เจิ้งเหอ “ซำปอกง” ข้ามมหาสมุทร ก่อน “โคลัมบัส” ไปอเมริกา

เจิ้งเหอ “ซำปอกง” ข้ามมหาสมุทร
ก่อน “โคลัมบัส” ไปอเมริกา

เจิ้งเหอ แม่ทัพขันที ซำปอกง” ของ ปริวัฒน์ จันทร
สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที4 พฤษภาคม 2566
ราคา 420 บาท

ปรับปรุงจากคำนำ ของ ปริวัฒน์ จันทร
[พิมพ์ครั้งที่ 4 .. 2566]

Advertisement

.. 2555 ได้มีการจัดอันดับ 100 บุคคลผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์จีนที่ชาวจีนทั้งในแผ่นดินใหญ่และโพ้นทะเลต่างให้การยกย่อง มีชื่อของแม่ทัพเรือเจิ้งเหอเป็นหนึ่งในจำนวนนั้นด้วย

.. 2546 ที่หนังสือ เจิ้งเหอ แม่ทัพขันที “ซำปอกง” พิมพ์เป็นครั้งแรก ในเวลานั้น ชื่อเสียงของเจิ้งเหอยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายดีเท่าในปัจจุบัน

.. 2548 เนื่องในวาระครบรอบ 600 ปีแห่งสมุทรยาตราของเจิ้งเหอ กิตติศัพท์ของการเป็นแม่ทัพขันทีผู้คุมกองเรือมหาสมบัติออกท่องทะเลใต้และตะวันตกถึง 7 ครั้งในช่วง 28 ปีก็เลื่องลือระบือไกลมากขึ้น

Advertisement

ต่อมาเมื่อรัฐบาลจีนได้รื้อฟื้นการค้าบนเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล ตามนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” โดยทางทะเลก็ได้ถือเอาแผนที่และเส้นทางการเดินเรือของแม่ทัพเจิ้งเหอเป็นแนวทางเชื่อมความสัมพันธ์ทั้งการทูตและการค้ากับนานาประเทศทางตอนใต้และตะวันตก

สำหรับในการพิมพ์ครั้งที่ 4 นี้ ผู้เขียนได้เพิ่มเติมเนื้อหาและภาพประกอบใน 3 หัวข้อ เพื่อให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นคือ

1. ตามรอยเจิ้งเหอในนครนานกิง เนื่องจากนครนานกิงยังมีสถานที่สำคัญที่เกี่ยวกับชีวประวัติของเจิ้งเหอและกองเรือมหาสมบัติ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโกถึง 3 แห่ง ซึ่งจะทำให้หนังสือเล่มนี้สามารถใช้ประกอบการเดินทางท่องเที่ยวตามรอยเจิ้งเหอที่นครนานกิงได้บางส่วน

2. หลวงพ่อโตซำปอกงและรูปเคารพเจิ้งเหอในประเทศไทย จากระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปหลายจังหวัดในประเทศไทย ทำให้ทราบว่ายังมีรูปเคารพหลวงพ่อซำปอกงรวมถึงรูปเคารพของเจิ้งเหออันเป็นที่เคารพบูชาอยู่หลายจังหวัดที่น่าสนใจ

3. ปมปริศนาการหายตัวไปของจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน จักรพรรดิองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ หมิง ซึ่งได้มีนักวิชาการจีนติตตามศึกษาจนพบร่องรอยหลักฐานที่น่าสนใจอยู่ในเมืองฉู่สยง (Chu Xiong) มณฑลยูนนาน

ข้ามมหาสมุทรก่อน “โคลัมบัส” ไปอเมริกา

ปรับปรุงจากคำนำ ของ ปริวัฒน์ จันทร
[พิมพ์ครั้งที่ 1 .. 2545]

นานเรื่องราวของซปอกง ครั้งหนึ่งกองเรือขนาดมหึมาของท่านได้เคยมาจอดเทียบท่าอยู่ที่ปากอ่าวไทย หรืออาจเข้ามาถึงอยุธยา

กองเรือนี้มีขนาดยาวถึงลละกว่า 400 ฟุต และกว้าง 160 ฟุต มี 9 เสากระโดงเรือ คนจีนเรียกว่า เป่าฉวน (Bao Chuan) หรือเรือมหาสมบัติ (Treasure Fleet) บรรทุกเอาสินค้าอันเลื่องชื่อของจีน นั่นก็คือเครื่องถ้วยเปลือกไข่ (กังไส) ผ้าแพร ผ้าไหม เครื่องเขิน เครื่องทอง เครื่องเงิน ตลอดจนถึงงานศิลปะชั้นเลิศและสินค้าอื่นๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสุดยอดทางวัฒนธรรมจีน เพื่อประกาศศักดาอันเกรียงไกรแห่งราชวงศ์หมิงให้ชาวโลกในขณะนั้นได้เป็นที่ประจักษ์ พร้อมกันกับได้แลกเปลี่ยนเอาสินค้าจากต่างถิ่นอันเป็นที่ต้องการของจีนกลับมายังประเทศ เช่น งาช้าง นอแรด กระดองเต่า ไข่มุก อัญมณีอันสูงค่า เครื่องเทศ สมุนไพร ยารักษาโรค ตลอดจนถึงเครื่องราชบรรณาการจากเจ้าผู้ครองดินแดนต่างๆ เพื่อกลับมาถวายแด่องค์จักรพรรดิมังกรที่นครนานกิงหรือหนานจิง (Nan Jing)

กองเรือมหาสมบัตินี้ประกอบด้วยเรือบรรทุกม้า เรือเสบียงเรือกลังพล และเรือรบ รวมแล้วมีจนวนถึงกว่า 300 บรรทุกทหารพลเรือ พ่อค้า แพทย์ นักพฤกษศาสตร์ พ่อครัว นายช่าง ล่ามภาษา เจ้าหน้าที่พิธีการทูต รวมทั้งนักสอนในศาสนาอิสลาม และพระภิกษุในพุทธศาสนา ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างสันถวไมตรีกับชนทุกศาสนาในดินแดนที่กองเรือยาตราไปถึง โดยทั้งหมดนี้ได้เดินทางไปพร้อมกับกองเรือมีจนวนรวมถึงกว่า 27,800-30,000 ชีวิตในแต่ละคราว

และนี่คือกองเรือที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชนชาติจีนและของโลกเท่าที่เคยมีมา ตราบจนกระทั่งถึงในสมัยมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 หรืออีกกว่า 5 ศตวรรษต่อมา จึงได้มีกองเรือที่ใหญ่กว่านี้ปรากฏขึ้นบนผืนน่านน้ำมหาสมุทรเลยทีเดียว!

ใน ค.. 1405-1433 กองเรือมหาสมบัติภายใต้การนของผู้บัญชาการกองเรือคือ แม่ทัพขันทีเจิ้งเหอ (The Admiral of Western Seas-Eunuch Zheng He) ได้สร้างตนานวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ในการออกสมุทรยาตราถึง 7 ครั้ง ท่องไปกว่า 30 ประเทศในอุษาคเนย์ อินเดีย อาหรับ และแอฟริกา ซึ่ง ณ ที่นั่นเองที่กองเรือของจีนได้ทราบเรื่องราวจากพ่อค้าชาวอาหรับว่าดินแดนยุโรปที่อยู่เหนือขึ้นไปนั้นไม่มีสินค้าใดๆ ที่จีนจะต้องการ เพราะดินแดนทางตะวันตกอันไกลโพ้นที่หนาวเหน็บนั้นมีเพียงแต่ผ้าขนสัตว์และเหล้าองุ่นเท่านั้นที่เลื่องชื่อ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่จีนไม่พึงปรารถนา

ตลอดในห้วงระยะเวลา 28 ปีที่กองเรือของจีนได้ตระเวนยึดครองทั่วน่านน้ำนั้น สินค้าจากต่างแดน ยารักษาโรค เครื่องเทศ สมุนไพร ตลอดจนถึงความรู้ทางภูมิศาสตร์และศาสตร์ในแขนงต่างๆ ได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจีนอย่างมหาศาล และในเวลาเดียวกันนั้นเองที่จีนก็ได้ขยายอิทธิพลและบทบาททางการเมืองครอบคลุมไปทั่วทั้งทะเลจีนใต้และ 2 ฟากฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า กว่าครึ่งโลกได้มาตกอยู่ภายใต้อุ้งพระหัตถ์แห่งองค์จักรพรรดิมังกร อันมีตัวแทนคือกองเรือมหาสมบัติที่บัญชาการโดยแม่ทัพเจิ้งเหอได้ยาตราไปถึง

ดังนั้น ถ้าหากจีนต้องการสร้างจักรวรรดินิยมครอบครองดินแดนเหล่านี้ไว้เองแล้วอีกกว่าครึ่งศตวรรษต่อมาก็คงจะไม่มีดินแดนให้มหาอนาจชาติตะวันตกเข้ามายึดฉวยและครอบงดังเช่นประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็เป็นได้?!

ทั้งนี้ก็เพราะกว่าที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) จะเดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปพบโลกใหม่ยังทวีปอเมริกาที่เขาคิดว่าเป็นดินแดนแห่งหมู่เกาะเอเชียตะวันออก ใน .. 1492 นั้น เกิดขึ้นหลังจากเจิ้งเหอออกเดินเรือครั้งแรกถึง 87 ปี

และเมื่อหากนเรือ Santa María ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเขามาเปรียบเทียบกับกองเรือมหาสมบัติของจีนแล้ว ก็จะพบว่ามีขนาดเล็กกว่ากันถึง 4 เท่า กล่าวคือมีความยาวเพียง 85 ฟุต กว้าง 20 ฟุต และมีน้ำหนักเพียง 100 ตัน มีกองเรือ 3 และลูกเรือเพียง 87 คน!

จวบจนกระทั่งใน ค.. 1521 เฟอร์ดินันด์ แมคเจลลัน (Ferdinand Magellan) ได้สานฝันโคลัมบัส ด้วยการเดินทางมาถึงทะเลจีนใต้ผ่านทวีปอเมริกาเป็นครั้งแรก และกองเรือของเขาก็มีขนาดยาวเพียง 100 ฟุต หนัก 120 ตัน และมีลูกเรือ 160 คนเท่านั้น

ใน ค.. 1498 เมื่อ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) กองเรือที่ผูกติดโยงกัน 3 ของเขา อ้อมแหลมกู๊ดโฮปที่แอฟริกาใต้มาจนถึงชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก ในระหว่างการเดินทางไปสู่จุดหมายยังอินเดีย

ที่นั่นเขาได้พบว่าชาวพื้นเมืองมีฝีมือในการทอผ้าไหมอย่างน่าสนเท่ห์ คนพื้นเมืองที่นี่ดูเหมือนจะตื่นตาตื่นใจและชื่นชอบในสิ่งของที่ชาวโปรตุเกสนมาเสนอให้ นั่นก็คือ ลูกปัด ระฆัง และอ่างล้างหน้า แต่ดูเหมือนพวกเขาจะไม่ชื่นชมและใส่ใจกับกองเรือขนาดเล็กของดา กามา

เพราะมีผู้อาวุโสของหมู่บ้านได้เล่าถึงตนานว่า เมื่อนานมาแล้วมีเทพเจ้าผิวขาวผู้สวมอาภรณ์แพรไหมจากแดนไกล ได้มาเยือนชายฝั่งแห่งนี้ด้วยกองเรือขนาดอันมหึมา แต่พวกเขาไม่รู้ว่าเทพเจ้าผิวขาวเหล่านั้นเป็นใครมาจากไหน และได้หายไปไหนเสียแล้ว

ดังนั้นกว่าที่โปรตุเกสจะมาถึงชายฝั่งแห่งนี้ กองเรือมหาสมบัติก็ได้สูญหายไปจากการรับรู้ของชาวโลก และคงเหลือไว้แต่เพียงตนานของผู้เฒ่าผู้แก่ที่นี่ไปเสียแล้ว

เจิ้งเหอกับวาสโก ดา กามา คลาดเวลาในการมาพบกันที่ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกนี้ถึงกว่า 80 ปี เราลองพิเคราะห์ดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้ากองเรือทั้ง 2 ได้มาพบกันที่นี่ในเวลานั้น กองเรือมหาสมบัติอันโอฬารของจีนมีหรือที่จะปล่อยให้กองเรือที่มีขนาดยาวเพียง 85-100 ฟุตของชาวโปรตุเกส ตะวันตกชาติแรก แล่นข้ามมหาสมุทรอินเดียไปสร้างตนานการยึดครองผลประโยชน์ทางการค้าระหว่างตะวันตกกับตะวันออกได้อย่างเช่นที่เป็นมาในประวัติศาสตร์

และทไมกองเรือของจีนที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่ยึดครองทั่วน่านน้ำกว่าครึ่งโลก จึงได้เกิดขึ้นและสูญหายไปในช่วงระยะเวลาอันรวดเร็วเป็นยิ่งนัก

สวนสาธารณะเจิ้งเหอในนครนานกิง เชื่อกันว่าแต่เดิมพื้นที่นี้เคยเป็นจวนว่าราชการของเจิ้งเหอ


ภาพเปรียบเทียบขนาดเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอ กับเรือเซนต์มาเรีย (ระบายสีดำ) ของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พบว่าเรือของเจิ้งเหอมีขนาดใหญ่กว่าถึง 4 เท่า

(ซ้าย) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาลี (กลาง) เฟอร์ดินันด์ แมคเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส (ขวา) วาสโก ดา กามา นักเดินเรือชาวโปรตุเกส

เจิ้งเหอ” หนุนสุพรรณ ยึดอยุธยา

ปรับปรุงจากคำนำเสนอของ พิเศษเจียจันทร์พงษ์
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์กรมศิลปากร 2546

ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาช่วงเวลาการเดินทางของเจิ้งเหอทั้ง7ครั้งระหว่าง..1948-1976เมื่อเทียบกับปีครองราชย์ของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาโดยยึดเกณฑ์ของเวลาในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ จะตรงกับปลายรัชกาลสมเด็จพระรามราชาธิราชรัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราช(..1952-1967)และช่วง9ปีแรกของรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา

ช่วงเวลาดังกล่าวนี้รัชกาลสมเด็จพระนครินทราธิราชน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเดินทางของเจิ้งเหอมากที่สุดเพราะเป็นช่วงเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเริ่มปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิอย่างยั่งยืนสืบต่อมาเป็นเวลานานจนถึง..2112อันเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาแตกเสียแก่พม่าโดยพระเจ้าบุเรงนอง

ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาช่วงนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเดินทางของเจิ้งเหออย่างไรจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในกรุงศรีอยุธยาก่อนหน้านี้ด้วย

การเดินทางของเจิ้งเหอโดยกองเรือขนาดใหญ่บ้างก็ว่าเพื่อสืบหาเจี้ยนอุ๋นตี๋(จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน)จักรพรรดิจีนองค์ที่2ที่หายตัวไปจากการพ่ายแพ้ในการชิงราชบัลลังก์โดยจักรพรรดิเม่งเซ่งโจ๊ว(จักรพรรดิหย่งเล่อ)ผู้เป็นอาและเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดกองเรือของเจิ้งเหอขึ้นในครั้งนี้

แต่จากเรื่องราวที่ปรากฏในประวัติของเจิ้งเหอเช่นการจับกษัตริย์ศรีลังกาที่กระด้างกระเดื่องหรือปราบโจรสลัดแถบช่องแคบสุมาตราแสดงถึงการเป็นกองเรือรบปฏิบัติการเพื่อแสดงพระราชอำนาจจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีนอย่างแท้จริง

อีกอย่างหนึ่งเมื่อมองออกไปจากประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาประกอบกับการพิจารณาตำแหน่งหน้าที่ของคนในกองเรือที่มีทั้งฝ่ายเลขานุการผู้ทำงานเกี่ยวกับเอกสารล่ามฯลฯแสดงให้เห็นวัตถุประสงค์อันเป็นธรรมชาติของชาวจีน คือการรวบรวมข้อมูลหลักฐานที่เป็นจริงเกี่ยวกับบ้านเมืองน้อยใหญ่ที่ส่งทูตมาติดต่อนำบรรณาการมายังราชสำนักจีนเพราะก่อนหน้านี้ดังจะเห็นจากเอกสารจีนที่กล่าวถึงเสียนหลอหรือกรุงศรีอยุธยาว่ามีความสับสนวุ่นวายมากพอดู(เพราะจีนไม่มีโอกาสรู้เรื่องเกี่ยวกับบ้านเมืองเหล่านี้ที่เป็นข้อเท็จจริง)

ด้วยเหตุนี้นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ของไทยจึงให้ความสนใจต่อการเดินทางของเจิ้งเหอโดยเฉพาะการเดินทางครั้งที่2ที่มายังอาณาจักรเสียนหลอหรือกรุงศรีอยุธยาว่าน่าจะมีส่วนกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางการเมืองของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาด้วย

เพราะปีที่เจิ้งเหอเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นปีที่สมเด็จพระนครินทราธิราชหรือเจ้านครอินทร์ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาโดยขุนนางทั้งหลายเป็นใจถอดสมเด็จพระรามราชาธิราชไปไว้ที่เมืองปทาคูจามและเชิญเสด็จเจ้านครอินทร์จากเมืองสุพรรณภูมิเข้ามาเป็นกษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิที่เสวยอำนาจสืบเนื่องกันต่อมาอย่างยั่งยืนโดยตลอดจนกรุงแตกเสียแก่พม่าเมื่อ ..2112

เจ้านครอินทร์คือเจ้านายไทยที่มีความคุ้นเคยกับราชสำนักจีนที่จีนให้การรับรองคณะทูตของพระองค์แม้ในขณะที่ราชบัลลังก์กรุงศรีอยุธยาจะตกอยู่ในอำนาจของราชวงศ์อื่น

เจ้านครอินทร์คือเจ้านายไทยผู้เคยเสด็จไปเป็นทูตยังราชสำนักจีนด้วยพระองค์เอง

เจ้านครอินทร์เป็นผู้สืบเชื้อสายทางพระราชมารดาจากราชวงศ์สุโขทัยจนเกิดเป็นเรื่องบอกเล่าในลักษณะตำนานว่าเป็นพระร่วงที่ไปนำช่างทำถ้วยชามจากเมืองจีนมาทำที่สุโขทัย

ด้วยเหตุนี้เจ้านครอินทร์จึงมีความชอบธรรมที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาเป็นสมเด็จพระนครินทราธิราชนับเป็นความชอบธรรมแบบใหม่ที่จักรพรรดิจีนผู้เป็นโอรสแห่งสวรรค์ได้พระราชทานมากับกองเรือรบของเจิ้งเหอเข้ามาแทนที่ความชอบธรรมแบบเก่าที่เทวาสมมติให้แก่กษัตริย์ราชวงศ์ละโว้อโยธยาผู้สถาปนาและครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาแต่เดิม

ภาพจิตรกรรมร่วมสมัย บอกเล่าเรื่องราวเจิ้งเหอเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา

เจ้านครอินทร์ เมืองสุพรรณ สร้างสรรค์อยุธยา ราชอาณาจักรสยาม สุจิตต์วงษ์เทศ, บรรณาธิการ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก 2565 ราคา 300 บาท

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image