รัฐพุทธมหายาน เก่าสุด อยู่ลุ่มน้ำมูล ในไทย ต้นแบบนครธม ในกัมพูชา

(ซ้าย) พระโพธิสัตว์สำริด (และประติมากรรมสำริดอีกจำนวนหนึ่ง) พบที่ปราสาทปลายบัด บนภูปลายบัด อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์ (ขวา) ปราสาทพิมาย จ. นครราชสีมา ศูนย์กลางพุทธศาสนามหายาน เมื่อหลัง พ.ศ. 1500

พระโพธิสัตว์สำริด (และประติมากรรมสำริดอีกจำนวนหนึ่ง) พบที่ปราสาทปลายบัด บนภูปลายบัด อ. ประโคนชัย จ. บุรีรัมย์

เนื่องเพราะดินแดนแถบนั้น นับถือพุทธศาสนามหายาน ตั้งแต่ยุคแรกรับพุทธศาสนาราวหลัง พ.ศ. 1000

บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูล เริ่มตั้งแต่ลำตะคอง (นครราชาสีมา) ถึงลำปลายมาศ (บุรีรัมย์) รวมพื้นที่แถบทิวเขาพนมดงรัก ได้แก่ ภูพนมรุ้ง, ภูอังคาร, ภูปลายบัด

ล้วนนับถือพุทธแบบผสมผสานระหว่างมหายานกับเถรวาท (หีนยาน) ในวัฒนธรรมทวารวดี แบบเดียวกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง ตั้งแต่ราวหลัง พ.ศ. 1000

Advertisement

ต่อไปข้างหน้า ราวหลัง พ.ศ. 1500 บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูลจะมีศูนย์กลางสำคัญ นับถือมหายานอยู่ที่เมืองพิมาย [เป็นต้นแบบให้พระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 สร้างปราสาทบายน ที่นครธม เนื่องในพุทธศาสนามหายาน]

ปราสาทพิมาย จะเป็นต้นแบบให้พระปรางค์ในรัฐละโว้, รัฐอโยธยา, และรัฐอยุธยา เช่น พระปรางค์วัดมหาธาตุ อยุธยา

พุทธมหายาน เมืองพิมาย เก่าสุดในลุ่มน้ำมูล

เมืองพิมาย มีปราสาทพิมายเป็นพุทธสถานฝ่ายมหายานเก่าแก่ที่สุดในอีสาน [เก่าแก่กว่ามหายานที่ปราสาทบายน เมืองนครธมในกัมพูชา และปรางค์สามยอดเมืองละโว้ (จ. ลพบุรี)]

Advertisement

หลักฐานทางโบราณคดีทั้งเทวรูปโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งพบที่บ้านโตนด (อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา) ก็ดี รวมทั้งปราสาทพิมายที่สร้างเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายานก็ดี ล้วนแสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในบริเวณนี้ให้ความสำคัญกับพุทธศาสนามหายาน

บริเวณ นี้คือเขตแดนที่เรียกว่ามูลเทศะ มีเมืองสำคัญเรียกว่าภีมปุระ ซึ่งต่อมาก็คือ วิมายปุระ [หรือเมืองพิมาย] ตามหลักฐานจารึกโบราณในสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร

บริเวณ เมืองพิมายตามลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล (เช่น ลำห้วยแถลง, ลำนางรอง, และลำปลายมาศ) ไปจนถึงเขตเขาพนมรุ้ง จ. บุรีรัมย์ พบชุมชนโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบหลายแห่งเป็นระยะๆ ไป บางแห่งมีพัฒนาการมาตั้งแต่ราว พ.ศ. 1-500 แล้วเติบโตเป็นบ้านเมืองในสมัยทวารวดี ราวหลัง พ.ศ. 1000 เช่น บ้านเมืองฝ้าย, บ้านผไทรินทร์, บ้านกงรถ เป็นต้น

ชุมชนโบราณ เหล่านี้มักพบศาสนสถาน, พระพุทธรูป, พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ในพุทธศาสนามหายาน ในสมัยทวารวดีมีทั้งหินและสำริด ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบ้านเมืองจากเขตพิมายไปถึงเขต พนมรุ้ง อันเป็นเส้นทางโบราณที่จะผ่านช่องเขาในทิวเขาพนมดงรัก ลงสู่เมืองพระนครบริเวณที่ราบต่ำในกัมพูชา

(ซ้าย) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด ที่ The Metropolitan Museum of Art นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (กลาง) ป้ายจัดแสดงระบุชัดเจนว่ามาจากปราสาทเขาปลายบัด จ. บุรีรัมย์ (ถ่ายโดย ดร. รังสิมา กุลพัฒน์ นักวิจัยประจำแคโรไลนา เอเชีย เซ็นเตอร์ มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา) (ขวา) เศียรพระโพธิสัตว์ หล่อด้วยสำริด (สัญลักษณ์ที่ผมหายไป) เกล้าผมทรงชฎามงกุฎ มีพระมัสสุ (หนวด) อายุราว พ.ศ. 1200 ฝีมือช่างเขมรแบบไพรกเม็ง (จัดอยู่ในกลุ่ม "ประติมากรรมแบบประโคนชัย") พบที่บ้านโตนด อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา (จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)
(ซ้าย) พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด ที่ The Metropolitan Museum of Art นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา (กลาง) ป้ายจัดแสดงระบุชัดเจนว่ามาจากปราสาทเขาปลายบัด จ. บุรีรัมย์ (ถ่ายโดย ดร. รังสิมา กุลพัฒน์ นักวิจัยประจำแคโรไลนา เอเชีย เซ็นเตอร์ มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนา) (ขวา) เศียรพระโพธิสัตว์ หล่อด้วยสำริด (สัญลักษณ์ที่ผมหายไป) เกล้าผมทรงชฎามงกุฎ มีพระมัสสุ (หนวด) อายุราว พ.ศ. 1200 ฝีมือช่างเขมรแบบไพรกเม็ง (จัดอยู่ในกลุ่ม “ประติมากรรมแบบประโคนชัย”) พบที่บ้านโตนด อ. โนนสูง จ. นครราชสีมา (จัดแสดงในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร)

เขตภูเขาไฟบุรีรัมย์

จ. บุรีรัมย์ ตามทิวเขาพนมดงรัก บริเวณเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน มีภูเขาไฟลูกเล็กๆ ที่ดับแล้วหลายแห่ง ได้แก่ ภูพนมรุ้ง, ภูปลายบัด, ภูอังคาร ฯลฯ
บนยอดภูมีร่องรอยของศาสนสถานที่เป็นปราสาทขอมแทบทุกแห่ง ยกเว้นที่ ภูอังคารเป็นศาสนสถานมีเสมาหินสลักภาพเทวรูปปักรอบ เสมาหินทำขึ้นเนื่องในระบบความเชื่อที่มีมาก่อนการสร้างปราสาทบนภูพนมรุ้ง

ส่วนบนภูปลายบัดแม้จะมีปราสาทขอม แต่มีกรุบรรจุพระพุทธรูปกับเทวรูปสำริด ในคติมหายานแบบที่พบที่บ้านเมืองฝ้ายกับที่บ้านโตนดเป็นจำนวนมาก แต่มีผู้ลักลอบขนไปขายให้ชาวต่างประเทศเกือบหมด มีรอดพ้นและตามคืนได้แล้วรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจำนวนไม่มากนัก

บรรดาพระพุทธรูปและเทวรูปเหล่านี้ก็คือรูปเคารพของผู้คนในบ้านเมืองตั้งแต่เขตพิมายเรื่อยไปจนถึงเขตพนมรุ้ง ก่อนนับถือศาสนาฮินดูแบบเมืองพระนคร

ปราสาทปลายบัด 2 ยังมีร่องรอยหลุมขนาดใหญ่จากการลักลอบขุดเมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมา
ปราสาทปลายบัด 2 ยังมีร่องรอยหลุมขนาดใหญ่จากการลักลอบขุดเมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมา

พิมาย ลุ่มน้ำมูล แหล่งเดิมบรรพชน “ขอม”

หลัง พ.ศ. 1500 วัฒนธรรมขอม (เขมร) จากโตนเลสาบ กัมพูชา แผ่ถึงแอ่งโคราช เข้าสู่อีสานและโขง-ชี-มูล

ขณะเดียวกัน การค้าโลกขยายกว้างขึ้น เพราะจีนค้นพบเทคโนโลยนีก้าวหน้าทางการเดินเรือทะเลสมุทร ส่งผลให้บริเวณสองฝั่งโขง-ชี-มูล ที่มีทรัพยากรมั่งคั่งต่างเติบโตมีบ้านเมืองแพร่กระจายเต็มไปหมด

รวมถึงเมืองพิมาย ซึ่งตั้งอยู่ขอบทุ่งกุลาร้องไห้ แล้วมั่งคั่งขึ้นจากการค้าเกลือและเหล็ก

ต้นวงศ์กษัตริย์กัมพูชาอยู่ลุ่มน้ำมูล เพราะบริเวณต้นน้ำมูลตั้งแต่เขตปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง เป็นถิ่นเดิมหรือถิ่นบรรพชนเกี่ยวดองเป็น “เครือญาติ” ของกษัตริย์กัมพูชาที่สถาปนาอาณาจักรกัมพูชาขึ้นบริเวณโตนเลสาบ

ทำให้กษัตริย์อาณาจักรกัมพูชาขึ้นมาก่อสร้างปราสาทสำคัญๆ ไว้ในอีสานจำนวนมาก แต่ที่รับรู้ไปทั่วโลก คือปราสาทพระวิหารในกัมพูชา หันหน้าทางอีสาน และมีบันไดทางขึ้นลงยื่นยาวเข้ามาในไทยทาง จ. ศรีสะเกษ

รัฐเอกเทศในอีสาน

อีสานยุคดั้งเดิม ไม่ได้มีการเมืองการปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเป็นอาณาจักรเดียวกัน

แต่มีลักษณะเป็นรัฐเอกเทศหลายรัฐที่เกี่ยวดองเป็นเครือญาติ ซึ่งวิชาการสมัยใหม่เรียก มัณฑละ ดังนี้

1. บริเวณตอนต้นแม่น้ำมูล มีมัณฑละศรีจนาศะ ตั้งแต่นครราชสีมาถึงบุรีรัมย์ นับถือพุทธมหายาน

[เกี่ยวกับมัณฑละศรีจนาศะ มีคำอธิบายอย่างละเอียดอยู่ในวารสารเมืองโบราณ (ปีที่ 42 ฉบับที่ 1) มกราคม-มีนาคม 2559]

2. บริเวณตอนปลายแม่น้ำมูล หรือจุดรวมโขง-ชี-มูล มีรัฐเจนละ ตั้งแต่อุบลราชธานีและปริมณฑล ได้แก่ สุรินทร์, ศรีสะเกษ, ยโสธร ฯลฯ

3. บริเวณลุ่มน้ำชี ตั้งแต่ชัยภูมิ, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์ ฯลฯ นับถือพุทธเถรวาท

4. บริเวณสองฝั่งโขงอีสานเหนือ มีรัฐศรีโคตรบูร มีเวียงจันเป็นศูนย์กลาง นับถือพุทธเถรวาท

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image