เปิดพิกัด ‘Bangkok Design Week 2021’ จาก ‘เจริญกรุง’ ถึง ‘เอกมัย’ บูมท่องเที่ยวชุมชน เศรษฐกิจสร้างสรรค์

จัดติดต่อกันเป็นปีที่ 4 แล้ว สำหรับเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2564 หรือ Bangkok Design Week 2021 งานใหญ่แห่งปีของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA
ปีนี้จัดภายใต้ธีม Resurgence of Possibilties ก้าวต่อไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่Ž เกิดจากความร่วมมือภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ นักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์กว่า 2,000 ราย ต่อยอดชุมชนท้องถิ่น ธุรกิจดั้งเดิม ปลุกบรรยากาศการค้าขาย อารมณ์คนไทยให้คึก และมีความหวัง ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ยังไม่มีทีท่าจะยุติในเร็ววัน

ขยายเวลาเพิ่ม

จัด 3 เดือน แบ่ง 3 ช่วงเวลา

อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิดเผยว่า ถึงจะมีโควิด ในปีนี้ยังคงเดินหน้าจัดงาน หลังเลื่อนไป 2 ครั้ง จากแผนเดิมจะจัดปลายเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เลื่อนเป็นเดือนเมษายน สุดท้ายตัดสินใจไม่เลื่อนอีกแล้ว โดยจัด 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคมถึงวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ มีพื้นที่จัดงานแสดงหลักๆ ย่านเจริญกรุง-ทรงวาด สามย่าน อารีย์-ประดิพัทธ์ และทองหล่อ-เอกมัย

ภายใต้ข้อจำกัดโควิด แบ่งเวลาจัดงาน 3 ระยะ ช่วงวันที่ 8-16 พฤษภาคม วันที่ 12-20 มิถุนายน และวันที่ 3-11 กรกฎาคม อย่างที่ทุกคนทราบดีว่าสภาพแวดล้อมค่อนข้างลำบากไม่สามารถจะพบปะกันได้มากๆ เหมือนเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา มีพันธมิตรร่วมจัดงาน 3,427 ราย ผู้เข้าร่วมงานกว่า 1.3 ล้านคน มียอดผู้เข้าชมงานทั้งไทยและต่างชาติในแต่ละปีประมาณ 400,000 คน เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 750 ล้านบาทŽ

Advertisement

สำหรับปีนี้มีปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม ลดพื้นที่ เลื่อนจัดทัวร์เส้นทางที่เตรียมไว้เป็นปีหน้า ปรับบางกิจกรรมเป็นออนไลน์ และขยายเวลาจัดงานเพิ่ม คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานทั้งออนไลน์และออนไซต์ 150,000 คน และหวังว่าจะทำให้เกิดผลต่อเศรษฐกิจ มีการซื้อขายจริง ตั้งเป้าจะกระตุ้นให้เกิดรายได้และมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ประมาณ 30-50 ล้านบาท โดยวันที่ 8-16 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ผลตอบรับดีระดับหนึ่งมี
ผู้เข้าชมประมาณ 100,000 คน

นิทรรศการ Design PLANT-DOMESTIC

ลัดเลาะ ‘เจริญกรุง-ทรงวาด’

เช็กอินของดี จุดไฮไลต์

ส่วนกิจกรรมประจำเดือนมิถุนายน อภิสิทธิ์Ž บอกว่า มี 10 จุดไฮไลต์ กระจายหลากหลายพื้นที่จัดงานบริเวณย่านเจริญกรุงและทรงวาด พร้อมกับพาเช็กอินดูพื้นที่จริงเมื่อบ่ายแก่ๆ ของวันที่ 12 มิถุนายนที่ผ่านมา

Advertisement

ออกสตาร์ตจุดแรก ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบกรุงเทพฯŽ หรือ TCDC บริเวณ Creative Space ชั้น 5 และโถงบันไดเลื่อนชั้น 4 จัดแสดงโครงการ Launchpad Showcase กว่า 30 แบรนด์ จับคู่ธุรกิจหรือ Business Matching ระหว่างผู้ประกอบการกับดีไซเนอร์สนับสนุน SMEs ไทยในการเพิ่มช่องทางการขาย ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สร้างแบรนด์ใหม่ให้โดนใจตลา

เมื่อเดินลงมาบริเวณชั้น 1 เป็นพื้นที่โชว์สินค้า เมด อิน เจริญกรุงŽ เป็นของดีประจำย่านเจริญกรุง มี 8 ร้านค้ารุ่นเก๋าผสมกับไอเดีย 8 นักออกแบบรุ่นใหม่ เพื่อต่อยอดธุรกิจร้านค้าดั้งเดิม ให้เข้ากับบริบทของโลกยุคใหม่

อาทิ ร้านน้ำขมหว่าโถวหยั่นหว่อหยุ่น อยู่คู่ถนนเจริญกรุงมากว่า 90 ปี
จากเครื่องดื่มสมุนไพร กลายร่างเป็นไข่มุกน้ำขม

ร้านตัดสูทซินตูอาภรณ์ ร้านสูทแห่งแรกของเจริญกรุง

ร้านจิรวัฒน์ฉลุโลหะ เปิดมา 60 ปี จากภูมิปัญญาการฉลุโลหะ สู่เครื่องประดับที่ไม่เหมือนใคร

ร้านเตียง้วนเฮียง ร้านของฝาก ของกินเล่น สไตล์หมูๆ เปิดมา 60 ปี

ร้านขายยาเอียะแซ อายุกว่า 100 ปี จากสมุนไพรจีน สู่ลูกอมในหีบห่อพกพาได้ทุกที่

ร้านสุวรรณเครื่องเทศ ที่ค้าขายมากว่า 90 ปี จากเครื่องเทศใช้ปรุงอาหาร สู่คราฟต์ช็อกโกแลตสไตล์ไทยๆ

ร้านเฮงเสง ที่เย็บหมอนไหว้เจ้าลายโบตั๋น สืบทอดกิจการมากว่า 100 ปี

จากนั้นเดินลัดเลาะไปยัง บางรัก ริเวอร์วิวŽ เป็นการแสดงผลงานศิลปะบนพื้นที่สาธารณะ มีสีสันโดดเด่น Stay CoolŽ หรือศาลาคอย(ล์)เย็น จากประเทศญี่ปุ่น เป็นการนำวัสดุที่นิยมใช้อยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ ด้วยการนำ อิฐดินเผาŽ ที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิและลดความร้อนภายในอาคาร ดูดซับน้ำได้บางส่วน ซึ่งถูกนำมาใช้ในอาคารที่โตเกียวมาแล้ว หากประเทศไทยสามารถนำมาต่อยอดได้ จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนได้

เมื่อข้ามถนนไปอีกฝั่ง เดินเข้าไปในซอยเจริญกรุง 38 จะพบกับอีกไฮไลต์ที่ซ่อนอยู่ใน โอ.พี.เพลส แบงค็อกŽ ศูนย์การค้าเก่าแก่ย่านเจริญกรุง ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่ให้ CEA ใช้พื้นที่จัดนิทรรศการศิลปะ

ภายในปรับพื้นที่ร้านค้าเป็นพื้นที่โชว์ศิลปะผลิตมาจากวัสดุต่างๆ หลากหลาย เมื่อเดินเข้าไป บริเวณโถงล็อบบี้ เป็นจุดแสดงของ MOHOSTUDIO เป็นธีมปรับเพื่ออยู่รอด มีโมเดลรูปแมวใหญ่ ที่ประดิษฐ์มาจากวัสดุรีไซเคิล ตั้งให้ชมอยู่กลางฟลอร์

 

นิทรรศการพินิจ

‘พินิจ’ นิทรรศการ

แรงบันดาลใจจากโควิด

ส่วนบริเวณชั้น 2 จะมีนิทรรศการ พินิจŽ (PINIJ) ผลงานศิลปะและการออกแบบ นำเสนอมุมมองจากนักออกแบบที่มีชื่อเสียงทั้งในไทยและต่างประเทศกว่า 10 ราย อาทิ รัฐ เปลี่ยนสุข, จูน เซกิโน่, ปิยพงศ์
ภูมิจิตร ผ่านผลงานที่แสดงถึงการทำให้ กาย ใจ สงบ มีสมาธิ และความสุขŽ สร้างสรรค์ผลงานในยุคโควิดยังระบาดไม่หยุด

หากเมื่อยล้า ระหว่างทางมีร้านกาแฟให้แวะพัก หนึ่งในนั้นที่ต้องไปเช็กอิน ร้าน CarminaŽ คาเฟ่เปิดใหม่ย่านเจริญกรุง ที่ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์และของสะสมย้อนยุค และมีเมนูพิเศษที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่องาน Bangkok Design Week 2021 โดยเฉพาะ เป็น น้ำลิ้นจี่สดŽ ที่กินแล้ว ชุ่มคอ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง

ATT19 คาเฟ่Ž

จากนั้น ผอ.อภิสิทธิ์Ž พาตะลุยต่อที่ ATT19 คาเฟ่Ž บรรยากาศที่นี่น่าสนใจ ตั้งแต่ประตูทางเข้าเป็นไม้เก่า ทางเดินที่ปกคลุมด้วยต้นไม้สีเขียวทอดยาวไปจนถึงบ้านไม้โบราณ 2 ชั้น จัดสรรภายในบ้านเป็นสัดส่วน ด้านล่างเป็นพื้นที่ร้านกาแฟให้นั่งชิล และจัดโชว์ของแต่งบ้านสไตล์โบราณ

ขณะที่ชั้นบนเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ Design PLANT-DOMESTIC โดยกลุ่ม Design PLANT พื้นที่รวมตัวของนักออกแบบในวงการเฟอร์นิเจอร์ไทยและสินค้าสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น กว่า 50 ชิ้นงาน เช่น THINKK Studio, PDM, Dots Design Studio, SARNSARD การเข้าชมจำกัดวันละ 7 รอบ รอบละ 20 คน ตั้งแต่เวลา 11.00-18.30 น.

‘สวนโชฎึก’

เปลี่ยนจากที่ทิ้งร้าง สู่ ‘พื้นที่สีเขียว’ เพื่อชุมชน

 

สยามคาร์เปท

ปิดท้ายที่ พื้นที่สวนชุมชนโชฎึกŽ ย่านตลาดน้อย โดยกลุ่ม we!park ร่วมกับสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ เนรมิตพื้นที่ ติดคลองผดุงกรุงเกษม จากหัวลำโพงไล่ลงมาถึงชุมชนโชฎึก เปลี่ยนจากพื้นที่ทิ้งร้างหรือไม่ถูกใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวเล็กๆ แทรกอยู่ริมคลอง สร้างจุดโฟกัสสเปซ 7 จุด และบริเวณชุมชนโชฎึกสร้างเสร็จเป็นจุดแรก

ทั้งหมดเป็นแค่บางส่วนที่ผู้บริหาร CEA พาชม ยังมีอีกหลายไฮไลต์ที่ห้ามพลาด Bangkok Projection Mapping Competition 2021Ž (BPMC2021) เป็นพื้นที่ให้นักออกแบบรุ่นใหม่โชว์ผลงานออกแบบภาพเคลื่อนไหว ภายใต้ธีม Wish คำอธิษฐานและความหวังŽ ฉายบนผนังอาคาร East Asiatique ซอยเจริญกรุง 40 บริเวณท่าเรือ โรงแรมโอเรียนเต็ล สถาปัตยกรรมอาคารเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เปิดฉายวันละ 2 รอบ เวลา 19.00-20.00 น. และ 20.00-21.00 น.ถึงวันที่ 20 มิถุนายนนี้

ศาลาคอย(ล์)เย็น

NewnessŽ โดย Photon อินเตอร์แอคทีฟที่นำประสบการณ์ของตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) เป็นสื่อกลางสื่อสารและกระจายข้อมูล ส่งเสริมการพัฒนาย่านตลาดน้อยให้คนหลากรุ่นเกิดความเข้าใจในอัตลักษณ์ของย่าน ที่ผู้เข้าชมจะได้รับ กาชาปองŽ กลับไปเป็นของที่ระลึก จัดแสดงที่ศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก และบ้านเหลียวแล ตลาดน้อย

สัมพันธภาพ สัมพันธวงศ์Ž โดย CORPS ผลงานการจัดแสดง Installation Art และ Live DJ Session ในคอนเซ็ปต์การผสมผสานชุมชนชาวจีนยุคเก่า และยุคใหม่ และนำเทปคาสเซตจากค่าย สหกวงเฮงŽ ในตลาดน้อย ที่เป็นไอเท็มสุดฮิตในสมัยก่อน มานำเสนอผ่าน DJ Desk จัดแสดงที่ศาลเจ้าโจวซือกง ตลาดน้อย

Future of Work/Play/Live SpaceŽ โดย Paperspace นิทรรศการเชิงประสบการณ์ในรูปแบบ Virtual Reality (VR) จำลองสถานการณ์วิถีชีวิตใหม่ของคนเมือง ทั้งสำนักงาน สถานศึกษา ธุรกิจร้านอาหาร เทคโนโลยีด้านธุรกรรมด้านการเงิน รวมถึงที่อยู่อาศัย ที่กำลังจะถูกเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโจทย์ทุกรูปแบบการใช้งานได้จริงในปัจจุบันและอนาคตแบบ New Normal จัดแสดงที่ บ้านเหลียวแล Patina Bangkok

ปลายทางของขยะทะเล

กรกฎาคมปักหมุด

‘สามย่าน อารีย์ ทองหล่อ’

ส่วนกิจกรรมสุดท้ายจะจัดในเดือนกรกฎาคม ผอ.อภิสิทธิ์Ž ชวนไปปักหมุด 3 พื้นในย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจะเปิดให้ชมพร้อมกัน ได้แก่ ย่านสามย่าน งานจะจัดที่สามย่านมิตรทาวน์และตลาดเก่าสามย่านที่อยู่โดยรอบ ย่านอารีย์-ประดิพัทธ์ จัดกิจกรรมในหลายพื้นที่ มี Josh Hotel เป็นจุดหลัก และย่านทองหล่อ-เอกมัย จะจัดแสดงในสตูดิโอที่เข้าร่วม 9 แห่ง โดยทั้ง 3 ย่านอยู่ในรัศมีที่เดินได้

สำหรับธีมงานจะคล้ายกับย่านเจริญกรุง-ทรงวาด เป็นพื้นที่รวบรวมผลงานของนักออกแบ

บและร้านค้าในพื้นที่ สร้างสรรค์ธุรกิจดั้งเดิมที่อาจจะถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาให้มีมูลค่าเพิ่ม เป็นการต่อยอดธุรกิจชุมชน สร้างสิ่งใหม่ๆ สร้างบรรยากาศ และกำลังใจ ให้คนทำธุรกิจมีความสนุก คึกคักขึ้นมาบ้าง

เป็นอีกหนึ่งความหวังของผู้ประกอบการธุรกิจ ระหว่างนับถอยหลังรอกรุงเทพมหานครคลายล็อกพื้นที่ให้เปิดได้ตามปกติ แม้อาจจะไม่เหมือนเดิมเสียทีเดียว แต่ก็คาดหวังจะทำให้บรรยากาศการค้าขาย การท่องเที่ยว กลับมาคึกคักได้ไม่มากก็น้อย


ส่อง ‘โอ.พี.เพลส แบงค็อก’
ห้างเจ้าสัวเจริญžรอดีเดย์รีโนเวตใหม่

ยังคงมีมนต์เสน่ห์ตรึงตรา สำหรับศูนย์การค้า โอ.พี. เพลส แบงค็อกŽ ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 38 พอร์ตอสังหาริมทรัพย์บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ธุรกิจ ใต้ปีก เจริญ สิริวัฒนภักดี

จากประวัตินับเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเรียกว่า ห้างสิงโตŽ

เป็นศูนย์การค้าขนาดกลาง สูง 3 ชั้น มีการตกแต่งสไตล์นีโอ คลาสสิก เป็นอาคารที่ได้รับการออกแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมยุโรปกับแบบไทยอันวิจิตรงดงาม ประกอบด้วยประตู หน้าต่างกรอบบนโค้ง ทางเข้าอาคารแบบหน้ามุข เคยได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามเมื่อปี 2535

จะจำหน่ายสินค้าของเก่าและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ร้านขายผลงานศิลปะ ร้านเครื่องประดับอัญมณี ปัจจุบันได้ปิดบริการ เพื่อเตรียมการรีโนเวตภายในใหม่

ยังไม่รู้ว่าจะเป็นศูนย์การค้าเหมือนเดิมหรือจะเป็นโรงแรม อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวมีแผนปรับปรุงเป็นศูนย์การค้าแบบ one-stop สำหรับผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ เกี่ยวกับงานแต่งงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปรับพื้นที่ชั้นบนสุดเป็นสตูดิโอถ่ายภาพงานแต่งและห้องบอลรูม
ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นร้านค้าปลีกเกี่ยวกับงานแต่งครบวงจร

ช่วงรอจังหวะและความชัดเจน ล่าสุดให้ทาง CEA ใช้พื้นที่จัดแสดงโชว์เคสนิทรรศการงานออกแบบกรุงเทพฯ 2564 โดยไม่คิดค่าเช่า

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image