โรคระบาดในวรรณกรรม และนาฏกรรมรัฐในอดีต

ภาพศพลอยน้ำโดยมีทั้งอีกาและปลามากินซาก ซึ่งน่าจะเป็นภาพสะท้อนโรคห่าระบาดที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จิตรกรรมเขียนบนแผ่นไม้คอสอง ศาลาการเปรียญ วัดท่าข้าม กรุงเทพมหานคร เขียนในสมัยรัชกาลที่ 4

โรคระบาดในอดีตอย่าง อหิวาต์, กาฬโรค, ไข้ทรพิษ ฯลฯ ที่ระบาดแต่ละครั้งมีผู้ป่วยนับแสนๆ คน ที่เคยอ่านกันในเอกสารชั้นต้น หรือบทความที่นักวิชาการต่างๆ นำเสนอ ทำให้รู้ว่าเคยเกิดอะไรขึ้นในบ้านเมือง ในโลก แต่ก็ ไม่ฟินŽ เท่าที่ควร จนมาเจอกับการระบาดของ โควิด-19Ž

ที่สร้างความกระจ่างชัดกับคำว่า โรคระบาดŽ มากมาย

เพราะนอกจากการนำเสนอข่าวของสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในไทยและในประเทศต่างๆ แล้ว ศบค. หรือศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ก็มีการแถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศประจำวันอีกด้วย

“ยิงปืนใหญ่ไล่ผี” ในพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ จิตรกรมฝาผนังภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร เขียนในสมัยรัชกาลที่ 5

เมื่อเป็นกระแสที่ยังระอุเช่นนี้ นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรมŽ ฉบับเดือนมิถุนายน 2563 นี้จึงขอนำเสนอ 2 บทความที่ว่าด้วย โรคระบาดŽ

Advertisement

หนึ่งคือ โรคภัย ไข้ระบาด ห่าลง และวงศ์พระอภัย : การเล่าเรื่องความเจ็บไข้และโรคระบาดในวรรณกรรมของสุนทรภู่Ž โดย ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เพราะเดือนมิถุนายนเป็นเดือนเกิดของสุนทรภู่ ผศ.ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล จึงสอบสวนทวนความงานของสุนทรภู่ที่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บและโรคระบาด เพื่อให้เห็นชีวิตของผู้คนในช่วงรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ที่ต้องเผชิญกับโรคภัย ไข้ระบาด ระบาดหลายครั้งๆ มาดูว่าสุนทรภู่นำข้อมูลดิบใส่เข้าไปในงานของเขา อย่างนิราศเมืองแกลง, รำพันพิลาป, พระอภัยมณี ฯลฯ ได้เนียนขนาดไหน

“ยิงปืนใหญ่ไล่ผี” ในพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ จิตรกรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขียนในสมัยรัชกาลที่ 5 (ภาพจาก http://watsenasanaram.blogspot.com) 

ในที่นี้ขอยกความเจ็บป่วยของตัวละครในเรื่อง พระอภัยมณีŽ พบว่ามีโรคระบาดเกิดขึ้น นั้นก็คือ โรคห่าŽ หรือโรคอหิวาต์

Advertisement

ปรากฏอยู่ในตอนกำเนิดสุดสาคร เมื่อวันหนึ่งสุดสาครจับม้านิลมังกรได้ พระฤๅษีสอนวิชาให้แล้วเล่าเรื่องพระอภัยมณีให้ฟัง สุดสาครออกเดินทางตามหาพระอภัยมณีจนไปถึงเมืองการะเวก ระหว่างทางถูกชีเปลือยหลอกขโมยไม้เท้าและม้านิลมังกรไป ฝ่ายชีเปลือยเมื่อได้
ไม้เท้าและม้านิลมังกรมาแล้วเข้ามายังเมืองการะเวก ชาวเมืองเห็นสภาพสกปรกและเปลือยกายจึงต่างพากันรังเกียจ

ชีเปลือยจึงแสร้งทำอุบายว่าเป็นผู้วิเศษมารักษา โรคห่าŽ ซึ่งกำลังแพร่ระบาดอยู่ หากไม่รีบให้ชีเปลือยรักษาโดยการประพรมน้ำมนต์จะทำให้คนตายเป็นอันมาก ชาวเมืองจึงหมดความรังเกียจ เปลี่ยนเป็นศรัทธาและมองในฐานะ ผู้วิเศษŽ

ด้วยบัดนี้ผีห่ามันกล้าหาญ                 จะเกิดการโกลาโรคาไข้
ให้รากท้นคนตายฉิบหายไป              จงบอกให้กันรู้ทุกผู้คน
แม้นกลัวตายชายหญิงอย่านิ่งช้า        จงออกมานั่งข้างทางถนน
กูจึงจะประพรำด้วยน้ำมนต์                ให้รอดพ้นความตายสบายใจ
คนทั้งนั้นครั้นได้ยินก็สิ้นเกลียด           อุตส่าห์เบียดเสียดกันเสียงหวั่นไหว
มานั่งหลามตามทางสล้างไป              ที่เจ็บไข้คนจูงพยุงมา
……………………… ……………………………

ว่าบัดนี้ชีเปลือยมาโปรดสัตว์               จะกำจัดโรคร้ายให้หายสูญ
ขี่อะไรไม่รู้จักศักดิ์ตระกูล                     รำพันทูลเขาว่าชีนี้ดีนัก ฯ

อนุสาวรีย์สุนทรภู่ และพระอภัยมณี ที่บ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

นอกจากงานของ ดร.อภิลักษณ์แล้ว อีกหนึ่งคือบทความเรื่อง โรคห่ากับการสร้างนาฏกรรมรัฐ : ทำไมจึง ยิงปืนใหญ่ไล่ผีž เมื่อโรคอหิวาต์ระบาดในกรุงเทพฯ พ.ศ.2363Ž โดย กำพล จำปาพันธ์

พ.ศ.2363 คือปีที่เกิดโรคอหิวาต์ระบาดในไทย ซึ่งตรงกับรัชกาลที่2 ความเชื่อของประชาชนทั่วไปในเวลานั้น สาเหตุของโรคระบาด มักเกิดจากอำนาจของผีหรือวิญญาณร้าย การจัดการเกี่ยวกับโรคระบาดจึงต้องจัดการ ผีŽ การระบาดของอหิวาต์ในปีนั้น จึงมีการ ยิงปืนใหญ่ไล่ผีŽ ในพระราชพิธีอาพาธพินาศ

แต่ธรรมเนียมการยิงปืนใหญ่ไล่ผีดังกล่าว กำพล จำปาพันธ์ ค้นคว้าเอกสารต่างๆ และพบว่า มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นเพียงในสมัยรัชกาลที่ 2 ก่อนหน้านั้นร่นขึ้นไปจนถึงสมัยอยุธยา ไม่พบการใช้วิธีนี้ในการรับมือโรคระบาด

การยิงปืนใหญ่โดยทั่วไปใช้ในพิธีการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ซึ่งเป็นการใช้ปืนใหญ่ในพิธีการแบบสากล เพื่อส่งสารระยะไกลว่ามีผู้มาเยือนจากต่างแดนที่เรียกว่า การยิงสลุตž โดยเป็นการยิงตอบโต้กันแบบไม่เล็งเป้าเข้าหาฝ่ายตรงข้ามระหว่างป้อมเมืองท่ากับเรือของคณะทูตเป็น ภาษาปืนž แสดงการต้อนรับด้วยไมตรีจิตŽ

เช่นนี้จึงมีประยุกต์ใช้ในพิธีอื่นๆ ในภายหลัง อย่างเช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, งานพระบรมศพ, พระราชพิธีฉัตรมงคล

จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่า ธรรมเนียมยิงปืนใหญ่ไล่ผี ไล่โรคระบาด มาจากไหน

ในอดีตไม่ว่าจะเป็น โรคระบาดŽ หรือ ปืนใหญ่Ž ต่างล้วนเป็นสิ่งที่รู้จักกันในสยามมาช้านานแล้ว จึงมีศัพท์โบราณเรียกโรคระบาดร้ายแรงว่า โรคห่าŽ และตำราฃพระราชพิธีกล่าวถึงปืนใหญ่ เช่น โคลงทวาทศมาส, ตำราพระราชพิธีเก่า เพียงแต่ไม่ได้ใช้ยิงไล่ผีเท่านั้นเอง

แต่ความเชื่อเรื่องผี ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ผิดปกติต่างๆ เช่น โรคระบาด, ข้าวยากหมากแพง, จลาจล ฯลฯ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังที่ปรากฏใน เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา, ขุนช้างขุนแผน ฯลฯ

จึงน่าสนใจว่า การใช้ปืนใหญ่ต่อสู้กับศัตรูอย่างเชื้อโรคที่มองไม่เห็น ในพระราชพิธีอาพาธพินาศเมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 มีมาอย่างไร ทำไมจึงมีการยิงปืนใหญ่ ผีห่าŽ ที่เป็นเหตุให้เกิดโรคระบาดครั้งนั้นต่างจากผีที่เคยมีมาก่อนหน้าหรือมีที่มาที่ไปอย่างไร?

รวมถึงผลงานเรื่องอื่นๆ ของสุนทรภู่ กล่าวถึงโรคภัย ไข้ระบาดต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในบ้านเมืองช่วง 4 รัชกาลที่สุนทรภู่พบเห็นเป็นอย่างไร

คำตอบของทั้งหมดนี้ ขอได้โปรดอ่านจาก ศิลปวัฒนธรรมŽ ฉบับเดือนมิถุนายน ซึ่งระหว่างนี้เรามีราคาพิเศษให้กับทุกท่านที่สนใจสมัครสมาชิก

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image