โซเมีย, ไท-ไต “เขียนไม่เสร็จ” ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์

โซเมีย, ไท-ไต ‘เขียนไม่เสร็จ’ ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์

โซเมีย, ไทไต เขียนไม่เสร็จ” ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ โดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ

นิธิ เอียวศรีวงศ์” ลายเส้นฝีมือ อรุณ วัชระสวัสดิ์ (เมื่อ 44 ปีที่แล้ว) ใน วารสารธรรมศาสตร์ (มิ..-.. 2524.)

โซเมีย ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์

ถ้าไม่นับไทยสยามในภาคกลางและคาบสมุทรมลายูแล้ว กลุ่มคนที่ในภายหลังเรียกตนเองว่า ไทหรือไต ล้วนอยู่บนโซเมีย ซึ่งก็คือผืนที่สูงอันตั้งอยู่ในจีนใต้ ตั้งแต่ในประเทศจีนบริเวณใต้แม่น้ำแยงซีไปทางตะวันตก จนถึงที่ราบสูงทิเบ เทือกเขาหิมาลัย และย้อนลงทางใต้เป็นเทือกเขา ทางตะวันตกของเวียดนาม รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของลาว ไทย และพม่าตอนเหนือ

ADVERTISMENT

คนไตยวน ไตลื้อ ไตเขิน ไตโหลง ไแข่ ไตอะหม ไทดำ ไทขาว ไทแดง ตลอดไปถึงไทลาย คนญัย ไทที่ถูกเรียกว่าโท้หรือโถ่/ถู่ ที่อยู่ในตอนเหนือสุของเวียดนาม และบางส่วนของกวางสี จ้วง รวมถึงคนไทไตอีกมากที่อยู่ปะปนกับคนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในหลายชุมชนทางตอนใต้ของจีน ล้วนมีชีวิตอยู่บนซเมีย และหากยังจดจำอดีตของตนได้ เหล่านั้นก็เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นบนโเมียทั้งสิ้น

แม้แต่รัฐสุโขทัยก็ตั้งอยู่ชายขอบของโซเมีย เทวดา พระพุงซึ่งเป็นที่นับถือของชนชั้นปกรองก็อยู่บนเขาสูง อันตั้งอยู่ส่วนปลายของโซเมีย รัฐที่ใช้ภาษาไทในที่ราบสูงอีสานลวนตั้งอยู่บนส่วนหนึ่งของซเมีย เพราะแท้จริงแล้ว ที่ราบสูงอีสานเป็นที่ราผืนใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ส่วนปลายๆ ของโซเมีย และเป็นที่ราบซึ่งพบได้อีกหลายแห่งบนโซเมีอันประกอบด้วย ทิวเขาสลับซับซ้อนและสงลิ่วสลับกับที่ราบลุ่มน้ำ ซึ่งมีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างหลายแห่ง

ADVERTISMENT

ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะเริ่มเรื่องราวของไทไตด้วยการบรรยายถึงโซเมียก่อน

30 มีนาคม 2566


รวมข้อมูลวรรณกรรมวิชาการ

โซเมีย, ไทไต ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์
สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ

เปิดคลังข้อมูล โซเมีย, ไทไต ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ทั้งต้นฉบับ ร่าง ข้อมูลดิบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงบทความวิชาการที่เคยเผยแพร่แล้วในวงจกัด

ทางเลือกของประวัติศาสตร์ไทยที่ ไม่คลั่ง เชื้อชาติไทย

ถ้าไม่นับไทยสยามในภาคกลางและคาบสมุทรมลายูแล้ว กลุ่มที่ในภายหลังเรียกตนเองว่า

ไทไต” ล้วนอยู่บนโซเมีย และอาจมีความเกี่ยวข้อง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง กับบรรพชนคนไทยในปัจจุบัน

แต่พวกเขาไม่ใช่คนไทยที่มีเชื้อชาติไทยสายเลือดบริสุทธิ์ตามนิยามของรัฐไทย

เพียง 364.- จัดส่งฟรี จากปกติ 455.-

โปรโมชั่นตั้งแต่วันที่ 3 ..-12 .. 68 เริ่มจัดส่งตั้งแต่วันที่ 14 .. 68 เป็นต้นไป


คำทรงจำ

สุชาดา จักรพิสุทธิ์

อาจารย์นิธิเคยปรารภกับภรรยาและมิตรบางคนเมื่อหลายปีก่อน ว่าอาจารย์อยู่อาศัยในเชียงใหม่มาครึ่งค่อนชีวิต อยากทำอะไรตอบแทนบุญคุณแผ่นดินเชียงใหม่ อาจารย์จึงดำริจะเขียนหนังสือวิชาการหรือกึ่งวิชาการขึ้นเล่มหนึ่ง เนื้อหาประมาณ “ประวัติศาสตร์ล้านนานอกขนบ”

อาจารย์ได้ค้นคว้าเอกสารจำนวนมาก ทั้งประวัติศาสตร์พื้นถิ่นเป็นรายจังหวัด เช่น ที่เกี่ยวกับจังหวัดแพร่, น่าน, เชียงรุ้ง, เชียงแสน และสืบค้นเอกสารเก่าจำนวนมากที่เกี่ยวกับอาณาจักรล้านนาโบราณ และเริ่มเขียนโน้ต จัดระบบเอกสาร เท่าที่ภรรยาพบจากคอมพิวเตอร์ มีทั้งแผนที่และภาพถ่ายโบราณ, first draft ที่เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2556 และเริ่มเขียน text ตั้งแต่ปี 2560 เช่น ประเด็น ไทไต ว่าด้วยชาติพันธุ์และอัตลักษณ์, อำนาจของล้านนาในศตวรรษที่ 15, ล้านนากับอำนาจข้างเคียง เป็นต้น

จากการค้นคว้าและอ่านเอกสารโบราณจำนวนมาก อาจารย์คงจะประทับใจหรือได้พบกับประเด็น ZOMIA (มาจาก zomi ในภาษากลุ่มทิเบตพม่ากลุ่มหนึ่ง แปลว่าชาวเขา) จึงหันเหความสนใจมาที่เรื่องโซเมีย เพราะเห็นว่าเป็นรากเหง้าประวัติศาสตร์ที่ลึกสุดในการอธิบายความเป็นมาของชนชาติไท

อาจารย์เริ่มเขียนโซเมีย บทที่ 1 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 ซึ่งคือช่วงเวลาระหว่างการรักษาโรคมะเร็งหายในช่วงแรก อาจารย์ทยอยเขียนเพิ่มอีก 5 หน้าในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 และเขียนเพิ่มอีกในวันที่ 30 มีนาคม 2566 ซึ่งคือห้วงเวลาที่ตรวจพบว่าโรคมะเร็งกลับมาอีก

ช่วงที่อาจารย์ป่วยอยู่ อาจารย์ยังคงอ่านหนังสือ ค้นคว้าและเขียนอะไรเก็บไว้เรื่อยๆ เหมือนอาจารย์เตรียมพร้อม ภรรยาพบว่าอาจารย์จัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ และจัดทำ parallel file หรือเซฟข้อมูลคู่ขนานไว้ในแมคบุ๊และใน thumb drive จำนวนมาก มีข้อมูลที่ยังไม่ได้เผยแพร่จำนวนหนึ่ง เช่น ข้อเขียนเกี่ยวกับกองทัพ จำนวน 13 หน้า และเขียนโน้ตลายมือขนาดยาวเกี่ยวกับกษัตริย์กับศาสนา สแกนไว้เป็น pdf

นอกจากนี้ยังมีหัวข้อ “ส..” หรือ “สั่งเสีย” อีก 10 ประเด็น เขียนเป็นลายมือและสแกนเซฟไว้เช่นกัน อาจารย์บอกกับภรรยาว่าตั้งใจจะเขียนสั่งเสียสังคมไทย ถึงประเด็นปัญหาสำคัญของสังคมไทยจากอดีตที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน เช่น

*สยามรอดพ้นอาณานิคมได้อย่างไร

*Modernity เป็น power สำหรับแย่งชิงอำนาจกันภายใน (Kullada) จึงมี limitation มาก เพราะบาง aspect ของ modernity บ่อนทำลาย traditional power ลงเอง

*ไม่ได้ใช้ modernity ในการต่อสู้ป้องกันตนเองจากจักรวรรดินิยม เปรียบเทียบญี่ปุ่น, จีน, เวียดนาม, พม่า

*มุ่งรักษาราชตระกูลมากกว่าราชอาณาจักร

*ต้องช่วงชิง กีดกัน และ control

อาจารย์คงครุ่นคิดเรื่องเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา แม้เมื่อนอนโรงพยาบาลกับสายน้ำเกลือและยา อาจารย์ปรารภกับเพื่อนคนหนึ่งที่ไปเยี่ยมว่า ผมเป็นห่วงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น มีเรื่องต้องระวังหลายเรื่อง ผมอยากเขียนไว้เตือนก่อนตาย

ในฐานะของปัญญาชน อาจารย์นิธิเป็นปัญญาชนที่ควรค่าของสังคมมากที่สุด ในฐานะของสามี นิธิก็เป็น “สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต”


คนไทย มาจากชาวสยาม
ลูกผสมหลายชาติพันธุ์

สุจิตต์ วงษ์เทศ

โซเมีย, ไทไต ใน “คลัง” นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นหนังสือรวมข้อเขียนเบ็ดเตล็ด และบทความวิชาการของนิธิ เอียวศรีวงศ์ มี 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนหน้า เป็นต้นฉบับเบ็ดเตล็ด อยู่ใน “เครื่อง” ส่วนตัวของอาจารย์นิธิ ซึ่งมีมากและหลากหลาย แต่เลือกสรรเฉพาะเกี่ยวข้องโดยตรงกับโซเมีย, ไทไต, มี 2 พวก ดังนี้

(1.) ต้นฉบับ “ร่าง” จึงยังไม่ใช่ต้นฉบับจริงที่พร้อมใช้งาน

(2.) ข้อมูลดิบทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เก็บรวบรวมไว้ใช้งาน ซึ่งมีทั้งเคยใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ หรือใช้ไม่หมด

ส่วนหลัง เป็นบทความวิชาการ เคยพิมพ์เผยแพร่แล้วในวงจำกัดซึ่งเกี่ยวข้อง ไทไต และ “ไม่ไทไต” แต่อยู่ร่วมยุคสมัย ได้ยกมารวมไว้เล่มเดียวกัน เพราะเชื่อมโยงเรื่องเดียวกันทั้งหมด เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าต่อยอดไปข้างหน้าไม่รู้จบ

โซเมีย, ไทไต เป็นทางเลือกของประวัติศาสตร์ไทย “ไม่คลั่ง” เชื้อชาติไทย

ภาษาและวัฒนธรรมของชาวสยาม

ไทไต และโซเมีย แนวคิดตั้งต้นจากงานเขียนของนิธิ เอียวศรีวงศ์ เมื่อประมวลเข้าด้วยกันกับหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีมานุษยวิทยา และงานค้นคว้าวิจัยของนักปราชญ์ราชบัณฑิตนักวิชาการครูบาอาจารย์ (เช่น จิตร ภูมิศักดิ์, ศรีศักร วัลลิโภดม ฯลฯ) อาจสรุปอย่างง่ายๆ ต่อไปนี้

1. ไทไต ไม่ใช่คนไทย (เหมือนคนไทยปัจจุบัน) แต่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง กับการเป็นบรรพชนคนไทยปัจจุบัน

2. ไทไต ไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติ เนื่องจาก “เชื้อชาติ” ไม่มีจริงในโลก

3. ไทไต เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ถูกใช้ในความหมาย 2 อย่าง คือ คนและภาษา ซึ่งอาจแยกกันเคลื่อนไหวก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องไปด้วยกันทุกครั้ง ดังนี้

คน ไทไตเป็นชาวเขา มีที่มาบนโซเมีย (ซึ่งเป็นพื้นที่สูงแห่งเอเชีย) ไม่ใช่คนไทย เชื้อชาติไทย สายเลือดบริสุทธิ์ เนื่องจาก “เชื้อชาติ” ไม่มีจริง และ “เชื้อชาติไทย” ก็ไม่มี (แต่ถูกสร้างให้มีโดยชนชั้นนำไทย)

ภาษา ไทไต อยู่ในภาษาตระกูลไทกะได ซึ่งมีความเป็นมาเก่าสุดบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของโซเมีย ราว 3,000 ปีมาแล้ว

[โดยเทียบกับอายุเครื่องมือเครื่องใช้ในแหล่งของคนพูดไทไต ซึ่งเป็นโลหะผสมเรียกสำริด คือ กลองทอง (สำริด) หรือมโหระทึก พบที่มณฑลกวางสีทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ต่อเนื่องทางเหนือของเวียดนาม]

ภาษาเคลื่อนไหวได้ไกลๆ โดยคนไม่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวตามไปด้วย

ภาษาไทไตเป็นภาษากลางทางการค้าดินแดนภายในภาคพื้นทวีป เพราะเป็นภาษาที่มีโครงสร้างซึ่งง่ายต่อการสื่อสารระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ดินแดนภายใน (ส่วนดินแดนใกล้ทะเลและหมู่เกาะใช้ภาษามลายูเป็นภาษากลางทางการค้า)

นี่เองทำให้ภาษาไทไตเคลื่อนไหวแผ่ไปตามเส้นทางการค้าภายในภาคพื้นทวีป สู่ประชาชน “ไม่ไทไต” หลายชาติพันธุ์ “ร้อยพ่อพันแม่” นับไม่ถ้วน ถูกเรียก “ชาวสยาม” เริ่มจากตะวันออกของ โซเมีย ไปทางตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้

เรียกตนเองว่าไทย

คนไทยเริ่มแรกอยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มาจากชาวสยามซึ่งเป็นลูกผสมหลายชาติพันธุ์ “ร้อยพ่อพันแม่” นับไม่ถ้วน ต่อมาเรียกตนเองว่าไทย ด้วยการลากคำว่าไท เข้าบาลีเป็น เทยฺย แล้วกลายเป็นไทยมีเริ่มแรกมีในเมืองอโยธยา (เกือบ 900 ปีมาแล้ว) เรือน พ.. 1700

ชาวสยามเป็นลูกผสมทางภาษาและวัฒนธรรมอันหลากหลายของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ (1.) ภาษาและวัฒนธรรมตามกำเนิดของตน (2.) ภาษาและวัฒนธรรมไทไต (3.) ภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มคนดั้งเดิมและโยกย้ายเข้ามาทีหลัง แล้วมีหลักแหล่งอยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย ลาว, มอญ, เขมร, มลายู, จีน, อินเดีย (บาลีสันสกฤตทมิฬ), อิหร่าน (เปอร์เซีย) ฯลฯ

ภาษาไทยมีเริ่มแรกในเมืองอโยธยา (พร้อมคนไทย) มาจากภาษาสยามซึ่งเป็นภาษาไทไตที่ปะปนภาษาต่างๆ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ไทไต, มอญเขมร, ชวามลายู, จีน, อินเดีย (บาลีสันสกฤตทมิฬ), เปอร์เซีย (อิหร่าน) ฯลฯ

แต่เอกสารทางการไทยยังยืนยันว่าคนไทยมีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน ซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานวิชาการประวัติศาสตร์โบราณคดีมานุษยวิทยา ดังนี้

1. คนไทยไม่มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีนสมัยโบราณ ดังนั้นทางตอนใต้ของจีน ไม่มีคนเรียกตนเองว่าไทยที่มีความหมายอย่างเดียวกับคนไทยในประเทศไทยปัจจุบัน

2. ตอนใต้ของจีนมีไทไต คนพูดภาษาตระกูลไทกะได แต่ไม่ใช่คนไทย เพราะเขาเรียกตนเองตามชื่อชาติพันธุ์ของตน ได้แก่ ไตลื้อชาวลื้อ (สิบสองพันนา), ไตอาหมชาวอัสสัม (ในอินเดีย), ไตมาวชาวลุ่มน้ำมาว (ในพม่า), ไทจ้วงชาวจ้วง (ในกวางสี), ไทเวียงจันท์ชาวเวียงจันท์ (ในลาว), ไทบ้านชาวบ้าน (ทั่วไป)

ไทไต (บนโซเมีย) ทางตอนใต้ของจีน เรียกตนเองตามชื่อชาติพันธุ์ของตน ซึ่ง “ไม่ไทย” แต่ถูกเรียกจากประชาชนลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วยชื่อต่างกัน ดังนี้

สมัยอยุธยา ในเอกสารลาลูแบร์ (ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศส) บอกว่าไทไต มี 2 กลุ่ม ได้แก่ (1.) สยามใหญ่ หรือไทยใหญ่ และ (2.) สยามน้อย หรือไทยน้อย โดยไม่บอกเหตุผลว่าทำไมเรียกอย่างนั้น? และไม่บอกตำแหน่งว่าอยู่ที่ไหน?

แต่หลักฐานพบว่าไทไต ทุกกลุ่มไม่เรียกตนเองว่าไทย (ไม่ว่าไทยใหญ่ หรือไทยน้อย)

สยามรัตนโกสินทร์ แบ่งไทไต เป็น 2 กลุ่ม ด้วยชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้ (1.) กลุ่ม ลุ่มน้ำสาละวิน (ในพม่า) เรียกไทยใหญ่, ลาวพุงดำ (เพราะมีประเพณีทำลายสักตั้งแต่เอวลงไป) และ (2.) กลุ่มลุ่มน้ำโขง (ในลาวอีสาน) เรียกไทยน้อย, ลาวพุงขาว (เพราะไม่มีประเพณีทำลายสัก)

3. ไท, ไต แปลเหมือนกันว่าคน หรือชาว (จากจิตร ภูมิศักดิ์) ที่ไม่หมายถึงคนไทย อย่างเดียวกับคนในประเทศไทยทุกวันนี้ อันมีเหตุจากทางใต้ของจีน (บริเวณโซเมีย) ฮั่นเรียกกลุ่ม “ไม่ฮั่น” ว่า ฮวน, หมาน, เยว่ หมายถึง เหี้ย, ป่า เถื่อน, ผีป่า ฯลฯ

ดังนั้น พวก “ไม่ฮั่น” ตอบโต้พวกฮั่นว่ากูเป็นไทได หมายถึงกูเป็นคน ไม่ใช่เหี้ย, ไม่ป่าเถื่อน, ไม่ใช่ผี

4. ไท หรือ ไต มี “วีรบุรุษ” หรือผู้นำของตนเองซึ่งไม่เกี่ยวกับ “วีรบุรุษ” ในประวัติศาสตร์ไทย เขาจึงไม่รู้จักพ่อขุนรามคำแหง, พระเจ้าอู่ทอง, พระนเรศวร, พระเจ้าตาก ฯลฯ เพราะไม่ใช่ “วีรบุรุษ” ของเขา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image