัตถ์ของข้าพเจ้ายังไม่สมบูรณ์ กล่าวคือนิ้วมือของข้าพเจ้ายังไม่ทันจดกระบังหมวก และปากก็ยังมิได้ทันอ้าที่จะกล่าวรายงานแต่อย่างใด ทันใดนั้นคนเฝ้าประตูก็ตีท่านนายพลด้วยพานท้ายปืน ข้าพเจ้าไม่มีโอกาสรายงาน ได้แต่ยืนตกตลึงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง สังเกตท่านนายพลก็ยังมิได้ยกมือรับคำนับของข้าพเจ้า แต่ตัวท่านก็เซถอยหลัง สังเกตได้ว่าจะกลับเข้าไปในบ้าน 

Advertisement
ขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีธนากร)

ขณะเดียวกันนี้ คนใช้ในบ้านท่านนายพลได้แลเห็นเหตุการณ์ตลอด จึงรีบวิ่งลงมาพร้อมด้วยปืนยาวพวกเราบางคนก็เริ่มปล่อยกระสุนปืนพกไปต้องตัวท่านนายพล ท่านนายพลก็ล้มลง เสียงปืนได้ดังขึ้น 2-3 นัดซ้อนๆ กัน เมื่อท่านนายพลล้มลงแล้วข้าพเจ้าคิดว่าท่านนายพลจะต้องถูกบาดเจ็บอย่างสาหัสข้าพเจ้ามิได้สั่งยิง เสียงได้ดังมาทางหลังทางขวาของข้าพเจ้า และเสียงปืนนั้นดังมาทาง ขุนจำนงภูมิเวทแต่ใครจะยิงก่อนใครข้าพเจ้าไม่ทราบ

อย่างไรก็ดีข้าพเจ้าก็ได้ยกปืนขึ้นเล็งที่หลังของท่านนายพล (ไม่ได้เล็งศีร์ษะ) แล้วปล่อยกระสุนไป 1 นัด เป็นนัดเดียวและนัดสุดท้ายของพวกเราทั้ง 7 คน ก่อนที่พวกเราจะเดินทางไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคมคนที่ตีศีร์ษะท่านนายพลเขาผู้นั้นคือ นายจ้อย โอปลัก…”

หลังจากนั้นอีกราว 22 ปี พระยาเสนาสงครามผู้ถูกยิง กับขุนศรีศรากรผู้ยิงได้พบกันอีกครั้ง ทั้งสองคุยอะไรกัน? 

หนึ่งคือกาพย์สยามใหม่ ของเจ้าคณะหมวดทองดำ วัดรังษีโสภณระบอบใหม่ ในวรรณกรรมวัดของ บาหยัน อิ่มสำราญ ที่ทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ มิได้จำกัดขอบเขตอยู่เพียงการเมืองปกครองเท่านั้น การตื่นตัวเรื่องสิทธิและเสรีภาพ แทรกซึมไปยังวงการต่างๆ รวมทั้งแวดวงของสงฆ์ ดังตัวอย่างของเจ้าคณะหมวดทองดำ

พระยาเสนาสงคราม (ม.ร.ว.อี๋ นพวงศ์)

เจ้าคณะหมวดทองดำนิติสาโร (..2437-2479) เป็นชาวบ้านหนองม่วง ตำบลใหญ่ลาว อำเภอวังกระโจม จังหวัดนครนายก เกิดเมื่อปี 2437 เคยรับราชการตำรวจและได้รับยศเป็นนายสิบตำรวจ เมื่ออายุ 24 ปี ภายหลังออกจากราชการและอุปสมบทที่วัดรังษีโสภณ จังหวัดนครนายก โดยมีพระครูอรรถวาทีเป็นพระอุปัชฌายะและพระจนฺโทภาโส (พระญาณนายกปลื้ม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ในสำนักวัดอุดมธานี จึงนับได้ว่าเจ้าคณะหมวดทองดำเป็นศิษย์เอกคนหนึ่งของพระญาณนายก (ปลื้ม) ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดคณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ..2475

ช่วงชีวิตในพระพุทธศาสนา 19 พรรษา นอกจากกิจทางพระศาสนาที่ได้กระทำแล้ว เจ้าคณะหมวดทองดำ ยังเขียนหนังสือชื่อกาพย์สยามใหม่ ที่ไม่ได้มุ่งสั่งสอนธรรมะ แต่เพื่อเล่าเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองว่าเกิดจากความปรารถนาของบุคคลที่เรียกว่าคณะราษฎร 

บาหยัน อิ่มสำราญ วิเคราะห์กาพย์สยามใหม่ของเจ้าคณะหมวดทองดำตอนหนึ่งว่าการอรรถาธิบายระบอบใหม่ที่จะมาแทนที่ระบอบเดิมซึ่งคณะผู้ก่อการกระทำทันทีหลังจากการยึดอำนาจ นั่นคือแต่งตั้งกรรมการของคณะราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยทหารเฮือและบกทุกเหล่า รวมเข้ากาวพ่อค่าชาวนา รวมเข้ามาพลเมืองทุกซั้น ให้นามนั้นซือราษฎร จัดเป็นตอนสภาหัวหน้า อยู่คอยถ่ารวมเจ็ดสิบนาย (.16) ทำหน้าที่คอยระวังเหตุการณ์ทุกอย่าง มีเรื่องต่างๆ นำขึ้นกาบทูล ในธรรมนูญปกครองอย่างใหม่ (.17)

เจ้าคณะหมวดทองดำให้ความสำคัญต่อการอธิบายสาระสำคัญในธรรมนูญปกครองอย่างใหม่นี้อย่างมาก การอธิบายมุ่งเน้นทั้งเรื่องอุดมการณ์และวิธีการ ด้านอุดมการณ์ ได้แก่ การอธิบายหลัก 6 ประการของคณะราษฎรด้วยภาษาง่ายๆ หลัก 6 ประการ ได้แก่ข้อหนึ่งมีสิทธิเอกราชข้อสองนั้นให้ห่างจากภัย …(ข้อสาม) งานต่างๆ สิมีให้ทำข้อสี่ภาคสิทธิเสมอกันข้อห้ายังให้เสรีภาพข้อหกไขวิชาเผยแผ่ ในหลักการศึกษาได้อธิบายเพิ่มเติมถึงโอกาสที่คนธรรมดาสามัญจะได้เขยิบฐานะให้สูงขึ้นผ่านโอกาสทางการศึกษา และอาจได้เป็นปากเสียงของท้องถิ่นผ่านการเลือกตั้งอีกด้วย…”

รถเกราะทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองขับรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476

หนึ่งคือ “‘โค่นรัฐบาลอนุรักษนิยม : รัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 ของคณะราษฎรของ ณัฐพล ใจจริง ที่กล่าวถึงเหตุการณ์สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ..2475 เมื่อฝ่ายอนุรักษนิยมโต้กลับคณะราษฎรหลายครั้ง เช่น กรณีสมาคมคณะราษฎร

ภายหลังการปฏิวัติเสร็จสิ้นลง คณะราษฎรจึงเปิดรับสมัครประชาชนและข้าราชการที่สนับสนุนการปฏิวัติเข้าเป็นสมาชิกสมาคมคณะราษฎรขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมือง จึงจำต้องจดทะเบียนเป็นสมาคมเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2475 เพื่อขยายฐานทางการเมืองของคณะราษฎร ระดมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ส่งเสริมพิทักษ์ระบอบใหม่ รวมทั้งส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเพื่อชิงชัยทางการเมือง 

สมาคมคณะราษฎรจึงเป็นพรรคการเมืองแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่มีนโยบายทางการเมือง คือ ยึดถือหลัก 6 ประการของคณะราษฎร เพียง 6 เดือนหลังการตั้งสมาคม มีผู้สมัครสมาชิกถึง 10,000 คน ต่อมามีการขยายสาขาไปยังจังหวัด อำเภอ และตำบล ผ่านกลไกระบบราชการ 

ขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์จัดตั้งสมาคมคณะชาติ ขึ้นในช่วงเดือนมกราคม พ..2476 โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้านาย, กลุ่มอนุรักษนิยม และเจ้าที่ดินหัวเก่า ฯลฯ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม 2475) ที่กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี 

2 ประเภท ประเภทที่ 1 มาจากการเลือกตั้ง ส่วนประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้ง โดยกำหนดให้มีการเลือกเดือนเมษายน พ..2476 จึงต้องเร่งให้มีการจัดตั้งพรรคคณะชาติขึ้นมาแข่งขันบ้าง

ปก “เลือดหยดแรกของประชาธิปไตย” (2493) ฉากชลอ ศรีศรากรจับพระยาเสนาสงคราม

หากกลุ่มอนุรักษนิยมเริ่มกังวลว่า พรรคคณะราษฎรจะมีโอกาสทางการเมืองเหนือกว่า เพราะมีสาขาทั่วประเทศและเปิดรับสมาชิกอย่างกว้างขวาง จึงตัดสินใจหยุดยั้งการขยายตัวของพรรคคณะราษฎร

ในที่สุด พระยามโนปกรณ์นิติธาดานำเรื่องจัดตั้งพรรคคณะชาติไปกราบบังคมทูลปรึกษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีพระราชหัตถเลขาถึงนายกรัฐมนตรีวันที่ 31 มกราคม 2476 สรุปความว่า สังคมไทยยังไม่พร้อมที่จะมีพรรคการเมือง พรรคการเมืองจะนำมาซึ่งความแตกแยก และสมควรเลิกสมาคมคณะราษฎร และคณะอื่นๆ

นั่นเป็นแค่ 1 ในหลายเหตุการณ์ ที่ทำให้คณะราษฎรรวบรวมกำลังโต้ เพื่อการยืนยันการปฏิวัติ 2475 ด้วยการรัฐประหาร 20 มิถุนายน 2476 ล้มรัฐบาลอนุรักษนิยมของพระยามโนปกรณ์ฯ 

เนื้อหาทั้ง 3 บทความที่หยิบยกมานั้นเป็นเพียงบางส่วนของที่เผยแพร่ในศิลปวัฒนธรรมฉบับเดือนมิถุนายน 2566 นี้ หรือมาพบปะกันได้ในงาน สโมสรศิลปวัฒนธรรม สเปเชียล “24 มิถุนาฯ วันมหาศรีสวัสดิ์วันที่ 23-24 มิถุนายน 2566 เวลา 10.00-20.00 . ที่มติชนอคาเดมี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image