ขึ้นปีใหม่ในไทย สมัยดั้งเดิมถึงปัจจุบัน

ขึ้นปีใหม่ในไทย
สมัยดั้งเดิมถึงปัจจุบัน

1 มกราคม ขึ้นปีใหม่สากลตามวัฒนธรรมตะวันตก

13 เมษายน ขึ้นปีใหม่ทมิฬ อินเดียใต้ ตามวัฒนธรรมอินเดีย เรียกมหาสงกรานต์

ตามที่รับรู้และปฏิบัติทั่วไปว่า 13 เมษายน สงกรานต์ “วันขึ้นปีใหม่ไทย” มีเหตุจากถูกบังคับครอบงำหล่อหลอมกล่อมเกลาให้เชื่อตามชนชั้นนำไทยสมัยก่อนจนสมัยปัจจุบัน

Advertisement

ปีใหม่ไทยดั้งเดิมมีไหม? เมื่อไร?

ปีใหม่ไทย

ขึ้นปีใหม่ไทย (ถ้าไทยอยากให้มี) น่าจะมีครั้งแรกสมัยกรุงอโยธยา (ไม่ใช่กรุงสุโขทัย) เนื่องเพราะความเป็นคนไทยมีครั้งแรกในอโยธยา (ไม่ใช่สุโขทัย) ราว 900 ปีมาแล้ว หรือเรือน พ.. 1700 (ก่อนมีเมืองสุโขทัย)

Advertisement

กำหนดขึ้นปีไหม่ไทย

ขึ้นปีใหม่ไทยกำหนดตามปฏิทินพื้นเมืองทางจันทรคติ ตรงกับขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย (ของทุกปี) ราวเดือนธันวาคม (ตามปฏิทินสากลทางสุริยคติ)

ปัจจุบัน ปีเก่าคือปีเถาะ

ปีใหม่ไทยคือปีมะโรง ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 (เดือนอ้าย) ตรงกับวันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.. 2566 (ที่ผ่านมา)

วันขึ้นปีใหม่ หมายถึงวันแรกในเดือนแรกของทุกปี

ประเพณีดั้งเดิมในไทย ขึ้นปีใหม่ไม่ตรงกันทั้งหมด เนื่องจากภาคเหนือนับเร็วกว่าภาคกลางราว 2 เดือน (ภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขึ้นปีใหม่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 คือ เดือนอ้ายของทุกปี)

เดือนอ้าย แปลว่า เดือนที่หนึ่ง หรือเดือนแรกของ 12 เดือน (ใน 1 ปี) ตามปฏิทินจันทรคติ หมายถึงเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ เริ่มปีนักษัตรใหม่ ตั้งแต่หลังลอยกระทง เดือน 12 (เทียบปฏิทินสากลทางสุริยคติ จะอยู่ราวหลังกลางเดือนพฤศจิกายน ต่อเนื่องถึงเดือนธันวาคม)

เดือนอ้าย ราวธันวาคมของทุกปี เป็นช่วงขึ้นฤดูกาลใหม่ เทียบปัจจุบันคือขึ้นปีใหม่ของชุมชนดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ (จะเทียบว่าปีเก่า, ปีใหม่ ก็ได้ แต่ไม่ควรยึดถือจริงจังว่าปีเก่า, ปีใหม่ เพราะเป็นคำในวัฒนธรรมสังคมสมัยใหม่ตามแบบแผนตะวันตก ซึ่งไม่มีในสังคมตะวันออกยุคก่อนๆ)

[สงกรานต์ (อยู่ในเดือนห้าทางจันทรคติ) เป็นช่วงเปลี่ยนราศีตามปฏิทินสุริยคติ จากราศีมีนสู่ราศีเมษ (ถือเป็นมหาสงกรานต์) เทียบสากลเป็นขึ้นปีใหม่ของอินเดีย แต่ไทยและเพื่อนบ้านรับสงกรานต์จากอินเดีย แล้วต่างเหมาเป็นขึ้นปีใหม่ของตน]

อ้าย ในภาษาไทยแปลว่าหนึ่ง เป็นคำเรียกลำดับและนับจำนวนที่เป็นเพศชาย

ในภาษาไทยมีใช้ต่างกันเมื่อเรียกลูกสาวกับลูกชาย เรียงลำดับลูกสาวว่า เอื้อย อี่ อ่าม ไอ อัว อก เอก แอก เอา อัง ฯลฯ ลูกชายว่า อ้าย ญี่ สาม ไส งัว ลก เจด แปด เจ้า จ๋ง ฯลฯ

[คำวา อ้าย แผลงเป็น ไอ้ เช่น ไอ้เบิ้ม, ไอ้ห่า ฯลฯ คำว่า อี่ แผลงเป็น อี เช่น อีบัว, อีดอกทอง ฯลฯ]

เดือน เป็นคำเรียกดวงจันทร์ ที่ทำให้มีน้ำขึ้นน้ำลง หล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร

ดวงจันทร์เห็นได้ชัดตอนกลางคืน เรียกว่าค่ำ มีความเปลี่ยนแปลงเรียกเดือนขึ้น (หรือข้างขึ้น) สลับกับเดือนแรม (หรือข้างแรม) รวมกันได้ราว 30 วันบางครั้ง 31 วัน คนเราเลยยอมรับเรียกชื่อเวลาทั้งหมดว่าเดือนหนึ่ง หรือหนึ่งเดือน

คำว่าเดือนจึงหมายถึงระยะเวลา 30-31 วันตามจันทรคติ (แปลว่าคติที่มีดวงจันทร์เป็นแกนกลาง)

ปีนักษัตร ได้แก่ ชวด, ฉลู, ขาล, เถาะ ฯลฯ มีรูปประจำปีเป็นสัตว์ต่างๆ เช่น ชวด หนู, ฉลู วัว, ขาล เสือ, เถาะ กระต่าย ฯลฯ เป็นวัฒนธรรมจากจีน (ไม่มีในอินเดีย) เข้าสู่อุษาคเนย์ ผ่านกัมพูชา ถึงไทย

ปี หมายถึงช่วงเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ครั้งหนึ่งประมาณ 365 วัน แบ่งเป็น 12 เดือน

คนแต่ก่อนไม่เรียกปี แต่เรียกเข้า (ที่ปัจจุบันเสียงเป็นข้าว) ตามการเพาะปลูกทากสิกรรม ทำนาปลูกข้าวแล้วได้ข้าวปีละครั้ง

ภาคเหนือเร็วกว่าภาคกลาง

เดือนอ้ายของล้านนาอยู่ภาคเหนือ เริ่มก่อนภาคกลาง 2 เดือน (ขณะนั้นภาคกลางยังเป็นเดือน 11)

เมื่อภาคกลางถึงเดือน 12 มีลอยกระทง แต่ทางภาคเหนือล่วงหน้าเป็นเดือนยี่ (เดือน 2) แล้ว จึงเรียกคืนวันเพ็ญลอยกระทงว่ายี่เป็ง (เป็ง คือ เพ็ญ)

เหตุที่ภาคเหนือเรียกประเพณีลอยกระทงว่ายี่เป็ง ก็เพราะรับพิธีลอยกระทงขึ้นไปจากภาคกลาง (ที่มีในกลางเดือน 12) เลยต้องปรับกำหนดให้ตรงกับภาคกลางด้วย แต่ขณะนั้นภาคเหนือเป็นเดือนยี่แล้ว จึงเรียกลอยกระทงว่ายี่เป็ง หมายถึง เพ็ญเดือนสอง (ไม่ใช่เพ็ญเดือนสิบสอง) พอภาคกลางเริ่มปีใหม่เดือนอ้าย ทางภาคเหนือก็เข้าเดือนสามแล้ว

ทั้งนี้มีเหตุจากประเทศไทยมีพื้นที่เป็นรูปยาวตั้งแต่เหนือลงใต้ ทำให้แต่ละพื้นที่รับมรสุมจากมหาสมุทรไม่พร้อมกัน

ภาคเหนือรับมรสุมก่อนภาคกลางและภาคใต้ ฝนจึงตกทางภาคเหนือแล้วเริ่มฤดูทำนาก่อนภาคกลางและภาคใต้ เป็นเหตุให้ข้าวทางภาคเหนือออกรวงสุกเต็มที่ ต้องเก็บเกี่ยวก่อนภาคกลางและภาคใต้ โดยเฉลี่ยราว 60 วัน หรือ 2 เดือน

ไทยรับปีนักษัตรจากเขมร ส่วนเขมรรับจากจีน (ไม่มีในอินเดีย) ดังนั้นชื่อปีนักษัตรมีทั้งคำจีน และคำที่ได้จากเขมร

(ภาพ) สัตว์รอบวงได้แก่สัตว์ประจำทิศทั้ง 4 คือ มังกร, หงส์, เสือ และเต่า ถัดออกมาคือสิบสองนักษัตร และวงนอกเป็นสัตว์ 28 ตัวบนคันฉ่องโลหะยุคราชวงศ์ถัง ค.. 618-905 (.. 1161-1448) จากหนังสือ สิบสองนักษัตร ของ ส. พลายน้อย สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่สาม พ.. 2547 หน้า 2)

พิธีชักว่าว ขอลม

เดือนอ้ายมีประเพณีชักว่าวเพื่อขอลม เป็นพิธีกรรมเกี่ยวข้องการเพาะปลูกทำไร่ไถนา โดยขอลมพัดแรงๆ เพื่อ (1.) พืชพันธุ์สุกเร็วๆ จะได้เก็บเกี่ยว (2.) น้ำในนาลดลงเร็วๆ จะได้เข้าไปเก็บเกี่ยวสะดวก

ชักว่าวมีบอกไว้ในตำราพระราชพิธีเก่าครั้งกรุงศรีอยุธยา กำหนดว่าพระเจ้าแผ่นดินต้องเสด็จออกทำพิธีชักว่าวศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอลมให้ราชอาณาจักรอุดมสมบูรณ์

นอกจากนั้นยังมีในทวาทศมาสโคลงดั้นยุคต้นอยุธยา และในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ของเจ้าฟ้ากุ้ง พรรณนาพิธีชักว่าวว่า

เดือนอ้ายผายกรุงท้าว พิธีว่าวกล่าวกลแสดง

เดือนนี้พิธีแคลง กลุ้มท้องฟ้าคลาอรไกล

[แคลง หรือ แกลง เป็นภาษาเขมร แปลว่าว่าว มีอยู่ในพงศาวดารเมืองละแวก กล่าวถึงพระราชพิธีเดือนอ้าย (เดือนมิคสิร) ไว้ว่า “ให้เจ้าพนักงานแห่พระแกลง (ว่าว)……………พราหมณ์ปุโรหิตถวายพระแกลง (ว่าว) ให้ทรงบังเหิน (ชัก) ขึ้น]

เมื่อชักว่าวขึ้นแล้วยังไม่เอาลงจนกว่าจะพ้นฤดูเก็บเกี่ยว ดังมีในบันทึกของลาลูแบร์ บอกว่า “ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยามปรากฏให้เห็นในท้องฟ้าทุกคืนตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาว และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรถือสายป่านไว้”

ชักว่าวเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับการเพาะปลูกที่ราษฎรปฏิบัติทั่วไปจนเลยเถิด ไม่ระมัดระวัง จึงมีกฎมณเฑียรบาลห้ามชักว่าวข้ามพระราชวัง หากละเมิดจะมีโทษถึงตัดมือ

ว่าวลดความศักดิ์สิทธิ์ลงเป็นการเล่นพนันเมื่อถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ดัง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือตำนานวังหน้า ว่า วังหลวงทรงจุฬา วังหน้าทรงปักเป้า

ว่าวมีอยู่ในตำนาน (เช่น พงศาวดารเหนือ) และในบทละคร (เช่น สุวรรณหงส์ แก้วหน้าม้า เป็นต้น) นอกจากนี้ยังมีในภาพจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ ฝีมือของช่างสมัย.4-5 เช่น พระอุโบสถวัดราชประดิษฐ (กรุงเทพฯ), วัดประดู่ทรงธรรม (. พระนครศรีอยุธยา), วัดหน้าพระธาตุ หรือวัดตะคุ (. ปักธงชัย . นครราชสีมา), วิหารลายคำในวัดพระสิงห์ (. เมือง . เชียงใหม่), และพระอุโบสถวัดมัชฌิมาวาส (. สงขลา)

(บน) เด็กๆ เล่นว่าว จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดไทรอารีรักษ์ จ. ราชบุรี (ล่าง) เด็กผมแกละ 3 คนกำลังเล่นว่าวจุฬาบนหอคอยหรือหอสังเกตการณ์ จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดหน้าพระธาตุ (ตะคุ) . ปักธงชัย จ. นครราชสีมา


(บน) เด็กๆ เล่นว่าวที่ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวงปัจจุบัน) จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ (ล่าง) ผู้ใหญ่ชักว่าว จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดมหาธาตุ . เพชรบุรี

สงกรานต์ขึ้นปีใหม่ของทมิฬอินเดียใต้

สงกรานต์เมษายน ขึ้นปีใหม่ (หมายถึงเปลี่ยนศักราช) ของอินเดียใต้ (ทมิฬ) หลายพันปีมาแล้ว เป็นพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู เมื่อพระอาทิตย์โคจรย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษ

ราว 1,500 ปีมาแล้ว หรือเรือน พ.. 1000 ชนชั้นนำบ้านเมืองในภูมิภาคอุษาคเนย์ (SEA) รับวัฒนธรรมทมิฬอินเดียใต้ เป็นพิธีเปลี่ยนศักราช (ขึ้นปีใหม่) มาไว้ในราชสำนักของบ้านเมืองนั้นครบถ้วนเหมือนกัน

นับแต่นั้นทุกบ้านเมืองในอุษาคเนย์มีขึ้นปีใหม่ 2 ระดับ ดังนี้

ชนชั้นนำในราชสำนัก ขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนศักราช ตรงกับสงกรานต์ เมษายน เป็นพิธีพราหมณ์ (หลังจากนั้นปรับเป็นพุทธ)

ประชาชนทั่วไปในชุมชน ขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนปีนักษัตร เดือนอ้าย (ราวธันวาคม) เป็นพิธีผี (หลังจากนั้นปรับเป็นพุทธ)

รัฐอโยธยาอยุธยา สืบเนื่องวัฒนธรรมจากรัฐรุ่นก่อน จึงมีขึ้นปีใหม่ 2 ระดับ และไม่พบว่าเรียก “ปีใหม่ไทย” เพราะรู้ว่าไม่เป็นสมบัติเฉพาะ “ไทย” พวกเดียว แต่เป็นวัฒนธรรมร่วมทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์

กรุงรัตนโกสินทร์ แผ่นดิน ร.3 ให้ความสำคัญสงกรานต์ทั้ง 2 ระดับ แต่ไม่พบเรียก “ปีใหม่ไทย” และไม่พบ “สาดน้ำ” ดูได้จากนิราศเดือน ของ เสมียนมี (หมื่นพรหมสมพัตสร) เมื่อพรรณนาเดือนห้าสงกรานต์ ขึ้นต้นว่า

โอ้ฤดูเดือนห้าหน้าคิมหันต์

พวกมนุษย์สุดสุขสนุกครัน ได้ดูกันพิศวงเมื่อสงกรานต์

ทั้งผู้ดีเข็ญใจใส่อังคาส อภิวาทพุทธรูปในวิหาร

ล้วนแต่งตัวทั่วกันวันสงกรานต์ ดูสะคราญเพริศพริ้งทั้งหญิงชาย

สงกรานต์ของทมิฬอินเดียใต้ถูก “ตู่” แล้วถูก “กระพือ” เรียก “ปีใหม่ไทย” ด้วยอำนาจชาตินิยม “คลั่งเชื้อชาติ” ที่ไม่ควรรื้อฟื้นคืนมาอีก

วอเตอร์ เฟสติวัล” ขายได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องหลอกตนเองและหลอกคนอื่นว่า “ปีใหม่ไทย”


ลำดับการเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่

1   เดือนอ้ายขึ้นปีใหม่ของไทยสยามยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์หลายพันปีมาแล้ว ถือตามจันทรคติ ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือนที่ 1) เป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มปีนักษัตรใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วเป็นช่วงหลังลอยกระทงกลางเดือน 12 ถือเป็นส่งท้ายปีเก่า

คติอย่างนี้มีอย่างเดียวกันหมดทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคอุษาคเนย์เมื่อเทียบปฏิทินสากลตามสุริยคติจะอยู่ราวปปลายเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม

2   ขึ้นปีใหม่สมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 2 ภาคส่วน คือของราชสำนักกับของราษฎร

สงกรานต์ในราชสำนัก รับแบบแผนพิธีพราหมณ์ฮินดู จากอินเดียตั้งแต่หลัง พ.. 1000 เป็นต้นมา เหมือนกันหมดทุกราชสำนักของรัฐในอุษาคเนย์ คือถือวันสงกรานต์เป็นขึ้นศักราชใหม่ ตรงกับช่วงกลางเดือนเมษายน แต่ทางจันทรคตินับเป็นเดือน 5

เดือนอ้ายในราษฎร ไม่รู้จักแบบแผนพราหมณ์ฮินดู จึงถือเอาขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นขึ้นนักษัตรใหม่ตามคติเดิมสืบมา

ในสังคมเมืองใช้ทั้งสองคติ คือนับเดือนอ้ายด้วยแล้วทำบุญสงกรานต์ด้วย

3   1 เมษายน ขึ้นปีใหม่ (ไม่ใช่สงกรานต์) สมัย ร.5 กรุงรัตนโกสินทร์ กำหนดให้วันที่ 1 เมษายนของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ เริ่มตั้งแต่ พ.. 2432 เป็นต้นมา

4   1 มกราคม ขึ้นปีใหม่ ตามแบบสากลตะวันตก เริ่มเมื่อ พ.. 2483 สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สืบจนทุกวันนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image