คอลัมน์ สุวรรณภูมิในอาเซียน : ‘โอเพ่นดาต้า’ ทางศิลปวัฒนธรรม ยิ่งเปิดยิ่งเป็นพลัง ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’

มิวเซียมในศตวรรษนี้ ต้องนำข้อมูลทุกอย่างออกไปให้เข้าถึงประชาชน ทำให้ข้อมูลเป็นอย่างที่มันควรเป็น คือเป็นความสำส่อน

(หมายถึงไม่มีใครเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว แต่เป็นสมบัติสาธารณะ จากบทความโดย Ed Rodley เรื่อง The Virtues of Promiscuity – คุณค่าแห่งความสำส่อน)

โจทย์ในศตวรรษนี้อาจไม่ใช่การสร้างมิวเซียมเพิ่ม แต่คือการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับ digital sharing

เว็บเพจพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (Metropolitan Museum of Art) หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Met เปิดใช้ระบบ Open Data หรือการเปิดคลังข้อมูลให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึง ดาวน์โหลด ภาพงานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์เป็นเจ้าของซึ่งมีมากถึง 1.5 ล้านชิ้น สำหรับผู้ที่สนใจ อยากรู้อยากลอง สามารถเข้าไปชมและอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.metmuseum.org หรือ www.metmuseum.org/art/collection

ฟรี ไม่มีค่าลิขสิทธิ์

พิพิธภัณฑ์งานศิลปะมหานครนิวยอร์ก (New York’s Metropolitan Museum of Art) ประกาศเมื่อวันเสาร์ว่าภาพที่มีขนาดคุณภาพระดับสูง

Advertisement

จำนวนมากกว่า 400,000 ภาพที่พิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมไว้ สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย) และใช้งานไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์ใน Facebook, Tumblr และ blogs ส่วนตัวได้

Ann Bailis ประชาสัมพันธ์สตรีของพิพิธภัณฑ์ แถลงข่าวว่าสำเนาภาพได้แชร์ไว้บนออนไลน์แล้วตามนโยบายใหม่ ที่ตระหนักถึงความต้องการของประชาชนให้สามารถเข้าถึง/ศึกษาและใช้ประโยชน์จากภาพดังกล่าว เหมือนกับของ Museum of Natural History and the Digital Public Library of America อินเตอร์แนท ได้พิสูจน์ถึงการทำให้การใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ช่วยประชาชนได้รับรู้และเป็นประโยชน์มาก

“เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ที่เปิดโอกาสเสรีให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้นในการชื่นชมภาพศิลปะต่างๆ เรากำลังติดต่อร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งเพื่อเปิดโอกาสเสรีให้กับประชาชนเช่นเดียวกับเรา ผมดีใจที่เทคโนโลยีทางดิจิทัลได้สร้างโอกาสดีในการบุกเบิกหนทางที่กว้างขึ้นสำหรับการเผยแพร่ภาพต่างๆ ที่ได้เก็บรวบรวมไว้ในสารบบของเรา” Thomas P. Campbell ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ฯ แถลง

Advertisement

ภาพที่เปิดให้ชื่นชม มี Vincent Van Gogh, Claude Monet และ John Singer Sargent หรือศิลปินอีกหลายท่าน ทั้งยังมีภาพชุดเสื้อผ้าหรืองานศิลปะที่พิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมมงานสะสมในยุคกลาง ชนชาติอิสลาม ชนชาติเอเชีย สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี

โหลดฟรีๆ ไม่มีหวงสมบัติ

ลืมได้เลย พิพิธภัณฑ์ที่หวงสมบัติ (เหมือนปู่โสมเฝ้าทรัพย์) เก็บภาพศิลปะอย่างรัดกุมมิดชิด ดูแต่ตา ห้ามถ่ายรูป ฯลฯ

เพราะสมัยนี้พิพิธภัณฑ์ทั้งหลายใจกว้าง ไม่หวงของ แต่เปิดโอกาสให้เข้าไปดู ไปดาวน์โหลดงานศิลปะออนไลน์กันได้ฟรีๆ เพียบ.

ในปี 2013 พิพิธภัณฑ์ Rijksmuseum พิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเนเธอร์แลนด์ เปิดคลังภาพงานศิลปะกว่า 150,000 รูป ซึ่งรวมถึงผลงานของจิตรกรชื่อดังอย่างแวนโก๊ะ, เวอร์เมียร์ และแร็มบลันต์ ในแบบคมชัดลึกให้เข้าไปโหลดกันไปทำโปสเตอร์ แปะหัวเตียง และใช้ในงานอื่นๆ กันได้ฟรีๆ

ล่าสุดพิพิธภัณฑ์ Applied Arts and Science ในซิดนีย์ (ออสเตรเลีย) ได้เปิดเว็บไซต์ภาพงานศิลปะแบบภาพคมชัดกว่า 130,000 ภาพ รวมถึงข้อมูลต่างๆ ให้เข้าไปดาวน์โหลดกันได้ฟรีอีกเช่นกัน.

เดี๋ยวนี้ไม่ได้แค่ให้โหลดฟรีๆ เท่านั้น แต่ยังมีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น Google Cultural Institute ที่มาพร้อมกับแอพลิเคชั่นที่ให้ผู้ชมพิพิธภัณฑ์เดินชมงานไปด้วย และได้รับข้อมูลงานศิลปะไปด้วย เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือ

Cooper Hewitt Design Museum นิวยอร์ก ที่พร้อมปากกาดิจิตอลที่ให้เราเลือกกดบันทึก favorite งานศิลปะที่เราชื่นชอบไว้ โดยการใช้ปากกานี้แตะบนหน้าจอ ซึ่งสิ่งที่เราบันทึกจะไปรวมในคอลเล็กชั่นส่วนตัวของเราที่เข้าถึงได้แบบออนไลน์ด้วย.

ไม่หมดแค่นั้น ยังมี Google Arts & Culture ที่รวบรวมพิพิธภัณฑ์กว่า 2,800 แห่งทั่วโลก ให้คุณได้เดินดูงานศิลปะแบบ 360 องศา หรือแบบสตรีทวิวกันง่ายๆ โดยได้ข้อมูลรายละเอียดงานศิลปะพร้อมเพียงใช้แอพลิเคชั่นเดียวเท่านั้น! ทั้งยังสามารถค้นหาชื่อจิตรกร งานศิลปะ หรือแม้แต่พิพิธภัณฑ์ได้ด้วย

เว็บเพจ Google Arts & Culture ที่รวบรวมพิพิธภัณฑ์กว่า 2,800 แห่งทั่วโลก สามารถเดินดูงานศิลปะแบบ 360 องศา หรือแบบสตรีทวิวกันง่ายๆ เพียงใช้แอพลิเคชั่นเดียว

ฟรีในไทย

ในเมืองไทย หอสมุดเริ่มเปิดบริการดาวน์โหลด เริ่มมีรวมลิงก์ full text งานวิจัย ต่างๆ เช่น

สำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดให้บุคคลภายนอกสามารถดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์และงานวิจัยแบบฉบับเต็ม ได้แล้วโดยโครงการคลังปัญญา ซึ่งถือเป็นสถาบันดิจิทัลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2549 จบถึงปัจจุบันเป็นเวลา 9 ปี

คลังปัญญาฯ เป็นฐานข้อมูลจัดเก็บผลงานวิชาการในรูปแบบดิจิทัลฉบับเต็ม ประกอบด้วยผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความและผลงานวิชาการอื่นๆ อันเป็นภูมิปัญญาของประชาคมจุฬาฯ ซึ่งในระยะแรกเปิดโอกาสให้เฉพาะบุคคลกรของจุฬาฯ และนิสิตได้ดาวน์โหลดบทความได้แบบฉบับเต็ม ส่วนบุคคลภายนอกสามารถดาวน์โหลดได้เพียงบทคัดย่อ

โดยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ทางสำนักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มขยายขอบเขตการให้บริการเพื่อให้ทั่วถึงแก่บุคคลทั่วไปให้สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลแบบฉบับเต็มได้ทุกที่ ทุกเวลา

ทั้งนี้เพื่อตอบสนองพัมธกิจการให้บริการความรู้สู้สังคม โดยผู้ที่สนใจดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์และงานวิจัยแบบฉบับเต็มสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานที่เว็บไซต์ www.vpnauthen.car.chula.ac.th/registration 

เสียงสะท้อนจากผู้ใช้บริการ

ลายน้ำในวิทยานิพนธ์เป็นตัวอย่างของการห้ามอ่านหรือกำจัด literacy และเป็นตัวอย่างที่ชี้ว่าสถาบันที่อ้างว่าทำหน้าที่เผยแพร่การอ่านออกเขียนได้นั้น ทำตรงกันข้ามคือขัดขวางและสกัดกั้นสิ่งนี้ทุกวิถีทาง

ลายน้ำในวิทยานิพนธ์ หากกำจัดไป ก็จะทำให้อ่านได้ แต่ก็ยังเข้าถึงไม่ได้อยู่ดี

Open data คืออะไร?

ย้อนกลับไปเมื่อทศวรรษปี 1990 ที่การจัดเก็บข้อมูลด้วยฟรอปปี้ ดิสก์ ได้เข้ามาแทนที่การถ่ายเอกสาร ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนผ่านจากยุคอะนาล็อกไปสู่ยุคดิจิทัล ที่ข้อมูลต่างๆ ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ซึ่งนำมาสู่ Big Data ในยุคปัจจุบัน

และการที่เราอยู่ในยุคของข้อมูลมีอย่างมหาศาลจึงมีการเรียกร้องให้เปิดข้อมูลสำหรับทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้

หัวใจสำคัญของ Open Data แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. Availability and Access คือ ข้อมูลที่เปิดเผยต้องสามารถใช้งานได้ทั้งหมด

2. Re-use and Redistribution คือ ข้อมูลที่เผยแพร่ต้องถูกจัดเตรียมภายใต้เงื่อนไข การอนุญาตให้นำมาใช้ใหม่และเผยแพร่ได้ รวมถึงการใช้ชุดข้อมูลร่วมกับชุดข้อมูลอื่นๆ

3. Universal Participation คือ ทุกคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ การใช้ซ้ำ การเผยแพร่ โดยไม่ติดเรื่องข้อจำกัดใดๆ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าข้อมูลนั้นๆ

ซึ่งหัวใจสำคัญทั้ง 3 ประการนี้เป็นความสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน (interoperability) อย่างเป็นรูปธรรม

Cultural shift

เดิม : ข้อมูล เป็นเรื่องที่ต้องควบคุม

ใหม่ : ข้อมูล เป็นเรื่องที่ต้องเปิดเผย เข้าถึงได้ทุกคน

Open data คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับสิทธิพลเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาสังคมที่สำคัญยิ่ง ภาคประชาสังคมก็จ้องที่จะใช้ในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับอำนาจของประชาชน


บัญญัติ 10 ประการ ของสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ
ซึ่งกำหนดขึ้นโดย สถาบันริเริ่มนำความยุติธรรมสู่สังคมเปิด
มีรายละเอียด 10 ข้อดังนี้

1.ประชาชนมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างทัดเทียม

2.การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นหลักการปฏิบัติทั่วไป การปกปิดข้อมูลเป็นเพียงข้อยกเว้น

3.ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานรัฐที่ใช้เงินงบประมาณทุกแห่ง รวมถึงหน่วยงานเอกชนที่ทำหน้าที่แทนรัฐ

4.การยื่นขอข้อมูลต้องง่าย เร็ว และไม่มีค่าใช้จ่าย

5.เจ้าหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่

6.การปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลต้องมีเหตุผลเพียงพอ

7.ผลประโยชน์สาธารณะต้องมาก่อนการปกปิดข้อมูลให้เป็นความลับ

8.ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงกระบวนการอุทธรณ์ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

9.หน่วยงานรัฐต้องเปิดข้อมูลพื้นฐานโดยอัติโนมัติ

10.สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารควรดูแลโดยหน่วยงานอิสระ

 


 

คลิกอ่าน – สุจิตต์ วงษ์เทศ : เศรษฐกิจสร้างสรรค์จากมิวเซียม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image