งานพระบรมศพ วงปี่พาทย์ กรมศิลปากร นักดนตรีประโคมย่ำยาม

วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ กรมศิลปากร ประโคมเพลงเรื่องนางหงส์ ในการพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 18 ตุลาคม 2559)

ในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง มีประโคมย่ำยามวันละ 6 ครั้ง (6 ยาม) เป็นประจำต่อเนื่องตลอดทุกวัน โดยวงประโคมของสำนักพระราชวัง

ร่วมกับวงปี่พาทย์พิธีและวงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

จัดวงบรรเลงและประโคมสลับหมุนเวียน 5 วง ในความดูแลของหัวหน้าวง 5 คน มีประวัติย่อ ดังต่อไปนี้

Advertisement
1.นายเอนก อาจมังกร รักษาราชการแทน ผอ.สำนักการสังคีต กรมศิลปากร (ที่มาภาพ http://www.dara.in.th)
1.นายเอนก อาจมังกร รักษาราชการแทน ผอ.สำนักการสังคีต กรมศิลปากร (ที่มาภาพ http://www.dara.in.th)

นายเอนก อาจมังกร (อายุ 57 ปี)

Advertisement

ศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพฯ

เกิดในครอบครัวเป็นทั้งเกษตรกรและมีวงปี่พาทย์สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นปู่ ต.จระเข้ร้อง อ.ไชโย จ.อ่างทอง

ฝีมือดีทั้งฆ้องวงใหญ่และตะโพนไทย แต่งคำประพันธ์และทำนองเพลงใหม่ใช้ในโอกาสต่างๆ

นายไชยยะ ทางมีศรี (บรรเลงฆ้องวง) ผู้ชำนาญการพิเศษ กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
นายไชยยะ ทางมีศรี (บรรเลงฆ้องวง) ผู้ชำนาญการพิเศษ กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร


นายไชยยะ ทางมีศรี (อายุ 66 ปี)

ได้รับยกย่องเป็นคลังเพลงโบราณที่ไม่เพียงแม่นยำชำนาญฆ้องวงใหญ่ แม้ในเชิงกลอนระนาดก็งดงาม

ชาวบางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พ่อคือครูแย่ง ทางมีศรี เจ้าของวงปี่พาทย์ (ศิษย์ครูกล้อย ณ บางช้าง และสำนักนิลวงศ์ ซึ่งเป็นมหาดเล็กเรือนนอก ในสมเด็จวังบูรพาฯ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต)

หลังร่วมงานกับครูบุญยงค์ เกตุคง (ศิลปินแห่งชาติ ถึงแก่กรรม) ที่วงดนตรีไทยเทศบาลกรุงเทพฯ ก็ย้ายมาอยู่ที่กรมศิลปากร

นายสุริยะ ชิตท้วม (บรรเลงระนาดเอกเหล็ก) หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
นายสุริยะ ชิตท้วม (บรรเลงระนาดเอกเหล็ก) หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

นายสุริยะ ชิตท้วม (อายุ 51 ปี)

เริ่มเรียนดนตรีปี่พาทย์จากพ่อ แล้วศึกษาต่อวิชาโขนและเครื่องสายที่วิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพฯ จบแล้วประจำที่กองดุริยางค์ทหารบก จากนั้นโอนย้ายมาอยู่กรมศิลปากร

เกิดในตระกูลนักดนตรีเก่า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

พ่อคือครูลับ ชิตท้วม เจ้าของคณะปี่พาทย์มีชื่อ เป็นหลานปู่ครูจางวางสวนมหาดเล็กปี่พาทย์วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ซึ่งตั้งคณะปี่พาทย์สำนักใหญ่ใน อ.สำโรง จ.สมุทรปราการ

นายจำลอง ม่วงท้วม (บรรเลงระนาดเอกเหล็ก) หัวหน้าวงที่ 1
นายจำลอง ม่วงท้วม (บรรเลงระนาดเอกเหล็ก) หัวหน้าวงที่ 1

นายจำลอง ม่วงท้วม (อายุ 58 ปี)

มีฝีมือบรรเลงฆ้องวงใหญ่ในเพลงปี่พาทย์ประชันและชั้นเชิงระนาดลิเกเข้มแข็งแกร่งกล้า

ชาวปากน้ำ สืบทอดวิชาดนตรีไทยจากครูคนแรกคือกำนันสุดจิษ เพ็ญสมบูรณ์ (บ้านปี่พาทย์กลุ่มเก่าแก่ใน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นหลานปู่ครูเม้าที่เคยสังกัดวังเจ้านายสมัย ร.5)

เข้ากรุงเทพฯ เรียนรู้กับครูสุพจน์ โตสง่า และ จ.ส.อ.สมชาย ดุริยประณีต ฯลฯ

นายบุญสร้าง เรืองนนท์ (บรรเลงระนาดเอก) หัวหน้าวงที่ 2
นายบุญสร้าง เรืองนนท์ (บรรเลงระนาดเอก) หัวหน้าวงที่ 2

นายบุญสร้าง เรืองนนท์ (อายุ 56 ปี)

ศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพฯ เมื่อเรียนจบแล้วก็บรรจุเข้ารับราชการที่สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

ชาวกรุงเทพฯ พ่อเป็นศิลปินแห่งชาติ ชื่อครูทองใบ เรืองนนท์ (เป็นลูกครูพูน เรืองนนท์ เจ้าของคณะละครชาตรีย่านหลานหลวง สืบเชื้อสายละครชาตรีจากภาคใต้สมัย ร.3)

เรียนรู้จากครูปี่พาทย์เก่งๆ หลายสำนัก ผ่านงานประชันอย่างโชกโชน ได้ชื่อว่าเป็นนักระนาดเอกที่แกร่งกล้าสามารถฉลาดครบเครื่องคนหนึ่ง

นายไพรัตน์ จรรย์นาฏย์ (บรรเลงระนาดทุ้ม) หัวหน้าวงที่ 3 (ที่มาภาพ oknation.nationtv.tv)
นายไพรัตน์ จรรย์นาฏย์ (บรรเลงระนาดทุ้ม) หัวหน้าวงที่ 3 (ที่มาภาพ oknation.nationtv.tv)

นายไพรัตน์ จรรย์นาฏย์ (อายุ 56 ปี)

ฝีมือทางดนตรีมีเชิงระนาดทุ้มยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง

ชาวบางปะหัน อยุธยา เกิดในครอบครัวดนตรีไทยที่พ่อคือครูไพฑูรย์ (เคยเป็นมหาดเล็กปี่พาทย์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ที่วังบางคอแหลม) สืบสายตระกูลปี่พาทย์เก่าแก่มาแต่ปู่คือครูเพชร จรรย์นาฏย์ (เป็นมหาดเล็กปี่พาทย์ของวังบูรพาภิรมย์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช สมัย ร.5)

นายสุรพงษ์ โรหิตาจล (บรรเลงระนาดเอก) หัวหน้าวงที่ 4
นายสุรพงษ์ โรหิตาจล (บรรเลงระนาดเอก) หัวหน้าวงที่ 4

นายสุรพงษ์ โรหิตาจล (อายุ 47 ปี)

ศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฏศิลปกรุงเทพฯ

ชาวกรุงเทพฯ เป็นศิลปินเลือดผสมที่มีทั้งโขนละครกับดนตรีปี่พาทย์อยู่ในตัวเอง

สายพ่อคือครูสมพงษ์ โรหิตาจล (เป็นตระกูลโขนหลวงในราชสำนัก ร.6) สายแม่คือครูกัญญา อบนวล (นักร้องหญิงชั้นยอด ปี่พาทย์ลุ่มแม่น้ำอ้อม เมืองนนทบุรี)

เคยอยู่วงดนตรีไทยกรุงเทพมหานครแล้วย้ายมารับราชการที่สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

8.นายทวีศักดิ์ อัครวงศ์ (บรรเลงระนาดเอก) หัวหน้าวงที่ 5

นายทวีศักดิ์ อัครวงศ์ (อายุ 39 ปี)

ศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย และจบปริญญาตรีจากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่กรุงเทพฯ

ชาวบ้านเนินฝอยทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ครอบครัวเป็นเกษตรกรมีเชื้อสายดนตรีไทยสืบมาทางบรรพชนข้างแม่ (โดยมีคุณตาเชื่อ ชำนาญรักษา เจ้าของคณะปี่พาทย์และละคร เป็นผู้สนับสนุนมาตั้งแต่เด็ก)

ฝีมือโดดเด่นเป็นพิเศษคือระนาดเอก และมีชื่อร่ำลือมากจากภาพยนตร์เรื่องโหมโรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image