ร้อยเรื่องราววังต้องห้าม พิมพ์ครั้งที่ 5 วิจิตรอลังการแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน

ร้อยเรื่องราววังต้องห้าม พิมพ์ครั้งที่ 5 วิจิตรอลังการแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน

ร้อยเรื่องราววังต้องห้าม พิมพ์ครั้งที่ 5
วิจิตรอลังการแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมจีน

กลับมาอีกครั้งกับ ร้อยเรื่องราววังต้องห้าม หนังสือภาพที่ร้อยเรียงเรื่องราวความวิจิตรอลังการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนไว้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน โดยผู้เชี่ยวชาญแห่งพิพิธภัณฑ์พระราชวังโบราณ จ้าวกว่างเชา แปลโดย อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช และ ชาญ ธนประกอบ

ฮอตหนักจนต้องพิมพ์ครั้งที่ 5 กับหนังสือภาพที่รวบรวมเรื่องราวของพระราชวังต้องห้ามแห่งกรุงปักกิ่ง ที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด ทั้งด้านเอกสารโบราณและศิลปกรรมประเภทต่างๆ อาทิ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และประณีตศิลป์ ที่ล้วนสะท้อนภาพความวิจิตรอลังการของวัฒนธรรมจีน

สำนักพิมพ์มติชน ชวนพลิกหน้ากระดาษพร้อมอ่านประวัติศาสตร์พระราชวังแห่งนี้ด้วยการฉายภาพจำลองพร้อมเผยเรื่องราวของจักรพรรดิ พระมเหสี หรือพระสนมที่เคยอยู่อาศัยในแต่ละตำหนักเป็นเวลายาวนานถึง 600 ปี ผ่านการเล่าสารพันเรื่องราวตั้งแต่ผังสถาปัตยกรรมครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร ไปจนถึงรายละเอียดยิบย่อยของอิฐ 1 ก้อน แจกันเขียนสี 1 ใบ หรือเครื่องเรือนโบราณ 1 ชิ้น รวมถึงแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบสถาปัตยกรรมโบราณและการใช้งานจริงในแต่ละยุคสมัย

Advertisement

ร่วมพลิกพระราชวังต้องห้ามให้ฟื้นคืนชีวิตผ่าน 9 บทสำคัญ ได้แก่

Advertisement

บทที่ 1 เรื่องราว ณ ใต้หล้าอันไกลโพ้น
บทที่ 2 เรื่องราวของฝ่ายเหนือ
บทที่ 3 เกร็ดย่อยจากพระตำหนักใหญ่
บทที่ 4 เรื่องของราชกิจและราชวงศ์
บทที่ 5 เรื่องราวของฝ่ายใน
บทที่ 6 เรื่องราวความยิ่งใหญ่
บทที่ 7 เรื่องของจิตวิญญาณ
บทที่ 8 เรื่องราวจากพระราชอุทยาน
บทที่ 9 ใส่ใจสารพันเรื่องราว

ว่าแล้ว มาลองเหยาะน้ำจิ้ม ชิมรสชาติแห่งอารยธรรมอ่านเรื่องราวผ่านภาพสวยๆ ของอุทยาน 2 แห่งของจักรพรรดิเฉียนหลง ได้แก่ อุทยานเจี้ยนฝูกง และอุทยานหนิงโซ่วกง ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญภายในพระราชวังกู้กง รวมถึง ‘ไท่เหอเตี้ยน’ อาคารที่ฐานันดรสูงสุดและขนาดใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม

อุทยานเจี้ยนฝูกง ‘แม้จะหลงทิศ หลงทางก็ล้วนได้พบทัศนียภาพงดงาม’

อดีตอุทยานแห่งนี้เดิมเป็นที่ประทับ 5 แห่งของจักรพรรดิเฉียนหลง ขณะเป็นองค์ชาย และเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้สอย โดยให้แห่งที่ 1 เปลี่ยนเป็น ‘รุ่นฟางไจ’ และเพิ่มเวทีละคร แห่งที่ 2 ยกฐานะขึ้นเป็น ‘ฉงฮว๋ากง’ แห่งที่ 3 เปลี่ยนเป็นห้องครัวของฉงฮว๋ากง และเมื่อ ค.ศ.1742 จึงโปรดให้บูรณะแห่งที่ 4 และ 5 เป็น ‘อุทยานเจี้ยนฝูกง’ มีพื้นที่ประมาณ 4,020 ตารางเมตร

สำหรับชื่ออุทยานเจี้ยนฝูกงมาจากตำแหน่งที่ตั้งในพระตำหนักประธาน โดยมีอีกชื่อหนึ่งคือ ‘อุทยานตะวันตก’ เพราะตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของเขตพระราชฐานชั้นใน สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.1742 ขณะนั้นจักรพรรดิเฉียนหลงมีพระชนมายุ 31 พรรษา

30 ปีหลังจากนั้นจักรพรรดิเฉียนหลงโปรดให้สร้างอุทยานอีกแห่ง ชื่อว่า ‘อุทยานหนิงโซว่กง’ ไว้ทางฝั่งตะวันออกของพระราชวัง และให้อุทยานแห่งนี้ถอดแบบมาจากอุทยานเจี้ยนฝูกง โดยนัยให้เป็นสิ่งก่อสร้างที่อยู่คู่กัน แต่อยู่คนละทิศคือ ตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งสามารถมองเห็นเงาของตนเองได้จากอีกฝั่ง นอกจากนี้ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดงานด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงนิพนธ์บทกวีไว้กว่า 4 หมื่นบท นิพนธ์ตั้งแต่การสร้างอุทยานเจี้ยนฝูกง และการสร้าง ‘อุทยานหนิงโซว่กง’ แสดงถึงความรุ่งโรจน์ของพระองค์ ที่ไม่มีผู้ใดได้ใช้ชีวิตเฉกเช่นนี้

บรรยากาศภายในอุทยานดังกล่าว ทางเข้าค่อนข้างลึกลับ เนื่องจากสร้างเพื่อรองรับกิจกรรมสวนต่างๆ ทั้งหอ ถัง เก๋อ เซวียน ห้อง และไจ ที่อยู่ตามสวนขนาดเล็ก 6 แห่งตลอดรอบระเบียงทางเดิน และรายล้อมด้วย ‘เหยียนชุนเก๋อ’ สร้างความสนุกสนานว่า ‘แม้จะหลงทิศ หลงทางก็ล้วนได้พบทัศนียภาพงดงาม’

อุทยานหนิงโซ่วกง ‘ทัศนียภาพแปรเปลี่ยนทุกอย่างก้าว’

อุทยานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อจักรพรรดิเฉียนหลงมีพระชนมายุ 60 พรรษา ขณะเตรียมสละราชบัลลังก์ เพื่อไปใช้ชีวิตบั้นปลาย โดยอุทยานแห่งนี้มีพื้นที่แคบยาว ใต้จรดเหนือ 160 เมตร ตะวันออกถึงตะวันตกกว้าง 37 เมตร เนื้อที่ 5,920 ตารางเมตร เพื่อไม่ให้รู้สึกแคบจนเกินไป ผู้ออกแบบจึงแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน โดยมีบริเวณชมทิวทัศน์ 5 แห่ง แต่ละส่วนต่างมีเอกลักษณ์ตรงตามเจตนา ‘ทัศนียภาพแปรเปลี่ยนทุกอย่างก้าว’

เมื่อเข้าผ่านประตูเหยี่ยนฉีทางใต้ของอุทยานจะพบส่วนที่ 1 แต่หากเข้าทางระเบียงคดเคี้ยว อาคารหลักของส่วนที่ 1 จะพบ ‘กู่ฮว๋าเซวียน’ ทางซ้ายของอาคารมี ศาลาซี่ส่าง ส่วนเฉลียงที่ยืนออกจากตัวศาลาสร้างไว้สำหรับการละเล่น และดื่มสุรา

ส่วนที่ 2 เป็นอาคาร 3 หลังหันหน้าเข้าหากัน ประดับไม้ดอกง่ายๆ และหินจากทะเลสาบไท่หู อาคารหลักคือ ‘ซุ่ยชูถัง’ มีห้องด้านข้างทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก อาคารทุกหลังมีระเบียงเชื่อมถึงกัน รวมทั้งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีระเบียงเชื่อมสู่ส่วนที่ 3

ส่วนที่ 3 มีภูเขาจำลองและก้อนหินเต็มพื้นที่ สะท้อนถึงความ ‘ว่าง’ ในส่วนที่ 2 กับความ ‘เต็ม’ ของส่วนที่ 3 ตัดกันอย่างชัดเจน อาคารหลักของส่วนนี้คือ ‘หอชุ่ยส่าง’ และ ส่วนที่ 4 สร้างเลียนแบบจาก ‘อุทยานเจี้ยนฝูกง’ โดยมีอาคารหลักคือ ‘ฝูว่างเก๋อ’ ประกอบด้วย ศาลาปี้หลัว หออวิ๋นกวง อี้ว์ชุ่ยเซวียน และเจวี้ยนฉินไจอย่างวิจิตรงดงาม

‘ไท่เหอเตี้ยน’ (สถาปัตย์) ที่สุดแห่งฐานันดร

‘ไท่เหอเตี้ยน’ หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ‘จินหลวนเตี้ยน’ เป็นอาคารที่ฐานันดรสูงสุดและขนาดใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม สร้างเสร็จสมบูรณ์สมัยรัชวงศ์ชิง เมื่อ ค.ศ.1420 ขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า ‘เฟิ่งเทียนเตี้ยน’ ต่อมาในช่วง ค.ศ.1562 เปลี่ยนชื่อเป็น ‘หวงจี๋เตี้ยน’ และเมื่อ ค.ศ.1646 ได้กลับมาใช้ชื่อ ‘ไท่เหอเตี้ยน’

ภายในมีประติมากรรมที่เชื่อว่าเป็นสื่อกลางระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ของจักรพรรดิ เพื่อรับบัญชาจากสวรรค์ โดยตลอดทางเดินมีประติมากรรมทองแดงรูปเต่าและนกกระเรียนตั้งไว้อย่างละ 1 คู่ รวมทั้งติ่งทองแดง สำหรับเผากำยาน 18 กระถาง เมื่อมีพระราชพิธีนิยมเผาไม้จันทน์ กิ่งสน จนเสมือนปกคลุมด้วยเมฆหมอก

ประติมากรรมทองแดงรูปเต่า ตั้งอยู่สองข้างของไท่เหอเตี้ยน โดยท้องเต่ามีลักษณะกลวง เพื่อให้สะดวกต่อการเผาเครื่องกำยานในพระราชพิธี ลักษณะของเต่ามีความใกล้เคียงกับมังกรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ‘ปี้ซี่’ กล่าวคือ ลำตัวเป็นเต่า หัวเป็นมังกร มีฟัน 1 แถว แต่ไม่ได้แบกของที่มีน้ำหนักไว้ เมื่อจัดพระราชพิธีจะเผาเครื่องหอมภายในประติมากรรมทองแดงรูปเต่า เช่น ไม้จันทน์ และกิ่งสนในท้องเต่า และควันเครื่องหอมจะค่อยๆ ลอย ออกมาจากปากเต่า บรรยากาศอบอวลกลิ่นหอม ขณะเดียวกันก็ได้บรรยากาศศักดิ์สิทธิ์ขรึมขลัง

ติ่งทองแดงเผากำยาน เรียกว่า ‘ซาวกู่’ ทำเลียนแบบสีทองแดงโบราณ โดยเอกสารโบราณอธิบายไว้ว่า ซาวกู่ คือ การนำภาชนะทองแดงไปหมักไว้ในดินเหลืองและดินผสมมูล แล้วนำมาอบความร้อนด้วยถ่าน ภาชนะจะมีสีเหมือนของโบราณ ภาชนะบางชิ้นจะต้องเผาและฝังนานถึง 2-3 ปี

ลวดลายประดับบนภาชนะติ่งทองแดงมีเพียงลายเดียวคือ ลายไฟ ตั้งบนฐานศิลากลมเลียนแบบเครื่องไม้ที่แกะสลักอย่างละเอียดงดงาม

ประติมากรรมทองแดง รูปนกกระเรียนคู่ ตั้งอยู่หน้าประติมากรรมทองแดงรูปเต่า สัตว์ทั้ง 2 คู่นี้รวมกันเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสายน้ำ และขุนเขายืนยงชั่วนิรันดร์ แสดงถึงความสุขและอายุยืนยาว ตำนานเล่าว่า ส่วนขาของประติมากรรมรูปนกกระเรียนหน้าไท่เหอเตี้ยน มีรอยประทับเว้าลึกลงไป เกิดจากเมื่อครั้งมันตามขบวนเสด็จประพาสภาคใต้ของจักรพรรดิคังซี แล้วโดนพระองค์ยิงธนูใส่ด้วยความเข้าใจผิด

ร้อยเรื่องราววังต้องห้าม ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 เปิด Pre-Order แล้ว วันนี้ถึง 27 สิงหาคม 2567 ราคาเพียง 950.- จากราคา 1,200.- (จัดส่งฟรี) พร้อมรับของพรีเมียมถุงผ้าลายวังต้องห้าม Limited Ediion เฉพาะพรีออเดอร์เท่านั้น 1 ใบ (ขนาด 35×35 ซม. ผ้าแคนวาส) เริ่มจัดส่งหนังสือตั้งแต่วันที่ 9 กันยายนนี้ เป็นต้นไป

ของพรีเมียมถุงผ้าลายวังต้องห้าม

ร้อยเรื่องราววังต้องห้าม (พิมพ์ครั้งที่ 5)

ผลงาน จ้าวกว่างเชา
แปลโดย : อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช และ ชาญ ธนประกอบ
สั่งจองล่วงหน้าและติดตามสำนักพิมพ์มติชนได้ผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ
เว็บไซต์ www.matichonbook.com
Line : @matichonbook
Youtube : Matichon Book
Tiktok : @matichonbook
Twitter : matichonbooks
Instagram : matichonbook
โทร 0-2589-0020 ต่อ 3350-3360

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image