คอลัมน์ โลกสองวัย : จาก ป.ตรี ถึง ป.เอก

เรื่องของระบบการศึกษาไทยวันนี้เดินทางไปไกลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตั้งแต่มหาวิทยาลัยของรัฐที่มีมาแต่เดิม และจัดตั้งขึ้นใหม่อีกหลายแห่ง

ประเภทที่ปรับเปลี่ยนสถานภาพจากโรงเรียน เป็นวิทยาลัย เป็นสถาบัน และเป็นมหาวิทยาลัยในที่สุด คือโรงเรียนฝึกหัดครู เป็นวิทยาลัยครู ปรับการเรียนการสอนจากระดับประกาศนียบัตร เป็นปริญญาตรี เปลี่ยนสถานภาพเป็นกลุ่มสถาบัน และกลุ่มมหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยราชภัฏ บางแห่งเริ่มต้นออกจากความเป็นมหา

วิทยาลัยราชภัฏมีชื่อของตัวเอง บางแห่งออกนอกระบบเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของรัฐอีกหลายแห่ง และบางแห่งเตรียมแต่งตัวออกนอกระบบ

นอกจากนั้น ยังมีสถาบันเทคโนโลยีแต่เดิมเป็นกลุ่มในชื่อสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าตามด้วยชื่อที่มาจากเทคนิค เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า มีแห่งเดียวที่ยังใช้ชื่อสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า คือเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง

Advertisement

ทั้งยังมีมหาวิทยาลัยไม่ต้องสอบเข้า แต่มีห้องเรียน คือมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยเปิดคือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทำให้การเรียนการสอนระดับปริญญาตรีกว้างขวางขึ้น

อีกแห่งหนึ่งคือโรงเรียนฝึกหัดครูอาชีวศึกษา ปรับเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่เปลี่ยนสถานภาพจากโรงเรียนบ้าง วิทยาลัยบ้าง ด้านพณิชยการ การเกษตรและการช่าง

มหาวิทยาลัยทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐเอกเทศ และกลุ่มมหาวิทยาลัย ล้วนแล้วแต่มีวิชาเรียนระดับปริญญาทั้งสิ้น ขณะที่ทุกวันนี้ยังขยายระดับการเรียนขึ้นไปเป็นปริญญาโท และปริญญาเอกอีกหลายสาขา รวมถึงระบบการเรียนภาคนานาชาติ หรือเรียนเป็นภาษาอังกฤษ

Advertisement

เมื่อระบบการศึกษาของไทยมีความต้องการเรียนระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น ยังมีบางสถาบันที่เขยิบตัวเองขึ้นเป็นปริญญาตรีในชื่อเดิม อาทิ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน มาจากโรงเรียนและวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน วิทยาลัยพลศึกษา เป็นสถาบันพลศึกษา เพื่อเพิ่มชั้นเรียนเป็นปริญญาตรี

เมื่อนักเรียนไทยต้องการความก้าวหน้าในการเรียนสูงขึ้นไป เมื่อก่อนนิยมเรียนต่างประเทศในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งที่สอบชิงทุนจากหน่วยงาน ทั้งจากหน่วยงานจัดหาทุนให้ไปเรียน และไปเรียนด้วยตัวเอง ยุคสมัยหนึ่งจึงมีนักศึกษาไทยที่สำเร็จการศึกษาระดับ “ดอกเตอร์” จากต่างประเทศเพิ่มจำนวนขึ้น ทั้งจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยที่พร้อมจะประสาทปริญญาโทและปริญญาเอกให้ได้โดยไม่ยาก

เมื่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเปิดโอกาสให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย และให้มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปถึงปริญญาเอกได้ โดยอยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. มหาวิทยาลัยเอกชนจึงเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกเพิ่มขึ้นในหลายวิชา

วันนี้ มหาวิทยาลัยเอกชนต่างเปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกอีกหลายแห่ง

มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาเอกวิชา “จิตวิทยา” มาหลายปีแล้ว และเมื่อ 7-8 ปีก่อนเปิดการเรียนการสอนวิชาใหม่ คือ หลักสูตรปรัชญาบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชานโยบายสาธารณะและการจัดการ (Doctor of Philosophy (Ph.D.) Public Policy and Management ค่าใช้จ่ายใช้ระบบตลอดหลักสูตร 600,000 บาท แต่ไม่ใช่ “จ่ายครบ จบแน่” ดังที่เล่าลือกัน

อนึ่ง เนื่องในโอกาสเข้าพรรษา ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอเชิญพุทธศาสนิกชนฟังการเทศนาธรรม กัณฑ์ “สุจริตธรรมกถา” ในวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคมนี้ เป็นวันพระใหญ่ แรม 15 ค่ำ เดือน 8 ที่วัดใกล้บ้าน

ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาเถรสมาคมเห็นชอบให้วัดทุกวัดแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์ “สุจริตธรรมกถา”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image