พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น The Museum of Other People ห้องหับสิ่งของต้อง (อ่าน) สำรวจ

พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น The Museum of Other People ห้องหับสิ่งของต้อง (อ่าน) สำรวจ

พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น The Museum of Other People
ห้องหับสิ่งของต้อง (อ่าน) สำรวจ

นับเป็นเล่มไฮไลต์ที่ต้องขีดเส้นใต้หลายๆ เส้น เน้นย้ำความน่าอ่านสำหรับ ‘เอาฤกษ์’ ตามธีม สำนักพิมพ์มติชน ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 52

The Museum of Other People พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น ผลงาน อดัม คูเปอร์ แปลโดย วรรณพร เรียนแจ้ง ออกแบบปกตระการตา โดย นักรบ มูลมานัส

ชวนสำรวจเรื่องราวหลากหลายแง่มุมของ ‘พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น’ สถาบันที่ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1830-1840 และเข้าสู่ยุคทองในช่วงเวลาเดียวกันกับระลอกของลัทธิอาณานิคมยุโรปในทวีปแอฟริกาและโอเชียเนียในช่วงทศวรรษ 1880

Advertisement

560 หน้า หนา แน่น เข้ม ทุกคำ
เริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า ‘พิพิธภัณฑ์’ คืออะไร?
เพชรน้ำเอกแห่งอารยธรรม?
ประจักษ์พยานต่ออัจฉริยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์?
รูปธรรมของความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม ความเป็นเลิศในศิลปวิทยา?
หรือแท้ที่จริงสถานที่แห่งนี้คือ โกดังเก็บของ
ประจักษ์พยานต่อความโหดเหี้ยมอำมหิตของจักรวรรดินิยมตะวันตก
รูปธรรมของการรีดนาทาเร้น ขูดเลือดขูดเนื้อ และย่ำยีบีฑา

เบื้องหน้าของสถานที่แห่งนี้ คือพิพิธภัณฑ์ที่ทำหน้าที่จัดแสดงโลกอันแปลกประหลาดของผู้คน ‘ดั้งเดิม’ หรือ ‘ชนเผ่า’ ที่อยู่ห่างไกลออกไป หรือมีชีวิตในช่วงอดีตกาลนานโพ้น
แต่เบื้องหลังของที่นี่เป็นอย่างไร?

Advertisement

อดัม คูเปอร์ ผู้เขียน พร้อมเป็นมัคคุเทศก์นำชมผ่านตัวอักษรอันลุ่มลึกในหลากแง่มุม

ภาคที่ 1 ผู้คนในดินแดนห่างไกล

– การรังสรรค์พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น
(โฌมาร์ในกรุงปารีส-ซีโบลด์ในเมืองไลเดิน-ธอมเซนในกรุงโคเปนเฮเกน)

– อารยะและอนารยะ : บริติชมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์พิตต์ริเวอร์ส
(ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการ และชาติพันธุ์-ความท้าทายของพิตต์ ริเวอร์ส)

– พิพิธภัณฑ์ในเยอรมนีและประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของมนุษยชาติ
(อิทธิพลของฮุมโบลด์ท-เคล็มม์ในเมืองไลพ์ซิช-บัสทีอันในกรุงเบอร์ลิน)

– ความรุ่งโรจน์และความร่วงโรยของพิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ
(งานนิทรรศการโลก-พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ทรอกาเดโร-พิพิธภัณฑ์มนุษยชาติ-คติเหนือจริง-สงครามโลกครั้งที่ 2)

– จุดแวะพักก่อนเข้าชมนิทรรศการห้องถัดไป : ชาวอเมริกันนายหนึ่งในกรุงปารีส

ภาคที่ 2 ชนพื้นเมืองอเมริกัน โองการของพระเจ้า และคติข้อยกเว้นอเมริกัน

– การออกสู่ตะวันตกของสถาบันสมิธโซเนียน หรือการพิชิตดินแดนตะวันตกในฐานะเรื่องเล่าที่ถูกปรุงแต่งขึ้น
(ต้นกำเนิด-ชายแดนตะวันตก-สำนักงานชาติพันธุ์วิทยาอเมริกา-พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา)

– ฟรันทซ์ โบอาส ท้าทายสถาบันสมิธโซเนียน
(ตำนานโบอาสในแวดวงมานุษยวิทยาอเมริกัน-การถกเถียงครั้งใหญ่-แบบแผนเชิงวิวัฒนาการและแบบแผนเชิงภูมิภาค-โบอาสในฐานะนักสะสม)

– พิพิธภัณฑ์โบราณคดีและชาติพันธุ์วิทยาอเมริกาพีบอดีของฮาร์วาร์ด
(ต้นกำเนิด-ดาร์วินและนักวิทยาศาสตร์แห่งฮาวาร์ด-พัตนัมและยุคก่อนประวัติศาสตร์)

– งานมหกรรมโลกโคลัมบัส 1893
(นิทรรศการชิคาโก-สถาบันสมิธโซเนียน vs. พัตนัมและโบอาส-พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอเมริกา-จุดจบของยุคสมัยแห่งพิพิธภัณฑ์ในแวดวงมานุษยวิทยา

ภาคที่ 3 การชำระพิพิธภัณฑ์และนำเสนอมันในรูปแบบใหม่

– กระดูกเจ้ากรรม : ต้นเหตุแห่งการโต้เถียง
(คลังสะสมชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์-เผ่าพันธุ์ศึกษา-การส่งคืนสู่มาตุภูมิและการฝังศพ)

– รางวัลแห่งชัยชนะของจักรวรรดิ ศิลปะในราชสำนักแอฟริกาและการค้าทาส
(สงครามและการฉกชิงวัตถุ-ประวัติศาสตร์ของการส่งคืนเจ้าของเดิม-รูปหล่อสำริดเบนิน-การเมืองของการส่งคืนเจ้าของเดิม)

– มันใช่ศิลปะหรือ?
(ต้นกำเนิดศิลปะแนวดั้งเดิม-จากกรุงปารีสถึงมหานครนิวยอร์ก-พิพิธภัณฑ์ศิลปะแนวดั้งเดิมหรือแนวชนเผ่าในศตวรรษที่ 21)

– พิพิธภัณฑ์แห่งชาติและพิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์
(วัฒนธรรมและอารยธรรม-พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านยุโรป-พิพิธภัณฑ์อัตลักษณ์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 – พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าและพิพิธภัณฑ์อเมริกันอินเดียนแห่งชาติ-พิพิธภัณฑ์แห่งการสานเสวนา)

– แสดงและเล่าเรื่อง
(นิทรรศการถาวร นิทรรศการชั่วคราว)

– พิพิธภัณฑ์โลกนาคร

มาร่วมหาคำตอบว่าพิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่นจะสามารถดำรงอยู่ในโลกศตวรรษที่ 21 ได้หรือไม่ ชะตากรรมของวัตถุจัดแสดงจากยุคอาณานิคมจะเป็นอย่างไรและในท้ายที่สุด พิพิธภัณฑ์ที่โอบรับคนทุกชาติ ทุกภาษา ทุกวัฒนธรรมกำลังจะเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้ หรือยังเป็นได้แค่ฝันอันไกลโพ้น

The Museum of Other People พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น

โดย อดัม คูเปอร์ แปลโดย วรรณพร เรียนแจ้ง
ซื้อได้ที่บูธสำนักพิมพ์มติชน J47 สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 52
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7
วันนี้ถึง 8 เมษายนนี้ 10.00-21.00 น.
ติดตามทุกช่องทางของสำนักพิมพ์มติชนที่
Line : @matichonbook
Youtube : Matichon Book
Tiktok : @matichonbook
Twitter : matichonbooks
Instagram : matichonbook
www.matichonbook.com
โทร 0-2589-0020

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image