เปิดกลยุทธ์ ปตท. จัด ‘เรียลิตี้’ ปั้นรุ่นใหม่ยกระดับองค์กร

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นต้องปรับวัฒนธรรมองค์กรให้ก้าวสู่ดิจิทัล (Digital Culture) ด้วยการปรับรูปแบบการทำงานให้ก้าวไปในทิศทางที่สอดรับกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐที่มุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ฟันเฟืองหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพคือ การมีบุคลากรที่พร้อมทางด้านดิจิทัล

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงได้ริเริ่มและเดินหน้าโครงการ “PTT TECH Savvy Agent 2018” กิจกรรมการฝึกอบรมรูปแบบใหม่ที่คัดเลือกตัวแทนพนักงานมาเข้าร่วมการแข่งขันประกวดแนวคิดตามโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลที่มีชื่อเสียงระดับประเทศร่วมให้ความรู้แบบ Mentoring/Coaching เพื่อสร้างพนักงานต้นแบบที่มีศักยภาพด้านดิจิทัล ผ่านรูปแบบเกมการแข่งขันแบบ Reality Show ภายในองค์กรซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร

 

Advertisement

ผู้ที่ได้รับรางวัลจะทำหน้าที่เป็น “ทูตแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล” ที่ต้องทำหน้าที่เผยแพร่แนวคิดและผลงานทางนวัตกรรมที่ทันสมัยของกลุ่ม ปตท. ต่อสาธารณชน รวมทั้งทำหน้าที่เป็น Mentor ให้กับพนักงานรุ่นใหม่ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในปีต่อไป

ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า ในปี 2561 ปตท.กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 40 ในฐานะบริษัทพลังงานชั้นนำของประเทศไทย การปรับรูปแบบการทำงานให้ทันสมัยด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาพัฒนาองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้นำด้านดิจิทัลเพื่อสร้างความเข้มแข็งภายในองค์กร รองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและภาคธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เป้าหมายของโครงการ PTT TECH Savvy Agent 2018 จึงอยู่ที่การส่งเสริมคนรุ่นใหม่และมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนองค์กรให้พร้อมแข่งขันในเวทีสากลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน

Advertisement

ไปรู้จักกับ 3 แผนธุรกิจจาก 3 ทูตแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล เริ่มจาก “มีน-ปรัชญา ไหลไพบูลย์” อายุ 32 ปี พนักงานวิเคราะห์และวางแผน ฝ่ายบริหารบริษัทในเครือน้ำมันปิโตรเคมีและการกลั่น ผู้ชนะการแข่งขันประเภท “Developing Digital Mindset”

ปรัชญา ไหลไพบูลย์

ปรัชญาเป็นพนักงาน ปตท. มีอายุงาน 9 ปี กับแผน “Amazon เก๋า…เก๋า” ที่คว้ารางวัลชนะเลิศประเภท “Developing Digital Mindset” หรือการพัฒนาแนวคิดในการใช้เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยคอนเซ็ปต์การ เสนอให้นำผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามเป็นจุดขาย มา เป็นบาริสต้าใน Cafe Amazon เพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผู้สูงอายุ รองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมาถึง ซึ่งจะทำให้ Cafe Amazon กลายเป็นจุด Tourist Checkpoint สำหรับนักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่ที่มักจะหาที่กินที่เที่ยวผ่าน Application

“การเข้าร่วมโครงการ PTT TECH Savvy Agent 2018 ทำให้ผมได้เรียนรู้ เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ และเข้าถึงเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เรื่องการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า การรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็น Big Change หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้ ทำให้เข้าใจการปรับเปลี่ยนของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยให้การทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยสร้าง Value ให้กับองค์กรและพนักงาน” ปรัชญากล่าว

วิน มยุรฤทธิ์ภิบาล

 

ทูตคนที่ 2 วิน มยุรฤทธิ์ภิบาล อายุ 25 ปี วิศวกรในโครงการ ExpresSo ทำหน้าที่แสวงหาโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ เป็นผู้ชนะการแข่งขันประเภท “Sharing Digital Mindset”

วินเป็นบุคลากรรุ่นใหม่ที่ทำงานกับ ปตท.เป็นบริษัทแรกหลังจบการศึกษา โจทย์ทุกรอบวินจะเน้นการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารและความเป็น ปตท. อย่างสร้างสรรค์ สร้างความตื่นตาตื่นใจ จนมาถึงรอบสุดท้ายกับโจทย์ที่ต้องคิดและทำภาพยนตร์โฆษณาตัวใหม่ของ ปตท. เพื่อเผยแพร่ทางสื่อ Social Media ให้ได้ยอดชม 1 ล้าน Views ภายใน 5 วัน วินเลือกที่นำเสนอเรื่องราวการ สนับสนุนผู้พิการทางการได้ยิน ของ Cafe Amazon ซึ่งปัจจุบัน ปตท.ได้มอบโอกาสให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นบาริสต้า ที่ Cafe Amazon สาขามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา มานำเสนอ สร้างความประทับใจและคว้ารางวัลไปในที่สุด

จารุชัย สุจริตธรรม

ทูตคนสุดท้าย “เก่ง-จารุชัย สุจริตธรรม” อายุ 28 ปี พนักงานวิเคราะห์และวางแผน ฝ่ายบริหารบริษัทในเครือน้ำมันปิโตรเคมีและการกลั่น ผู้ชนะการแข่งขันประเภท “Applying Digital Mindset”

จารุชัยทำงานที่ ปตท.เพียงแค่ 3 ปี แต่สามารถนำเสนอแนวคิดที่โดดเด่นเข้าตากรรมการจนผ่านมาถึงรอบสุดท้ายและคว้ารางวัลชนะเลิศจากแผนธุรกิจ “PTT FIT Station Prime” ในรูปแบบของ Sharing Economy ที่รวมเอาสถานีบริการเติมไฟฟ้าให้รถ Electronics Vehicle (EV) ไว้กับ Fit Auto ในลักษณะของ FIT Service Chain ที่เปิดให้บริการทั่วประเทศและเข้าถึงได้ง่ายผ่าน Application FIT FixD สร้างความสะดวก รวดเร็ว และสร้าง Brand Awareness หรือการรับรู้จดจำแบรนด์ ปตท. ได้อย่างดีเยี่ยม

ต้องปรบมือดังๆ ให้กับนโยบายเชิงรุกในการสร้างบุคลากรต้นแบบด้านดิจิทัลและตัวแทนคนรุ่นใหม่ของ ปตท.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image